วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อิทัปปัจจยตา 8 ในฐานะที่เป็นสิ่งต่อรองระหว่างศาสนา

เสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2515
        ท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย
            ในการบรรยายครั้งที่ 8 นี้ จะได้กล่าวถึง อิทัปปัจจยตา ในฐานะเป็นสิ่งที่ต่อรองระหว่างศาสนา ตามใบประกาศกำหนดกาล ที่ท่านทั้งหลายก็ได้ทราบเป้นอย่างดีอยู่แล้ว
        อาตมาขอทบทวนความมุ่งหมายในเรื่องนี้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แก่ท่านทั้งหลายว่า เรามุ่งหมายจะทำให้หลักธรรมเรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือแม้แต่คำพูดว่า อิทัปปัจจยตา ก็ตาม เป็นสิ่งที่แจ่มแจ้ง เป็นสิ่งที่คุ้นเคย คล่องปาก คล่องใจแก่เราทั้งหลายจึงได้พยายามพูดถึงเรื่องนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า และในแง่ในมุมต่าง ๆ กัน เพื่อให้เข้าใจไปทุกแง่ทุกมุม นั่นเอง
            ใจความสำคัญ มันอยู่ที่ว่า สิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา นั้น คือ ตัวสิ่งทุกสิ่งด้วย; และคือ หัวใจของทุก ๆ สิ่ง ด้วย เมื่อมันเป็นหัวใจของทุก ๆ สิ่งแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวก็ไม่ควรจะขัดกันในแง่นี้ คือจะลงกันได้ในง่านี้ แม้ว่าที่ผิวนอกมันจะต่างกันอย่างไร แต่เนื้อในควรจะเหมือนกัน กฎหรือภาวะแห่งความเป็น อิทัปปัจจยตา มีในทุกสิ่ง ไม่ยกเว้นอะไร; และเกี่ยวข้องกับทุกสิ่ง ไม่ยกเว้นอะไร; แม้ในกรณีที่เกี่ยวกับพระรัตนตรัย หรือไตรสิกขา ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในการบรรยายครั้งที่แล้วมานี่เอง
            แม้สิ่งที่เรียกกันว่าศาสนา ๆ นี้ก็อยู่ในภาวะและในกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา; คือกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัย และความเป็นไปตามอำนาจแห่งเหตุแห่งปัจจัยนั้นเอง สิ่งที่เรียกว่าศาสนาในทุกแง่ทุกมุม เนื่องอยู่ในภาวะของอิทัปปัจจยตา และกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา ขอให้ท่านดูที่ประวัติแห่งศาสนาทั้งหลายในโลกนี้เถิด เท่าที่จะหามาดูได้ เท่าที่จะหามาศึกษาได้อย่างไร
          ประวัติแห่งศาสนาทั้งหลาย ย่อมจะแสดงให้เห็นว่า ศาสนานั้น เนื่องอยู่กับภาวะของ อิทัปปัจจยตา ข้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา ไปตามอำนาจของ กาลเวลา ไปตามอำนาจของ เทศะ คือ สถานที่ และเหตุการณ์ทั้งหลายที่แวดล้อม ไม่มีศาสนาไหนจะไม่ตกอยู่ในลักษณะอย่างนี้ เราควรจะดูให้ดีที่ความเป็นมาแห่งศาสนานั้น ๆ แล้วก็จะพบได้ว่า ทุกศาสนามีหัวใจอันลึกซึ้งเนื่องกันอยู่กับกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา; และเหตุการณ์ภายนอกคือประวัติของศาสนานั้น ๆ ก็เป็นไปตามกฎแห่ง อิทัปปัจจยตา ไม่มีอะไรที่ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์อันนี้ : นี้คือสิ่งที่ขอทบทวนซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกครั้งที่มีการบรรยายเรื่อง อิทัปปัจจยตาจนกว่าจะหมดภาคของการบรรยายเรื่องนี้
            สำหรับในวันนี้ เราจะได้ปรารภกันถึง อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นสิ่งต่อรองซึ่งกันและกันในระหว่างศาสนา เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ไม่ต้องทะเลาวิวาทกัน ไม่ต้องเกลียดชังกัน ไม่ต้องดุหมิ่นกัน ในระหว่างศาสนา
            ขอให้ดู ข้อเท็จริงอย่างหนึ่ง ก่อน ว่าโลกของเรานี้กำลังอยู่ในวิกฤติกาล คือความยุ่งยากลำบากเป็นทุกทรมาน ทั้งนี้เพราะเหตุอะไร? ทั้งนี้ก็เพราะว่าไม่รู้บ้าง รู้ผิด ๆ บ้าง; คือรู้ในทางขัดกัน จึงได้คิดร้ายกันแม้ในกรณีที่เกี่ยวกับศาสนา เจ้าหน้าที่ทางศาสนาเป็นเหมือนกันคนตาบอด จึงได้ข่มเหงคะเนงร้ายกัน ด้วยการเอาศาสนานั่นแหละ เป็นเครื่องมือ : มีการยกศาสนาของตนข่มขี่ศาสนาของผู้อื่น ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เพราะเข้าใจศาสนาผิดจนกระทั่งมีตนและมีผู้อื่นซึ่งตรงกันข้าม คนเหล่านนั้นตกอยู่ใต้อำนาจของประโยชน์ทางเนื้อหนัง เมื่อเห็นแต่ประโยชน์อย่างเดียวทางวัตถุหรือทางเนื้อหนังก็ใช้ศาสนานั้นเป็นเครื่องมือ เพื่อหาประโยชน์นั้นให้แก่ตน จึงต้องวิวาทกัน ด้วยอำนาจความเห็นแก่ประโยชน์ ด้วยการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ การทะเลาะวิวาทกันในระหว่างศาสนา มีได้ด้วยเหตุนี้
            ทีนี้ ดูให้ละเอียดลงไปอีกทีหนึ่งว่า แม้ในวงศาสนาเดียวกันก็มีการทะเลาะวิวาทกัน ข้อนี้ระบุลงไปได้เลยว่าแม้ในพวกพุทะบริษัทนี่แหละ ต่างคนต่างเรียก ต่างคนต่างรู้ แล้วก็รู้มากจนไม่รู้ว่าจะรู้อะไร : แทนที่จะใช้ธรรมะนั้นเป็นพ่วงแพสำหรับข้างฟากข้ามทะเล ก็ดึงเอาไม้ไผ่แต่ละลำ นั้นมาฟาดกัน มาตีกัน มาวิวาทกัน จนถึงกับเกลียดชังกัน แบ่งแยกเป็นพวกเป็นนิกาย แม้แต่ละคน ๆ ในนิกายเดียวกัน ก็ยังทะเลากัน นี้ก็เพราะความที่ไม่เข้าถึงใจความอันแท้จริงของศาสนานั้น ๆ จึงเกิดมีตัวเรา ตัวเขา มีทิฏฐิของเรา มีทิฏฐิของเขา แล้วก็ทะเลาะวิวาทกันด้วยสิ่งที่เรียกว่า ศาสนานั้นเอง นี้คือข้อเท็จริงที่มีอยู่เฉพาะหน้าหรือปัญหาที่มีอยู่เฉพาะหน้า ทำอย่างไรจึงจะขจัดปัญหาเหล่านี้ออกไปเสียได้? อาตมามีความเห็นว่า มีอยู่อย่างเดียวเท่านั้น คือ การทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
            การจะทำความเข้าใจซึ่งกันและกันนั้น ถ้าทำโดยตรงไม่ได้ ก็จะต้องมี การต่อรองซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายต่างอย่างถือรั้น : ช่วยกันฟังความคิดความเห็นของผู้อื่นบ้าง เพื่อจะได้เข้าใจหมดทุกแง่ทุกมุม แล้วก็จะได้เข้าใจถูกต้อง เมื่อเข้าใจถูกต้องแล้วมันก็จะตรงกัน เพราะว่าความถูกต้องย่อมมีแต่อย่างเดียว จะมีหลายอย่างหรือหลายฝ่ายไม่ได้ นี่แหละคือข้อที่ว่า เราจะต้องมีการประนีประนอมกันในระหว่างผู้ที่มี่ความคิดเห็นขัดกัน ในวงศาสนาเดียวกันก็ตาม หรือในต่างศาสนาก็ตาม
            ทีนี้อะไรเล่าจะเป็นสิ่งต่อรอง หรือเป็นเครื่องมือในกาตต่อรอง? อาตมาเห็นว่าไม่มีอะไรดีที่สุดไปกว่า หลักธรรมะเรื่อง อิทัปปัจจยตา
            ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อิทัปปัจจยตา คือหัวใจของสิ่งทุกสิ่ง ของคนทุกคน ของศาสนาทุกศาสนา; ดังนั้นถ้าต่างคนแต่ละคน เข้าถึงหัวใจของเรื่อง มันก็จะเป็นหัวใจเดียวกันได้ นี่แหละเป็นความมุ่งหมายของการบรรยายในวันนี้ เราอาจจะทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ด้วยการต่อรองกัน ระหว่างสิ่งที่เรียกว่า ศาสนา; หรือถ้ามากไปกว่านั้นก็อาจจะต่อรองกัน เพื่อจะทำความเข้าใจกันในระหว่าง สิ่งต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกันอยู่กับมนุษย์; อาตมาอยากจะเรียกว่าการต่อรองกันในระหว่าง ธรรมวิทยาทั้งหลาย
            คำว่า ธรรมวิทยา เป็นคำที่ผูกขึ้นมาใช้เดี๋ยวนี้เอง; เพราะไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรดี ธรรมวิทยา แปลว่า ธรรมที่เป็นวิทยา เป็นความรู้ก็ได้ หรือธรรมะที่เป็นที่ตั้งแห่งความรู้ก็ได้ หรือธรรมะที่ใช้เป็นวิทยา คือความรู้สำหรับปฏิบัติก็ได้ คำนี้จะใช้เป็นคำรวมสำหรับเรียก ศาสนา เรียก วิทยาความรู้ เรียก วิทยาศาสตร์ เรียก ศิลปะ เรียกอะไรก็ตาม ทีมนุษย์จะต้องมี
          ที่เป็นเครือของศาสนานั้น ก็เห็นอยู่ง่าย ๆ เช่นตัวศาสนานั่นเอง และอาจจะขยายออกไปให้หมายถึงศีลธรรม หมายถึงจริยธรรม หมายถึงกฎหมาย หมายถึงวัฒนธรรม หมายถึงอารยธรรม แม้ที่สุดแต่สิ่งที่เรียกว่าไสยศาสตร์;  ธรรมเหล่านี้มันก็เป็นธรรมวิทยาแขนงหนึ่ง ๆ ตามมากตามน้อย ตามถูกมากถูกน้อย ตามยุคตามสมัย ตามถิ่นประเทศ; ซึ่งอาจจะรวมเรียกว่า เนื่องกันอยู่กับศาสนาซึ่งมีอยู่หลายแง่หลายมุม.
          ในเครือวิทยาหรือความรู้ทั่วไป นั้น เราก็มีมากมาย เช่นว่าปรัชญา อภิปรัชญา ตรรกวิทยา จิตวิทยา สรีรวิทยา อนามัยวิทยา กระทั่งจักวาลวิทยา สากลจักรวาลวิทยา มีอะไรอีกมากมาย; ในบรรดาวิทยาทั้งหลายนี้ เราเรียกธรรมวิทยาอย่างหนึ่ง ๆ ด้วยเหมือนกัน
        ทีนี้ ถ้าเราจะมองดู ให้ละเอียดไป ในเครือของวิชาวิทยาศาสตร์ ก็มีความรุ้เรื่องฟิสิคส์ เรื่องเคมี เรื่องเมคานิกส์ กระทั่งเรื่อง Relativety ซึ่งละเอียดสุขุมที่สุดในความเป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งหมดนี้แต่ละอย่าง ๆ ก็เป็นวิทยาธรรม หรือธรรมวิทยา อย่างหนึ่ง ๆ ๆ ซึ่งแยกออกไป
            ทีนี้ ถ้าเราจะดู ในเครือของสิปปะ หรือศิลปะ มันก็มีมาก ศิลปะก็เพื่อศิลปะ; สิปปะนั้น  ตามความหมายเดิม คือวิชาสำหรับแสดงผีไม้ลายมือ ศิลปะกับสิปปะนั้น ที่จริงก็เป็นคำ ๆ เดียวกันมาแต่ก่อน แต่เดี๋ยวนี้เราเห็นได้ว่าใช้ต่างกัน : ศิลปะ มุ่งไปในทางความงดงาม สิปปะนี้ ยังคงมุ่งไปทางการแสวงหาประโยชน์ของบุคคลผุ้มีสิปปะอยู่ตามเดิม ไปตามเดิม ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาทีเดียว เดี๋ยวนี้ยังมีวิชาสุนทรีย์ คือวิชาเกี่ยวกับความงามโดยเฉพาะ ล้วนแต่มุ่งหมายที่จะถือเอาประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ผู้มีศิลปะจะต้องการอย่างไร;  ดู ๆ ก็คล้ายกับว่าเป็นเครื่องล่อ
            ในบรรดาสิ่งเหล่านี้ซึ่งมีมากมายอย่างนี้ ดูแล้วมันก็คล้ายกับว่าเดินกันไปคนละทิศละทาง แต่ถ้าดูให้ละเอียดตลอดแล้ว ยังจะเห็นได้ว่ายังมีอะไรที่เป็นแกนกลางเหมือน ๆ กัน กล่าวคือมีกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา เป็นแกนกลางอยู่ในธรรมวิทยาเหล่านั้นด้วยกันทั้งนั้น อย่างที่เคยอธิบายมาแล้วในวันก่อน ๆ ว่า วิชาความรู้ของคนเกิดขึ้นตามความต้องการของคน เป็นไปตามกฎเกณฑ์ แห่ง อิทัปปัจจยตา สิ่งที่เรียกว่า ศาสนา ขัดแย้งกันอย่างไร ธรรมวิทยาทั้งหลายมากมายเหล่านี้  ก็ขัดแย้งกันอย่างนั้น : มีของกุดีกว่าของสู; มีของเราดีกว่าของเขา; ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดปัญหายุ่งยากลำบากทั่วไปทั้งโลก ดังนั้น ก็ควรจะมีการกระทำชนิดที่ทำความเข้าใจกันและกัน ให้มันเป็นไปด้วยกันได้โดยง่าย กลมกลืนกันไป และเป็นไปแต่ในทางที่จะเป็นประโยชน์โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลา และไม่ต้องกลายเป็นเครื่องมือสำหรับใช้เอาเปรียบผู้อื่น หรือทำลายผู้อื่นซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา
            ทีนี่ เราก็ จะดูกันในแง่ของสิ่งที่เรียกว่าศาสนาก่อน ว่าจะทำความเข้าสใจกันได้ด้วยการต่อรองอย่างไร แล้วธรรมวิทยาอันมากมายหลายแขนงในโลกนี้ก็อาจจะต่อรองกันได้โดยลักษณะอาการอย่างเดียวกัน
            สำหรับสิ่งที่เรียกว่าศาสนานั้น มันก็มีอยู่มากจนนับไม่ไหว ถ้ารวมกันทั้งอดีตปัจจุบันด้วยแล้วก็ยิ่งนับไม่ไหว บางศาสนาก็สาบสูญไปแล้ว บางศาสนาก็ยังอยู่ ทีนี้เราจะเอากันแต่ศาสนาที่ยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ในโลกนี้ ศาสนาเก่าแก่ที่เงียบไปแล้ว เป็นพัน ๆ ปีไปแล้ว ก็เลิกแล้วกันไป; และศาสนาที่ยังอยู่ในเวลานี้มันก็มีอยู่มากด และบางศาสนาก็เก่าเป็นพัน ๆ ปี ด้วยเหมือนกัน ถ้าเอาแต่ศาสนาที่ยังเป้น ๆ อยู่ ยังรู้จักกันอยู่ คือยังมีการไหวตัวอยู่ในโลกนี้ ก็ยัง พอจะนับได้ถึง 12 ศาสนา ผู้ฟังก็คงจะต้องกะโกนว่า มีตั้งโหลเชียนะโว้ย คือตั้ง 12 ศาสนาอย่างนี้ เราก็เรียกว่ามีโหลหนึ่งได้
            ศาสนากลุ่มแรก ก็จะต้องนึกถึงศาสนาที่เกิดขึ้นในประเทศอิเดีย ยกศาสนาพุทะ ขึ้นมาก่อนเป็นศาสนาที่ 1; ที่ 2 ก็คือ ศาสนาไชนะ; ที่ 3 คือ ศาสนาฮินดู หรือศาสนาพราหมณ์; ที่ 4 คือ ศานาซิกส์;ทั้ง 4 ศาสนานี้เกิดในประเทศอินเดีย
            ดูต่ออกไปทางประเทศเปอร์เซีย ก็มี ศาสนาปาซี หรือ โซโรอัสเอตร์ หรือโซโรสทูระ เรียกลำบาก; เรียกกันว่า โซโรอัสเตอร์ มันเรียกลำบาก ก็เรียกปาซี นับเป็นที่ 5
            ทีนี้ ดูไหทางขวามือ คือตะวันออก ศาสนาที่ 6 ก็คือ ศาสนาของเหล่าจื๊อ ศาสนาที่ 7 ก็คือ ศาสนาของ ขงจื๊อ เหล่านี้เกิดในประเทศจีน ศาสนาที่ 8 ก็คือ ศาสนาชินโต นี้เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น
            ทีนี้ ดูต่อไปอีกทางซ้ายมือ ทางตะวันตก : ศาสนาที่ 9 ก็มี ศาสนายิว; ศาสนาที่ 10 ก็มี ศาสนาคริสเตียน; ศาสนาที่ 11 ก็มี ศาสนาอิสลาม; ศาสนาที่ 12 ก็คือศาสฟนาพันธผสมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ที่แพร่หลายอยู่ ออกหน้าออกตาอมยู เช่น ศาสนาบาไฮ หรือบาฮออิ แถมยังมีศาสนาผสมใหม่อย่างนี้อีกหลายศาสนาในอเมริกาก็มี ในยุโรปก็มี; แต่ที่ขึ้นหน้ากว่าเพื่อนก็คือศาสนาบาไฮ ที่จะเข้ามาเทียมบ่าเทียมไหลศาสนาเก่า ๆ ที่มีอยู่เดิม เราจึงนับได้เป็น 12 ศาสนาด้วยกัน ที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังเคลื่อนไหวอยู่ ยังไม่ตาย
        นี่แหละคนบางคนก็จะต้องขึ้นว่า ศาสนามีตั้งโหลเชียวนะโว้ย! เมื่อมีมากอยู่อย่างนี้ มากมายถึงขนาดนี้ จะทำอย่างไรกันดี : ล้วนแต่มีทางที่จะขัดแย้งกันได้มากขึ้น ยิ่งมีมากเท่าไร ก็มีทางที่จะขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้นเท่านั้น บางศาสนาก็มีอิทธิพลมาก คือมีสมาชิกมาก บางศาสนาก็มีกำลังเงิน กำลังอำนาจน้อย ล้วนแต่มีอะไรที่ไม่ค่อยจะเท่า ๆ กัน บางศาสนาสำหรับคนโง่ บางศาสนาสำหรับคนฉลาด แม้ในศาสนา ๆ เดียว ก็ยังมีหลักธรรมสำหรับคนโง่ สำหรับคนฉลาด และสำหรับคนปูนกลาง; คือศาสนาหนึ่ง ๆ นั้นก็ยแยกออกไปได้เป็นหลายสาขา เป็นหลายนิกาย ยกตัวอย่างพุทธศาสนานี้ก่อน
        พุทธศาสนาส่วนใหญ่เดี๋ยวนี้เรารู้จักกันว่ามีอยู่ 2 สาวขา คือเถรวาทกับ มหายาน
            เถรวาทนั้น ถือกันว่าเป็นของดั้งเดิม เป็นของเคร่งครัดตามแบบเดิม หมายานนั้นถือกันว่าเพิ่มเกิดใหม่ แก้ไขใหม่ ไม่ถือเคร่งครัดตามแบบเดิม เมื่อมันมีหลักเกณฑ์อย่างนี้แล้ว มันจะลงรอยกันได้อย่างไร? ท่านทั้งหลายลองคิดดู คนหนึ่งเปิดออกไปให้กว้าง คนหนึ่งรวบรัดเอามาให้แคบ มันจะเข้ากันได้อย่างไร? อาตมามีความเห็นว่า ทั้งเถรวาททั้งมหายาน ไม่ใช่พุทธศาสนาอย่างเดิม : ไม่ใช่พุทธศาสนาอย่างเดิมแท้ พุทธศาสนาอย่างแท้ ต้องเป็นพุทธศาสนาอย่างที่ไม่เป็นเถรวาท หรือเป็นมหายาน : ต้องเป็น พุทธศาสนาที่ไม่เรียกตนเองว่า เถรวาทหรือมหายาน การเรียกว่าเถรวาทหรือเรียกว่ามหายานนั้น มันแสดงข้อขัดแย้งกันอยู่ในตัวแล้ว เมื่อมีข้อขัดแย้งแล้ว ก็เรียกว่าไว้ใจไม่ได้ มันต้องเป็นพุทธศาสนาที่ไม่เป็นเถรวาท ไม่เป็นมหายาน คือเป็นพุทธศาสนาเดิมแท้นั่นเอง
          ศาสนาของพระพุทธเจ้า มีหัวใจเป็น อิทัปปัจจยตา อย่างเปิดเผย อย่างชัดแจ้ง อย่างแจ่มใส อิทัปปัจจยตา นี้ เป็นเถรวาทก็ไม่ได้ เป็นมหายานก็ไม่ได้ อิทัปปัจจยตา ต้องเป็น อิทัปปัจจยตา? แม้เถรวาทก็พูดเรื่อง อิทัปปัจจยตา; แม้มหายานก็พูดเรื่อง อิทัปปัจจยตา; และก็มักจะพูดไปตามแบบของเถรวาท หรือตามแบบของมหายาน : พวกหนึ่งจะทำให้เคร่งครัดเข้ามา อีกพวกหนึ่งจะขยายให้กว้างออกไป นี่มันก็มีการเปลี่ยนแปลงได้; เพราฉะนั้นจะต้องมีการปรับปรุงกันใหม่ ให้กลับไปสู่ อิทัปปัจจยตาเดิมของพุทธเจ้า ก่อนแต่จะแยกกันเป็นเถรวาทหรือมหายาน
        การแยกนี้ มันต้องมีเหตุปัจจัยที่แปลกไปกว่าเดิม มันจึงแยก ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยอะไรที่แปลกไปกว่าเดิมแทรกแซงเข้ามาแล้ว มันก็ไม่มีการแยก ถ้ามีการแยก ต้องถือว่ามีอะไรแทรกแซงเข้ามาให้ผิดไปจากเดิม เถรวาทก็เป็น conservative มหายานก็เป็น liberal ล้วนแต่มุ่งเข็มไปทางหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นการไปแตะต้องของเดิมให้เปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย พุทธบริษัทที่แท้จริง อย่าเรียกตัวเองว่า เถรวาท หรือมหายาน ถ้าเรียกก็เรียกแต่หากเถิด ในจิตใจอย่างให้เป็นเถรวาทหรือมหายานเลย จึงจะเป็นพุทธบริษัทที่ถูกต้องของพระพุทธองค์
        เอาละ ทีนี้เราจะดูกันในแง่ที่มันจะแยกกันไปอย่างไร?
            เมื่อแยกออกไปเป็นเถรวาทแล้ว เป็นมหายานแล้ว มันก็ยังมีการแยกซอยลงไปอีก : เถรวาทก็มีหลายแบบ มหายานก็มีหลายแบบ; แล้วแบบไหนจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เถรวาทบางพวก็เก่งวินัย เช่นในเมืองไทยนี้ว่ากันว่าเคร่งครัดยึดมั่นในวินัย; เถรวาทบางพวกก็เก่งทางบาลี หรือท่างพระสูตร เช่นในลังกา; เถรวาทบางพวกเก่งอภิธรรม เช่น พวกพม่า ต่างคนต่างหมายมั่นปั้นมือกันอย่างใดอย่างหนึ่ง จนไม่ได้ดุให้หมดทั่ว ๆไป มันก็เกิดการแตกต่างหรือขัดแย้งกัน อย่างที่ว่าพุทธศาสนาในประเทศไทยกับในลังกา กับในพม่า ก็ไม่ลงรอยกลมกลืนกันไปได้ เพราะว่าต่างฝ่ายต่างจะเอาดีเอาเด่นกันในทางใดทางหนึ่ง หรือว่ามีความสามารถที่จะเอาดีเอาเด่นได้แต่ในทางใดทางหนึ่ง และหัวใจของคนชนิดนี้ก็มุ่งแต่จะเอาดีเอาเด่นเท่านั้น : เมื่อเอาดีเอาเด่นทางนี่ทางโน้นไม่ได้ ก็จะต้องเอาดีเอาเด่นทางที่ตัวจะทำได้; เพราะฉะนั้นมันจึงไปเพิ่มให้มากแก่ทางที่ตัวจะทำได้ แต่แล้วก็อย่าลืมว่า หัวใจเดิม ๆ นั้นมันมุ่งหมาย อิทัปปัจจยตา เหมือนกันทั้งนั้น
            ทีนี้ดูทางฝ่ายมหายานบ้าง
            มหายานนี้ก็พอจะเห็นได้ชัด เห็นได้วง่าย ๆว่า มีเป็น 3 ขนาดอยู่เหมือนกัน ขนาด มหายานกงเต็ก นี้ก็อย่างหนึ่ง มหายานสุขาวดี นี้ก็อย่างหนึ่ง มหายานสุญญตา นี้ก็อย่างหนึ่ง ถ้าไม่เคยทราบ ก็อย่าเพ่อไปดูถูกมหายาน มหายานมีให้มากอย่างนี้ จึงพาคนไปได้มาก อย่างที่เขาอวดอ้างว่าเขาเป็นมหายาน ถ้าเห็นว่ายังโง่มาก ก็ให้ศาสนากงเต๊กได้ : เผากระดาษเผาอะไรส่งไปให้แก่คนที่ตายแล้ว เพราะคนเป็น ๆ มันรักคนที่ตายแล้ว อย่างนี้ก็ทำได้ง่าย ๆ นี้ก็เรียกว่า มหายาน และทำกันอยู่ทั่วไปไม่ต้องอธิบาย ทีนี้ อันดับที่ 2 เรียกว่าพวกนิยมสุขาวดี นี้ก็คืออาซิ้มทั้งหลายโดยมากที่ไม่อาจจะเข้าใจอะไรได้ นอกจากว่าท่องชื่อพระพุทธเจ้าอิมิตาภะ วันละหลาย ๆ พันครั้งให้ขลังขึ้นมา พอดับจิตก็มีรถมารับไปสู่สุขาวดีเลย ไปสู่สวรรค์เลย ถึงแม้ว่าจะมีวิธีการอย่างอื่นน คำพูดอย่างอื่น มันก็ไปรวมอยู่ที่สุขาวดีแดนสวรรค์ ลักษณะอย่างนี้มีอยู่แม้ในพวกเถรวาท; คงจะได้เค้าเงื่อนมาจากมหายานทีแรกก็ได้ หรือว่าจะมีของตัวเองมาก่อนก็ได้ ข้อที่ว่าทำอะไรอย่างเคร่งครัด อย่างหลับหูหลับตา ให้มากเข้าไว้ ตายก็ไปสวรรค์ จบกันเพียงเท่านั้น นี่ก็มีอีกชั้นหนึ่ง : พรรณนาแดนสุขาวดีไว้ให้น่าปรารถนาที่สุด แล้วก็บอกวิธีที่จะไปสู่สุขาวดีไว้ โดยการกระทำอย่างนั้น ถ้าอย่างมหายานก็ดูจะง่ายมากไม่ต้องลงทุนอะไร ออกชื่อ นโม อมิตาภะ นโม อมิตาภะ ของอาซิ้มนี้ วันละหลายๆ กันครั้งก็ไปได้  ส่วนในพวกเถรวาทนี้ บางที่ก็สอนกันว่าจะต้องทำอย่างนั้นจะต้องทำอย่างนี้ เช่นจะต้องบูชาด้วยดอกไม้ 84000 ดอก ธูปเทียน 84000 ดอก แล้วก็ไปเกิดในโลกพระศรีอาริย์ หรืออะไร นี้มันต้องลงทุนมาก เสียเปรียบอาซิ้มแต่ว่าก็ไปสุขาวดีด้วยกัน
            ทีนี้ มหายานที่แท้ ที่ควรจะเรียกว่า ดี ก็คือ พวกสุญญตา
            พวกมหายานถือหลักธรรมะที่เรียกว่า สุญญตา หรือ ตถตา มากที่สุด พูดถึงมากที่สุดกว่าพวกเถรวาท ในเมืองไทยนี้ ไม่ค่อยจะพูดถึงสุญญตา หรือตถตาทั้งที่เป็นเถรวาท ครั้งแรกที่อาตมาเอาเรื่องสุญญตามาพูด ก็ถูกหาว่าเป็นมหายานแล้ว เขาว่าอาตมาเป็มหายาน เพราะว่าเอาเรื่องสุญญตามาพูด นี้ขอให้ดู ความเขลาของพวกเถรวาทในเมืองไทย ทั้งที่เรื่องสุญญตาก็มีอยู่ในพระไตรปิฎก มากมายทั่วไป เรื่องตถตา ก็มีอยู่ในพระไตรปิฎกเหมือนอย่างที่พระสวดเมื่อตะกี้นี้ : ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา อย่างนี้ก็มีอยู่ในพระไตรปิฎก1 แต่พออาตมาเอาเรื่องสุญญตามาพูด ก็ถูกประณามว่าอาตมาเป็นมหายานแล้ว ขอให้รู้กันไว้อย่างนี้ด้วย แล้วมันก็จริง ที่ว่าพวกมหายานเขาพูดถึงสุญญตามาก เมื่อพูดถึงสุญญตา ก็เป็นอันพูดถึง ตถตา อยู่ในตัวไปด้วยกัน เพราะมันเป็นเรื่องเดียวกัน เขาพูดมากกว่า เขาเขียนมากกว่า เขาพิมพ์โฆษณามากกว่า กระทั่งทำอะไรมากกว่า; พวกเมืองไทยเลยเข้าใจไปว่าเรื่องสุญญตานี้เป็นมหายาน ทั้งที่เป็นเถรวาทเต็มตัว;! นี่แหละ เราอย่าไปยึดเถรวาท อย่าไปยึดมหายาน; ปล่อยให้เป็นพุทธศาสนาที่ถูกรต้อง : ไม่เป็นเถรวาท ไม่เป็นมหายาน เป็นพุทธศาสนาเดิมแท้ มีหลักเป็น มัชฌิมาปฏิปทา กล่าวคือ อิทัปปัจจยตา
            สิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา นั้น ถ้าผุ้ใดเข้าใจถูกต้องแล้ว นั้นแหละค่อ มิชฌิมาปฏิปทา คือไม่ปฏิบัติสุดโต่งไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พูดอย่างตรงกลางว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น:  ไม่ยอมพูดว่าเกิด ไม่ยอมพูดว่าไม่เกิด ไม่ยอมพูดว่ามีตัวตน; ไม่ยอมพูดว่าสูญเปล่าหรือว่าไม่มีตัวตน ไม่ยอมพูดคำที่เป็นคู่ ๆ ๆ ๆ สุดซ้ายสุดขวา ไม่ว่าคู่ไหนทั้งหมด; แต่พูดว่า อิทัปปัจจยตา : ความที่มีสิ่งนี้ เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น นี้เรียกว่าอยู่ตรงกลาง เป็นอิทัปปัจจยตา ที่พอดี พอเหมาะถูกต้องไปตากฎเกณฑ์ของเดิม
        ทีนี้ การที่มันกลายมาเป้ฯกงเกบ้าง เป็นสุขาวดีบ้าง เป็นเก่งวินัยบ้าง เก่งบาลีบ้าง เก่งอภิธรรมบ้างนี้ มันเป็น อิทัปปัจจยตา ที่กำลังคลั่ง; อิทัปปัจจยตาที่กำลังเดือดกำลังคลั่ง ไม่อยุ่ในสภาพเดิมที่พอดี : มันมีอะไรกระตุ้นเตือนให้คลั่งอยู่เรื่อย จึงควรถือว่าไม่ใช่พุทะศาสฟนาเดิมแท้จองพระพุทธเจ้า นี่แหละควรจะมาทำการต่อรองกัน ในระหว่างเถรวาทกับมหายาน หรือว่าในเถรวาทด้วยกันทุก ๆ นิกายทุก ๆ พวก มาต่อรองกัน; จะเป้ฯเรื่องกงเต็กก็ดี จะเป็นเรื่องสุขาวดีก็ดี เรื่องสุญญตาก็ดี มาต่อรองกันให้ขยับไปหา อิทัปปัจจยตา ที่พอดี
          เรื่องกงเต็ก มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา แต่เป็น อิทัปปัจจยตา อย่างอวิชชามากเกิดไปสักหน่อย เพราะมันมีอำนาจสิ่งอื่นเข้ามาแทรกแซง : ความรักบ้างความอาลัยอาวรณ์บ้าง อะไรบ้าง ซึ่งล้วนแต่เป็นลักษณะของอวิชชาทำให้เกิดของอย่างนี้มา
          เรื่องสุขาวดี ก็เป็น อิทัปปัจจยตา แต่ว่ามีความโลกหรือการค้ากำไรเกินควรมากเกินไป มันไม่มีอะไรที่จะอยู่นอกอำนาจของ อิทัปปัจจยตา มีแต่ว่ามันเกินไป หรือมันขาดไปบ้าง ที่มันเกินไปบ้าง หรือมันเพ้อไปบ้างนั้น ก็มาต่อรองกันให้พอดี
            สมมติว่าเรื่องทำกงเต็ก มันก็มีบุญมีกุศล เพราะว่าคำว่า กงเต็ก มันก็แปลว่า บุญหรือกุศล เพราะอย่างน้อยก็ทำด้วยความกตัญญูกตเวที นี้มันก็เป็นบุญเป็นกุศลแล้ว แต่ว่าทำอย่างไรถึงจะเป็นประโยชน์ มันก็ควรจะนึกกันบ้าง ไม่ควรจะให้มันเสียไปเปล่า ๆ เมื่อนึกถึงคนที่ตายแล้ว ควรจะทำอย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย อย่างนี้เป็นต้น; นั่นแหละ อิทัปปัจจยตา จะได้เดินไปถูกทางคือไม่เพ้อ นี้เรียกว่าแม้ในฝ่ายพุทธศาสนาแท้ ๆ ก็ยังต้องมีการต่อรองระหว่างเถรวาทระหว่างมหายาน เพื่อให้กลับไปสู่พุทธศาสนาเดิมแท้
        ทีนี้ ศาสนาที่ 2 เรียกว่าศาสนาไชนะ คือศาสนานิครนถ์ เรียกเต็มที่ว่า เดียรถีย์นิครนถ์ คำว่า เดียรถีย์ นั้นแปลว่า ศาสนา หรือลัทธิ; เดียรถีย์นิครนถ์ แปลว่า ศาสนาของนิครนถ์ มีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไชนะ เป็นภาษาสันสกฤต ไชนะ ก็คือ ชนะ เหมือนกับภาษาบาลีว่า ชินะ ทั้งสองคำนี้มีความหมายวิเศษ : ชินะ แปลว่าชนะ พระพุทธเจ้าก็ทรงเรียกว่าพระองค์เองว่า ชินะอยู่บ่อย ๆ เช่นตรัสว่าเราชนะแล้ว คือเป็น ชิโน
            ส่วนที่เรียกว่า นิครนถ์นั้น ก็เป็นศัพท์ธรรมะสูงสุด แปลว่า ไม่มีกิเลศ : นิ แปลว่า ไม่; ครนถ์ คือ คันถะ แปลว่า เครื่องผูกมักคือกิเลศ; นิครนถ์ก็คือไม่มีกิเลส ศาสนานิครนต์ ก็คือศาสนาที่ไม่มีกิเลส ไชนะ ก็คือชนะ ศาสนานี้เรียกกันในเวลานี้ ทั่วไปทั่วโลกว่า ไชนะ แต่คนอ่านมันอ่านผิด คืออ่านคำ Jain ว่า เชน ทีแท้ต้องอ่าน ไชนะ หรือ ชายนะ ไม่ใช่อ่านว่า เชน เหมือนที่อ่านกันโดยมาก
          ศาสนาไชนะนี้ควรจะรู้กันไว้บ้างสำหรับพุทธบริษัท รู้ไว้แต่ย่อๆ ก็ได้ว่าเมื่อพระสิทธัตถะของเราออกบวช เพื่อแสวงหาว่าอะไรเป็นความหลุดพ้นนั้น ก็ลองนึกดูที ว่าท่านจะไปไหน? ท่านก็ต้องไปสู่สำนักที่ดีที่สุด ที่สั่งสอนอยู่ในเวลานั้น แล้วมันคือสำนักอะไร? มันก็คือศาสนานิครนถ์นี้เอง ที่มีดีที่สุดอยู่ในเวลานั้น ไปที่อาฬารดาบส อุทกดาบส ซึ่งเป็นสำนักสมาบัติมีปรัชญา แล้วก็ไม่พอใจ; แล้วจึงได้เส็จไป ประพฤติวัตรอย่างที่เรียกว่าเดียรถีย์ พระพุทธเจ้าตรัสเล่าไว้เอง ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น เป็นพุทธภาษิตอยู่ในสูตรหลายสูตราในพระไตรปิฎกว่าตถาคตไปประพฤติวัตรอย่างนั้น ๆ ๆ ๆ ซึ่งเป็นวัตรอย่างนิครนถ์ทั้งนั้น ที่สุดวกง่าย ๆที่สุด ก็อ่านดูจากพุทะประวัติจากพระโอษฐ์ ได้รวบรวมมาใส่ไว้ในหนังสือนั้นทั้งหมดแล้ว ว่าพระพุทธเจ้าได้ประพฤติวัตรอย่างนิครนถ์นั้นคืออย่างไร? เรื่องเปลือยกาย เรื่องไม่กินอาหาร เรื่องนอนบนหนาม เรื่องนอนในป่าช้า เรื่องฉันอุจจาระ เรื่องอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ไปอ่านดูก็ได้ ท่านไปทำอย่างนั้นก็เพื่อศึกษาให้หมด ในลัทธิที่ดีที่สุดในเวลานั้น
            เมื่อท่านเข้าไปเป็นศิษย์ของหมู่นิครนถ์นี้อยู่ ก็หมายความว่า ต้องมี เพื่อนร่วมชั้นเรียน ด้วยกันหลายคน เพื่อนร่วมชั้นเรียน ของท่านคนหนึ่งอย่างน้อยก็คือมหาวีระ หรือที่เรียกว่านิคันถนาฎบุตร เป็นผู้ที่ควรจะถือว่าเป็นเพื่อนร่วมเรียนกันมา เพราะพ้องสมัยกัน และเคยประพฤติวัตราอย่างเดียรถีย์ด้วยกัน1 แต่ในที่สุด พระสิทธัตถะท่านเห็นว่าไม่ไหว ท่านจึงเลิกเสีย และเปลี่ยนการปฏิบัติไปเสียทางอื่น ส่วนมหาวีระหรือนิคันถนาฎบุตรนั้น ยังคง เรียนต่อไป จนกระทั่ง ตั้งตัว เป็นพระศาสดานิครนถ์ องค์ที่ 28 ของศาสนานั้น
            ข้อนี้ หมายความว่าศาสนานิครนถ์องค์ก่อนหน้านี้ประมาณ 200-300 ปีก่อนการเกิดของพระพุทะเจ้านี้ก็มีอยู่แล้ว เขาเรียกกันว่า ปรฺศฺวนาถ มีรูปปฏิมาเปลือยทำด้วยศิลา ปรากฎอยุ่ทั่วไปในปูชนียสถานฝ่ายไชนะ เมื่อประมาณ 200-300 ปีก่อนพระพุทธเจ้า; ศาสดาองค์นี้จะต้องมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด จึงได้มีรูปสลักหินของท่าน ในกาลต่อมามากมาย ทีนี้สำหรับศาสนาไชนะรุ่นหลังนี้ ยุคใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา ทั้งโดยประวัติความเป็นมา และคำสั่งสอนก็สอนคล้ายกันในตอนต้น ๆ หากแต่ว่าศาสนาไชนะนี้ เตลิดเลยไปถึงขนาดไม่มีขอบเขตจำกัด ในการที่จะทรมานลิเลสหรือทรมานร่างกาย ฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติชั้นสูงสุดในศาสนานี้ จึงมีอยู่ประเภทหนึ่ง คือไม่นุ่งผ้า อย่างรูปถ่ายที่แขวนอยู่ที่นั้น ซึ่งอาตมาโชคดีไปที่วัดของเขา และได้พบผู้ที่เขาถือกันว่าเป็นพระอรหันต์องค์นี่ ตามลัทธิของเขา เขาว่ากันว่ามีพระอรหันต์ไชนะเช่นนี้อยู่สัก 3-4 องค์เท่านั้นในเวลานี้; ซึ่งเดินทางแวะเวียนไปตามจุดต่าง ๆ ของศาสนานี้ซึ่งมีอยู่ทั่ว ๆ ไปในอินเดียภาคใต้และภาคกลาง
            ในอินเดียนั้น มีนักบวชที่ไม่นุ่งผ้าที่เปลือยกายหมดทำนองนี้ มากมายนับเป็นสิบเป็นร้อยคน แต่นั้นไม่ใช่ศาสนาไชนะ ส่วนในศาสนาไชนะมีอยู่ 3-4 องค์เท่านั้น รวมทั้งองค์หนึ่ง ที่ถ่ายรูปมาให้ดูนี้ นี่เรื่องของศาสนาไชนะที่ควรจะเอามาคิดดู เขายอมกระทำทุกอย่างเพื่อให้เป็นอิสระ เพราะว่าถ้าไม่เป็นอิสระ; ก็หมายความว่ามี ครันถะ หรือคันถะ มีครันถะหรือคันถะ คือมีเครื่องผูกพัน; ฉะนั้น เมื่อพูดถึงเครื่องผูกพัน ก็คิดเอาเองก็แล้วกัน : รู้สึกอย่างไรหรือว่าอะไรเป็นเครื่องผูกพัน ก็เปลื้องทิ้งไปเสีย; ดังนั้นเขาจึงเปลื้องออกไปให้หมด กระทั่งผ้านุ่ง; ที่อยู่ก็ไม่มี ผ้านุ่งก็ไม่มี บาตรก็ไม่มีใช้ใส่มือฉัน มีดโกนก็ไม่ต้องมี : เมื่อผมยาวออกมาก็ถอนผมทิ้ง นี้ยังทำกันอยู่จนกระทั่งเวลานี้ แล้วประชาชนก็นับถือ อย่างน้อยก็ในความเคร่งครัด เขานับถือพระอรหันต์ในศาสนานิครนถ์นี้มากถึงขนาดนี้ จนถึงกับว่าเส้นผมนั้นเมื่อถอนออกมาแล้ว เส้นหนึ่งก็ไม่มีเหลือตกดิน แย่งกันเอาไปหมด เอาไปบูชาอย่างนี้เป็นต้น
            ทีนี้ ศาสนาพุทธกับเข้าไปในประเทศอินเดียไม่ได้ ในเวลานี้ก็เพราะมีปัจจัยสำคัญอยู่อย่างหนึ่งในหลาย ๆ อย่าง; กล่าวคือมีศาสนาไชนะนี้อยู่เพราะว่า พระในศาสนาไชนะ นี้ นอกจากไม่มีเครื่องผูกพันอย่างนั้นแล้ว ยังเคร่งอะไรอีกมากมาย : ไม่ฉันเนื้อ นี้เป็นธรรมดาแล้ว ทีนี้ผักก็เหมือนกัน ถ้าเก็บมาให้โดยเฉพาะเจาะจงแล้ว ก็ไม่ฉัน พระไทยเรายังฉัน แม้ใครจะไปเก็บผักมาให้โดยเฉพาะเจาะจงก็ยังฉัน; ไม่ฉันเฉพาะแต่อุททิสสมังสะ คือเนื้อ ส่วนพระนิครนถ์นี้ จะไม่ยอมฉันแม้ผักที่เก็บมาเจาะจง; ต้องเป็นของที่มีอยู่ตามธรรมดาเอามาใส่ฝ่ามือฉัน ฉันจากฝ่ามือหมดแล้วก็ล้างมือ ไม่มีเก็บไว้ฉันเพลง เพราะไม่มีบาตร นี่แม้อาหารก็ยังบริสุทิ์อย่างนี้ และยังมีหลักเกณฑ์อีกหลายอย่างที่ปฏิบัติลำบาก เช่นว่าพอเอมาให้ เกิดแมลงวันมาตอม; อาหารอย่างนี้ไม่เอาแล้ว เพราะเป็นเป็นการแย่งแมลงวันฉัน; มันทำความคับแค้นใจให้แก่แมลงวัน ไม่ยอมรับอาหารนี้แล้ว นี่พระพุทธเจ้าท่านก็เคยทรงทำอย่างนี้ : ไปอ่านดูในสูตรเหล่านั้นที่ตรัสเล่าไว้เอง ถ้าผู้ถวายอุ้มลูกมาด้วย มาเพื่อถวายอาหาร นี้ก็ไม่เอาแล้ว หนีแล้วเพราะว่าทำความลำบากเบียดเบียนแก่เด็กอ่อน คือเด็กทารกที่อุ้มมาด้วยนั้น; แล้วยังมีอะไรอีกมากมายที่เขาถือเคร่งครัดอย่างนี้ ฉะนั้น ประชาชนจึงเลื่อมใส และก็เรียกว่าอรหันต์ตามความหมายของศาสนานั้น
            ทีนี้ ศาสนาพุทธเข้าไปไม่ได้ เพราะว่าพระเราไปสูบบุหรี่ให้ดู ชาวบ้านว่าพระบ้า; พระไปกินเนื้อให้ดุ ชาวบ้านว่าเป็นยักษ์; พระเที่ยวถือกล้องถ่ายรูปเขาเรียกว่า เศรษฐี ไม่ใช่พระ เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาที่จะกลับเข้าไปในประเทศอินเดียนี้ ยากมาก เพราะมีศาสนาไชนะนี้อยู่; เป็นข้อขัดแย้งกันอยู่อย่างนี้ ขอให้ดูให้ดี ถ้าเรามีการทำความเข้าใจกันได้ อะไรกันได้ มันจะดีกว่านี้มาก ศาสนาไชนะพวกที่นุ่งผ้าเขาเรียกว่า เศวตัมพร มีนุ่งผ้าขาวบ้าง พวกไม่นุ่งผ้าเลย เรียกว่า ทิฆัมพร แต่ก็เป็นไชนะด้วยกัน มีคำสอนอย่างเดียวกัน มันแล้แต่ว่าใครจะมีความรู้สึกว่า ควรนุ่งผ้าหรือไม่นุ่งผ้า; ดังนั้น พวกที่เป็นพระอรหันต์แล้ว มีทั้งนุ่งผ้าและไม่นุ่งผ้า นุ่งผ้าก็นุ่งผ้าขาว ส่วนนุ่งผ้าเหลือง ๆอย่างพวกเรานี้ เป็นเณรทั้งนั้นแหละ อาตมาไปดูที่วัดของเขา ถ้าเป็นผู้สำเร็จแล้วนุ่งผ้าขาวนิดหน่อยก็มี แล้วที่ไม่นุ่งเลยก็มี แล้วก็หาดูยาก มี 2-3 องค์ หลักธรรมก็คือ สำรวมอย่างยิ่งเรียกว่าจตุยามสังวรสังวุโต; สำรวมไปทุกท่านทุกทาง 4 หมวด 4 หมู่ด้วยกัน หลุดพ้นเพราะความสำรวม ไม่ค่อยจะเกี่ยวกับปัญญา มีลักษณะเป็นวิริยาธิกะ; ไม่เป็นปัญญาธิกะเหมือนพุทธศาสนา เพราะเหตุฉะนั้นแหละพระพุทธเจ้าท่านจึงทรงเลิกเสีย แล้วหันมาค้นคว้าตามแบบของท่าน จึงเกิดพุทธศาสนา แต่แล้วปัญหามันก็คงยังมีอยู่อย่างนี้
            ศาสนาไชนะนี้เก่งมากตรงที่ไม่เคยบาปสูญไปจากประเทศอินเดีย พุทธศาสนาได้สาบสูญไปจากอินเดีย และจะกลับเข้าไปก็ยาก เพราะว่าติดขัดอยู่ที่ศาสนาไชนะที่เป็นที่ตั้งแห่งความนับถือของมหาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งของมหาชนชั้นต่ำชั้นชาวบ้านทั่วไป เดี๋ยวนี้คำสั่งสอนที่ถูกปรับปรุงใหม่ ทันสมัยมาก ดังนั้นคนชั้นสูง ชั้นกลาง ก็เลยนับถือศาสนานี้ พระเจ้าอโศกก็นับถือศาสนานี้มาก่อน; พวกลิจฉวีทั้งหมด เคยนับถือศาสนานี้ในครั้งพุทธกาล; ก็แปลว่ามีคนนับถือมาก ปัจจุบันนี้พวกทหายความ พวกพ่อค้า พวกเศรษฐี นับถือศาสนานี้เป็นส่วนมาก จึงเจริญรุ่งเรืองมาก ทั้งทางวัตถุ ทังการเป็นอยู่ และการสั่งสอน วัดของศาสนานี้สวยงามมาก ใหญ่โตมาก ทำด้วยหิน ทำด้วยทองคำ ทำด้วยเงิน; ไปดูเถอะ โบสถ์บางทีก็บุด้วยทองคำ ด้วยเงิน นี้เรียกว่า เป็นศาสนาหนึ่ง ซึ่งเป็นคู่แข่งขันหรือขัดแย้งกันมากับพุทธศาสนา จนกระทั่งบัดนี้; ทั้งที่พระศาสนาของทั้ง 2 เคยเป็นเพื่อน นักเรียนร่วมชั้น กันมาก่อนในคราวหนึ่ง
            ทีนี้ มาถึง ศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่ 3
            คำว่า ฮินดูนี้เป็นคำกลาง แปลว่าของอินเดีย ฉะนั้น ศาสนาไหน หรืออะไรที่เกิดขึ้นในอินเดีย เรียกว่าฮินดูหมด เพราะฉะนั้น พวกชาวบ้านทั่วไป ก็พาลหาว่าพุทธศาสนาก็เป็นฮินดู ไชนะก็เป็นฮินดู แต่โดยเหตุที่หลักการมันไม่เหมือนกัน ฉะนั้นจึงแยกกันได้ เดี๋ยวนี้เห็นอยู่ชัด เรียกว่าศาสนาฮินดูก็เฉพาะแต่ศาสนาพราหมณ์ในปัจจุบัน และเขาก็สมัครจะแยกกัน พุทธไม่ใช่ฮินดู ไชนะไม่ใช่ฮินดู ศาสนาฮินดู ก็คือศาสนาพราหมณ์ในปัจจุบัน
            เมื่อพูดถึงศาสนาพราหมณ์ มันก็อย่างเดียวกันอีกนั่นแหละ มันมีสาขามากมายจนนับไม่ไหว ศาสนาที่เกียวกับศาสนาพราหมณ์นั้น มีมากนิกายจนนับไม่ไหว แต่พอแบ่งแยกได้เป็น 3 พวกคือ :-
        พวกที่มีแต่พิธีรีตอง คืองมงาย มีไสยศาสตร์เป็นรากฐาน มีตี่พิธีรีตองไม่ต้องอธิบาย อย่างนี้คนโง่ชอบ ชาวบ้านที่ไม่มีการศึกษาชอบ ทำพิธีก็แล้วกันแม้ที่สุดแต่พิธีบูชายัญด้วยคน เขาก็ยังชอบกันได้ เดี๋ยวนี้ยังเหลืออยู่แต่พิธีบูชายัญด้วยสัตว์ แล้วก็พิธีต่างๆ นานาสารพัดอย่างเหลือประมาณ โดยที่ว่าเมื่อคนเขาเชื่อแล้ว เขาก็กลัวบาปเหมือนกัน แล้วก็มีผลแก่สังคม พิธีรีตองจะโง่เง่าอย่างไร แต่ถ้าคนเขาเชื่อแล้วเขาก็ไม่ทำบาปเหมือนกัน เขาก็รู้ว่าเป็นความประสงค์มุ่งหมายของพระเจ้าที่เขาบูชา เขาเสียสละออกไปมากเท่าไร เขาก็ยิ่งไม่ทำบาปเท่านั้น เพราะว่าเขาเสียสละออกไปเพื่อจะให้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า แล้วก็เชื่อฟังพระเจ้านี้ ศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ พวกนี้มันเป็นพิธีรีตอง
            อีกพวกหนึ่งก็เป็นเรื่องเฉลียวฉลาดที่สุด มีมูลมาจากคัมภีร์พระเวทแล้วก็เลือกเอาใจความของพระเวทได้ถูกต้อง ในคัมภีร์พระเวทกล่าวถึงการบูชายัญมากแต่ว่าที่กล่าวถึงสัจจธรรมถึงความจริงอะไรก็มี พวกที่เลือกเอาหัวใจของพระเวทได้ก็กลายเป็นผู้ถือธรรมะถือปรัชญา เดี๋ยวนี้เขาแยกตัวออกมาใหม่ เรียกว่าพวกเวทานตะ มีชื่อเสียงมากในประเทศอินเดีย แผ่ไปถึงประเทศอเมริกา ก็มีคนต้อนรับมาก เรียกว่าพระกเวทานตะ สอนเรื่องอาตมันตามเดิม เมื่อประพฤติถูกต้องแล้วอาตมันก็จะกลับไปรวมกับปรมาตมันตามเดิม นี้เป็นหลักใหญ่ การที่จะประพฤติให้อาตมันนี้สะอาดขึ้น ๆ บริสุทธิ์ขึ้น ๆ นั้นจะทำอย่างไร? ข้อนี้มีหลักธรรมคล้ายพุทธศาสนาหรือบางทีก็เหมือนกันจนแยกกันไม่ได้ เขาก็ปรับปรุงแก้ไขให้มันทันสมัยอย่างนี้ แล้วพวกเวทานตะนี้เจริญมาก มีสาขาอยู่ทั่วโลก สวามีสัตยานันทะบุรี ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยจนตายนั้น ก็เป็นพวกเวทานตะ สวามีทั่งหลายมีชื่อเสียงมากไปอยู่อเมริกามากมาย เป็นพวกเวทานตะแทบทั้งนั้น ที่ฤๅษีเกษในประเทศอินเดีย สวามีศิวานันทะ ก็เป็นพวกเวทานตะ อาตมาไปพบด้วยตนเองก็มองเห็นได้ว่านี่มันไม่มีพิธีรีตองเหลืออยู่ มันมีแต่หลักธรรมะ มีเรื่องโยคะก้าวหน้ากว่าพุทธศาสนา นี้ก็เป็นพวกหนึ่งสำหรับฮินดูหรือพราหมณ์
            อีกพวกหนึ่งก็เป็นเรื่องบำเพ็ญตบะทั่ว ๆไป แต่ไม่ใช่อย่างนิครนถ์ ไม่ใช่อย่างไชนะ บำเพ็ญตบะบ้า ๆ บอ ๆ ไปตามเรื่อง มันเป็นของดั้งเดิมซึ่งเขาไม่ได้สงวนสิทธิ์ : ทรมานตัวได้มากเท่าไร พระเจ้าโปรดปรานมากเท่านั้น กิเลสหมดไปเร็วเท่านั้น แล้วก็บำเพ็ญตัวให้ลำบากมากยิ่งขึ้นทุกที นี้ความเชื่อถือมันฝังลงไปในคนโง่ ใครเห็นใครบำเพ็ญตบะก็บูชา บูชาก็คือให้ของให้เครื่องบูชา ทีนี้ ก็เกิดมีการบำเพ็ญตบะเพียงเพื่อเอาสตางค์ เต็มไปหมดเลย : เอาหนามมาวางแล้วก็ขึ้นนอนบนนั้น เอาผ้าปูไว้ผืนหนึ่ง ก็มีคนโยนสตางค์ลงไปบนผ้านั้นมากมาย บำเพ็ญตบะเพื่อสตางค์มันก็เป็นแขนงที่ออกมาจากฮินดูพวกนี้เหมือนกัน
        นี่ ดูเถอะว่าแม้แต่ในศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู นี้ก็ยังเป็นพวก ๆ อย่างนี้ จะทำความเข้าใจกันได้อย่างไร ก็ลองคิดดู
            ดูต่อไปอีก ศาสนาที่ 4 คือซิกส์ นี้เป็นศาสนาการเมือง เกิดขึ้นเพื่อจะช่วยชาติ เป็นศาสนาที่เกิดเมื่อไม่นานนี้ ไม่กี่ร้อยปีมานี้ เพื่อจะต่อสู้กันระหว่างศาสนาอินเดียเดิม ๆ กับศาสนาอิสลาม คล้าย ๆ กับกองอาสาสมัครกู้ศาสนาอย่างนั้นแหละ เป็นศาสนาทหาร เครื่องหมายก็คือดาบและกำไลเหล็ก หมายความว่าผู้ต่อสู้ ศาสนาซิกส์นี้เกิดขึ้นด้วยความจำเป็นอย่างนี้ แล้วก็มีหลักธรรมะคือ รวมธรรมะข้อดี ๆของศาสนาในอินเดียทุกศาสนา ผู้ตั้งต้นศาสนาซิกส์นั้น ได้ไปเที่ยวศึกษาศาสนาดี ๆ ในอินเดียทุกศาสนา แล้วมาพูดใหม่ มันก็เลยดีมาก แล้วก็มีปณิธานอีกอันหนึ่งว่าจะต้องรักษาวัฒนธรรมอันนี้ไว้จากความย่ำยีของอิสลาม ซึ่งเป็นข้าศึกของศาสนานี้ นี่มันก็เกิดเป็นศาสนาซิกส์ขึ้นมา มีทั้งพวกเก่าพวกใหม่ กินเนื้อสัตว์ก็มี ไม่กินก็มี
        นี้แหละเป็นข้อปลีกย่อยหรือแบ่นิกาย เท่าที่มีอยู่ในอินเดียก็มีอยู่ในศาสนาใหญ่ๆ 4 ศาสนาอย่างนี้ แล้วที่เกิดก็เกิดขึ้นในอินเดียทั้งนั้น
          ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ในเปอร์เซีย เป็นศาสนาที่ 5 พวกนี้นับถือพระอาทิตย์ มาแต่กี่พันปีกี่หมื่นปีมาแล้วก็ไม่ทราบ ถือว่าไฟหรือพระอาทิตย์นี้เป็นของสุงสุด นี้มันก็จริง อะไร ๆ ก็มาจากดวงอาทิตย์ทั้งนั้น; ถ้าว่ากัน ในโลกนี้แล้วที่รอดตัวอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะแสงแดด ต้นไม้ สัตว์ คน เหล่านี้ รอดตัวอยู่ได้ เพราะแสงแดด ถ้าไม่มีแสงแดดตายหมดแล้ว ไม่กี่วันก็ตายหมด พวกนี้ก็เลยนับถือพระอาทิตย์นับถือไฟ เพราะฉะนั้นไฟก็ถูกนับถือ จะเอาไฟมาใช้อย่างสกปรกไม่ได้ ดังนั้น ตายไปก็ไม่เผาศพด้วยไฟ เพราะว่ากลัวไฟจะสกปรก เป็นไปในทำนองนี้ เพราะมันเก่ามาก เป็นพัน ๆ ปี แต่ก็ยังมีคนนับถืออ้อนวอนพระอาทิตย์
            ทีนี้ มาดูพวกศาสนาที่เกิดในจีนในญีปุ่น ศาสนาที่ 6 คือศาสนาเหลาจื๊อ; ศาสนาที่ 7 คือศาสนาขงจื๊อ พ้องสมัยกัน เหลาจื๊อก็เป็นอาจารยของขงจื๊ออยู่ในตัว ขงจื๊อเป็นลูกศิษย์ของเหลาจื๊อ เหลาจื๊อจะเกิดก่อนสัก 50 ปี เพราะฉะนั้น ขงจื๊อจึงทันที่เป็นศิษย์ของเหลาจื๊อ; แล้วขงจื้อก็เกิดพ้องสมัยกันกับพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทะเจ้านิพพานนั่น ขงจื๊ออายุได้ 8 ปีแล้ว เรียกว่าพร้องสมัยกัน ทีนี้ก็ดูกันในระหว่างขงจื๊อกับเหลาจื๊อ
            เหลาจื๊อนั้น สอนเรื่องโลกนี้เป็นของลวง ให้เห็นแต่ในแง่ที่ว่าโลกนี้เป็นมายา ให้มีจิตใจอยุ่เหนือความยึดมั่นในโลกเหมือนกับพระพุทธเจ้า คำพูดจะต่างกันหรือไม่สมบูณ์เท่าพระพุทธเจ้าก็ตามใจ แต่มุ่งหมายเหมือนกีน ให้เห็นโลกเป็นของที่หลอกลวง แล้วก็ไม่หลงฝังตัวเข้าไป ฉะนั้น จึงสอนเรื่องความาเป็นมายาของสิ่งที่เข้าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ฯลฯ ทางอะไร ส่วนขงจื๊อนั้น ไม่เอาอย่างนั้นสอนเรื่องว่าต้องอยู่ในโลกนี้ให้ถูกต้อง จะไม่พูดถึงเรื่องเหนือโลก เมื่อเหลาจื๊อพูดถึงเรื่องเหนือโลก ขงจื๊อจะพูดแต่เรื่องในโลก โดยถือว่าจะต้องอยู่ในโลกนี้ให้ถูกต้อง ทำเรื่องในโลกนี้ให้ถูกต้องเสียก่อน จึงค่อยพูดกันถึงเรื่องเหนือโลกหรือพ้นโลก แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ เหลาจื๊อก็มีแง่ที่จะสอนขงจื๊อ เพราะเรื่องเหนือโลก ฉะนั่น ถ้าเรารู้เท่าทันโลกดีกว่า เราก็อยู่ในโลกได้ด้วยควรมปรกติสุข ฉะนั้นเหลาจื๊อก็เป็นอาจารย์ขงจื๊อได้ เพราะเหตุนี้; ทั้งที่ว่าพูดกันไปคนละทาง นี้มันน่าหัวว สิ่งที่เหลาจื๊อสอนเรียกว่า เต๋า เหลาจื๊อก็เรียกประโยคนแรกขึ้นมาว่าแรกเริ่มเดิมทีเดียว มีสิ่งอยู่สิ่งหนึ่ง ไม่ใช่รูปไม่ใช่นาม คือไม่ใช่ร่างกาย และไม่ใช่จิตใจ ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร ขอเรียกว่า เต๋า ไปทีก่อน เอาซิ! นี่มันแสดงถึงความแหลมลึกสูงสุดเสียแล้ว : เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องรูปหรือเรื่องวัตถุ ไม่ใช่เรื่องนามหรือเรื่องจิตใจ ฉันไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร ขอเรียกว่า เต๋า ไว้ก่อน; แล้วก็อธิบายเต๋าว่าอย่างนั้น ๆ ๆ เช่นว่า สิ่งที่เอามาพูดเอามาอธิบายกันด้วยปากได้นี้ ไม่ใช่ เต๋า เอาซิ! มันเหมือนกับธรรมะ ในพุทธศาสนา ธรรมแท้จริงเอามาพูดด้วยปากไม่ได้ เป็นเรื่อง ปัจจัตตัง เป็นเรื่อง สันทิฏฐิโก เหลาจื๊อก็พูดอย่างนั้น ว่าสิ่งที่เอามาพูดบรรยายให้คนอื่นฟังด้วยคำพูดได้นี้  ยังไม่ใช่เต๋า ยังไม่ใช่ตัวเต๋า แต่เป็นเปลือกของเต๋า ถ้าคนรู้เต๋าเข้าถึงเต๋าแล้ว คนนั้นเป็นมนุษย์สูงสุด คือผู้สำเร็จหรือผู้สูงสุด นี้เรียกว่าศาสนาเต๋า มีความฉลาดมากถึงกับอยู่เหนือโลก ส่วนขงจื๊อนั้น ว่าเราจะต้องมีการประพฤติปฏิบัติที่ดีที่จะอยู่ในโลก เขาก็สอนเรื่องศีลธรรมนี้ ศีลธรรมที่มนุษย์จะต้องมี มีอย่างไรบ้าง ขงจื๊อก็สอนได้ดีที่สุด นี้ก็เป็นศาสนาหนึ่งในประเทศจี ที่เรียกว่าเป็นของจีนแท้ ๆ ส่วนศาสนามหายานในประเทศจีนนั้น เป็นพุทธศาสนา; ฉะนั้น เราจึงไม่เรียกว่าของจีน; เพราะไปจากอินเดีย เข้าไปในจีน ส่วนศาสนาที่เกิดในจีนนั้น ก็คือศาสนาเต๋าของเหลาจื๊อ แล้วก็ศาสนาขงจื๊อ ทีนี้แต่ละอาจารย์ 2 อาจารย์ก็มีผู้ช่วย คือลูกศิษย์รับช่วง เช่นเม่งจื๊อ จวงจื๊อ อะไรเหล่านี้ มันก็ล้วนแต่เป็นศิษย์ของ 2 ท่านี้ทั้งนั้นแหละ ฉะนั้น ศิษย์จึงสอนเหมือนกับอาจารย์ แต่มันจะมีกี่จื๊อ ๆ มันก็สรุปได้เพียง 2 จื๊อเท่านั้น : จื๊อหนึ่งไปเหนือโลก จื๊อหนึ่งอยู่ในโลก
          ศาสนาที่ 8 ก็ของญี่ปุ่น คือศาสนาชินโต เป็นศาสนาดั้งเดิมสืบมาคู่กันกับประเทศญี่ปุ่น คือศาสนาเลือดรักชาติ ศาสนาชาตินิยม ทีนี้พอได้รับอะไร ๆ เข้ามาใหม่ ก็เพิ่มเข้าไปบ้าง เปลี่ยนแปลงบ้าง สัมพันธ์กันกับพุทธศาสนาที่เข้าไปในญี่ปุ่นตอนหลัง ๆ นี้บ้าง มันก็มีความเปลี่ยนแปลงบ้างในส่วนปลีกย่อย แต่ส่วนใหญ่มันก็เป็นศาสนาชินโตอยู่นั่นแหละ สำหรับเด็กญี่ปุ่นทุกคนจะรักชาติยิ่งกว่าชีวิต รักชาติยิ่งชีพนั่นแหละ คือศาสนาชินโต เมื่อรักชาติก็ต้องรักบรรพบุรุษด้วย เพราะบรรพบุรุษนี้มันเป็นผู้ที่ทำชาติให้มีขึ้น แล้วก็สืบอายุรักษาชาติมาเป็นต้น การที่สอนให้รักชาติยิ่งกว่าชีพนี้ ก็มีผลทางการเมืองฉะนั้น เขาจึงสนับสนุนไว้ไม่ให้มันสูญหายไปได้ ทีนี้ ศาสนาอาน ๆ เข้าไปในญี่ปุ่นทีหลัง มันก็ทำให้ศาสนาชินโต เปลี่ยนแปลงเหมือนกัน แต่ศาสนาชินโตนี้ยังเป็นประโยชน์ทางการเมืองอยู่นั่นแหละ
        เอ้าทีนี้หมดทางตะวันออก แล้วก็ไปทางตะวันตก ศาสนาที่ 9 คือ ศาสนายิว คงจะประมาณสัก 8000 ปี มาได้แล้ว สำหรับชนชาตินี้ก็คงจะได้รับวัฒนธรรมอินเดียด้วย คัมภีร์ของยิวก็รู้ได้ง่าย ๆ คือคัมภีร์ไบเบิลภาคหนึ่ง คือคัมภีร์เก่า; มีประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของคัมภีร์ไบเบิลทั้งหมด ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ นี้เป็นคัมภีร์ของยิว เรียกว่าพูดตั้งแต่พระเจ้าสร้างโลกมาทีเดียว อาดัมกับอีฟออกมา แล้วจากคู่นี้ก็เป็นมนุษย์ทั่วไปทั้งโลก แล้วก็เป็นมากอย่างๆไร เรื่อยมา จนกระทั่งถึงศาสดาองค์ก่อน ก่อนพระเยซู ที่สำคัญที่สุดก็คือโมเสส พอพระเยซูเกิด เขาก็ตัดตอนเป็นศาสนาคริสเตียน แล้วคัมภีร์ภาคหลังเรียกว่าคัมภีร์ใหม่ เป็นคัมภีร์ของคริสเตียน แต่ก็คือยิวนั่นเอง จะเรียกว่ายิวใหม่ก็ได้ แต่มันเสียเกียรติ เลยเรียกว่าคริสเตียน พระเยซูก็เป็นยิว แต่เมื่อดูแล้ว เราจะเห็นข้อขัดแย้งระหว่างศาสนายิวกับศาสนาคริสเตียนอยู่หลายอย่าง แต่ว่าที่ร่วมกันดิกคือว่ารับเอาของยิวมาใช้ในคริสเตียนนั้น ก็มีมาก เช่นคัมภีร์เยเนซิส เรื่องสร้างโลกอย่างไร พระเจ้ายะโฮวาสร้างโลกอย่างไรนั้น ไม่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง รับเอามาเป็นของคริสเตียน แต่หลักธรรมคำสอนมันเกิดเปลี่ยนแปลง เพราะว่าพระเยซูนี้เป็นยิวที่เรียกเหมือนกับแหวกแนว หรือว่าปฏิวัติ หรือว่าแหกคอดออกมาเป็นคริสเตียน เมื่อคัมภีร์เดิมของยิวสอนว่า ฟันต่อฟัน ตาต่อตา เขาทำเราฟังหลุดซี่หนึ่ง เราก็ทำเขาให้ฟันหลุดซี่หนึ่ง เขาทำเราตำบอดข้างหนึ่ง เราก็ทำให้เขาตาบอดข้างหนึ่ง มันมีชัดอยู่ในคัมภีร์เก่าของยิว คือภาคต้นของไบเบิล พอมาถึงพระเยซูกลับสอนว่า เขาตบแก้มซ้าย ให้เขาตบแก้ขวาด้วย; เขาขโมยเสื้อแล้ว เอาผ้าห่มตามไปให้ด้วย อย่าจับตัวเขาไปส่งศาล นี่มันเกิดกลับตรงกันข้ามอย่างนี้
            ทีนี้มีเรื่องที่น่าเล่า อยากจะเล่าอีกทีหนึ่ง บางคนก็เคยได้ยินแล้วก็ได้ว่าในสมัยพระเยซูนั้นเอง กฎหมายต่าง ๆยังเป็นไปตามแบบยิว เพราะว่าพระเยซูเพิ่งเกิดหยก ๆ มีหญิงคนหนึ่งเขาทำชู้ถูกจับได้ ถ้าลงโทษตามกฎหมายยิวของโมเสสแล้วหญิงนี้จะต้องถูกเอาหินทุ่มให้ตาย ทีนี้ หญิงคนนี้ก็หนีไปจนกระทั่งพบพระเยซูพวกที่ตามไปพอดีพบพระเยซู พวกยิวเหล่านี้ เป็นพวกพระ พวกปุโรหิต พวกอัยการ พวกศาล เขาก็ถามพระเยซูว่า ท่านอาจารย์จะว่าอย่างไร หญิงคนนี้ประพฤติผิดประเวณี ทำชู้ ตามบทบัญญัติของเราคือบทบัญญัติของโมเสส จะต้องเอาหินทุ่มให้ตาย? พวกนี้เขาถามพระเยซูอย่างนี้ ด้วยเหตุผลแยบยลซ่อนเร้นอยู่ คือเขาจะลองดีรพระเยซูด้วย เขาจะประจานพระเยซูด้วย ทีนี้ พระเยซูก็ตอบ ลองคิดดูเอาเองก็แล้วกันว่าเป็นอย่างไร คือพระเยซูตอบว่า ถูกแล้วตามบทบัญญัติของโมเสสหญิงคนนี้จะต้องถูกเอาหินทุ่มให้ตาย เอ้าใครเป็นคนไม่มีบาปในตัว เดินออกมาเป็นคนแรกเพื่อจะเอาหินทุ่มเป็นคนแรก พวกนั้น 6-7 คน ก็ดุหน้าดุตากันเลิกลัก ๆ ไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนเดินออกไปในฐานะที่เป็นคนไม่มีบาป เอาหินทุ่มเป็นคนแรก เลยชะงักหมด นิ่งอึ้งกันไปหมด ครั้นนานเข้าพระเยซูก็บอกว่า หญิงเอ๋ยกลับบ้านเถิด เขาไม่เอาโทษแกแล้ว แต่ต่อไปอย่าทำอีกเป็นอันขาด อย่างนี้ไม่ดี แล้วเรื่องมันก็เลิกกัน ถ้าตามบทบัญญัติของโมเสสของยิวเดิมนั้น หญิงคนนี้จะต้องถูกเอาหินทุ่มให้ตาย เอาก้อนหินทุ่มหัวให้ตายต่อหน้าประชาชน ทีนี้พระเยซ.บอกว่าใครจะเป็นคนมาทุ่ม เมื่อไม่มีใครทุ่ม ก็บอกให้กลับได้ แต่เตือนว่าอย่าทำอีก นี้มันเปลี่ยนมาก มันเหมือนกับปฏิวัติระเบียบ ธรรมเนียม ขนบประเพณี หรือว่าหลักเกณฑ์อะไรต่าง ๆ นี่เราควรจะรู้ว่า ศาสนายิวกับศาสนาคริสเตียนนั้น มันไม่เหมือนกันอย่างนี้ ทั้งที่เป็นยิวด้วยกัน เขาจึงถือว่าพระเยซูเป็นศาสนาออกมาอีกศาสดาหนึ่ง ส่วนพระศาสนาอื่น เช่น อาดัม โสเสส โนฮฺอา อะไรก็ตามใจนั้นน่ะ นั่นเป็นของพวกยิวทังนั้น เป็นศาสนายิวทั้งนั้น นี้เรียกว่ามันมีข้อขัดแย้งกันอยู่ในระหว่าง 2 ศาสนานี้ ทั้งที่ว่าเป็นยิวด้วยกัน เกิดในที่เดียวกันยังมีปัญหาคาราคาซังจนกระทั่งบัดนี้ ระหว่างยิวกับคริสเตียน พวกยิวไม่กินหมู พวกคริสเตียนกินหมู เป็นต้น มันเป็นเรื่องน่าหัวเราะ
            ทีนี้ ก็มาถึงศาสนาที่ 11 คือศาสนาอิลาม ในอินเดียพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นนิพพานไปแล้วประมาณราว 5 ศตวรรษ ก็ได้เกิดศาสนาคริสเตียน ต่อมาอีกประมาณราว 5 ศตวรรษ เกิดศาสนาอิสลามในประเทศอาหรับ ดินแดนใกล้ๆกับปาเลสไตน์นั้น ทีนี้ศาสนาอิสลามก็เลยได้รับเอาข้อธรรมของพวกยิวและพวกคริสเตียนเข้ามาไว้ด้วย คือในศาสนาอิสลามนี่ พระคัมภีร์ของเขารับเอาพระศาสดายิวก่อน ๆ เข้าไว้ด้วย ว่าจะถึงพระศาสดาโมฮัมหมัด; ฉะนั้น จึงมีชื่อตรงกัน อาดัมกับอีฟนั้นก็มี เรียกว่าพระศาสดาอาดัม อับราฮาม โนฮฺอา โมเสส เรื่อยมาจนกกระทั่งอิชา อิซานี้คือพระเยซู หลังจากพระเยซูคืออีซาแล้ว ก็คือพระโมฮัมหมัดในคัมภีร์กุรฺอาน รวบเอาพระศาสนาตั้งแต่คนแรกของยิวเข้ามาไว้ด้วย ฉะนั้น อะไรต่ออะไร ยังคล้ายยิวอยู่มาก ถือคัมภีร์เก่าอย่างพวกยิว อย่างเช่นไม่กินเนื้อหมูเป็นต้น นี้เนื่องจากว่าในประเทศอาหรับนั้น คนมันไม่เหมือนกัน คือมันดุร้ายอันธพาลไม่มีการศึกษา แต่ในประเทศยิวคนมันมีการศึกษา แล้วมันเป็นคนฉลาดเป็นคนขยันขันแข็ง มันจะแปลกอยู่ก็แต่ว่ายิวนั้นขี้เหนียว คริสเตียนนั้นใจกว้าง เมื่อมาถึงอาหรับนี้ มันเป็นอย่างนั้นไม่ได้ มันก็ต้องแก้ไขอะไรบ้าง ทีนี้คนมันไม่มีการศึกษา คนอยู่ทะเลทราย ยากจนขัดสน เมื่อมันโง่ก็ต้องใช้วิธีบังคับ เพราะฉะนั้น พระโมฮัมหมัดจึงต้องใช้อาชญา ใช้การบังคับให้ถืออย่างเฉียบขาดแล้วก็ให้เห็นแก่สังคม เพราะว่าสังคมยังเลวมาก เพราะฉะนั้น บทบัญญัติจึงมีเกี่ยวกับสังคม เกี่ยวกับบิดามารดา เกี่ยวกับญาติพี่น้อง เกี่ยวกับเพื่อนฝูง เกี่ยวกับอะไรต่าง ๆ เพื่อสังคมจะได้ดีขึ้นโดยเร็ว ส่วนที่เกี่ยวกับพระเจ้าก็ถือตามเดิมอย่างพวกยิว แล้วก็ผนวกพระเยซูเข้าไปด้วย ฉะนั้นเรื่องไม่ให้เก็บดอกเบี้ย เรื่องไม่ให้ทำอะไรต่าง ๆ หลาย ๆ อย่างนี้ เหมาะแก่คนทีนั่นที่สุดแล้วที่จะแก้ไขสังคมให้ดีขึ้น มันจำเป็นที่จะต้องมีศาสนาอย่างนั้น ขึ้นที่นั่น; ก็เรียกชื่อศาสนาอิลสาม ดูจะเป็นน้องสุดท้อง ศาสนาที่ 11 เป็นน้องสุดท้อง
            ทีนี้ ต่อมาหยก ๆ นี้ มันก็เกิดคนที่คิดว่า ส่วนนั้นของศาสนานั้นดี ส่วนนี้ของศาสฟนานั้นดี เอาของยิวบ้าง มารวมเป็นศาสนาบาฮออิ อย่างนี้เป็นต้น ที่ประเทศเปอร์เซีย ก็แพร่หลายมากเหมือนกัน มันเป็นศาสนาผสมพันธุ์ใหม่ เจตนาก็ดีมาก แล้วก็ดูอีกนิดว่า มันเป็นกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา หรือเปล่า ที่ทำให้เกิดศาสนาพันธุ์ผสมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีแต่ก่อน ในอเมริกาก็มี ในยุโรปก็มี เขาเรยกชื่อกันแปลก ๆ จำไม่ไหว หัวหน้าหรือศาสนาเป็นผู้หญิงก็มี แต่รวมเรียกเป็นพวกเดียวหมดว่า ศาสนาผสมใหม่ ศาสนาสุดท้องแท้ ๆ ก็คือศาสนาอิสลามของพระโมฮัมหมัด เป็นศาสนาที่ 11 นี้ ส่วนศาสนาที่ 12 นี้เป็นพันธุ์ผสมใหม่ ๆ เช่นศาสนาบาฮออิ เป็นต้น
          ในโลกนี้เรากำลังมีศาสนาอยู่ถึง 12 ศาสนา; คือโหลหนึ่งเชียวนะโว้ย แล้วจะทำอย่างไรกัน? เมื่อคนต้องถือศาสนาถึง 12 ศาสนาอย่างนี้ มันก็เหมือนกันไม่ได้ในทุกวิถีทาง นี้ถ้าไปเกิดยึดมั่นถือมั่นในเรื่องเปลือกเรื่องกระพี้แล้วนั่นแหละคือต้นเหตุของการทะเลาะวิวาท แก่งแย่ง ฉะนั้นเราก็จะต้องคิดกันบ้างว่าควรจะมีการประนีประนอม การทำความเข้าใจ การทำให้เกิดความรักใคร่ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยเนื้อแท้อย่าให้ขัดกัน แม้จะผิดแผกแตกต่างกันในส่วนเปลือกแต่เนื้อในก็อย่าให้มันเป็นข้าศึกเป็นศัตรูกัน เช่นว่าอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ผัวกินหมูเมียไม่กินหมู อย่างนี้มันก็ควรจะอยู่กันได้ ถ้าถือหลัก อิทัปปัจจยตา: คือหลักที่จะดับทุกข์ ดังอะไรกันจริง ๆ จัง ๆ นั้น ให้มันมีอยู่เหมือนกันแล้ว ส่วนจะนุ่งห่มอย่างไร กินอยู่อย่างไร อะไรอย่างนี้ มันก็ไม่ควรจะยึดถือ; ไปยึดถือก็โง่ที่สุด เพราะไปยึดถือในสิ่งที่ไม่ควรจะยึดถือ อย่างจะยึดถือห่มจีวรอย่างนั้นห่มจีวรอย่างนี้แต่งตัวอย่างนั้น แต่งตัวอย่างนี้ มันก็ไม่ควรจะยึดถือ ถ้าว่าเขาถือหลักธรรมถูกต้องใช้ อิทัปปัจจยตา เป็นเครื่องดับทุกข์อย่างนี้ พระเมืองจีนจะใส่กางเกงก็ได้ พระธิเบตจะนุ่งกระโปรงก็ได้ พระไทยจะนุ่งห่มสบงจีวรก็ได้ อะไรก็ควรจะได้ เพราะว่าที่อยู่มันไม่เหมือนกัน มันผิดกันมาก เนื้อตัวมันก็ผิดกันมาก อะไรมันก็ผิดกันมากอย่าถือเอาอย่างนั้นเป็นศาสนา ถือเอาการปฏิบัติที่ดับทุกข์ได้เป็นศาสนา แล้วก็จะไม่มีอะไรพ้นไปจากกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา คือรู้ว่าทุกข์มันเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ให้ถูกต้อง แล้วก็จัดการมันให้ถูกต้องที่นั่น
            ทีนี้ เรามันไม่เป็นอย่างนั้น : ศาสนาแต่ละศาสนา เจ้าหน้าที่อยู่ใต้อำนาจของกิเลส เจ้าหน้าที่ทางศาสนาก็คือนักบวชทางศาสนานั้น ๆ แหละ ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของศาสนานั้น ๆ ก็ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส เห็นแก่ประโยชน์ ที่เป็นประโยชน์จะทำแต่ให้ได้เงิน; นี่พูดกันอย่างนี้ว่า ให้ได้กำลัง ให้ได้อำนาจสำหรับจะแสวงหาหรือว่าเป็นบังคับผู้อื่น ให้ได้มากขึ้นไปอีก เขาต้องการอำนาจ ต้องการอิทธิพลอย่างนี้ บางครั้ง บางคราว บางพวก บางประเทศ เอาศาสนานี้เป็นการเมืองสำหรับหาเมืองขึ้น โดยเอาศาสนาเป็นทัพหน้าอย่างนี้ก็มี อย่างนี้มันหนักไปแล้ว มันพ้นหน้าที่ของศาสนา
        เราจะต้องต่อรองกัน ตามหัวข้อของเราที่จะพูดกันในวันนี้ ว่าถ้าจะมีการต่อรองกันในระหว่างศาสนา จะใช้อะไรเป็นเดิมพันสำหรับต่อรอง ให้มันพูดกันรู้เรื่อง อาตมาเห็นว่าไม่มีอะไรดีกว่าหลักธรรมเรื่อง อิทัปปัจจยตา โดยหวังว่าจะไม่มีใครค้านได้ โดยหวังว่าทุกคนพอจะยอมรับได้ ถ้าทำความเข้าใจกันให้ถูกต้อง ความมุ่งหมายในการต่อรองนี้ เราเอาแต่เพียงว่า ให้เจ้าหน้าที่ของทุก ๆ ศาสนายอมรับ ความมุ่งหมายหรือใจความสำคัญของศาสนา ทุกศาสนานั้นมันตรงกัน; ตรงกันคือว่า ให้ทำลายความเป็นแก่ตัว พอไปดูกันในแง่นี้จะเห็นจริงว่าทุกศาสนามันสอนให้ละกิเลส ให้ทำลายความเห็นแก่ตัว แต่วธีการมันต่างกัน : อันหนึ่งถือดาบ อันหนึ่งมีแต่ปากพูด หรือว่าอันหนึ่งมีพิธีรีตอง อันหนึ่งมีการชี้แจงกันด้วยสติปัญญา มันแล้วแต่สถานะ เหตุการณ์ เวลา สถานที่ ยุคสมัย แต่แล้วเขาก็มุ่งหมายโดยลบริสุทธิ์ในว่า ให้ทำลายความเห็นแก่ตัว
            อย่างศาสนาอิสลามถูกหาว่าดุร้าย ก็ดูเถอะ ไม่ให้เก็บดอกเบี้ย อย่าให้เอาดอกเบี้ยแก่เพื่อน ให้ยอมก็ให้ยืม ให้ก็ให้ อย่าทำอย่างเก็บดอกเบี้ย นี้ไม่เรียกว่าทำลายความเห็นแก่ตัวแล้ว จะเรียกว่าอะไร ส่วนข้อที่ว่าไปบังคับให้เขาถือศาสนานั้น คือไปบังคับให้เขาทำประโยชน์แก่ตัวเอง โดยถือว่าศาสนาที่ถืออยู่นั้นมนยังผิดอยู่ เปลี่ยนเสียให้ถูก ถ้าไม่เปลี่ยนฉันจะฆ่าแก ดังนั้นเขาก็ทำไปด้วยเจตนาดี แต่ที่นี้ ลูกศิษย์หรือเจ้าหน้าที่มันทำผิดหลักการของความมุ่งหมายเดิมเอาอย่างนั้น เอาอย่างนี้ เอาย่างโน้น เข้ามาแฝงจนเสียกันไปหมดทุกศาสนา มันจึงมองหน้ากันไม่ได้ในระหว่างศาสนาต่อศาสนา
            ทีนี้ เขาก็เพราะนิสมัยให้ลูกเด็ก ๆ นี่เกลียดชังศาสนาอื่น ความเสียหายร้ายกาจอยู่ทมี่ตรงนี้ พ่อแม่คนโต ๆ นั้น เมื่อเกลียดศาสนาอื่นแล้ว มันก็พูดจาไปในทำนองที่ว่าให้ลูกนั้นเกลียดชังศานาอานให้เข้ากระดูกดำ เมื่ออาตมาเป็นเด็ก ๆ ยังเคยได้ยินอยู่ที่บ้าน บ้านมันติดต่อกับบ้านอิสลาม เด็กอิสลามเขาร้องเย้ยร้องล้อว่า พระของกูกินขนุน พระของมึงมาขอ พระของกูไม่ให้ เอาเปลือกครอบหัวพระของมึง เขาว่าอย่างนี้ พระพุทธรูป มีเส้นผมคล้ายกับเปลือกขนุน; นี้ผู้ใหญ่สอนทั้งนั้นเลย เด็ก ๆ จะเอาจากไหนมาพูด นี่มันยุให้เกลียดชังกันในระหว่างศาสนาถึงขนาดนี้ นี่คือเรื่องจริงที่อาตมาเคยประสบมาเองแล้ว เด็ก ๆ มันก็บอกเพื่อนของมันต่อไป สำหรับจะได้ด่าเด็ก ๆ ที่ถือพุทธ คือให้ด่าอย่างนี้ นี้เป็นตัวอย่างเพียงอันเดียวเท่านั้น มันยังมีอีกมาก ที่มันทำให้เกิดการเกลียดชังกันขึ้นในระหว่างศาสนา แล้วมันก็เกลียดคน; เพราะฉะนั้น มันจึงเกลียดกันจนเข้ากระดูกดำจนกระทั่งบัดนี้
            อาตมาพยายาที่จะเกลี้ยกล่อม พยายามอยู่มาก พยายามให้หันมาศึกษาข้อเท็จจริงทางวิชาความรู้กัน ก็ได้ผลบ้า สำหรับคนที่มันไม่เข้าใจ มันก็ไม่ได้เลย อาจารย์ของอาตมาพยายามเกลี้ยกล่อมพวกอิสลามนี้ ด้วยการช่วยเหลือ ด้วยการสงเคราะห์ ด้วยการช่วยเหลือให้หยูกให้ยาเมื่อเจ็บไข้ ดึงดื่นอุตส่าห์ไปหา ไปรักษาที่บ้านอิสลามนั้น พวกอิสลามเขาก็นับถือรักใคร่ ช่วยเหลืออาจารย์ หาแต่ช่วยเหลืออย่างคนต่อคน ไม่ใช่ช่วยเหลือเกี่ยวกับศาสนา มันทำได้เพียงเท่านี้
            นี้ยกตัวอย่างให้เห็นความเกลียดชังระหว่างศาสนา ระหว่างสมาชิกของศาสฟนา ในเมื่อมันเกิดไปยึดถือเปลือกของศาสนากันเข้ามา; เป็นการต่อรองที่ว่าเอาเปลือกเหวี่ยงไว้เสียทางอื่น เอาเนื้อในมาดูกัน
            พระศาสดาสอนให้ทำลายความเห็นแก่ตัวด้วยกันทั้งนั้น; ให้ยอมรับว่าทุกศาสนามีความมุ่งหมายเหมือนกัน เห็นอกเห็นใจกัน ว่าอย่างเห็นแก่ตัว ให้เห็นแก่ผู้อื่นด้วย พระเยซูสอนมากถึงกับว่า เห็นแก่ผู้อื่นหมดเลย อย่างนึกถึงตัว พระพุทธเจ้าก็มีวีทำให้หมดความรู้สึกว่าตัวไปเสียเลย จะว่าเก่งกว่าพระเยซูก็ได้ ไปคิดเอาเองเถอะ อาตมาแนะพวกคริสเตียนที่เป็นเพื่อนฝูงกันว่า พุทธศาสนาอยู่ที่ไม้กางเขน คุณไม่เห็นหรือ ไม้กางเขนอันยืนนั่นคือตัวฉัน อันขวางคือตัดมันเสีย เขาเลยหัวเราะ แต่ก็ค้านไม่ได้
            เราพยายามที่จะทำความเข่าใจนี้ ก็เพื่อความถูกต้องและเพื่อความจริง ความจริงธรรมชาติมันสร้างมาให้มนุษย์ทุกคนรักกัน ไม่ใช่เกลียดกัน แล้วศาสนาเกิดขึ้นในโลกก็เพื่อให้ทุกคนรักกัน ไม่ใช่ให้เกลียดกัน ฉะนั้น เราจะต้องหาทางประนีประนอมปรองดองต่อรองอะไรก็ตาม ให้ทุกคนในศาสนา เจ้าหน้าที่ของทุกศาสนายอมรับว่า หัวใจของศาสนาแต่ละศาสนาเหมือนกัน : คือจะต้องทำลายความเห็นแก่ตัว คืออย่างเอาเปรียบผู้อื่น อย่าเบียดเบียนผู้อื่น ให้คนทั้งโลกมันเป็นคน ๆ เดียวกัน เพราะศาสนาที่ถือพระเจ้าทั้งหลายในเครือนั้น ตั้งแต่ศาสนายิวเป็นต้นมา เขาว่าทุกคนออกมาจากพ่อแม่คู่แรกคู่เดียว คืออาดัมกับอีฟ ที่นี้มาทะเลาะกันก็บ้าเลย แต่พวกฝรั่งมันไม่เชื่อ มันก็เลยทะเลาะกัน
            โดยหลักของพุทธศาสนาเราก็จะต้องถือตามหลัก อิทัปปัจจยตา ว่า ต้นตอทีแรกของมนุษย์ ก็ต้องมาจากจุดใดจุดหนึ่ง ที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งเป็นจุดเดียวอันเดียวแล้วก็ขยายออกมา คลอดออกมามาก หลักนี้ก็จะตรงกันได้ทุกศาสนา เพราะว่าตามความรู้สึกสามัญสำนึก มันต้องคิดอย่างนั้น เพราะมันเห็นอยู่ทุก ๆวันว่า คนคลอดออกมาจากพ่อแม่ จากพ่อแม่-จากพ่อแม่ ๆ พอถอยหลังขึ้นไป มันน้อยเข้า ๆ ๆ จนถอยหลังสุดท้าย มันก็คงจะมีคนเดียว คู่เดียวเหมือนกัน ฉะนั้นเราควรจะรักกันอย่างกับว่าทั้งโลกนี้เป็นคน ๆ เดียว ให้ถือว่านี้เป็นหัวใจของศาสนาทุกศาสนา
          ข้อที่ 1 ให้ยอมรับว่ามี่ความมุ่งหมายตรงกัน ข้อที่ 2 ให้ยอมรับว่ามันต้องมีอะไรเหมือนกันพอที่จะคบค้ากันได้ ไม่มีส่วนที่จะเป็นศัตรูกัน ข้อที่ .3 ถ้าว่าทำได้ดีมากกว่านั้น ก็คือทำให้เกิดความรู้สึกว่า ยินดีที่สุดที่จะคบกัน อาตมาเอาคนหนึ่งแล้ว ท่านทั้งหลานยตจะเอาหรือไม่เอาก็ตามใจ อาตมาคนหนึ่งยินที่จะคบกับทุกศาสนาไม่รังเกียจเกลียดชังใคร ยินดีเต็มที่ ข้อที่ 4 ต่อรองว่า ถ้าอย่างไร ๆ ก็ยอมให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในศาสนาของตนเสียบ้าง เพื่อให้มันเข่ากันได้กับศาสนาอื่น ส่วนใดที่มีอยู่ในศาสนาของตน ที่มันเป็นเครื่องขัดแย้งกันนั้น ขอให้ช่วยกันปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขเสียบ้าง มันจะได้ไม่เป็นอุปสรรคในการที่จะเข้ากันกับศาสนาอื่น
            เรื่องปรับปรุงให้เข้ากันได้นี้ จะถืออย่างวิธีที่พวกพุทธเราถือ ก็มีอยู่อย่างหนึ่งว่า : ถ้าสิ่งใดมันจะขัดแย้งกับผู้อื่นแล้ว ก็ให้ฝังดินเสีย ไม่ต้องเลิกล้างหรือเพิกถอนอะไร แต่ว่าให้ปิดไว้สัย อย่าเอามาพูดกัน อย่างนี้พระพุทธเจ้าก็เคยใช้วี เยภุยยสิกา หรืออะไรก็ตามที่เรยกว่า ติณวัตถารกะ; นี้ฝังดินเสีย วีระงับอธิกรณ์ มีอยู่อย่างหนึ่งเรียกว่าเอาไปฝังดินเสีย : ติณวัตถารกะ : เอาไปไว้เสียใต้หญ้า : ถ้าเรื่องนั้นมันพูดกันไม่ลงไม่มีอะไรที่จะพูดลงกันได้ แล้วก็ให้เอาไปฝังดินเสีย อย่างพูดกันเลย
            มีอยู่คราวหนึ่ง พระสาวกไม่เชื่อจะถียงกันให้แตกหักให้จงได้ คือคราวทีพระธรรมกถึก กับพระวินัยธร เกิดทะเลาะวิวาทกันจนเป็นสังฆเภท จนพระพุทธเจ้าเสด็จหนีไปอยู่เสียในป่ากับช้างกับลิง เรื่องป่าเลไลยก์นี้ ทีหลังชาวบ้านรู้เข้าก็เลยไม่ใส่บาตรให้พระเหล่านี้ฉัน ต้องเปลี่ยนจิตใจกันใหม่ ดีกันเสียใหม่ ร่วมสังฆกรรมกันใหม่ จึงจะมีข้าวฉัน ข้อนี้เพราะไม่เชื่อพระพุทธเจ้าว่าเรื่องนี้ต้องระงับด้วยวีติณวัตถารกะ : อย่ามาฟื้นว่าใครผิดใครถูกจะเอากันให้แตกหัก; เอาไปฝังดินเสียเพราะว่าเรื่องมันไม่สำคัญ มันเรื่องปลีกย่อย
            ดังนั้น ในระหว่างศาสนาต่อศาสนาก็เหมือนกัน ถ้าเรื่องใดมันปลีกย่อยเรื่องนั้นอย่ายกขึ้นมาเป็นอันขาด ในเรื่องเรากำลังพูดกันอยู่กับศาสนาอื่น คล้ายๆ กับว่าเอาไปฝังดินเสีย นี้ถ้าต่อรองกันได้ถึงอย่างนี้แล้ว ก็จะไม่เท่าไร ทุกศาสนาจะยิ้มเข้าหากัน จะมองดูกันด้วยสายตาแสดงความรัก เข้ากันสนิทเหมือนน้ำกับน้ำนม สำนวนบาบีว่าอย่างนี้ ไม่ใช่อาตมาคิดสำนวนนี้ขึ้นมา ความรักความสามัคคีพระพุทธเจ้าท่านตรัสด้วยสำนวนอย่างนี้ เดี๋ยวนี้เรามันเหมือนน้ำกับน้ำมัน มันไม่ยอมเข้ากัน แล้วยังทำอันตรายแก่กัน นี้เราต่อรองว่าให้ดูในส่วนลึกว่าหัวใจมันตรงกัน มันพอจะคบค้ากันได้ ถ้าเห็นถึงที่สุดก็ยินดีจะคบค้ากัน และต่อฝ่ายก็ยอมรับปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ส่วนที่มันเป็นหนาม เป็นเงี่ยง เป็นเขา เป็นอะไร ที่มันจะเกะกะระรานผู้อื่น นั้นให้มันหายไปเสีย มันก็เข้ากันได้เป็นแน่นอน
            นี่แหละมองดูเถอะว่า แง่ของการต่อรอง ไม่มีอะไรจะดีไปกว่า อิทัปปัจจยตา สำหรัขบพวกเรา สำหรับพวกเรา สำหรับพุทธบริษัทเราถือเดิมพันอันนี้ไว้เถอะ ถือเดิมพนว่า อิทัปปัจจยตา นี้เข้ราไปทำการต่อรอง มันเป็นกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ของธรรมชาติใครคัดค้านไม่ได้ เราชี้แจงให้เห็นว่า เพราะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น นี้คือพระเจ้า; เราก็มีพระเจ้า พระเจ้าของคุณก็อย่างนั้นแหละ มันต้องมีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย มันจึงเกิดขึ้นมาได้ : เราจะเรียกตัวเหตุหรือปฐมนั้นว่าอะไรก็ตาม แต่ฉันเรียกว่า พระธรรม”; ท่านจะเรีกว่า พระเจ้า มันก็ไม่ควรจะทะเลากัน แต่พระเจ้าของฉันอธิบายได้เป็น อิทัปปัจจยตา
            ธรรมะที่มีกฎเกณฑ์เป็น อิทัปปัจจยตา นี้คือพระเจ้า เพราะว่า อิทัปปัจจยตา นี้ทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น เหมือนพระพรหมสร้างโลก อิทัปปัจจยตานี้ควบคุมสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา เหมือนพระนารายณ์ควบคุมโลก หรือว่า อิทัปปัจจยตานี้ทำให้ที่ยุบโลก เลิกล้างโลกเสียเป็นคราว ๆ เหมือนหน้าที่ของพระศิวะ พระพรหมสร้างโลก พระนารายณ์คุ้มครองควบคุมโลก พระศิวะทำลายโลก แล้วพระพรหมก็สร้างโลกอีก พระนารายก็ควบคุมโลกอีก มันเวียนกันอยู่อย่างนี้ พระเจ้าของฉันคือ อิทัปปัจจยตา คือพระเจ้าที่พิสูจน์ได้ง่าย ๆ สำหรับคนที่มีปัญญา แต่พ้าคนทั้งหลายส่วนมาก จะเรียกโดยใช้อุปมา ก็ให้เรียกว่าพระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์ไปก็ได้ ฉันไม่รังเกียจ แล้วคุณก็ไม่ควรจะรับเกียจ อย่างนี้เรียกว่า เป็นการต่อรอง
            เราเสนอข้อต่อรองว่า เมื่อศาสนาของเรา ของคุณก็ตาม ของฉันก็ตามมันมีอยุ่หลายแง่หลายมุม; สำหรับแง่มุมที่มันเกะกะกัน ก็อย่าเอามาซิ จงเล่อกเอาแต่แง่ที่มันไม่เกะกันกัน นี่จะมาถึง อิทัปปัจจยตา ข้อเท็จจริงนี้มันจะไม่เกะกะระรานใคร แล้วไม่ดูหมิ่นใคร ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ชข่มเหงใคร มีลักษณะที่ใคร ๆ ก็ยอมรับได้ : เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ย่อมเกิดขึ้น พุทธศาสนามีสิ่งนี้เป็นหัวใจ ส่วนแง่มุมอื่น ๆ นั้น มันเป็นข้อปลีกย่อย แล้วข้อปลีกย่อยเหล่านั้นบางทีผิด เพราะเขาไปอธิบายผิด เพราะเวลามันล่วงมานาน อันนี้เป็นธรรมดา ทุกศาสนาจะต้องมีส่วนที่อธิบายผิดโดยไม่รู้ตัว ที่รู้ตัวแกล้งอธิบายผิดก็มี เพราะเห็นแก่ประโยชน์
            ถ้าศาสนาของคุณจะถือว่ามีเพียงแง่เดียว ก็ควรจะต้องปรับปรุงอย่าให้ศาสนาของคุณนั้นถูกค้านได้ ด้วยหลักของ อิทัปปัจจยตา เมื่อคุณเองก็ค้านหลัก อิทัปปัจจยตา ไม่ได้ แล้วคุณก็ควรจะทำให้ศาสนาของคุณนั่นแหละถูกค้านด้วย อิทัปปัจจยตาไม่ได้ ให้มันเป็นศาสนาที่มีเหตุผลเสียซิว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ย่อมเกิดขึ้น ถ้าจะถือว่าศาสนาของตนมีแง่เดียว มันต้องไม่ขค้านกับ อิทัปปัจจยตา ถ้าว่ามีหลายแง่ สำหรับแง่ที่ค้ากันกับ อิทัปปัจจยตา ก็ไม่ต้องเอามาพูด
        ทีนี้ ที่ว่าใครจตะผิดใครจะถูก หรือใครจะยอมให้แก่ใครนี้ มันก็ต้องมีการพิสูจน์ ถ้าพิสูจน์อย่างอื่นไม่ได้ : ขอให้จำไว้ด้วยว่า ถ้ามันพิสูจน์อย่างอื่นไม่ได้ด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ว่าอะไรผิดอะไรถูก ก็ให้พิสูจน์โดยข้อที่ว่า มันดับทุกข์ได้หรือไม่; ถ้ามันดับทุกข์ได้แล้ว มันเป็นของถูกแน่ ส่วนจะถูกมากถูกน้อย ถูกขนาดกลางก็ตาม ก็ขอให้ดูในข้อที่ว่า มันดับทุก็ได้กี่มากน้อย ถาวรหรือชั่วคราว ถ้ามันดับทุกข์ได้เป็นถูกแน่ : ถ้าดับได้มากก็ถูกมาก ถ้าดับได้ถาวร ไม่ใช่ดับชั่วคราวมันก็ถูกหมด ฉะนั้น กฎเกณฑ์อันไหนมันดับทุกข์ได้ เห็นอยู่แท้ ๆ แล้วก็ถือว่าถูกด นี้ต่อรองกันโดยวางหลักเกณฑ์อย่างนี้ ส่วนที่มันขัดแย้งกัน มันก็จะต้องค่อย ๆออกไป ออกไป ๆ นี้คือ อิทัปปัจจยตา มันเข้ามาพิสูจน์เหมือกับตุลาการนั้นแหละ มันยืนอยู่เป็นหลักอย่างนี้ ซึ่งใคร ๆ ก็เถียงไม่ได้ แม้แต่คอมมิวนิสต์ก็เถียงไม่ได้ สำหรับหลักศาสนาที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา นี้ เมื่อมีสิงนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี่ ๆ จึงเกิดขึ้น พวกที่ไม่ถือศาสนาไหนเลย มันก็ค้านไม่ได้ แล้วเดี๋ยวนี้คนที่ไม่ถือศาสนาอะไรเลยนั้นไม่มี : ถ้าไม่ถือพระเจ้าจริง ก็ถือพระเจ้าเงิน เงินก็เป็นศาสนาของเขา เหมือนศาสนาฮิตาชิอย่างที่เล่ามาแล้ว นี้คือถ้าพิสูจน์อย่างอื่นไม่ได้ ไม่ตกลงกันแล้ว ก็พิสูจน์ว่าทำอย่างนี้ ๆ ๆ ๆ มันดับทุกข์ได้ไหม? ได้มากน้อยเท่าไร? ได้ชั่วคราหรือได้ตลอดกาล
            ถ้าเราจะเล่นอย่างแบบลูกไม้ ๆ ว่า อิทัปปัจจยตา นี้ มันจะเก่งสักเท่าไร ก็จะต้องพยายามพิสูจน์ว่า ถ้าสิ่งต่าง ๆ ไม่ใช่อิทัปปัจจยตา ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา แล้ว เราจะไปทำอะไรให้เกิดขึ้นมาตามที่เราต้องการไม่ได้ นี้หมายความว่าถ้ามันไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุตามปัจจัยแล้ว เราสร้างอะไรขึ้นมาไม่ได้ หรือว่าเราจะทำลายอะไรก็ทำไม่ได้ เพราะสิ่งทั้งหลายทุกสิ่งในโลก หรือนอกโลกหรือที่ไหนก็เถอะ มันอยู่ด้วยกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา เราจึงรู้จักกฎอันนี้ แล้วสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาได้ เช่นว่าจะสร้างรถยนต์ขึ้นมาสักคันหนึ่งนี้ เราต้องรู้กฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา เกี่ยวกับวัตถุธาตุทั้งหลาย ที่จะมาสร้างรถยนต์นี้ มันจึงจะสร่างรถยนต์ขึ้นมาได้ ทีนี้ ถ้าพระเจ้าสร้าง ท่านก็ไม่มาสร้างรถยนต์ให้เรา เราต้องสร้างเอง แล้วเราจะสร้างด้วยกฎเกณฑ์อะไร? ก็กฎเกณฑ์ของพระเจ้า อิทัปปัจจยตา นี่คือพระเจ้าสร้างรถยนต์ให้เรา
            ดังนั้น เรื่อง อิทัปปัจจยตา นี้ จะต้องเข้าใจความหมายให้ดี ถึงพวกรเที่เป็นพุทธบริษัทแล้ว นั่งอยู่ที่นี่ก็รู้เถอะว่า ถ้าปราศจาก อิทัปปัจจยตา แล้ว เราจะไปนิพพานก็ไม่ได้ คือจะถึงนิพพานไม่ได้ จะบรรลุนิพพานไม่ได้ จะดับทุกข์ก็ไม่ได้: จะสร้างบ้านอยู่สักหลังก็ไม่ได้ มันต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา เราพยายามสอนให้เข้าใจเรื่อง อิทัปปัจจยตาแก่เด็ก ๆ อย่าได้เข้าใจผิด อย่าไปดูถึงผู้อื่น อย่าไปดูถูกศาสนาอื่น เมื่อเขาพูออย่างปุคคลาธิษฐาน เราก็พูดอย่างธรรมาธิษฐานเท่านั้นเอง; แล้วเราอ่าไปดูถูกคนที่เขาต้องพูดอย่างปุคคลาธิษฐานเพราะว่าประชาชนมันยังไม่ฉลาดพอ
            นี่คือเค้าเงื่อนใหญ่ ๆ ที่ว่า เราจะทำการต่อรองกันระหว่างศาสนาให้เกดความรักใคร่ปรองดองกัน จนเหมือนกับว่ามนุษย์นี้เป็นคน ๆ เดียวกันทั้งสากลจักวาล ศาสนาไหนจะมีพิธีรีตองอย่างไร มีวีธีการยึดมั่นถือมั่นอย่างไร เขาก็มุ่งหมายที่จะทำลายความเห็นแก่ตัว : ถึงแม้ว่าจะไปสุขาวดีอย่างอาซิ้ม ก็เพราะว่ามันได้เพียงเท่านั้น อาซิ้มทำได้เพียงเท่านั้น; เพราะเมื่อมุ่งมั่นต่อพระอมิตาภะแล้ว แกก็ไม่ทำบาปทำชั่ว เพราะรู้อยู่ว่าพระอมิตาภะ ไม่ต้องการให้ทำบาปทำชั่ว พระอมิตาภะมีอวโลกิเตศวรเป็นเจ้าหน้าที่คอยดูแลอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง ใครทำบาปก็รู้ ใครทำดีก็รู้ ไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงสายตาของอวิโลกิเตศวรได้ แล้วพระเจ้าอมิตาภะ ก็รออยู่ในสุขาวิดี แล้วเราก็ทำแต่ความดี ที่ว่า ท่อง อมิตาภะ ๆ วันละพัน ๆ ครั้งนั้นก็เพื่อบังคับจิตใจไว้ ไม่ให้เป็นไปในทางชั่ว อย่างนี้แกก็ดีไปจนตาย เมื่อแกเชื่ออย่างนั้นแกก็ไม่มีทางที่จะเป็นทุกข์เลย; พอจะตายก็ยิ่งยินดี เพราะว่ารถมารออยู่แล้ว ไม่ต้องกลัว พอดับจิตก็ขึ้นรถไปสุขาวดี มันก็ไม่มีความทุกข์ มันไม่กลัวนี่ ขอให้มันเคร่งขลังเป็นสัทธาธิกะ เป็นผู้หลุดพ้นด้วยสัทธาธิกะอย่างนี้เถอะ อย่าไปดูถูกเขาเลย อาซิ้มเสียอีกจะกว่าอันธพาล ที่ยังระรานอะไรกันอยู่ เป็นพุทธบริษัทแล้ว ยังถือศีล 5 ก็ไม่ได้ อย่างนี้มันก็ไม่ไหว
        ฝ่ายพวกมหายานที่มาเหนือเมฆ คือพวกสุญญาตา เขาก็อธิบายเสียว่า อมิตาภะ นั้นแหละคือธรรมะสูงสุด อมิตภะ แปลว่า มีแสงสว่างมที่คำนวณไม่ได; อมิตายุ-มีอายุที่คำนวณไม่ได้ : มันก็มีแต่อสังขรธรรมเท่านั้น ถ้าพูดระบุชื่อก็ระบุไปยัง สุญญตา ที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้ สุญญตา คือสิ่งที่ไม่มีเหตุปัขจจัยปรุงแต่งได้ ท่านเว่ยหล่างเรียกว่า จิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้ คือจิตที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง และอะไรปรุงแต่งไม่ได้ จิตเดิมแท้นั่นแหละคืออมิตาภะคืออมิตายุ นี้เขาก็เรียกว่าสอนลัดสั้นเข้ามาอีก ให้รู้จักอสังขตธรรม คือนิพพานโดยชื่อว่าอมิตาภะ อมิตายุ พูดอย่างบุคคลาธิษฐาน ก็คือว่า พระนิพพานนั่นแหละคือ อมิตาภะ อมิตายุ; เพราะว่าพระนิพพานเท่านั้น ที่จะมีแสงสว่างคำนวณไม่ได้ พระนิพพานเท่านั้น ที่มีอายุคำนวณไม่ได้นับไม่ได้ นี่พวกมหายานที่เป็นประเภทปัญญา เขาอธิบายอมิตาภะอย่างนี้ พวกอาซิ้มก็หวังอมิตาภะอย่างอาซิ้ม เข้าไปอยู่แล้วก็ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตายต่อไป เหมือนกันอย่างนี้เป็นต้น
            นี่เราจะเห็นได้ว่า ผู้สอน เขาฉลาดมากที่จะมีให้เลือกทุกแง่ทุกมุม : เมื่อ 8000 ปีมาแล้ว เมื่อ 5000 ปีมาแล้ว เมื่อ 2500 ปีมาแล้ว  และเมื่อราว ๆ 2000 ปีมาแล้ว เมื่อราว 1600 ปีมาแล้ว นี้มันต้องสอนอย่างนั้น ๆ ๆ ๆ ในที่นั่นในถิ่นนั้น ๆ ถ้าสมมติว่าในที่เดียว เช่นในประเทศจีนอย่างนี้ จะสอนเดี๋ยวนี้ จะสอนเหมือนกับ 5000 ปีมาแล้ว มันจะได้อย่างไร มันต้องเปลี่ยน มันก็เปลี่ยนมาตามความเหมาะสม ดังนั้นไม่ควรจะมีอะไรขัดแย้งกันในระหว่างศาสนาใหญ่ โดยถือเอา อิทัปปัจจยตา เป็นเดิมพันเข้าไปพูดจา เข้าไปต่อรอง อาตมาคิดได้เพียงเท่านี้ ก็พูดอย่างนี้ แล้วก็อยากจะทำอย่างนี้เหมือนกัน คือทำความเข้าใจในระหว่างศาสนา
            เวลาเหลืออยู่นิดหน่อยก็อยากจะพูดการต่อรองอีรกแบบหนึ่ง คือในคู่ๆ คู่ตรงกันข้าม คู่ปฏิปักษ์ที่ตรงกันข้ามใกล้ชิดกันที่สุด เช่นพวกหนึ่งถือศาสนาซ้ายจัด พวกหนึ่งถือศาสนาขวาจัด หมายความว่าตางกันข้ามก็แล้วกัน เดี๋ยวนี้ในโลกก็มีศาสนาขวาจัดซ้ายจัด พอจะเข้าใจได้ว่าเล็งถึงอะไร เราบอกว่า อิทัปปัจจยตาอีกว่า มีนอยู่ตรงกลาง อย่าซ้ายจัดอย่าขวาจัด อิทัปปัจจยตา มันอยู่ตรงกลางไม่มีซ้าย ไม่มีขวาดีกว่า มันไม่ต้องตบตีกัน ถ้ามีมือซ้ายกับมือขวาเดี๋ยวก็ตบตีกัน ถ้ามันไม่มีเสียทั้ง 2มือ มันก็ไม่รู้จะตบอะไร อย่างนี้ดีกว่า; คือ อิทัปปัจจยตาเท่านั้น ไม่ต้องมือซ้ายมือขวา
            คู่ต่อไปพวกหนึ่งถือว่า มีพระเจ้า อีกพวกหนึ่งถือว่า ไม่มีพระเจ้า ขอบอกว่าป่วยการที่จะถือว่ามีพระเจ้าหรือไม่มีพระเจ้า มันต้องพูดกัว่าพระเจ้าอะไร? พระเจ้าอย่างไรหรือชนิดไหน? ที่ถูกควรจะมองเห็นว่ามีแต่ อิทัปปัจจยตา จะเรียกว่าพระเจ้าก็ได้; ไม่เรียกว่าพระเจ้าก็ได้ ถ้าจะเรียกว่าพระเจ้า ก็คือมันสร้างอะไร มันทำลายอะไร นี่คือพระเจ้าอิทัปปัจจยตา ถ้าจะไม่เรียกว่าพระเจ้าก็ได้ เพราะว่ามันไม่ใช่พระเจ้าอย่างที่ท่านนึก ซึ่งเป็นพระเจ้า ที่เป็นคน เป็นเทวดา โกรธก็ได้ เกลียดก็ได้ เดี๋ยวให้รางวัล เดี๋ยวลงโทษก็ได อิทัปปัจจยตา จะไม่เรียกว่าพระเจ้าก็ได้ เพราะมันไม่ใช้คนที่มีอารมณ์แบบนั้น แต่ถ้าจะให้เป็นพระเจ้าก็ได้ นึ้คืออำนาจที่ไม่รู้จัก มองไม่เห็น ที่เหลาจื๊อบอกว่ามันเป็นรูปก็ไม่ใช่ เป็นนามก็ไม่ใช่ เป็นจิตก็ไม่ใช่ เป็นกายก็ไม่ใช่ ขอเรียกว่า เต๋า ไว้ทีก่อนเถอะ นี้ก็เหมือนกัน ขอให้เรียกว่าพระเจ้าไว้ทีก่อนเถอะ ก็ได้ แต่ไม่ใช่รูป ไม่ใช่นาม ไม่ใช่คน ไม่ใช่ผีไม่ใช่วิญญาณ ไม่ใช่อะไรอย่างนั้น มันอะไรก็ไม่รู้; ฉะนั้นอย่ามามัวทะกันว่ามีพระเจ้าหรือไม่มีพระเจ้าเลย ขอให้ยอมรับเสียว่ามีแต่สิ่งที่สร้างและควบคุม และทำลาย และมีรอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง เป็นสิ่งทุกสิ่งที่มันมี สิ่งนั้นมี! ถ้าใครอยากเรียกว่าพระเจ้าก็เรียกไป ไม่อยากเรียกว่าพระเจ้า ก็ไม่ต้องเรียก แล้วเราก็ต่อรองกันได โดยกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา
            เอาละทีนี้ ขออภัยอย่าหาว่าล้อเลียน หรือดูถูก ยายแก่กับนักศึกษา : ยายแก่โบรมโบราณ กับนักศึกษาที่คงแก่เรียนนี้ เขาก็มีความเห็นขัดกัน เขาต่อรองว่าคุณยายเอ๋ย อย่าหวังให้มันมากนักเลย มันเป็นเพียง อิทัปปัจจยตา สวรรค์วิมานอะไรของคุณยายนั้น อย่าหวังให้มันมากนักเลย ผู้ที่เป้นนักศึกษาก็เหมือนกันยอมมองให้เห็นว่าสวรรค์วิมานนี้มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา ไม่ควรจะไปหลงใหลกับมัน เอาประโยชน์ที่นี่ดีกว่าสวรรค์วิมาน นี้คือว่าให้คุณยายแก่ ๆ กับผู้คงแก่เรียนนี้เข้าใจกันได้โดยอาศัย อิทัปปัจจยตา และทังสองฝ่ายก็ไม่หลงยึดมั่นถือมั่นในอะไรที่ยึดมั่นกันเสียอย่างหลับหูหลับตา
            คนหนึ่งถือศาสนาเงิน คนหนึ่งเขาถือศาสนาธรรมะ มันก็ต้องขัดกัน เราปรองดองกันเสียซิ สำหรับศาสนาเงินนั้นมันอ้วนในทางกาย ศาสนาธรรมะมันอ้วนในทางจิตทางวิญญาณ ดังนั้นขอให้มีมันทั้ง 2อย่าง ให้ถูกทางถูกวีพอเหมาะสม ให้ดีทั้งทางกาย ให้ดีทั้งทางจิตทางวิญญาณ ก็เลยไม่ใช่ศาสนาเงินหรือศาสนาธรรมะแล้ว เป็นศาสนาที่เหมาะสมที่สุด ถือศาสนา อิทัปปัจจยตาดีที่สุด : ร่างกายก็ดี จิตใจก็ดี
          ศาสนาของคนสมัยเก่า กับศาสนาของคนสมัยใหม่ ใช้ไม่ได้ทั้งนั้นแหละ : เก่ามันก็บ้าอย่างหนึ่ง ใหม่มันก็บ้าไปอีกอย่างหนึ่ง; มันต้องไม่เก่าไม่ใหม่ สิ่งที่ไม่เก่าไม่ใหม่ ค่อ อิทัปปัจจยตา นอกนั้นเปลี่ยนแปลงทั่งนั้น เก่าบ้างใหม่บ้าง สิ่งที่ไม่รู้จักเก่าไม่รู้จักใหม่ ก็คือ อิทัปปัจจยตา เราอย่าเป็นคนหัวเก่าอย่าเป็นคนหัวใหม่; อย่าถืออย่างเก่าอย่างใหม่; อย่าถือศาสนาเก่าศาสนาใหม่; นั้นเป็นเรื่องสมมติด้วยความไม่รู้ อิทัปปัจจยตา ศาสนาแท้จริงมันเป็นอย่างเต๋า หรืออย่างธรรม ธรรมะไม่ประกอบด้วยเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา; นี้เรียกว่าไม่ต้องมีศาสนาเก่า ไม่ต้องมีศาสนาใหม่ หรือถ้าคนสมัยเราจะไม่มีศาสนา คนหัวเก่าเขาก็คลั่งศาสนา ก็บอกเขาว่ามันมีศาสนาที่ถูกต้อง คือ อิทัปปัจจยตา เป็นศาสนาที่ถูกต้อง : ไม่เก่าไม่ใหม่ หรือว่าใช้ได้ทั้งเก่าและใหม่
            คนหนึ่งเป็นคนมั่งมี ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นคนยากจน : การถือศาสนามันก็ต่างกัน มันไม่กลมกลืนกันไปได้ เราว่าคนมีก็อย่าเหลิงไปเลย คนจนก็อย่าเศร้าสร้อยไปเลย มัน อิทัปปัจจยตา ทั้งนั้น ความมั่งมี หรือความยากจนนี้ หลอกลวงเท่ากัน ความจริงคืออิทัปปัจจยตา คนจนดีก็มี คนมั่งมีเลวก็มี คนจนเลวก็มี คนมั่งมีดีก็มี ไม่มีอะไรแน่นอน; ที่แน่นอนอยู่ ก็คือ อิทัปปัจจยตา ถ้ามีอิทัปปัจจยตาแล้ว ไม่มีจน แล้วก็ไม่มีมีด้วย; ไม่ต้องมั่งมีด้วย แล้วก็ไม่ยากจนด้วย มันเป็นของศักดิ์สิทธิ์อะไรก็ไม่รู; แต่จะทำให้อยู่สบาย คนจนมีความทุกข์ตามแบบคนจน คนมั่งมีก็มีความทุกข์ตามแบบคนมั่งมี ถ้ามองเห็นข้อนี้แล้ว ก็จะหมดอยากมีอยากจน แต่อยากจะเป็น อิทัปปัจจยตา คือเป็นมิชฌิมมาปฏิปทาอยู่ตรงกลางอย่างถูกต้อง พุทธศาสนาจะไม่พูดถึงมั่งมียากจน จะพูดแต่ว่าดับทุกข์ได้เป็นใช้ได้ : มั่งมียิ่งมีทุกข์มาก มันก็บ้าเลย; คนจนพอดับทุกข์ได้มันก็ดี มันไม่มีความทุกข์มันมีสูงสุดกันเพียงแค่นั้น
        คนหนึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ คนหนึ่งเป็นนายทุน มันก็ทะกันแน่นอน คนหนึ่งเป็นนายทุน คนหนึ่งเป็นกรรมกร นี้มันชกกันเพราะไม่รู้จัก อิทัปปัจจยตา คนมันต่อยกันชกกัน เพราะไม่รู้ อิทัปปัจจยตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่รู้เรื่องกรรม ถ้าพวกกรรมกร เขารู้เรื่องกรรมว่า โดยกฎของธรรมชาติ โดยกฎของ อิทัปปัจจยตา คนเราจะเหมือนกันไม่ได้ เท่ากันไม่ได้ โดยกฎของธรรมชาติ : คนจนก็ควรจะพอใจต่อสู้ไปกับความจน; คนมั่งมีก็ควรจะพอใจในความมั่งมี ไม่ต้องไปอิจฉาตาร้อนหรือไม่ต้องไปข่มเหงเหยียดเหยามอะไรกัน ถ้ารู้จักเรื่องกรรม คือ อิทัปปัจจยตากฎแห่งกรรมอย่างนี้ คนก็ไม่ชกต่อยกัน มหาสงคราม สงครามนี้มันเป็นเรื่องของกรรมกรกับนายทุกถือสิทธิเฉพาะตน แล้วก็เอาลัทธิเข้าครอบงำกัน แล้วก็ได้รบกัน นี้อาตมาเรียกว่า ชกกันเพราะไม่รู้จัก อิทัปปัจจยตา”; ฉะนั้น รีบสอนให้คนในโลกรู้จัก อิทัปปัจจยตา มันก็จะหมดความเป็นนานทุนหรือความเป็นกรรมกร คือถือศาสนาเดียวกันได้
            ที่ปลีกย่อยออกไปอีก ก็เป็นเรื่องของจิตใจ พวกหนึ่งถือสัสสตทิฏฐิ พวกหนึ่งถืออุจเฉททิฏฐิ มันบ้าทั้งสองพวก ดูให้ดี มันมีแต่ อิทัปปัจจยตาความจริงมันมีอยู่แต่ อิทัปปัจจยตา มันขึ้นอยู่กับ อิทัปปัจจยตา ถ้ามันจะหายสาปสูญไป มันก็เป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา ที่มันจะเกิดขึ้นมา มีอยู่ มันก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา นี้จะถือว่าอัตตา ว่าอนัตตา นี้มันก็ไม่ถูก แต่ว่ามันไม่มีคำจะพูด ก็ต้องพูดว่าอนัตตา อย่าพูดว่าอัตตา อย่าพูดว่าอนัตตานั่นแหละถูก; แต่พูดว่ามีหรือเป็นแต่ อิทัปปัจจยตา หรือเป็น ตถตา ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น ตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา อย่างนี้มันทำให้เลิกเสียได้ทั้ง 2  คำ คือ ไม่พูดว่าอัตตา ไมพูดว่าอนัตตา แต่พูดว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น เมื่อคุณอยากจะเรียกมันว่า อัตตา ก็เรียกไปซิ ฉันอยากจะเรียกว่าอนัตตาฉันก็ควรจะเรียกได้ แล้วเราก็ไม่ควรจะทะกัน ของจริงมีอยู่แต่เพียง ตถตา ความเป็นอย่างนั้น ความไม่เป็นอย่างอื่น เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม นี้เรียกว่า อิทัปปัจจยตา เลิกเถียงกันเรื่องอัตตา เรื่องอนัตตา มันจะไม่บ้าในทางทิฏฐิมานะอย่างอื่นต่อไปอีก
        ในเรื่องกามสุขัลลิกานุโยค เรื่องอัตตกิลมถานุโยค ก็เหมือนกันอีกนั้นแหละ พระพุทธเจ้าให้อยู่คตรงกลางคือ อิทัปปัจจยตา : อย่าหลงใหลในกามารมณ์; อย่าไปเกลียดชังกามารมณ์ พวกที่มันทายทรมานร่างกายตามแบบอัตตรกิลมาถนุโยค เขามีปรัชญาของเขาว่า ถ้าเราทำร่างกายให้มันหมดสมรรถภาพแล้ว กิเลสก็ไม่เกิด กามารมณ์ก็ไม่เกิด นี้เขาจึงถือเป็นอัตตกิลมถานุโยค ทรมานร่างกายอยู่เรื่อยให้หมดสมรรถภาพในการที่อยากในกาม ก็ถูกของเขา แต่มันถูกเพียงแค่นั้น ทีนี้พวกกามสุขัลลิกานุโยค ก็ว่า โอ๊ย ไม่กี่วันก็ตายแล้วนี่ ดื่มกินร่าเริงกันเต็มที่ เพราะว่าพรุ่งนี้เราอาจจะตายเสียก็ได้; มันก็ถูกของเขาเหมือนกัน แต่มันถูกแค่นั้น เขาก็หวังแค่นั้น เขาต้องการแค่นั้น แต่ที่ถูกแท้ ๆ นั้นคือว่าอย่าไปทำอย่างนั้นทั้ง 2 อย่าง; แต่ให้เป็นมิชฌิมาปฏิปทา เป็น อิทัปปัจจยตา
            ทีนี้ ก็มาถึงนักมายอีกคู่หนึ่งที่ชกกัน ก็พวกที่เขาถือเกิดอีก หรือไม่เกิดอีก คนหนึ่งถือว่าเกิด อีกคนหนึ่งถือว่าไม่เกิดอีก แล้วก็ชกกัน กรรมการห้ามมวยที่ดี ก็คือ อิทัปปัจจยตา มันบ้าทั้งสองคน มันไม่มีอะไรนอกจาก เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ย่อมเกิดขึ้น คุณอย่าไปพูดข้างเดียวซิว่าเกิดอีกหรือไม่เกิดอีก ประนีประนอมกันอย่างนี้ดีกว่า
        คนที่ช่างคิดจู้จี้หัวแหลม ก็ว่าถือแต่ศีลธรรมโลก ๆ ก็ได้ อย่าไปถือธรรมะในศาสนาเลย ถือศีลธรรมเถอะ อย่าถือศาสนาเลย คนหนึ่งว่าถือศานาดีกว่าเพราะว่าศีละรรมใช้ไม่ได้ ไม่พอ นี้มันก็ทะเลาะกันเหมือนกัน ส่วนเรามาเหนือเมฆว่ ถ้าศีลธรรมจะดี ก็เพราะ อิทัปปัจจยตา; ศาสนาจะดีก็เพราะ อิทัปปัจจยตา ถ้ามี อิทัปปัจจยตา แล้ว ก็ไม่ต้องเรียกว่าศีลธรรม ไม่ต้องเรียกว่าศาสนา; แต่เรียกว่าธรรม ทีเป็นความจริงความถูกต้อง ธรรม ที่ประพฤติแล้วดับทุกข์ได้! อย่าไปเถียงกันว่า ฉันจะเอาศีลธรรม ไม่เอาศาสนา; ฉันจะเอาศาสนา ไม่เอาศีลธรรม
            ในกรุงเทพฯนี้ก็มีมาก เมื่ออาตมาไปสอนเรื่องสุญญตา ซึ่งเป็นเรื่องของศาสนา คนเขาก็หาว่าบ้า เอาเรื่องโลกุตตระ เรื่องนิพพานมาสอน; สอนแต่ให้รู้จักทำมาหากิน ทางศีลธรรมก็แล้วกัน นี้ที่จริงมันไม่ถูกทั้งนั้นแหละ อาตมาก็ไม่ได้ตังใจจะสอนศีลธรรมหรือศาสนา ชนิดที่แบ่งแยกกันเด็ดขาดอย่างนั้น ต้องการจะบอกเรื่อง อิทัปปัจจยตา มันทำให้ไม่มีตัวกุ มันก็อยู่สบาย อย่าจัดไว้ในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ท่าทำให้มันเป็น 2 ฝ่าย แล้วลำบากแก่การถือ; มันเป็นฝักเป็นฝ่าย แล้วมันลำบากแก่การถือ ให้มันนเป็นอันเดียว คือตรงกลาง แล้วมันใช้ได้หมด : นั้นก็คือ อิทัปปัจจยตา ชาบ้านเขาถือสัญญตา ก็ไม่มี่ความทุกข์อย่างชาบ้าน บรรพชิตถือสุญญตา ก็ไม่มีความทุกข์อย่างบรรพชิต; หมายความว่าจะอยู่อย่างชาวบ้านก็ได้ จะอยู่อย่างบรรพชิตก็ได ก็ต้องอาศัยธรรมะข้อนี้แหละ ที่จะทำให้ไม่มี่ความทุกข์
        มีบางคนว่า ถือศาสนาดี บางคนว่า ถือปรัชญาดี เถียงกันอย่างนี้ บางคนว่าพุทะศาสนาไม่ใช่ศาสนา เป็นเพียงปรัชญา บางคนว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาไม่เป็นปรัชญา มันก็เถียงกัน มันบ้าทั้ง 2 คน เพราะว่าเรื่องนี้มันมีข้อเท็จจริงแต่เพียงว่าเป็น อิทัปปัจจยตา เป็นกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา ถ้าเอามาพูดในรูปคำพูดทฤษฎี มันก็เป็นปรัชญา; ถ้าเอามาเป็นหลักปฏิบัติ มันก็เป็นศาสนา ฉะนั้น ระวังให้ดีว่า อิทัปปัจจยตา นี้ อยู่ในรูปของศาสนาก็ได้ อยู่ในรูปของปรัชญาก็ได้ เมื่อเราจะต้องเรียน เราก็เลือกเรียนให้ถูกเรื่อง แล้วเราก็ปฏิบัติให้ถูกกับเรื่อง แล้วเราก็ดับทุกข์ได้; ดังนั้น มันแยกกันไม่ได้ ถ้าจะดับทุกข์ได้ มันก็ต้องมี อิทัปปัจจยตา ทั้งที่เป็นปริยัติ เป็นปฏิบัติ และเป็นปฏิเวธ; คือ อิทัปปัจจยตา ที่เป็นความรู้สำหรับรู้ เป็นอิทัปปัจจยตา ที่เป็นการปฏิบัติที่จะต้องปฏิบัติ แล้วก็มี อิทัปปัจจยตา ที่เป็นผลของการปฏิบัติ แสดงออกมาให้ได้รับความดับทุกข์ อย่ามาเถียงกันว่าศาสนาดีหรือปรัชญาดี แล้วก็ว่าเอาเอง  อย่างนั้นอย่างนี้ สำหรับศาสนานั้น คือตัวการปฏิบัติ สำหรับปรัชญานั้นเป็นเรื่องสำหรับคิด ไม่เกี่ยวถึงตัวการปฏิบัติ แต่การปฏิบัติมันก็ต้องมีเรื่องสำหรับคิดที่ถูกต้อง เอามารวมกันเข้า มันก็เลยไม่เป็นอะไรมากไปกว่าการปฏิบัติที่ถูกต้องนี้คือศาสนา มีปรัชญาก็มีอยู่ในการปฏิบัติที่ถูกต้อง นี้บางที่เราก็ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า โดยไม่รู้เรื่องปรัชญา มันเกิดดับทุกข์ได้เหมือนกัน อย่ามาจัดพุทธศาสนาให้เป็นนั้นเป็นนี่ ให้มันยุ่งยากไป นอกจากว่า มันเป็นคำสอน เป็นการปฏิบัติเป็นผลของการปฏิบัติที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา เท่านั้น
            คู่สุดท่ายอยากจะพูดว่ามันทะเลากัน โดยการเถียงกันว่า สมมติดีกว่า คนหนึ่งว่า ปรมัตถ์ดีกว่า คนหนึ่งเขาว่าเขาถือสมมติ คนหนึ่งเขาถือว่าเขาถือปรมัตถ์ คนถือปรมัตถ์มันก็ด่าคนถือสมมติว่า โง่ คนถือสมมติมันก็ด่าคนถือปรมัตถ์ว่า บ้า นี่ไม่จำเป็นที่จะมาเถียงกันเรื่องถือสมมติ ถือปรมัตถ์ สมมติที่เพ้อก็มี ที่พอดีก็มี; ปรมัตถ์ที่เพ้อก็มี ที่พอดีก็มี; แต่ถ้าถือ อิทัปปัจจยตาให้ถูกต้องนั้น มันมีปริมาณพอสมควรตามที่จำกัดเท่านั้น มันจะดับทุกข์ได้ ถ้าจะพูดอย่างสมมติ ก็พูดอย่างสมมติ ถ้าจะพูดอย่างปรมัตถ์ ก็พูดอย่างปรมัตถ์ นั้นมันเป็นเรื่องพูด แต่เรื่องจริงนั้นมันคือการปฏิบัติ อัปปัจจยตา ให้ถูกต้อง ให้ตรงกับสถานการณ์ท่กำลังเป็นอยู่จริง ให้ดับทุกข์ในกรณีนั้น  ๆได้ไปทุก ๆ กรณี ก็ไม่ต้องเถียงกันเรื่องสมมติ เรื่องปรมัตถ์ เรื่องบัญญัติ เรื่องอะไรต่าง ๆ ที่ชอบเถียงกันอยู่ ยิ่งเป็นนักอภิธรรม ยิ่งขี้เหนียว ยิ่งรู้ปรมัตถ์มาก ยิ่งขี้เหนียว เพราะรู้ อิทัปปัจจยตาผิดทาง รู้อิทัปปัจจยตา ชนิดที่ทำให้ยิ่งขี้เหนียว ถ้ารู้ อิทัปปัจจยตา ชนิดที่ทำให้ใจกว้างเผื่อแผ่; อันไหนจะดี? ดูเอาก็แล้วกัน คนรู้สมมติ มันก็พูดน้อยหรืองมงาย คนรู้ปรมัตก็พูดมากหรือเพ้อเจ้อ : มันยังไม่พอดี ฉะนั้น ลบทิ้งไปเสียทั้ง 2 อย่าง แต่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์แล้วก็จัดการที่นั่น : เมื่อสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น ก็จัดการกันที่ปัจจัยของความทุกข์ : นั่งลงสงบอารมณ์ มองดูว่า อะไรเป็นปัจจัยของความทุกข์ในกรณีนี้ ที่กำลังทำอันตรายเราอยู่ ก็จัดการตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา ไม่ต้องไปคิดให้มันมากเรื่อง มันเสียเวลา เอาเวลาไว้สงบกับ อิทัปปัจจยตา ดีกว่า
            ทั้งหมดนี้ อาตมาเรียกว่า อิทัปปัจจยตา ในฐานะเป็นสิ่งต่อรองระหว่างศาสนา ระหว่างลัทธินกาย ระหว่างสาขาปลีกย่อย ของทิฏฐิขจองความคิดความเห็น ซึ่งกำลังเป็นปัญหาใหญ่หลวงในโลกนี้ ที่ททำให้เรามีความรักใครสามัคคีกันไม่ได มีแต่ความแบ่งแยกเป้นเขา เป็นเรา ตังหน้าตังตาที่จะเอาเปรียบ เราจะเป็นเจ้าโลก; เพราะไม่มองเห็นว่า เรามีปัญหาอย่างเดียวกัน มีหัวอกอย่างเดียวกัน เป็นเพื่อเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน; ถ้ายังไม่รู้จัก อิทัปปัจจยตา ก็ต้องทนทุกข์ไปด้วยกัน
            หวังว่าท่านทั้งหลายจะได้เอาไปคิด ไปนึกดู; และถ้าจะมีการต่อรองทำความเข้าใจกันระหว่างบุคคลต่อบุคคลก็ดี ระหว่างหมู่คณะต่อหมู่คณะก็ดี หรือระหว่างประเทศต่อประเทศก็ดี ระหว่างครึ่งโลกต่อครึ่งโลกก็ดี ไม่มีอะไรเหมาะสมเท่ากับทำความเข้าใจด้านจิตใจให้ถูกต้องเสียก่อน คือเรื่องความทุกข์และความดับทุกข์ตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา; แล้วก็มาเป็นสหายทุกข์ด้วยกัน เมื่อเป็นสหายทุกข์ด้วยกันแล้ว ก็ทำความดับทุกข์ด้วยกัน แล้วก็เป็นสหายที่ไม่มีทุกข์ด้วยกัน เรื่องมันก็จบ พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงมุ่งหมายอย่างนี้ ที่ท่านได้ตรัสเรื่องต่าง ๆ ไว้ในพระพุทธศาสนา นี่เห็นว่าพอสมควรที่จะเอาไปคิดดูว่า อิทัปปัจจยตา อาจเป็นเดิมพันสำหรับต่อรองกันระหว่างคู่พิพาทได้หรือไม่? อย่างไร?
            นี่ขอยุติการบรรยายนี้ไว้สำหรับพระสงฆ์ทังหลาย จะได้สวดบทพระธรรมเป็นเครื่องจรรโลงใจให้ขะมักเขม้นประพฤติปฏิบัติในพระธรรมต่อไป
(คัดลอกจากหนังสือ  อิทัปปัจจยตา โดย พุทธทาสภิกขุ หน้า 231-274;3-7 มี.ค. 49


1 เช่นสูตรเพียงสูตราเดียว ในนิทานสํยุตต์ นิทานวรรค สํยุตตนิกาย(ไตร. ล. 16 น. 30 บ. 61) สวดประมาณ 40 นาที ก็มีรคำว่า อิทัปปัจจยตา ปรากฎอยุ่ถึง 22 ครั้ง คำว่า ตถตา และอวิตถตา เป้นต้น ปรากฏอยู่ถึง 11 ครั้ง
1 คือการที่พระองค์ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยคอย่างเดียรถีย์นิครนถ์ ดังที่ได้ตรัสเล่าแก่พระสารีบุตร ดังที่ปรากฏอยู่ในบาลีมหาสีหนาทสูตรที่ 12 แห่งสีหนาทวรรค มู.ม. 12/155/177

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น