วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อิทัปปัจจยตา 10 ในฐานะที่เป็นกฎ เหนือกฎทั้งปวง

เสาร์ที่ 4 มีนาคม 2515
          ท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย
            ในการบรรยายครั้งที่ 10 นี้ จะได้กล่าวโดยหัวข้อ อิทัปปัจจยตา ในฐานที่เป็นกฎ ในฐานะที่เป็นกฎ เหนือกฎทั้งปวง  นี้ ย่อมแสดงอยู่แล้วว่า เรามุ่งหมายจะกล่าวเฉพาะในแง่ที่เป็นกฎ หรือในลักษณะที่เป็นกฎ: ส่วนที่นอกไปจากความเป็นกฎ กล่าวคือเป็นปรากฏการณ์นั้นยังจะไม่พูดถึง
            คำว่า กฎ กับคำว่า ปรากฏ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน คำว่า กฎ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นตัว เป็นนามธรรม แล้วยังถือกันว่าเป็นนามธรรมยิ่งกว่านามธรรม คือเป็นอสังขตะ ส่วน ปรากฏ หรือปรากฏการณ์นั้น คือสิ่งที่เห็นได้ แต่ก็เป็น อิทัปปัจจยตา ด้วยเหมือนกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ เหมือนกับว่า เราเปิดฝาหลังนาฬิกาออกดู เราจะเห็นเครื่องนาฬิกาสัมพันธ์กัน เดินไป อย่างนี้มันเป็น อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ คือปรากฏ ส่วนที่มันเป็นกฎที่ว่า ทำไมมันจึงเดินได้นั้น เรามองไม่เห็น สิ่งที่เรียกว่า กฎ นั้น เรามองไม่เห็น: แต่สิ่งที่เรียกว่า ความปรากฏ นั้นเรามองเห็น เฉพาะในวันนี้ จะได้กล่าวถึง อิทัปปัจจยตา เฉพาะในฐานะที่เป็นกฎ เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงต้องสังเกตดูให้ดู ๆ อย่าเอาไปปนกันกับคำว่า ความปรากฏ
            อย่างไรก็ตาม อยากจะขอทบทวนอยู่เสมอ โดยไม่กลัวว่าท่านทั้งหลายจะเกิดความรำคาญ ว่าทำไมจึงพูดแต่เรื่อง อิทัปปัจจยตา ไม่รู้แล้ว;  ทั้งนี้ก็เพราะว่า มีความประสงค์มุ่งหมาย จะให้เรื่องที่เป็นหัวใจของพุทธศ่าสนา แต่เรื่องเดี๋ยวนี้ เป็นเรื่องที่แพร่หลาย สมกับที่เป็นเรื่องสำคัญ ให้เราเอามาพูดกันเป็นประจำวันในภาษาพูดประจำวัน มันควรจะเป็นคำพูดในชีวิตประจำวันของพุทธบริษัทจึงจะเหมาะสมกับความเป็นพุทธบริษัท ถ้าพุทธบริษัทพูดอะไรออกไปในลักษณะที่ผิดกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา แล้ว ก็จะเป็นพุทธบริษัทโง่ คือไม่เป็นพุทธบริษัทแล้วก็มีผลเป็นว่า จะต้องนั่งร้องไห้บ้าง จะต้องฆ่าตัวตายบ้าง ในที่สุด
            อีกอย่างหนึ่ง ควรจะเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ปฏิบัติกันอย่างช่ำชอง คืออย่างถนัดถนี่ เพื่อดับทุกข์กันทุกวัน เราจะต้องมีความรู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา จนใช้แก้ปัญหาประจำวันได้ ไม่ใช่เพียงแต่ใช้พูด ถ้าอะไรมันเกิดขึ้นเป็นปัญหา จะต้องแก้ไขให้ลุล่วงไปด้วยหลักเกณฑ์อันที่สำคัญที่สุดนี้ ทุก ๆ เรื่อง ในทุก ๆ วัน ดังนั้นจึงต้องการให้ศึกษาให้เข้าใจ จนนำมาใช้ปฏิบัติกันได้ทุกวัน
            และอีกอย่างหนึ่งนั้นก็คือว่า เรื่องนี้ควรจะใช้เป็นของอวด นี่จะพูดอย่างมีกิเลสสักหน่อย คือว่าเรื่องนี้พุทธบริษัทหรือพุทธศาสนาก็ตาม ควรจะใช้เป็นของอวด หมายความว่า อวดกันในระหว่างพวก หรือในระหว่างศาสนา ระหว่างประเทศชาติ หรือว่าจะถือว่าเป็นของเสนอขึ้นมา ว่าเรามีของอย่างนี้ มีดีอย่างนี้ เพื่อจะแลกเปลี่ยนกันกับของท่าน ถ้าท่านยังมีอะไรดี นี้หมายความว่า ถ้าเราจะมีอิทัปปัจจยตา เพราะว่าเป็นสิ่งที่สูงสุด ควรแก่การอวด ที่จะไม่ตกต่ำกว่าใคร ไม่เป็นรองใคร นี้พูดอย่างภาษายึดมั่นถือมั่น; ในเมื่อเรายังเป็นคนมีกิเลส ยังมีความยึดมั่นถือมั่น มันก็ควรจะยึดมั่นในสิ่งที่ควรจะยึดมั่น คือยึดมั่นในกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา นั้นเอง
            นี่ด้วยความมุ่งหมายอย่างนี้ จึงได้พยายามพูดเรื่องนี้ พูดแล้วพูดอีก ๆ ไปในทุกแง่ทุกมุม จนกว่าไม่มีอะไรจะพูด นี่จึงได้พูดอย่างที่ว่า ไม่กลัวว่าใครจะรำคาญ  โดยขอทบทวนว่า มันควรจะเป็นคำพูดในชีวิตประจำวันของพุทธบริษัทเพื่อสมกับความเป็นพุทธบริษัท และมันควรจะเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ปฏิบัติได้อย่างคล่องแคล่ว: เพื่อจะแก้ปัญหาเหล่านั้น หรือดับทุกข์ เกี่ยวกับปัญหาเหล่านั้น  และว่าควรจะใช้เป็นของอวดเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ในระหว่างชาติ ระหว่างศาสนา ระหว่างคนต่างพวก ว่าเรามีสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
            ทีนี้ ก็จะทบทวนในข้อที่ว่า คำว่า ถตตา นั้นกว้างกว่า อิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตา ก็ยังกว้างกว่าคำว่า ปฏิจจสมุปบาท ขอให้กำหนดความหมายกว้างแคบ ของคำ 3 คำนี้ ไว้อย่างนี้ด้วย
            ถ้าพูดคำว่า ปฏิจจสมุปบาท ตามพระบาลี ก็หมายถึงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความดับทุกข์ในจิตในใจ ของคนเราโดยตรง; แต่ถ้าพูดว่า อิทัปปัจจยตา มันกลายเป็นกว้างออกไป ถึงข้างนอกตัวเรา หรือในสิ่งต่างๆด้วยก็ได้; แต่ถ้าพูดว่า ตถตา มันยิ่งกว้างออกไปใหญ่ คือใช้ได้แก่สิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นธรรมชาติ หรือเป็น ธัมมัฏฐิตตา, ธัมมนิยามตา
            เดี๋ยวนี้ เราใช้คำว่า อิทัปปัจจยตา เป็นหลักสำคัญสำหรับศึกษา แต่อย่าลืมว่าย่อมเล็งถึงปฏิจจสมุปบาท ในวงแคบ แล้วก็เล็งถึงตถตา ในวงที่กว้างไม่มีขอบเขตจำกัด เมื่ออิปปัจจยตา มีความหมายหลายชั้นหลายระดับอย่างนี้ มันจึงเป็นคำที่อาจจะใช้ประโยชน์ได้ต่าง ๆ กัน ครบถ้วนทุกกรณี แล้วแต่จะมีอะไรเกิดขึ้น ขอให้คำพูดว่า อิทัปปัจจยตา นี้เป็นคำที่พูดกันเป็นธรรมดาสามัญทั่วไปทุกหนทุกแห่ง
            เดี๋ยวนี้ เราพูดเป็นกันอยู่แต่ว่า ธรรมดา หรือว่า ธรรมชาติ หรือว่า ตามยถากรรม นี้เราพูดเป็นกันอยู่แล้ว ว่าธรรมดา หรือตามธรรมดา อย่าไปเสียใจ หรือพูดว่าตามธรรมชาติ มันก็ต้องเป็นไปตามธรรมชาติ อย่าไปเสียใจหรือพูดว่า ตามยถากรรรม อย่าไปเสียใจ มันต้องเป็นไปตามยถากรรม เหล่านี้เราก็พูดกันอยู่แล้ว เป็นคนพูดประจำวันติดปาก และที่แท้ก็คือ อิทัปปัจจยตา นั้นเอง แต่ทำไมเราจึงไม่พูดด้วยคำว่า อิทัปปัจจยตา โดยตรง? นี้ก็ยากที่จะตอบ แต่คงจะเป็นเพราะว่าคำว่า อิทัปปัจจยตา มันพูดยาก มันออกเสียงยาก เลยพูดกันสั้น ๆ ง่าย ๆว่า ธรร-มดา ธรรมชาติ ว่ายถากรรม
            แต่อย่าลืมว่า พูดแต่เพียงว่า ยถากรรม หรือตามธรรมดา ตามธรรมชาตินี้มันยังไม่หมดกระแสความ ของสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจนจยตา; อิทัปปัจจยตา มันยังกินความได้มกกว่านั้น และยังอาจจะย้อนหลังมาถึงประเภทที่เป็นเหตุ ประเภทที่เป็นปัญหาเบื้องต้น ยังไม่ถึงกับการเกิดผล ซึ่งกระทบกระเทือนจิตใจ ก่อนก็ได้ โดยเหตุนี้แหละ เราจะต้องรู้จักความหมายของคำ ๆ นี้ และใช้คำ ๆ นี้ให้เป็น ให้ถูกต้อง ไปตั้งแต่ต้นมือทีเดียว ซึ่งจะได้วินิจฉัยกันไปเป็นเรื่อง ๆ
            แต่ว่าในที่นี้อยากจะแนะว่า เราก็ใช้คำภาษาต่างประเทศในการพูดจากันอยู่เสมอ และมากขึ้น ๆ แต่แล้วกันกลายเป็นเรื่องขี้ริ้วไปทั้งนั้น ที่เอาคำต่างประเทศเหล่านั้นมาใช้ แล้วก็ใช้อยู่มาก ภาษาฝรั่ง เราพูดคำว่า มิตามิน โปรตีน คอมพิวเตอร์ บี 52 เอ็ม 16 อะไรเหล่านี้พูดกันจนคุ้นปาก แต่เป็นเรื่องขี้ริ้ว ไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ ถึงภาษาบาลีก็เหมือนกัน: เรามีภาบาลีและสันสกฤตเต็มไปหมดในคำพูดภาษาไทย เช่นพูดว่า สุขภาพ นี่ก็ภาษาบาลี  พูดว่า อนามัย นี่ก็ภาษาบาลี พูดว่า นรก สวรรค์ อะไร นี้ก็ภาษาบาลีแปลงมา; แม้แต่พูดว่า จักรยานยนต์ ซึ่งขี่กันเกร่อ หนวกหูไปทั้งวัด นี้มันก็เป็นภาษาบาลีปนสันสกฤต แต่มันก็เป็นเรื่องขี้ริ้วไปทั้งนั้นถ้าว่าจะเอามาเทียบกันกับคำว่า อิทัปปัจจยตา ดังนั้น เมื่อเราชอบพูดภาษาต่างประเทศกันอยู่แล้ว ก็ควรจะได้พูดกันถึง คำที่สำคัญที่สุดในภาษาของมนุษย์ คือคำว่า อิทัปปัจจยตานี้
            นี่แหละ อาตมาจึงได้พยายามแล้ว พยายามอีก ที่จะให้คำว่า อิทัปปัจจยตาเข้ามาอยู่ในคลองแห่งคำพูดจาเป็นประจำวันของพุทธบริษัทเรา พวกอื่นตามใจเขา แต่ผู้ที่เป็นพุทธบริษัทที่แท้จริง จะต้องรู้จักคำ ๆ นี้ดีกว่าคำอื่น หรือพูดคำนี้ได้คล่องแคล่ว ในทุก ๆ กรณีที่มันจะต้องพูด หรือตามเหตุการณที่เกิดขึ้น และก็กล่าวได้เลยว่า ไม่มีกรณีไหน ไม่มีเหตุการณ์อันไหน ที่จะไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา เลย ฉะนั้นจึงขอให้ตั้งอกตั้งใจสังเกตกันต่อไป นี้คือข้อที่ต้องขอทบทวนแล้วทบทวนเล่า อย่างไม่กลัวว่าจะรำคาญ
            ที่นี้ก็จะได้พูดกันถึงตัวเรื่อง เรื่องกฎ และกฎที่เหนือกฎทั้งปวง ต่อไป
          ในขั้นแรก ควรจะทราบว่า สิ่งที่เรียกว่า กฎ นั้นคืออะไร? คำตอบย่อมจะมีมาก แต่จะจำกัดลงไปสัก 2-3 อย่าง เท่าที่จำเป็น :
          คำว่า กฎ นั้นคือสิ่งที่จำเป็นต้องมี และต้องใช้ ในการที่จะเป็นคนมีชีวิตอยู่ ในการที่จะดับทุกข์ และจำเป็นที่จะต้องรู้ เพื่อไม่ให้ถูกลวงด้วยกฎสิ่งที่เรียกว่ากฎนี้ ถ้าเราไม่รู้ มันจะลวงเรา เพราะว่ามันซับซ้อนหลายชั้น จึงได้พูดว่า กฎ แห่งกฎทั้งหลาย หรือ กฎเหนือกฎทั้งหลาย ถ้าเราไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่ากฎให้ถูกต้อง คือรู้ผิด สิ่งที่เรียกว่ากฎนั้น จะทำให้เราลำบาก หรือว่าจะลวงเราให้ไปหลงใหลในสิ่งที่แท้จริงไม่ควรจะหลงใหลเลย ดังนั้น ทุกคนควรจะรู้จักสิ่งที่เรียกว่ากฎ หรือกฎเกณฑ์นี้ให้ดี ๆ
            อีกอย่างหนึ่ง กฎ นั้น คืสิ่งที่ธรรมชาติกำหนดให้ อย่างตายตัว อย่างเด็ดขาด แล้วก็เหนือมนุษย์ ธรรมชาติเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ นี่เราไม่ค่อยจะรู้ เราคิดว่ามนุษย์บัญญัติกฎเกณฑ์; ฉะนั้นขอให้ถือว่ากฎที่แท้จริงนั้น ธรรมชาติเป็นผู้กำหนด แต่ธรรมชาติมันพูดไม่ได้ มนุษย์ผู้สัตเกตเห็นกฎเกณฑ์นั้น จึงได้พูดเรื่องกฎนั้นขึ้น ดังนั้นจึงดูคล้ายกับว่า มนุษย์เป็นผู้บัญญัติกฎ นี่แหละอย่าได้เข้าใจผิด แล้วก็จะถูกลวงด้วยสิ่งที่เรียกว่ากฎ กฎที่ธรรมชาติบัญญัติให้ หรือบัญญัติไว้นี้ มัน ตายตัว คือ ไม่เปลี่ยนได้ แล้วก็เด็ดขาด คือไม่เห็นแก่หน้าใคร มันเด็ดขาดชนิดที่เรียกว่าอุทธรณ์หรือฎีกาหรืออะไรไม่ได้; แล้วมันก็ตายตัว คือมันไม่เปลี่ยนแปลง แล้วมันกำหนดไว้เหนือคน
            ที่ว่า เหนือคน นั้น หมายความว่า เหนือชีวิตจิตใจของคน เหนือความเป็นคน คือมันบัญญัติลงไปบนคน อย่างที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ นี้คือสิ่งที่เรียกว่ากฎ หรือว่ากฎที่ธรรมชาติกำหนดให้
            อีกทีหนึ่ง กฎชนิดที่มนุษย์บัญญัติ แต่งตั้งขึ้น ย่อมผิดบ้างถูกบ้าง เพราะมนุษย์มิได้รู้จริง จึงได้บัญญัติถูกบ้างผิดบ้าง ถูกชั่วเวลาหนึ่ง ไม่ถูกอีกเวลาหนึ่ง ถูกในสถานที่หนึ่ง ไม่ถูกในอีกสถานที่หนึ่ง; อย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ว่า กฎที่มนุษย์บัญญัติขึ้นนี้ มันผิดบ้าง ถูกบ้าง; ยกเว้นแต่มนุษย์อย่างพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า พระสัพพัญญู หรือผู้ตรัสรู้ คือท่านรู้สิ่งที่เรียกว่า ธรรมชาติหรือธรรมดา หรืออิทัปปัจจยตา นี้อย่างถูกต้องสิ้นเชิง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ที่เกี่ยวกับการดับทุกข์ เพราะฉะนั้น กฎอะไรที่ท่านทรงนำมาแสดง มันจึงไม่มีทางผิด ไม่เหมือนกับมนุษย์ธรรม ซึ่งยังไม่รู้ด้วยการตรัสรู้ถึงที่สุด แม้จะพูดอะไรเป็นกฎ แต่แล้วก็ผิด ๆ ถูก ๆ แล้วก็ไม่ใช้เป็นกฎที่สำคัญ
          พระพุทธเจ้าท่านจะบัญญัติแต่กฎที่สำคัญ ที่จำเป็นอย่างยิ่ง แล้วถูกไม่มีผิด ขอให้สังเกตดูให้ดี ๆ ว่า  กฎเกณฑ์ที่มนุษย์ตั้งขึ้นนั้น ก็ต้องพยายามที่จะให้เป็นไปตามกฎของธรรมชาติด้วยเหมือนกัน แต่เมื่อเขาไม่รู้จักธรรมชาติถูกต้องถึงที่สุด เขาจึงบัญญัติถูกไม่หมด หรือแถมผิดบ้างก็มี ถ้าเข้าใจธรรมชาติผิด
            พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้แล้วว่า ตถาคตจะเกิดขึ้นหรือจะไม่เกิดขึ้นแต่ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว ลองคิดดูว่า ธรรมธาตุอะไรที่ตั้งอยู่แล้วนั้นเดียว มันก็คือ กฎ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎ อิทัปปัจจยตา หรือตถตา หรืออวิตถตา อนัญญถตา เหล่านี้เอง; มันมีอยู่ในฐานะที่เป็นกฎของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือจะไม่เกิดนั้นไม่เป็นประมาณ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าเกิดก็หมายความว่า เกิดบุคคลที่รู้สิ่งเหล่านี้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ไม่ใช้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ดังนั้น ท่านจึงบัญญัติกฎเกณฑ์อันนี้ถูกต้องตามธรรมชาติ จึงไม่ผิด เหมือนกับว่าธรรมชาติได้พูดผ่านทางพระโอษฐ์ของพระองค์ อย่างนี้เราไม่เรียกว่ากฎที่มนุษย์ตั้งขึ้น
            กฎอะไรที่พระองค์ทรงเปิดเผย ทรงแสดง ทรงจำแนก แจกแจง ทรงกระทำให้เหมือนหงายของที่คว่ำ อะไรเหล่านี้ เรียกว่า ไม่ใช่พระองค์ตั้งขึ้น เป็นแต่ทรงนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาเปิดเผย มาแสดง ขอให้เข้าใจคำว่า กฎ ในลักษณะอย่างนี้
            ทีนี้ก็ได้กล่าวแล้วว่า กฎมันมีหลายชนิด และที่มากที่สุด ก็คือกฎที่มนุษย์ตั้งขึ้น หรือแม้ว่าจะเป็นกฎธรรมชาติ ก็เป็นกฎเล็ก ๆน้อย ปลีกย่อย ไม่ใช่กฎของ อิทัปปัจจยตา ดังนั้น เมื่อพูดว่า กฎแห่งกฎทั้งปวง หรือกฎเหนือกฎทั้งปวง ก็ต้องหมายถึงกฎแห่งอิทัปปัจจยตา นั่นเอง
            ต่อไปนี่เราจะแยกให้เห็นได้ว่า ที่มาแห่งกฎนั้น มันมีอยู่เป็นชนิด ๆ
          ที่มาแห่งกฎ ถ้ากฎธรรมชาติ มันก็มาจากธรรมชาติ หรือจะเรียกว่า มาจากพระเจ้าก็ได้ มาจากธรรมก็ได้ ธรรมก็คือ ธรรมธาตุ อย่างที่พระพุทะเจ้าตรัส โดยเหตุที่ธรรมธาตุนี้ มันเป็นกฎ อิทัปปัจจยตา ที่บังคับสิ่งทั้งปวง เราตั้งชื่อให้ใหม่ว่า พระเจ้า; โลกเกิดขึ้นก็เพราะ อิทัปปัจจยตา โลกตั้งอยู่ก็เพราะ อิทัปปัจจยตา โลกสลายไป ก็เพราะ อิทัปปัจจยตา; อิทัปปัจจยตา จึงเหมือนกัน พระเจ้า กฎธรรมชาติชนิดนี้ จะเรียกว่ามาจากธรรมชาติก็ได้ มาจากพระเจ้าอย่างที่ว่านี้ก็ได้ หรือมาจากธรรมเฉย ๆ อย่างในภาษาบาลี ซึ่งหมายความถึงธรรมชาตินี้ก็ได้ นี้สรุปว่า กฎธรรมชาติ ก็มาจากธรรมชาติ
            ทีนี้ กฎโดยมนุษย์ กฎของมนุษย์ นี้มันก็มาจากสติปัญญาของมนุษย์ นี่เพราะความจำเป็นของมนุษย์ที่จะต้องบัญญัติกฎเกณฑ์นั้นนี่ขึ้นมา มันเป็นไปเพื่อมนุษย์ ของมนุษย์ โดยมนุษย์ แก่มนุษย์ เสียมากกว่า นี่คือที่มาของกฎ ที่มาจากสติปัญญา หรือความจำเป็นของมนุษย์นี้; มันเทียบกันไม่ได้กับกฎของธรรมชาติโดยตรง เพราะมนุษย์ไม่ได้รู้จักธรรมชาติสมบูรณ์ถึงที่สุด
            ทีนี้ มันยังมีกฎที่มาจากการแทรกแซง สับสนปนเปกัน ระหว้างกฎ 2 กฎนั้น หรือว่าในกฎเดียวประเภทเดียวกัน มันก็มีหลายชั้น มันก็สับสนแทรกแซงกัน นี้เป็นกฎที่ยุ่งเหยิง มันเป็นกฎที่เกิดขึ้นใหม่ จากการที่สัมพันธ์กันอย่างสับสน ในระหว่างกฎทั้งหลาย ทำให้เกิดกฎเกณฑ์ปลีกย่อยออกมา
            เป็นอันว่า เรามีที่มาของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ นี้หลายอย่าง
            สำหรับกฎที่เหนือกฎทั้งหลาย คือกฎแห่งอิทัปัจจยตานั้น ให้ถือว่า เป็นต้นตอของกฎทั้งหลาย กฎเล็กกฎน้อยทั้งหลาย มีมากมาย มีต้นตอมาจากกฎเกณฑ์ของ อิททัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตา; จึงเป็นแม่บทของกฎทั้งปวง จึงเรียกว่าเป็นกฎแห่งกฎทั้งหลาย เป็นกฎที่ซ้อนกฎทั้งหลาย เป็นกฎที่อยู่เหนือกฎทั้งหลาย เป็นกฎที่อยู่เบื้องหลัง หลังฉากขอวงกฎทั้งหลาย นี้คือกฎของ อิทัปปัจจยตา ดังที่ได้ว่าไว้เป็นหัวข้อว่ากฎแห่งกฎทั้งปวง
            ทีนี้ เราก็ควรจะได้ดูกันให้ละเอียดสักหน่อยว่า อิทัปปัจจยตา เป็นแม่บทหรือเป็นต้นตอ ของกฎทั้งหลายทั้งปวงอย่างไร? ถ้าเรารู้จักแม่บท เราก็รู้จักลูกบทได้ง่าย; ๆ ถ้ารู้จักต้นตอ เราก็รู้จักกิ่งก้านสาขาได้ง่าย นี่คือความจำเป็นที่จะต้องรู้กฎเกณ์ของสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ในฐานะเป็นต้นตอแห่งกฎทั้งหลาย
            อาตมาได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า คำว่า อิทัปปัจจยตา ที่เป็นกฎนั้น ไม่มุ่งหมายเฉพาะปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นเรื่องภายในต่างกายและจิตใจของคน; แต่จะหมายถึงสิ่งทั้งหลายที่มีกฎ และสิ่งทั้งหลายที่ต้องเป็นไปตามกฎ เป็นของนอกกายก็ได้ ในกายก็ได้ หรือรวมกันก็ได้ ดูให้ดีจะเห็นว่า สิ่งทั้งหลายต้องเป็นไปตากฎ
        ในโลกสมัยนี้ กฎที่พูดกันมากที่สุด ก็ดูจะเป็นกฎเรื่องของวิทยาศาสตร์ เพราะว่าวิทยาศาสตร์กำลังอาละวาดอยู่ในโลก กำลังทำอะไรออกมาในลักษณะที่คนตกเป็นทาสของวิทยาศาสนตร์ เพื่อจะรู้ก็มี เพื่อจะบริโภคใช้สอยสิ่งที่วิทยาศาสตร์ผลิตขึ้นมาให้ก็มี หรือจะใช้วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือทำลายล้างผู้อื่นก็มี นี่โลกกำลังตกเป็นทาสของสิ่งที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ ดังนั้น คนในโลกจึงสนใจกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ และก็มากกว่าอย่างอื่น เพราะว่าเห็นแก่ตัว เพราะว่ามีกิเสล เพราะว่ามีความหวาดกลัว หรืออะไรต่างๆ เหล่านี้ จึงได้สนใจสิ่งที่คิดหรือเชื่อว่ามันจะช่วยให้เขาหายกลัว  หรือให้เขาได้สิ่งที่เขาอยากจะได้
            ที่นี้ เราจะดูกฎวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งเห็นว่าอยู่ภายใต้กฎของอิทัปปัจจยตา อย่างไร? หรือว่ากฎวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย มันเป็นลูกจ๊อกของกฎอิทัปปัจจยตา ของธรรมชาติ หรือของพระพุทธเจ้าอย่างไร? สำหรับกฎทางวิทยาศาสตร์ที่รู้กันทั่วๆไป และเห็นได้ชัดเจน ก็คือกฎที่เราเรียกกันว่า กฎทางฟิสิกส์ กฎทางเคมี กฎทาง Mechanics หรือกฎทาง Relativity 4 อย่างนี้ ก็ดูเหมือนจะหมดตัว
            บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจ กฎทางฟิสิกส์ ก็คือกฎของการแสดงตัวออกของสสารหรือพลังงาน ระบุไปยังแสวงสว่าง เสียงที่ได้ยิน หรือกระแสไฟฟ้าหรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ที่แสดงตัวออกมาได้ ให้ปรากฏแก่มนุษย์; มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากแสงสว่าง จากเสียง จากกระแสไฟฟ้า เพราะว่าไปทำถูกวิธี หรือถูกกฎจะให้สิ่งนั้น ๆเป็นไปตามความประสงค์
            อย่างไฟฟ้านี้ เราไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน หรือมันเป็นอย่างไร มันเป็นอะไรเราก็ไม่รู้; แต่เรารู้เพียงกฎเล็ก ๆ น้อย ๆที่ว่า ถ้าทำอย่างนี้เราจะได้กระแสไฟฟ้ามาใช้ อย่างที่เดี๋ยวนี้เรากำลังใช้อยู่ ในการขยายเสียงนี้ หรือมีดวงไฟ เราทำถูกกฎเล็ก ๆ น้อย ๆ ในฝ่ายฟิสิกส์ เราก็ได้สิ่งเหล่านี้ เรื่องแสง เรื่องเสียง ก็เหมือนกัน เราใช้เป็นประโยชน์ได้ ตามที่เราต้องการ
            นี้อย่าลืมว่า กฎฟิสิกส์เช่นนี้มันก็คือลูกจ๊อกของ อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นแม่บทของกฎทั้งหลาย ว่า : เพราะเมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น; แต่ว่ามันไม่ใช้ครั้งเดียวหรือระยะเดียว มันซับซ้อนกันหลายครั้งหลายระยะ แต่แล้วก็ไม่พ้นจากกฎของคำว่า อิทัปปัจจยตา
            กฎถัดไป เรียกว่า กฎของเคมี คือกฎของความเปลี่ยนแปลงของปรมาณู ในสิ่งที่เรียกว่า อณู; ส่วนย่อยของธาตุ ที่เรียกว่าอณูนั้น ประกอบอยู่ด้วยปรมาณูเป็นอันมาก ถ้าทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอณูหนึ่ง โดยเปลี่ยนแปลงจำนวนหรือภาวะของปรมาณูนั้นแล้ว ความเปลี่ยนแปลทางเคมีก็จะเกิดขึ้น; นี้เราจึงได้อะไร ๆ มากมากมาย เป็นน้ำยา เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นธาตุนั้นธาตุนี้ออกมา ด้วยการแยกหรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี กฎอันนี้ นักเรียนจะเรียนจนตายมันก็ไม่จบ เพราะมันมีมาก แต่แล้วก็มันเป็นลูกจ๊อกของกฎที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ย่อมเกิดขึ้น หรือว่าย่อมแสดงตัวออกมา อย่างนี้เป็นต้น
            ทีนี้ ถ้าดูไปถึงกฎ Mechanics คือการประสานการสัมพันธ์กันในระหว่างกำลังงาน คือกฎเกณฑ์ที่เราจะใช้แรงงาน ใช้ให้เกิดการเคลื่อนไหว ใช้ให้เกิดการผลักดันอะไรต่าง ๆ ที่เรียกว่ากฎของ Mechanics มันก็มีมาก เขายังประดิษฐ์กันได้ ไม่รู้ว่าอีก กี่ร้อยอย่าง กี่พันอย่างในอนาคต แต่แล้วมันก็เป็นลูกจ๊อกของกฎอิทัปปัจจยตา นี้
            ทีนี้ ถ้าดูไปถึงกฎสุดท้ายที่สำคัญมาก คือ กฎที่เรียกว่า Relativity คือกฎแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับสสารหรือวัตถุ หรือการกินเนื้อที่; มันเป็นกฎของความประสานสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเนื้อที่ หรือวัตถุนั้น ถ้ามันประสานสัมพันธ์กันในสัดส่วนอันหนึ่ง มันก็ปรากฏออกมาเป็นอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความสุข ถ้ามันผิดส่วนสัมพันธ์อันนั้น มันก็ปรากฏเป็นอย่างอื่น คือไม่มีทางจะเป็นสุขได้
            ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เรากินข้าวผิดเวลา หรือเรากินมากกว่าที่ควรจะกินอย่างนี้ มันก็ต้องเป็นทุกข์ แต่ถ้าเรากินข้าพอดีแกเวลา พอดีแก่สัดส่วนที่ควรจะกิน มันก็ไม่เกิดเรื่องที่จะต้องเป็นทุกข์; มันก็ยังคงเป็นเวลาหรือเป็นวัตถุ อยู่นั่นแหละ แต่ว่ามันมีส่วนสัมพันธ์ที่จำกัดตายตัว ที่ว่าจะต้องทำอย่างนั้น ผลมันจึงจะเกิดขึ้นอย่างนั้น ต้องทำอย่างนั้น ผลมันจึงจะเกิดขึ้นอย่างนั้น; นี้เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่องง่าย ๆ เรื่องใหญ่ ๆ ยังมีมากกว่านี้
            นี้ถ้าเราดูให้ดี จะเห็นได้ว่า เรื่องวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 แขนงนี้ มันเป็นของตื้นหรือเป็นของเด็กเล่น เมื่อนำไปเทียบกันกับกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา หรือถ้าจะว่ากันให้ละเอียดอีกทีหนึ่งก็ว่า : ทั้ง 4 เรื่องนี้มันก็เป็นเรื่อง ๆ เดียวกันก็ได้ คือมันเป็น Mechanism คือความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ของสิ่งทั่ง 4 นั่นเอง; มันเป็น อิทัปปัจจยตา ที่เข้าไปเกี่ยวกับฟิสิกส์หรือเคมี หรือ Mechanics หรือ Relativity ไปแยกเข้า มันก็เป็น 4 เรื่อง แต่พอไปดูเข้า มันก็เป็นเพียง อิทัปปัจจยตา  ของสิ่งทั้ง 4 นั้น
            นี้เราจะเห็นได้ว่า กฎ อิทัปปัจจยตา นี้ มันเหนือกว่ากฎวิทยาศาสตร์ กฎวิทยาศาสตร์ ทุกชั้น ทุกแขนง ทุกระดับ มันก็คือกฎอิทัปปัจจยตา หรือขึ้นอยู่กับ อิทัปปัจจยตา
            ลองเอาวิทยาศาสตร์ชาวบ้านกันดีกว่า เข้าใจง่าย เหมือนว่าแม่ครัวจะหุงข้าวกินสักหม้อหนึ่ง ถูกแล้ว มันก็ต้องเนื่องด้วยกฎทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ข้อนั้น กฎทางฟิสิกส์ เช่นว่า เราจะต้องมีความร้อนที่ได้มาจากไฟ นั้นมันจึงมีเรื่องฟิสิกส์อยู่ที่ฟืน หรือถ่านที่มันจะติดไฟ เป็นความร้อนขึ้นมา; แล้วมันเป็นเรื่องกฎทางเคมี เพราะว่าไฟนี้มันจะติดขึ้นมาได้ มันต้องมีความเปลี่ยนแปลงทางเคมี กระทั่งเป็นเปลวไฟ กระทั่งเป็นควันไฟอย่างนี้ ถ้ามันเกิดไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ไฟมันก็ลุกขึ้นมาลนก้นหม้อข้าวไม่ได้ ดังนั้นมันก็เป็นกฎทางเคมี หรือเป็นเรื่องของเคมี; ที่ว่า กฎทาง Mechanics นี้ มันก็เพราะว่า มีความร้อนไปทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เมล็ดข้าวสาร พลังของความร้อนทำให้เมล็ดข้าวสารขยายตัวออกไป หรืออะไรทำนองนี้  มันจึงเป็นข้าวสุกขึ้นมาได้;ที่ว่ากฎ Relativity นี้ ก็ต้องทำให้ถูกตามกฎของเวลาหรือกฎของวัตถุ คือเมล็ดข้าวสารหรือไฟ หรือนน้ำหรืออะไร ทุกอย่าง ถ้าไม่มีความถูกต้องเหมาะสมแล้ว มันก็ไม่เป็นข้าวสุกข้าวสวย มันเป็นข้าวไหม้ ข้าวเปียก ข้าวแฉะ ข่าวอะไร ที่กินไม่ได้
            นี่ สรุปแล้วว่าแม่ครัวจะหุงข้าวกินสักหม้อหนึ่ง มันก็เต็มไปด้วยกฎวิทยาศาสตร์ครบถ้วน ทั้ง 4 กฎใหญ่ ๆ นั้น แต่แล้วกฎเกณฑ์เหล่านั้น มันก็เป็นลูกจ๊อก เป็นกฎเด็กเล่น ในเมื่อนำไปเทียบกันกับกฎของอิทัปปัจจยตา ซึ่งมีความหมายกว่า มีน้ำหนักกว่า มีความจริงกว่า มีอะไรกว่า
            หรือว่าหมอจะรักษาคนใช้ให้หายสักคนหนึ่ง ก็จะต้องเป็นไปตามกฎ 4 ข้อที่ว่านั้น : ทางฟิสิกส์ หมอก็จะต้องใช้แสงสว่าง ใช้ความร้อน ใช้อะไรต่างๆ ที่จะทำแก่คนไข้ ให้ถูกเรื่องถูกราว; ทางเคมี หยูกยาก็เป็นผลิตผลของการปฏิบัติทางเคมี ตามกฎเกณฑ์ของเคมี มีนจึงได้ยามากิน; ในเรื่อง Mechanics ก็เช่นเรื่องผ่าตัด, เรื่องอาบ, เรื่องล้าง, เรื่องปิด, เรื่องถ่าย, อะไรก็ตามใจ; Relativity ก็จะต้องทำให้ถูกตรงกับเรื่องของโรคและเวลา ที่ถูกต้อง เพียงแต่ผิดเวลาอย่างเดียว มันก็ตายแน่ หรือมันตายเสียก่อน
            นี่ จะรักษาคนไข้ให้หายสักคนหนึ่ง ก็ยังต้องพร้อมด้วยกฎเกณฑ์สำคัญทางวิทยาศาสตร์ 4 กฎนี้ แต่แล้วมันก็เป็นลูกจ๊อก เป็นกฎเด็กเล่น ในเมื่อนำไปเทียบกันกับกฎของ อิทัปปัจจยตา
            นี้ไม่ใช่ว่าเราจะมานั่งตั้งกองนินทาวิทยาศาสตร์ แต่ว่าจะเปรียบเทียบกันดูให้รู้จักเรื่องวิทยาศาสตร์ธรรมดา กับเรื่องวิทยาศาสตร์ทางวิญญาณ ของพระพุทธเจ้า
            หรือว่า ชาวสวนจะปลูกต้นไม้ให้งอกงามสักต้นหนึ่ง มันก็ต้องเป็นไปถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของวิทยาศาสตร์ : ประเภทฟิสิกส์ ก็ต้องให้ได้แสงสว่าง, ได้อุณหภูมิที่ดี; ประเภทเคมี ก็ให้ได้ปุ๋ย ได้อะไรที่ดี; ประเภท Mechanics ก็มีการตัดแต่งตลบต่างอะไรที่ดี; ประเภท Relativity ก็ทำกับมันอย่างถูกเวลา ถูกฤดูกาล ถูกความมากความน้อย; มันก็เป็นไปตามกฎของวิทยาศาสตร์ 4 อย่างอีกนั่นเอง
        นี่ ทางวิทยาศาสตร์ มันก็ไม่ใช่เล่น มันมีอำนาจที่จะทำให้เกิดความสำเร็จตามทีร่เราต้องการ; แม่ครัวจะหุงข่าวกินสักหม้อหนึ่ง หมอจะรักษาคนไข้ให้หายสักคนหนึ่ง ชาวสวนจะปลูกต้นไม้สักต้นหนึ่ง มันก็เต็มไปด้วยกฎเหล่านั้น แต่แล้วมันก็เป็นลูกน้องของกฎ อิทัปปัจจยตา
            ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ที่ประกอบกันอยู่ในโลก ทางฟิสิกส์ ทางเคมี ทาง Mechanics อะไรก็ตาม ล้วนแต่มีความเปลี่ยนแปลง แม้แต่ทาง Relativity เองมันก็มีความเปลี่ยนแปลง และยังมีผลแปลกออกไป ทีนี้ เมื่อดูถึงตัวความเปลี่ยนแปลงนี้ มันก็เป็นเนื้อแท้ของ อิทัปปัจจยตาล้วน ๆ เพราะว่า ไม่มีสิ่งใด จะคงความเป็นสิ่งใดอยู่ได้ เนื่องจากมันมีกฎอีกอันหนึ่งซึ่งว่า มันไม่มีความที่จะคงที่อยู่ได้ เพราะว่าอย่างน้อยที่สุด สิ่งที่เรียกว่าเวลามันเปลี่ยนไป สิ่งที่เข้ามาแวดล้อม กระทบกระทั่ง มันก็เปลี่ยนไป
            ขอให้นึกดูให้ดีว่า ทุกอย่างมันเหมือนกับไหล ไหลอยู่เรื่อย ถ้ามองให้เป็น จะเห็นว่า แม้แต่ก้อนหินก้อนนี้ มันก็ไหลอยู่เรื่อย คือมันมีความเปลี่ยนแปลงที่ลึกลับซ่อนเร้นอยู่ในหินก้อนนี้ มันจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย มันแล้วแต่จะมีอะไรมากระทำ สำหรับความเปลี่ยนแปลง จะช้าหรือเร็วนั้น มันขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก แต่ว่าแม้ปัจจัยภายในของมันก็เปลี่ยนแปลง ด้วยความเป็นอนิจจัง อณูของมันก็ประกอบด้วยปรมาณู แล้วมันก็ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ในตัวปรมาณู ซึ่งดูด้วยตาไม่เห็น
          นี้คือกฎของ อิทัปปัจจยตา ที่ละเอีรยดถึงขนาดที่ว่า แทรกแซงอยู่ในทุก ๆ ปรมาณู; เราจะต้องดูกระทั่งให้เห็นว่า แม้ในทุกๆ ปรมาณู ก็มีอิทัปปัจจยตา หลาย ปรมาณูรวมกันเป็นอณู มันก็ยังเป็นกลุ่มของ อิทัปปัจจยตา ที่นี้ ธาตุจะมาทำหน้าที่เป็นอายตนะ เป็นขันธ์ อะไร มันก็ยังมีความหมายแห่งความเป็น อิทัปปัจจยตา ฉะนั้น จึงเรียกว่า อิทัปปัจจยตา เป็นกฎ เป็นแม่บทของกฎทั้งหลาย
            เมื่อตะกี้เราพูกันถึงกฎวิทย่าศาสตร์ อาศัยหัวข้อ 4 หัวข้อ คือ ฟิสิกส์ เคมี Mechanics  และ Relativity
            ทีนี้ เราจะลองพูดอย่างหยาบ ๆกว้าง ๆ ถึงกฎวิทยาศาสตร์ ที่เป็นกฎธรรมชาติกว้าง ๆ เช่นกฎทางชีวิวิทยา หรือ Biology นี่เป็นเรื่องต่อสู้ ดิ้นตนให้มีชีวิตอยู่ แล้วก็จะสืบพันธุ์ แล้วก็จะสงวนพันธุ์อะไร รักษาพันธุ์อะไร ให้มันยังคงมีชีวิตอยู่ ไม่สูญหายไปเสีย ถ้าไม่มีกฎเกณฑ์อันนี้ มันก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในโลกนี้ หรือไม่มีอะไรเกิดขึ้นมา คือจะไม่มีสัตว์ ไม่มีคน ไม่มีต้นไม้ ไม่มีอะไร เกิดขึ้นในโลก; หรือแม้เกิดขึ้นมาแล้วคราวหนึ่งมันก็จะสูญสิ้นไป ถ้าไม่มีกฎที่ถูกต้องทาง Biology แต่แล้วกฎเกณฑ์ทาง Biology นั้น มันก็คือกฎน้อย ๆ ของอิทัปปัจจยตา ล้วนแต่ออกไปจากกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา
        หรือว่า จะดูทางวิวัฒนาการ กฎเกณฑ์ของ Evolution ที่ว่าด้วยวิวัฒนาการจากความไม่มีอะไรเลย มาสู่ความมีอย่างนี้ เช่นว่า ในโลกนี้ ทีแรกก็ไม่มีอะไรเลย แล้วก็มามีนั้นมีนี่ กระทั่งมีหญ้า มีบอน มีสัตว์ มีคน หรือว่าทีแรก มันก็ไม่เคยมีโลกเลยด้วยซ้ำไป และโลกมันเกิดขึ้นเป็นก้อนไฟขึ้นมาอย่างนี้ มันเป็น Evolution ขนาดใหญ่ นี้มันก็เป็นกฎเด็ก ๆ ลูกเด็ก ๆ ของกฎ อิทัปปัจจยตา
            ขอให้มองให้เห็นว่า กฎที่มันทำให้โลกเกิดขึ้นมาได้นี้ หรือเป็นไปได้นี้ มันก็ยังเป็นลูกเด็ก ๆ ในเมื่อมันไปเทียบกับกฎ  อิทัปปัจจยตา ที่ว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น
            ขอให้ระวังสังเกตดูให้ดีว่า อิทัปปัจจยตา มันแทรกแซงอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง อะไร ๆ ก็รวมอยู่ในกฎเกณฑ์อันนั้น ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ก็คือตัวกฎนั้นมันมองกันได้ 2 แง่ : จะมองในแง่ที่ว่า มันเป็นธรรมธาตุที่อยู่เหนือเหตุ เหนือปัจจัย ที่เรียกว่า อสังขตะ นี้ก็ได้; นี้ให้มองในแง่ที่มันเป็นกฎ หรือกระทั่งความที่มันต้องเป็นไปตามกฎ อันนี้ไม่มีเหตุปัจจัยอื่นเข้ามาเปลี่ยนแปลงได้ หรือว่าไม่มีอะไรเป็นผู้สร้างมันขึ้นมา มันเป็นขึ้นมาเสียเองอย่างกับว่าเป็นเผด็จการอย่างนั้นแหละ ในบางครั้งเราจึงต้องเรียกว่าพระเจ้า แล้วก็ไม่ต้องถามว่าใครสร่างพระเจ้า? พระเจ้าจะมาจากอะไร? เมื่อไร? ใครสร้าง? นี้ไม่ต้องถาม; แต่ต้องหมายถึงพระเจ้า อิทัปปัจจยตา พระเจ้าอย้างอื่นไม่เอา พระเจ้า อิทปัจจยตามีอำนาจ มีอะไรเหนือกว่าพระเจ้าใด ๆ หมด; หรือว่าพระเจ้าอื่นใด ถ้ามีจริงมันก็ต้องได้แก่ อิทัปปัจจยตา นั่นเอง แต่เขาไปเรียกว่าพระเจ้า พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระอะไรก็สุดแท้ แต่เนื้อแท้ของมันก็คือ กฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา ถ้าอย่างนี้เรียกว่าเป็น  อสังขตะ
            คัมภีร์อภิธรรม เช่นกถาวัตถุ พยายามจะอธิลบายกฎเกณฑ์เหล่านี้ว่าเป็นอสังขตะ คือไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นหรือให้ดำรงอยู่ มันมาอย่างไรของมันก็ไม่รู้ บอกไม่ถูก เช่นเดียวกับพิฃพพานเป็นอสังขตะ ไม่มีใครตกแต่งขึ้นมา ไม่มีใครบำรุงรักษาไว้ แล้วก็ไม่มีใครทำให้ดับไปได้; คงเป็นธรรมธาตุ ธรรม ธา-ตุ ธรรมธาตุฝ่ายอสังขตะ โดยตัวมันเอง พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิด ไม่รู้ ไม่ชี้ทั้งนั้น มันมีของมันอยู่เอง แล้วมันก็ไม่เกี่ยวกับกาลเวลา คือไม่รู้จักเกิด ไม่รู้จักเปลี่ยน ไม่รู้จักดับ อย่างนี้ก็เรียกว่ากฎ อิทัปปัจจยตา ที่เป็นอสังขตะ
            คำว่า อสัตงขตะ ก็อาจจะแปลกหูสำหรับบางคนที่ไม่ค่อยเคยฟัง อสังขตะนั้น ก็แปลว่า ที่มันเป็นได้เอง เป็นอยู่เอง มีอะไรเองโดยไม่ต้องมีอะไรไปทำให้ หรือทำขึ้น เช่นเดียวกัยบสิ่งที่เรียกว่า ธรรมธาตุ หรือ ธัมมัฏฐิตตา ธรรมนิยามตา อิทัปปัจจยตา ตถตา อะไรนี้ ที่เรียกชื่อได้หลายๆ ชื่อนี้ล้วนแต่เป็นอสังขตะ ไม่มีการเกิดขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการดับไป เรียกว่า อสังขตะ
            ทีนี้ แง่ที่ตรงกันข้ามก็คือ สังขตะ : มีอะไรทำขึ้นมาแล้วก็เปลี่ยนแปลงไป-แล้วก็ดับลง-แล้วก็เกิดขึ้น-แล้วก็เปลี่ยนแปลงไป-แล้วก็ดับลง กฎที่เป็นสังขตะ ก็คือกฎที่มนุษย์ได้แต่งตั้งขึ้น : กฎทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง ทางการศึกษา แม้แต่ทางศาสนา ถ้าพระศาสนาไม่รู้จริง กฎเกณฑ์นั้นก็จะเปลี่ยน หรือบางทีทางศาสนาก็บัญญัติกฎเกณฑ์เฉพาะสิ่งที่เปลี่ยน บัญญํติกฎสำหรับใช้กับสิ่งที่เปลี่ยนเท่านั้น;  กฎนั้นมันก็มีเกิดมีดับไปตามสิ่งที่มันเปลี่ยน
            ถ้ากฎใดเป็นเรื่องของธรรมธาตุ หรือธรรมชาติ มันก็เป็นอสังขตะ ถ้ากฎใดเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับสิ่งที่กฎอีกอันหนึ่งสร้างขึ้นมา นี้มันก็เป็นกฎทางฝ่ายสังขตะ
            ดังนั้น จึงถือว่า อสังขตะนั้น เป็นต้นตอหรือเป็นต้นเดิม หรือพูดสมมติก็ว่า เป็นกฎที่ทำให้สิ่งอื่นเกิดขึ้น แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นมานั้น ก็คือสังขตะคือจะต้องเปลี่ยน ถ้าว่ามันเปลี่ยน มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา ประเภทที่แสดงความเปลี่ยน ถ้ามันไม่มีการเปลี่ยน มันก็เป็นอิทัปปัจจยตา ชนิดที่ว่าถึงที่สุดของอิทัปปัจจยตา คือว่าไม่มีเหตุปัจจัยสิ่งใดจะปรุงแต่ง มันก็สุดเอื้อม แปลว่าปลายสุดของสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา แต่ถึงอย่างนั้ ก็ยังอยู่ในวิสัยของ อิทัปปัจจยตา ในส่วนที่ เราทำให้ปรากฏได้
            สิ่งที่เรียกว่า ปัจจัยนี้ มีอยู่ 2 ชนิด : ปัจจัยชนิดหนึ่งทำให้เกิดสำหรับสิ่งที่ทำให้เกิดได้ คือพวกสังขตะทั้งหลาย แล้วปัจจัยอีกชนิดหนึ่งก็เป็นปัจจัยสำหรับทำให้ปรากฏ เพียงแต่ปรากฏ ไม่ใช่เกิด นี้ เช่น ปัจจัยที่ทำให้เราทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หรืออสังขตะ อสังขตะ เราทำให้เกิดไม่ได้ แต่ว่าเราทำให้แจ้ง คือให้ปรากฏแก่จิตใจได้ ฉะนั้น เราจึงมีอิทัปปัจจยตาที่ใช้ไปใน 2 วิธี : เพื่อทำให้สิ่งที่เกิดได้ มันเกิดขึ้นมาก หรือว่าทำสิ่งที่เกิดไม่ได้ แต่ทำให้ปรากฏได้นี้ ให้มันปรากฏออกมา
            ดังนั้น ตัวกฎ อิทัปปัจจยตา จึงเป็นของตายตัว คือเป็นอสังขตะ แต่ว่าสิ่งที่มันสร้างขึ้นมา หรือมทำให้เกิดขึ้นมานั้น มันก็เป็นสังขตะ คือเปลี่ยนไปตามปัจจัย แล้วก็ต้องมีกฎเกณฑ์เฉพาะของมันเองต่างหาก คือกฎเกณฑ์ที่เป็นสังขตะ
        ทีนี้ ขอให้ดูให้ลึกละเอียดถึงกับว่า สังขตะธรรมทั้งหลายนี้ เป็นรูปก็ดี เป็นนามก็ดี เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศ วิญญาณ อะไรก็ดีนี้ เรียกว่า สังขตะ ในความหมายที่ว่า มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง แล้วเป็นไปตามอำนาจของเหตุปัจจัย
        ในส่วนรูปธาตุ หรือรูปธรรม หรือวัตถุธาตุนี้ มันประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ อย่างที่ว่ามาแล้วเมื่อตะกี้ ว่าวัตถุธาตุอันหนึ่งมันประกอบอยู่ด้วยอณูหลายๆ อณู นับไม่ไหว; อณูหนึ่ง ๆ ก็ประกอบอยู่ด้วยปรมาณู หลาย ปรมาณู; ในหนึ่งปรมาณู หรือ  Atom หนึ่งนี่ ในนั้นมันก็ยังมีกฎของ อิทัปปัจจยตา เพียงแต่เป็นอณู เราก็มองไม่เห็นแล้ว ยิ่งเป็นปรมาณูก็ยิ่งมองไม่เห็น; ถ้าไปเรียกเรื่อง Atom เรื่องปรมาณู ตามวิชาวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน เราจะพบว่า แม้ในปรมาณูหนึ่ง มันก็ยังมีตัว อิทัปปัจจยตา เป็นปรากฏการณ์ด้วย  และมีตัว อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นเพียงกฎเกณฑ์ด้วย
            นี่เราไม่ได้อยู่ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ เรามองปรมาณูไม่เห็น แล้วกฎของมันก็ยิ่งมองไม่เห็น; แต่เป็นที่แน่นอนว่า มันมีกฎของ อิทัปปัจจยตา และมีความปรากฏอาการของ อิทัปปัจจยตา แม้ในปรมาณูหนึ่ง ๆ; แล้วมันก็เป็นอันว่า เลิกกัน : ในฝ่ายวัตถุธาตุ เอาอะไรไม่ได้ มันเป็น อิทัปปัจจยตา คือความเปลี่ยนแปลงตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา จะเรียกว่า โดยพระเจ้า โดยน้ำมือของพระเจ้าก็ได้ แต่ต้องเป็นพระเจ้าที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ธัมมัฏฐิตตา ธรรมนิยามตา ซึ่งเราจะเรียกว่าธรรมเฉย ๆ ธรรมคือธรรมชาติ
        ทีนี้ ถ้าเป็นกฎที่คู่กันมาแต่เดิม คือ อิทัปปัจจยตา กฎนั้นก็เป็นกฎแน่นอนตายตัว ไม่เปลี่ยนแปลง; แต่ถ้ามันเป็นกฎที่นักวิทยาศาสตร์ชั้นหลังมองเห็นแล้วตั้งกฎขึ้น อย่างนี้นอย่างนี้ ส่วนนั้นส่วนนี้ เป็นกฎปลีกย่อย อย่างนี้มันไม่แน่ มันผิดก็ได้; เพราะเขาไม่ได้รู้จริง หรือไม่รู้ทั้งหมด เพราะว่ามันอาจจะมีสิ่งใดข้ามาแทรกแซง โดยความไม่รู้เท่าถึงการณ์ของผู้บัญญัติกฎ อย่างนี้มันก็เป็นกฎที่ไม่ถูกไปทั้งหมด มันยังมีผิด
            จะยกตัวอย่างเรื่อนาฬิกาอีกสักครั้งหนึ่ง ว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับกฎทางวิทยาศาสตร์อย่างไร?  แล้วมันเกี่ยวข้องกับกฎ อิทัปปัจจยตา อย่างไร? ถ้าเราเอานาฬิกาเรือนหนึ่ง มาเปิดฝาหลังดู เห็นเครื่องที่มันเดินกระดุกกระดิกสัมพันธ์กันอยู่นั้น มันเดิมอยู่ได้เพราะอะไร? เพราะกฎของ อิทัปปัจจยตา มันเป็นนาฬิกาขึ้นมาได้อย่างไร? มันก็ด้วยกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา; และมันก็คงปกติอยู่ได้ ก็ด้วยกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา ถ้าผิดปรกติก็ผิดกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา ในส่วนที่ผิดปรกติ มันเป็นอิทัปปัจจยตา ส่วนที่ทำให้ผิดปรกติ มันก็เดินไม่ได้
            เช่น ในนาฬิกาเรือนที่มันเดิมได้ตุ๊กติ๊กๆ อยู่นี้ : ถ้ามันเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น มันเป็นสนิมขึ้นมาที่ส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่ง มันก็เดินไม่ได้ เรียกว่ามันผิดกฎเกณฑ์ อิทัปปัจจยตา ในทางเคมี       ว หรือว่ามันผิดกฎเกณฑ์อิทัปปัจจยตา ในทางฟิสิกส์ เช่น ดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง มัหนาวจัด เย็นจัด มันยืดมัหด มันก็เดินไม่ได้ นาฬิกาเรือนนั้น มันก็เดินไม่ได้; หรือว่ามันผิดอิทัปปัจจยตา ทาง Mechanics เช่นว่า บางส่วนมันคนมันงอ มันอะไรนี้ มันก็เดินไม่ได้; หรือว่าถ้ามันผิดกฎเกณฑ์อย่างสูงสุด คือทาง Relativity คือไม่สัมพันธ์กันด้วยดีระหว่างวัตถุกับเวลา เช่นว่าโลกมันหมุนช้าลงอย่างนี้ นาฬิกาของเราก็ใช้ไม่ได้ หรือว่าโลกมันหมุนกลับ มันหมุนถอยกลับ นาฬิกาก็เดินถอยหลังอย่างนี้
            ขอให้นึกดูให้ดีว่า เรื่องกฎเกณฑ์ปลีกย่อยอย่างนี้ มันมีอยู่ใน 4 ประเภทนี้ มีความผิดกฎเกณฑ์ อิทัปปัจจยตา อย่างเดียวเท่านั้น ก็จะผิดกฎเกณฑ์ทั้งหมด แล้วนาฬิกาก็เดิมไม่รอด ทีนี้ มันจะกลับเดินได้อีก คือแก้ไขมันให้ถูกกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา โดยนายช่างที่ฉลาดสามารถรู้อะไรหมด มันก็เป็นนาฬิกาที่เดินได้อีกกระทั่งถึงวันหนึ่งคือหนึ่ง ถึงวาระสุดท้ายที่มันจะสูญสลายเป็นอากาศธาตุไป ไม่มีนาฬิกาเหลืออยู่ มันก็เพราะกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา อีกนั้นเอง
            นี้ขอให้ดูให้ดี สังเกตดูให้ดีว่า พระเจ้า อิทัปปัจจยตานี้ มีอำนาจสักกี่มากน้อย นี้ก็เรียกว่า กฎธรรมชาติ แม้นี้มันก็ยังอยู่ใต้กฎของ อิทัปปัจจยตา ทั้งโดยส่วนใหญ่ ทั้งโดยส่วนปลีกย่อย
            นี้เป็นอันว่าเราพูดกันถึงกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา ทางฝ่ายวัตถุ หรือฝ่ายรูปธรรม มันมาเพียงพอแล้ว กินเวลาไปมากแล้ว
            ทีนี้ ก็มาดูกฎเกณฑ์ อิทัปปัจจยตา ทางฝ่ายนามธรรม หรือทางฝ่ายธรรมกันบ้าง
            กฎเกณฑ์ทางธรรมหรือทางฝ่ายนามธรรมใด ๆ ทั้งหลาย มีอยู่เท่าไรกี่มากน้อย มันล้วนแต่เป็นส่วนย่อย หรือเป็นลูกจ๊อก ของกฎ อิทัปปัจจยตาอีกเหมือนกัน อย่างเรามีคำพูดเป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้วว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เราเรียกว่า กฎอนิจจัง กฎทุกขัง กฎอนัตตา เป็น 3 กฎ แต่ว่า 3กฎนี้ที่แท้คือกฎเดียวกัน คือกฎแห่ง อิทัปปัจจยตา : เมื่อมีสิ่งนี่ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น; หมายความว่า เมื่อมีสิ่งนี่ ๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเปลี่ยนแปลง; เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงทำความทุกข์ความน่าเกลียดให้เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มอง หรือผู้ยึดถือ หรือว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ก็ยึดถือเอาเป็นตัวเป็นตนไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
            ฉะนั้น กฎที่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็กลายเป็นของเล่น ๆ เมื่อนำไปเทียบกับคำว่า อิทัปปัจจยตา; คำว่า อิทัปปัจจยตา เป็นคำพูดใหญ่กว่า สูงกว่า เหนือกว่า กว้างกว่า อะไรกว้าทั้งนั้น นี้เรียกว่ากฎทางธรรมะไม่ว่ากฎไหน มันจะอยู่ได้ความหมายคำว่า อิทัปปัจจยตา
            จะดูให้แคบเข้ามาเพียงว่า : การเกิดขึ้ -ตั้งอยู่-ดับไป-เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป-เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ของรูปธรรมก็ดี ของนามธรรมก็ดี นี่คือตัวอาการ หรือปรากฏการณ์ของ อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นไปตามกฎของอิทัปปัจจยตา
        ตัวกฎมองไม่เห็น แต่ความปรากฏของมันมองเห็น คือเกิดขจึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป โดยอำนาจของกฎ คืออิทัปปัจจยตา; ถ้าไปมัวเห็นแต่การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็หมายความว่า เห็นเพียงอาการข้างนอก ไม่เห็นลึกถึงหัวใจ คืออิทัปปัจจยตา ฉะนั้นจึงยังไม่หมดโง่สิ้นเชิง ยังมีบางส่วนเหลืออยู่ จะต้องมองให้เห็นถึง อิทัปปัจจยตา จึงจะเรียกว่าหมด หมดความเข้าใจผิด หรือหมดความเขลา ความหลงในเรื่องนี้
            คำที่เราเรียกเหตุ-ผล เหตุ-ผล เหตุและผลนี้ มันยังไม่หมด เราต้องรู้อีกสิ่งหนึ่ง คือความสัมพันธ์เนื่องกันระหว่างเหตุกับผล; ถ้าเราไปแยกเหตุกับผลออกจากันแล้ว มันจะรู้อะไรนิดเดียว คือว่ารู้ อิทัปปัจจยตา แต่นิด ๆ หน่อย ๆ ที่เกี่ยวกับเหตุ รู้ อิทัปปัจจยตา นิด ๆ หน่อย ที่เกี่ยวกับผล; เราต้องรู้จักความที่มันสัมพันธ์กันระหว่างเหตุกับผล นี่จึงจะเรียกว่าเห็น อิทัปปัจจยตา โดยตรง หรือ เต็มรูปเต็มร่าง ของสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา
            ดังนั้น อย่าดูแต่เหตุ อย่าดูแต่ผล ต้องดูความที่มันสัมพันธ์กันอยู่ ซึ่งมีลักษณะอาการเปลี่ยนแปลง หรืออะไรก็สุดแท้ เพราะว่าไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นเหตุอยู่เรื่อยไปโดยส่วนเดียวได้ มันจะต้องกลายเป็นผล หรือว่ากลายเป็นผลแล้ว มันก็ไม่เป็นผลอยู่ได้ตลอดไห มันจะกลายเป็นเหตุอีก
            ที่เห็นง่าย ๆ เช่นว่า เป็นแม่ก็คลอดลูกออกมา ลูกนั้นไม่เท่าไร มันก็เป็นแม่อีก มันก็คลอดลูกออกมา แล้วไม่เท่าไรมันก็เป็นแม่อีก นี่เป็นเหมือนกับว่า เมื่อมันเป็นเหตุ แล้วมันก็ดับไป มันก็เกิดผลขึ้นมา เกิดผลขึ้นมาแล้วมันทำหน้าที่ เป็นเหตุให้เกิดสิ่งอื่นต่อไป มันกลายเป็นเหตุ เหตุมันดับไปมันมีผลขึ้นมา นี่เรียกว่า ปัจจยาการ หรืออาการแห่งปัจจัยที่สัมพันธ์กันระหว่างเหตุกับผล นี่คือ อิทัปปัจจยตา
            นี่เป็นความหมายที่เป็นใจความสำคัญของคำว่า อิทัปปัจจยตา คือความที่สัมพันธ์เนื่องกันระหว่างเหตุกับผล แล้วผลกลายเป็นเหตุ เหตุกลายเป็นผล อย่างนี้อยู่ตลอดเวลา
        ดังนั้นเรื่องเหตุเรื่องผลทั้งหมดไม่ว่าในแง่ไหนเป็น อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นกฎเกณฑ์บ้าง ในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์บ้าง แล้วแต่เราจะมองกันในแง่ไหน
          เป็นเหตุเราก็เรียกว่า ปัจจัย เป็นผล เราก็เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม : ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล เราก็เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
            นี้ก็เป็นคำที่ใช่ได้ทั่วไป แม้ในเรื่องวัตถุธรรม แต่ตามธรรมดาหมายถึงเรื่องในใจของคนเรา มีนมีเหตุเป็นกิเลส หรือเป็นอะไร นี้เป็น ปัจจัย; แล้วมันก็เป็นผลเกิดขึ้น เป็น ปฏิจจสมุปปันธรรม; ส่วนอาการทีมันทำให้เกิดขึ้นนี้ ก็เรียกว่า ปัจจยาการ หรือ ปฏิจจสมุปบาท
            ในคนเราคนหนึ่งเต็มไปด้วยกระแสไหลเวียนแห่งสิ่งทั้ง 3 นี้ ตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา : เป็นปัจจัย แล้วก็เป็นผล และมีอาการที่มันทำปัจจัยให้เกิดผล มันจึงเกิดผล; แล้วแต่จะมองดูลำดับของมันกันในแง่ไหน
            ฉะนั้น ในเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวกับเหตุปัจจัยและผลของมัน และความที่มันเนื่องกันระหว่าวงเหตุกับผลนี้ คือ อิทัปปัจจยตา;  เรียกว่าเป้ฯกฎรวมของสิ่งทั้งหมดนี้; ถ้าแยกดุทีละอย่าง มันก็เป็นกฎย่อย ๆ ของสิ่งนี้; ยิ่งไปแยกให้ย่อยอีกมันก็เป็นกฎที่ย่อยออกไปอีก ย่อยลงไปอีก
            ทีนี้ ดูสิ่งที่น่ากลัวที่สุดกันสักที คือว่าความเวียนว่าย คือวัฏฏสงสาร นี้คือสิ่งที่น่ากลัว ถ้าไม่เห็น ถ้าไม่เข้าใจ ก็ไม่น่ากลัวอะไร แล้วบางทีจะสนุกเสียด้วยซ้ำ
            สิ่งที่เรียกว่า วัฏฏสงสาร นั้นก็คือ กิเลสเกิดขึ้น เป็ฯเหตุให้ทำกรรรม ทำกรรมแล้ว ก็เป็นเหตุให้เกิดผลของกรรม ผลของกรรรมเกิดแล้ว ก็ย่อมทำให้เกิดกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งอีก แล้วทำกรรมอีก มีผลกรรมอีก เกิดกิเลสอีก ทำกรรมอีก มีผลกรรมอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้; นี่คือ อิทัปปัจจยตาที่สัมพันธ์กันอย่างน่ากลัว และในลักษณะที่ใหญ่โต คือในลักษณะที่มีความหมายมากและน่ากลัว แล้วก็เกี่ยวข้องกับมนุษย์อย่างยิ่ง ในเรื่องของความทุกข์และความดับทุกข์
            ถ้าเราดูที่ ตัวกิเลส มันก็เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา อยู่ในตัวกิเลสนั้นเอง;ปรากฏการณ์ของกิเลสก็เป็นอิทัปปัจจยตา ในฐานะที่ว่าเป็นปรากฏการณ์; ทีนี้ไปดูที่ตัวกรรมล้วน ๆ มันก็คือ อิทัปปัจจยตา ในลักษณะหนึ่งที่มันเป็นผลมาจากกิเลส; แต่ในลักษณะหนึ่ง มันจะกลายเป็นเหตุสำหรับทำให้เกิดผลกรรม ดูส่วนน้อยมันก็เป็น อิทัปปัจจยตา ส่วนน้อย; ดูส่วนใหญ่มันก็เป็นอิทัปปัจจยตา ส่วนใหญ่
            ในเรื่องของ กรรม กรรมดี กรรรมชั่ว กรรรมไม่ดี ไม่ชั่ว กระทั่งว่า จะสิ้นสุดแห่งกรรมลงไปได้อย่างไร อันเป็น อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นกรรมและความสิ้นไปแห่งกรรมนี้ เรามีความกำหนดกาลไว้แล้วว่า จะบรรยายในคราวหน้า ฉะนั้น วันนี้ก็ไม่ต้องพูด; แต่ขอให้พยายามเข้าใจว่า เมื่อมาเกี่ยวข้องกั้นเป็นวง ในวัฏฏสงสาร คือ กิเลส-กรรม-และวิบาก แล้ว ไม่มีอะไรนอกจากว่า อิทัปปัจจยตา มันกำลังอาละวาดอย่างน่ากลัว ถ้าไม่รู้เรื่องราวของมัน มันก็จะฉิบหายหมด คือว่าจะสูญเสียความเป็นมนุษย์อะไรก็ได้
            นี้เรียกว่า กฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา นั้น มันเหนือกฎเกณฑ์ธรรมะใด ๆ หมด; นอกนั้นล้วนเป็นเรื่องปลีกย่อย แยกออกไปให้เห็นเป็นส่วนหนึ่ง ๆ เท่านั้น การเกิดกิเลสและเกิดทุกข์  การดับกิเลสและดับทุกข์ นี่คือ ปรากฏการณ์ของ อิทัปปัจจยตา; คือแสดงออกมาในมุมนี้ หรือมุมที่ตรงกันข้าม เกิดกิเลส ก็เกิดทุกข์แน่นอน ไม่เกิดกิเลสแล้ว ก็ไม่เกิดทุกข์แน่นอน ดับกิเลสได้ คือดับทุกข์แน่นอน; จะฝ่ายเกิดหรือฝ่ายดับ ก็เป็นกฎของ อิทัปปัจจยตา ทั้งนั้นไม่มีกฎอื่น
            ที่นี้ มาดูกันในแง่ปลีกย่อย : มันก็บัญญัติเป็นกฎแห่งกรรม กฎแห่งกิเลส กฎแห่งวิบาก อะไรไปทำนองนั้น มันหยุมหยิม แล้วก็เป็นเหตุให้มองเห็นแต่ส่วนเดียว มันก็เข้าใจผิดได้; เหมือนกับภูเขาลูกหนึ่ง เราไปมองที่ส่วนหนึ่งมันก็เข้าใจผิด ไปเหมาะว่าภูเขาลูกนั้นเป็นอย่างไร มันอย่างเดียวกับเรื่องนิทานคนตาบอดหลายๆ คน คลำช้างกันคนละที มันก็เถียงกันตาย; แต่ถ้ารู้ถูกต้องหมด มันก็เหลือเพียงคำ ๆ เดียวว่า : โอ๊ย มันเป็นตัว อิทัปปัจจยตา ที่แสดงปรากฏการณ์ออกมา ตามกฎเกณฑ์ของมัน
            ทีนี้ เราจะมาดูกันถึงส่วนที่เป็นเครื่องมือดับทุกข์กั้นบ้าง : โดยส่วนใหญ่  ๆ เราก็จะต้องมองไปยังสิ่งที่เป็นสาระ เช่นว่า ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
            ศีล สนับสนุนสมาธิ สมาธิสนับสนุนปัญญา ปัญญาทำให้เกิดวิมุตติ และวิมุตติทำให้เกิด วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นสายไปอย่างนี้ มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา แม้ว่าจะเป็นฝ่ายดับทุกข์
            ฝ่ายทุกข์นี่ เราพูดกันมาเสียจนชินแล้ว ทีนี้ แม้ในฝ่ายดับทุกข์ มันก็ยังเป็นกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตาที่ว่า : เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้ย่อมมี เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เมื่อสิ่งนี้ดับลง สิ่งนี้ย่อมดับลง
        ศีล ก็ดับไปแห่งดทษทางกายวาจา สมาธิ ก็ดับไปแห่งกิเลสกลุ้มรุมจิต ปัญญา ก็ดับไปแห่งอนุสัยอาสวะ วิมุตติ ก็ดับไปแห่งความทุกข์ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็ดับไปแห่งความโง่ทั้งหมด เป็นครั้งสุดท้าย
            เหล่านี้มันก็เป็นกฎเกณฑ์ของการเกิดขึ้นหรือดับไป อยู่นั้นเอง : เกิดขึ้นแห่ง ศีล เกิดขึ้นแห่งสมาธิ เกิดขึ้นแห่ง ปัญญา เกิดขึ้นแห่ง วิมุตติ เกิดขึ้นแห่ง วิมุตติญาณทัสสนะ หรือเกิดขึ้นแห่งความดับของโทษทางกายวาจา กิเลสหยาบ ๆ กิเลสชั้นประณีต; แล้วก็เกิดขึ้นแห่งความไม่มีทุกข์ เกิดขึ้นแห่งญาณรู้ว่าเดี๋ยวนี้ไม่มีความทุกข์แล้ว นั้นแหละคือตัว อิทัปปัจจยตา ชนิดที่น่ารัก แต่ว่ายึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูว่าของกูไม่ได้ : พอไปยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูของกูเข้าเมื่อใด มันกลับเป็นอิทัปปัจจยตา ฝ่ายที่เป็นยักษ์เป็นมารขึ้นมาทันที คือจะมีความทุกข์ขึ้นมาทันที
            ฉะนั้น ทุกสิ่งตั้งแต่สิ่งที่เลวที่สุดขึ้นไปจนถึงนิพพาน เป็นสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนไม่ได้ ถ้าเกิดยึดมั่นถือมั่น มันก็กลับตะละปัดเป็นเรื่องของความทุกข์ นี้จะเห็นว่า เกิดทุกข์ก็ดี ดับทุกข์ก็ดี มันเป็น อิทัปปัจจยตา
            อยากจะชี้ให้เห็นในระบบการปฏิบัติอานาปานสติ 16 ขั้น ทั้ง 16 ขั้นติดต่อกันว่าจะเป็น อิทัปปัจจยตา อย่างไร? แต่เวลามันไม่พอ ขอพูดง่าย ๆว่า :
            ลมหายใจยามก็ อิทัปปัจจยตา ลมหายใจสั้นก็ อิทัปปัจจยตา ไปดูเอาเอง ความที่ลมหายใจปรุงแต่งกายนี้ ก็คือ อิทัปปัจจยตา การทำให้ลมหายใจปรุงแต่งกายน้อยลง ๆ จนสงบรำงับไป ก็ อิทัปปัจจยตา; อานาปานสติ 4 ขั้นแรก กล่าคือ หมวด กายานุปัสสนา มันก็ อิทัปปัจจยตา แบของมันนั้น
            แล้วก็มาดูหมวด เวทนานุปัสสนา ว่า ปีติ เกิดขึ้น หรือรู้สึกสุขอยู่ มันก็ อิทัปปัจจยตา ของปีติของความสุข; และทั่ง 2 อย่างนี้ปรุงแต่งจิต นั้นแหละยังเป็นตัว อิทัปปัจจยตา ละ; ปีติและสุข มันปรุงแต่งจิต ทีนี้ทำการกำหราบอำนาจของปีติและสุขเสีย ระงับจิตสังขารอยู่ นี้ก็คือ อิทัปปัจจยตา ฝ่ายดับ ฝ่ายนิโรธ ฝ่ายลดลง; 4 ขั้นนี้มันก็เป็นเรื่อง อิทัปปัจจยตา ที่รูปร่างแปลกออกไปอีกต่างไปอีก
            ทีนี้ ไปถึงหมวด จิตตานุปัสสนา รู้ว่าจิตมีลักษณัอย่างไร ต่าง ๆ กันนั่นแหละ คือ อิทัปปัจจยตา หลายรูปหลายแบบ ของจิต; ทำจิตให้ปราโมทย์มันก็ อิทัปปัจจยตา สด ๆ ร้อน ๆ ทำจิตให้ตั้งมั่น มันก็ อิทัปปัจจยตา; ทำจิตให้ปล่อยให้วางอยู่ มันก็ อิทัปปัจจยตา เป็นเรื่องสด ๆ ร้อน ๆ ที่นั่นและเดี๋ยวนั้นตามสติปัญญาของบุคคลผู้รู้ความลับของสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา; มันจึงบังคับจิตอย่างนั้นก็ได้ บังคับจิตอย่างนี้ก็ได้ ยังคับจิตอย่างนั้นก็ได้
            พอมาถึงหมวดสุดท้าย ธมมานุปัสสนา ให้ดุอนิจจัง เป็นอนิจจานุปัสสีเห็นอยู่ นีร้ก็คือ อิทัปปัจจยตา ที่ถูกเห็น ถูกมองเห็น; พอมองเห็นหนักเข้ามันก็เป็นวิราคานุปัสสี คือผู้เห็นวิราคะนั้นแหละ ตัววิราคะ ก็อิทัปปัจจยตา การมองเห็นที่เกิดข้นใหม่นี้ก็เป็น อิทัปปัจจยตา ตัวที่ราคะมันเสื่อมไป มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา; ทีนี้มาถึงนิโรธานิปัสสี-ดับลงแห่งกิเลส และความทุกข์หรือความยึดมั่นถือมั่น; นี้มัน อิทัปปัจจยตา ประเภทที่น่าปรารถนา ถึงปรารถนา อันสุดท้ายก็เป็น ปฏนิสสัคคานุปัสสี มองเห็นอยู่ว่าเราพ้นแล้ว เราสละได้แล้ว นี้คือเห็นผลแห่งการปฏิบัติถูกต้องตาม อิทัปปัจจยตา; ความสลัดได้นั้น มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา
            ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ อิทัปปัจจยตา : ผลดีก็ อิทัปปัจจยตา ผลร้ายก็ อิทัปปัจจยตา การทำก็เป็น อิทัปปัจจยตา ผลของการกระทำก็เป็น อิทัปปัจจยตา นี่เรียกว่ามองกันอย่างละเอียด ในการปฏิบัติชุดใหญ่โดยละเอียดนั้น มันก็เต็มไปด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ในรูปแบบที่ต่าง ๆ กัน; แต่รวมความแล้วมีคำคำเดียวว่า อิทัปปัจจยตา : เพราะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น
            นี้พูดพอเป็นตัวอย่าง สำหรับให้นำไปคิดนึกแล้วก็รู้จักสังเกตศึกษาเอาเองเรื่องขันข์ เรื่องธาตุ เรื่องอายตนะ ที่ประกอบกันอยู่เป็นคน ๆ นั่นนี่ ล้วนแต่ อิทัปปัจจยตา ที่เป็นไปตามกฎตามเวลาตามสิ่งที่มั่นแวดล้อม; ฉะนั่นไม่มีอะไรดอกในคนเราคนหนึ่ง ๆ นอกจาก อิทัปปัจจยตา
            แต่แล้วอย่าลืมว่า อิทัปปัจจยตา นี้ ถูกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย : ใช้เพื่อสังขตะ ให้เพื่ออสังขตะ ถ้าเราใช้วิชา อิทัปปัจจยาตา เพื่อสิ่งที่เป็น สังขตะมีเหตุปัจจัย เราอาจจะ ทำให้มันเกิดได้ ดับได้ แต่ถ้าไปใช้เดียวข้องกับพวก อสังขตะ เราเพียงแต่ ทำให้มันปรากฏออกมา เท่านั้น เราทำให้เกิดหรือดับไม่ได้ แม้จะเป็น อิทัปปัจจยตา วิเศษอย่างไร มันก็ไปเล่นกับพวกอสังขตะไม่ได้ นอกจากเพียงทำให้ปรากฏออกมา ให้รู้จั้งรู้จักได้ มันมีกฎแห่งการทำให้เกิดขึ้นหรือดับไป นี้อย่างหนึ่ง; แล้วมีกฎแห่งการทำให้ปรากฏแจ้งออกมาเท่านั้น ไม่ใช่เกิดหรือดับนี้ อีกอย่างหนึ่ง; แต่ทั้ง 2 กฎนี้ มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา
            ทีดีไปกว่านั้นอีกก็คือ อิทัปปัจจยตา นี้ เป็นกฎของความสมดุลย์ เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ความสมดุลย์นั้นเป็นความรอด; ไม่มีความสมดุลย์จะไม่มีความรอด เดี๋ยวนี้เรารอดอยู่ได้ เพราะมีความสมดุลย์ คือว่าไม่ไปฝ่ายโน้น ไม่ไปฝ่ายนี้ แต่มันอยู่ตรงกลาง คือว่าพอดี ๆ ไม่มากไม่น้อย ไม่ใช่ว่ามันมีเสียจนมากมาย หรือว่ามันไม่มีเสียเลย; อย่างนั้นมันไม่ใช่พอดี ต้องทำถูกต้องพอดีทั่งเวลา ทั้งวัตถุ ทั้งอะไรต่าง ๆ
            อิทัปปัจจยตา พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ ด้วยความมุ่งหมายว่า เพื่อให้รู้จักมัชฌิมาปฏิปทา หรือมัชฌิมาภาวะ คือภาวะแห่งมัชฌิมา ตรงกลางให้รู้จักมัชฌิมาปฏิปทา คือข้อปฏิบัติที่เป็นไปทางกลาง
            เมื่อพูดอยู่ว่า อิทัปปัจจยตา ๆ นี้แสดงว่าอยู่ตรงกลาง ไม่ไปข้างไหนหมดไปตากฎเกณฑ์ของ อิทัปัจจยตา จะว่าไปข้างโน้นก็ได้ ไปข้างนี้ก็ได้ แต่มันไม่ไป สำหรับการพูดจาโดยเฉพาะ ไม่ให้พูดว่านั่นนี่ อย่างนั้นอย่างนี้ สุดโต่งฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ให้พูดอยู่ตรงกลางว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น; จะดีก็ตาม ชั่วก็ตาม สุขทุกข์ก็ตาม; ฉะนั่นขอให้เข้าใจ อิทัปปัจจยตา ในแง่ที่มีคุณค่าสูงสุด คือทำให้เกิดปรากฏความเป็นมัชฌิมาปฏิปทา เข่นกายนี้ต้องมีมัชฌิมาปฏิปทา วาจาต้องมีมัชฌิมาปฏิปทา สติปัญญา ก็ต้องมีมัชฌิมาปฏิปทา จึงมีความสงบสุขอยู่ได้ แต่คนไม่ค่อยมอง แล้วก็มักจะเรียกเสียว่า ทำให้ถูก ๆ ก็แล้วกัน ที่พูดว่า ทำให้ถูก นั้นก็ถูกแล้ว คือมันเป็นการดับทุกข์ได้; แต่ว่ายังไม่ใช่คำพูดที่ฉลาด
          คำพูดที่ฉลาดนี้ก็เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ไม่ใช้คำว่าพูดหรือไม่ถูก แต่ใช้คำว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะรู้จัก อิทัปปัจจยตา อย่างถูกต้อง ฉะนั้น กฎเกณฑ์ของความสมดุลย์มัชฌิมาปฏิปทานี้ คือยอดของกฎเกณฑ์ทั้งหลาย ดังนั้น จึงได้กล่าวโดยหัวข้อย่างในวันนี้ว่า  กฎเหนือกฎทั้งหลาย กฎที่ประเสริฐกว่ากฎทั้งหลาย กฎที่เป็นยอดแห่งกฎทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความดับทุกข์โดยประการทั้งปวง
            ที่ว่ายอด หรือเหนือ หรืออะไร แห่งกฎเกณฑ์ทั้งหลาย เพราะว่ามันเป็นไปเพื่อดับทุกข์โดยประการทั้งปวง อย่าไปเข้าใจว่า ใครเป็นผู้บัญญัติความสมดุล ความเป็นมัชฌิมาปฏิปทานั้น อย่าไปเข้าใจว่าใครบัญญัติ มันธรรมชาติบัญญัติ; พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วจึงทรงเอามาเปิดเผย ฉะนั้น ที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้านี้ ไม่มีอะไรดอก ดูคล้าย ๆ กับว่าไม่ต้องพูดถึงก็ได้ พระพุทธเจ้าจะเกิด หรือพระพุทธเจ้าจะไม่เกิด สิ่งนี้คงเป็นอย่างนี้
            นี่พระพุทธเจ้าทางตรัสเอง ไม่ใช่เราว่า ไม่ใช่เราไม่นับถือพระพุทธเจ้า; พระพุทธเจ้าท่านตรัสเองว่า ตถาคตจะเกิดหรือตถาคตจะไม่เกิด สิ่งนี้เป็นอย่านี้เอง มีอยู่อย่างนี้; พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิด มันก็ไม่กระทบกระเทือนอะไรกับกฎอิทัปปัจจยตา นอกจากแต่ว่า ถ้าพระพุทธเจ้าเกิด กฎนี้มันก็ถูกเปิดเผย ถ้าพระพุทธเจ้าไม่เกิด กฎนี้มันก็ไม่ถูกเปิดเผย;  แต่ว่าตัวกฎเองไม่รู้ไม่ชี้ มันเด็ดขาดตายตัวอยู่ในตัวของมันเอง ไม่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
            พระพุทธเจ้าเสียอีก จะต้องเกิดขึ้นหรือล่วงลับไปโดยกฎแห่ง อิทัปปัจจยตาตามกฎของ อิทัปปัจจยตา ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ก็เป็นอิทัปปัจจยตา นี้พูดอย่างนี้คล้าย ๆ กับจ้วงจาบพระพุทธเจ้า; แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสอย่างนั้น การปรินิพพานไปแห่งพระพุทธเจ้า ก็เป็นอิทัปปัจจยตา โดยกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยขา ทำให้เกิดพระพุทธเจ้าขึ้นมา เป็นปรากฏการณ์ของ อิทัปปัจจยตาในส่วนนี้; เพราะเหตุนี้พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า ฉันจะเกิดหรือฉันจะไม่เกิดสิ่งนี้มันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว
            ทีนี้ ทำไมพระพุทะเจ้าต้องเกิด? เอ้า ลองคิดดูบ้างซิ ทำไม พระพุทธเจ้าต้องเกิด? มันก็เพราะกฎแห่ง อิทัปปัจจยตา อีกนั่นเอง มัน ทนอยู่ไม่ได้ เมื่อความรู้ของมนุษย์ มันเป็นไปสูงขึ้น ๆ ตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยาตา พระพุทธเจ้าก็เสด็จอุบัติ โผล่ ขึ้นมาในโลกของมนุษย์ นี่ทำไมจึงต้องเกิดพระพุทธเจ้า ก็เพราะว่าความเจริญขึ้นตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา นี้ ทำให้เกิดพระพุทธเจ้าขึ้นมาในโลก
            ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หรือความสิ้นไปของพระพุทธเจ้า ก็เป็นสังขตะ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เป็นไปตามกฎแห่ง อิทัปปัจจยตา เว้นเสียแต่ว่าเราจะชี้คำพูดอย่างอื่นว่า นั่นไม่ใช่พระพุทธเจ้า ที่มันเกิดได้ดับได้นั้น จะเอาตัวธรรมธาตุนั้นเสียเองว่าเป็น พระพุทธเจ้า; นั่นแหละจะน่าดู เพราะว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม นี้ก็อย่างหนึ่งแล้ว
            ทีนี้ สูตรในมัชฌิมานิกาย ยังมีชัดว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทในที่นี้หมายถึงกฎของ อิทัปปัจจยตา โดยตรง การเห็นกฎ อิทัปปัจจยตา นี้ คือการเห็นพระพุทธเจ้า ฉะนั้น พระพุทธเจ้าก็คือกฎของ อิทัปปัจจยตา ในความหมายนี้; ผู้ใดเห็นธรรมนี้ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรมที่เป็นองค์พระพุทธเจ้า คือ ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม; ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท
            ถ้าอย่างนี้ คำว่า พระพุทธเจ้า ไม่ได้หมายถึงบุคคล แต่หมายถึงธรรม คือตัว อิทัปปัจจยตา เสียเอง เลยน่าหัววกันใหญ่ : ไป ๆ มา ๆ อิทัปปัจจยตา เป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง; หมายความถึงว่า สติปัญญาหรือญาณทัสสนะ อะไรก็ตามที่เห็น อิทัปปัจจยตา นี้คือเห็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น เราทุกคน จงพยายามที่จะเห็นพระพุทธเจ้า ในลักษณะอย่างนี้กันดีกว่า คือในลักษณะที่เห็น อิทัปปัจจยตา นั่นแหละ คือเห็นพระพุทธเจ้า
            ทีนี้ อยากจะพูดแถมอีกหน่อยหนึ่งว่า สำหรับพระพุทธเจ้ามีอย่างนี้; แต่สำหรับพระเจ้าหรือพระเป็นเจ้า มันมีอย่างไร; นี้เพื่อกันความเข้าใจผปิด พระเป็นเจ้าในศาสนาอื่น เขามีกันอย่างอื่น ไม่ใช่พระเจ้า อิทัปปัจจยตา แต่ถ้าว่าเขามีพระเจ้าชนิด อิทัปปัจจยตา มันก็มีได้ ในเมื่อเขาจะถือเอาความหมายของคำว่า พระเจ้า”; คือพวกที่ถือพรพะเจ้าทั้งหลาย อย่าถือเอาพระเจ้าเป็นคน ขอให้ถือพระเจ้าที่เป็นอะไรก็ไม่รู้
            คัมภีร์ของศาสนาอื่น ๆ ที่เขาเขียนไว้ถูกต้องนั้น เขาจะเขียนไว้ในลักษณะที่แสดงว่า พระเจ้าเป็นอะไรก็ไม่รู้ คือเป็นคนก็ไม่ใช้ เป็นผีก็ไม่ใช่ เป็นอะไรก็ไม่ใช่ทั้งนั้น แต่เป็น พระเจ้า เพราะมันไม่มีคำจะพูด; ถ้าพูดอย่างนี้ มันก็ค่อย ๆ ใกล้เข้ามายัง อิทัปปัจจยตา : โดยถามว่าพระเจ้าทำอะไร? พระเจ้าก็สร้าง พระเจ้าก็ควบคุม พระเจ้าก็ทำลายล้าง พระเจ้าอยู่ในที่สทุกหนทุกแห่ง พระเจ้าคอยลงโทษคนทำชั่ว ให้รางวัลคนทำดี อย่างนี้ ถ้าพูดมาอย่างนี้ เดี๋ยวก็มายังอิทัปปัจจยตา; อิทัปปัจจยตา ในพุทธศาสนา ก็กลายเป็น พระเจ้าของคนพวกนั้นไป
            หรือว่า ถ้าในพุทธศาสนาเรา อยากจะมีพระเจ้ากับเขาบ้างก็อิทัปปัจจยตา นั่นเอง; กฎเกณฑ์ที่สูงสุด ที่เฉียบขาด ที่เด็ดขาด ที่ตายตัว ราวกับเป็นพระเจ้า ตาเราเรียกสั้น ๆว่า ธรรม หรือธรรมธาตุ หรือธรรมฐิติ หรือธรรมนิยาม หรือตถตา หรือ อิทัปปัจจยตา เราเรียกอย่างนี้
            สรุปความแล้ว ทั้งหมดนั้นเรียกว่า ธรรมเฉย ๆ แต่ถ้าจะเอาใจความจำกัดให้ชัดออกไปสักหน่อยก็ว่า อิทัปปัจจยตา; เป็นความหมายของคำว่าธรรมนั้น สิ่งที่เรียกว่าพระเจ้านี่ ไม่ต้องเป็นไปตามกฎอะไรหมด เพราะพระเจ้าเป็นตัวกฎเสียเอง คือ อิทัปปัจจยตา; ฉะนั้นพระเจ้าไม่ต้องเป็นไปตามกฎอะไร พระเจ้าตั้งอยู่ได้เองโดยตัวเอง นั่นแหละคือตัวกฎที่เป็นอสังขตะ มันจึงเป็นกฎเหนือกฎทั้งหลายเป็นพระเจ้าเหนือพระเจ้าอย่างอื่น
        นี่คือ อิทัปปัจจยตา ตัวใหญ่ ทั่วสากลจักรวาล ยิ่งกว่าสากลจักรวาล คือว่า มันมีอีกหลายร้อยหลรายพันจักรวาล ก็ทั่วทุกจักรวาล; อิทัปปัจจยตา ตัวนี้ใหญ่เท่าสากลจักรวาล คือทั้งหมด; จักรวาลทุก ๆชนิด ที่ทำให้อะไรมันผิดแผนกแตกต่างกันไปได้ แต่ว่ามันมาจากต้นตออันเดียวกัน
            ปัญหาที่ถามว่า ทำไม? เพราะเหตุไร? เหตุไรจึงเป็นอย่างนั้น? ทุกปัญหาตอบได้ด้วยคำว่า อิทัปปัจจยตา คือเพราะ อิทัปปัจจยตา โดย อิทัปปัจจยตา หรือเมื่อเกิด อิทัปปัจจยตา : อะไร ๆ ที่แปลกประหลาดในโลกนี้ล้วนแต่มาจาก อิทัปปัจจยตา
            ถามว่า สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้มีกี่จำพวก? พูดอย่งเด็ก ๆ ก็ได้ : ก็มีสัตว์ที่ไม่มมีเท้า แล้วก็สัตว์ 2 เท้า สัตว์ 4 เท้า สัตว์ที่มีเท้ามากนับไม่ได้ นี่มันต่างกันมาก สัตว์หนึ่งไม่มีเท้า สัตว์หนึ่งมีเท้า 2 เท้า 4 เท้า สัตว์หนึ่งมีเท้าจนนับไม่ไหว; มันก็เหมือนกันหมด ตรงที่ว่าเป็นปรากฏการณ์ของอิทัปปัจจยตา ตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา หรือว่ามันจะเป็น สัตว์ชลาพุชะ-เกิดในน้ำ อัณฑชะ-เกิดในฟองไข่ สังเสทชะ-เกิดในความหมักหมม โอปปติกะ-เกิดผุดขึ้นมา นี้ดูคล้ายกับว่ามันต่างกันเหลือเกิน ที่แท้มันก็เป็นอันเดียวกัน คลอดออกมาจากอิทัปปัจจยตา หรือว่ากำลังมีอาการแห่ง อิทัปปัจจยตา มีปรากฏการณ์แห่ง อิทัปปัจจยตา อยู่ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
        ฉะนั้น อย่าดุสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นให้มันต่างกันนักซี่ สัตว์ไม่มีเท้า กับสัตว์มีเท้ามัก็ยังเหมือนกัน สัตว์เกิดในน้ำ ในครรภ์ ในฟอง หรือผุดขึ้นมันก็ยังเหมือนกัน ดังนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมาดูว่า เป็นเจ๊ก เป็นแขก เป็นไทย เป็นฝรั่ง หรือว่าเป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย เป็นอะไร ๆ นี้มันยิ่งน่าหัวมากขึ้น
          นี้คือปัญหาที่ตอบได้ด้วยคำว่า อิทัปปัจจยตา คำเดียว ไม่ว่าเขาจะถามมาอย่างไร?
            สรุปความว่า โอ๊ย เลิกโง่ เลิกอวดดีกันเสีย อย่าดง่ อย่าอวดดี อย่ทำเล่นกับ อิทัปปัจจยตา; ที่แล้วมาทำเล่นกันอิทัปปัจจยตา คือไม่เอาใจใส่ หรือว่าไม่เอาใจใส่ให้มากพอ ให้มันคุ้มกับความสำคัญของ อิทัปปัจจยตา อย่างนี้ก็เรียกว่าทำเล่นเหมือนกัน เพราะไม่รู้;  เพราะไม่รู้แล้วก็อวดดี แล้วเมื่อไรจะพบกันกับ อิทัปปัจนจยตา ที่จะดับทุกเล่า? มันจะพบแต่ อิทัปปัจจยตา ที่จับกดลงไปในความทุกข์ ให้มีความทุกข์มากขึ้น
            พุทธบริษัทนี้ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราก็ปฏิญญาตัวอยู่อย่างนั้น ว่าพุทธบริษัทนี้ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แล้วมันรู้ ตื่น เบิกบาน จริงหรือเปล่า? เมื่อยังไม่รู้ อิทัปปัจจยตา มันรู้ไปไม่ได้ เบิกบานไม่ได้ ตื่นไม่ได้ มันยังโง่ แล้วอวดดี; ขอให้ถือที่พึ่งจาก อิทัปปัจจยตา ใช้ อิทัปปัจจยตา ให้ถูกต้อง ให้เป็นที่พึ่ง; ให้เราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้; อย่างอื่นไม่ได้ ถ้าทำผิดกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา แล้ว ไม่มีอันไหนจะมาช่วยได้ จึงต้องถือเอาเป็นหลัก เป็นที่พึ่ง
            ฉะนั้น จึงได้ขอร้อง ว่าขอให้ทุกคนพยายามอย่างยิ่งสุดความสามารถของตน ๆ ที่จะให้สิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา นี้ คุ้นเคยกันกับเรา คุ้นทางกาย คุ้นทางปาก คุ้นทางใจ : ทางกายก็ปฏิบัติถูกต้องอยู่ ตามกฎเกณฑ์นี้ ทางปากก็พูดถูกต้องอยู่ ด้วยกฎเกณฑ์นี้ ทางใจก็รู้แจ่มแจ้งอยู่ ด้วยกฎเณฑ์นี้; อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้คุ้นเคยกับ อิทัปปัจจยตา ในชีวิตประจำวันทุกวัน นี้ขอให้รู้จัก อิทัปปัจจยตา อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ โดยกฎเกณฑ์อันใหญ่ คืออิทัปปัจจยตา ทั้งหมดทั้งสิ้น ให้รู้และก็จะไม่ถูกหลอกลวง โดยอิทัปปัจจยตา ตัวน้อย ๆ
            ถ้าเรารู้จัก อิทัปปัจจยตา แท้จริง โดยสมบูรณ์ ซึ่งมีอยู่ตัวเดียวเท่านั้น แล้วเราก็จะไม่ถูกลวง โดย อิทัปปัจจยตา ตัวน้อย ๆ ที่มันแยกแขนงออกไป เพื่อเหตุการณ์อันหนึ่ง หรือเพื่อส่วนหนึ่งส่วนน้อย เราไปหลงอย่างนั้น เช่นเดี๋ยวนี้ กำลังหลงเรื่องความเจริญทางวัตถุ ทางเนื้อหนัง ทางสนุกสนานเอร็ดอร่อย มันเป็น อิทัปปัจจยตา เหมือนกัน แต่เป็น อิทัปปัจจยตา ที่จะพาไปหาความทุกข์ คือเป็นฝ่ายสมุทยวาร ที่จะให้เกิดทุกข์ นี่เรียกว่ารู้นิดเดียว
            ต้องรู้หมดว่า ทุกข์เกิดอย่างไร? ดับทุกข์อย่างไร? ฝ่ายนิโรธวารเป็นอย่างไร? แล้วรู้จนกระทั่งว่ายึดถือไม่ได้ สมุทยวาร นิโรธวาร อะไรยึดถือไม่ได้ ถ้ายึดถือจะเกิด อิทัปปัจจยตา ใหม่ อีกแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความทุกข์
            ฉะนั้น ขอให้ความตั้งใจนี้ เป็นที่หวังได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป คือว่าเราจะไม่ถูกหลอกลวงด้วยกฎของ อิทัปปัจจยตา  เพราะมีความรู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา โดยถูกต้องและครบถ้วน
            สรุปแล้วมีเพียงอันเดียวว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น; แต่ว่ามีอรรถอันลึกซึ้ง เร้นลับ มากมายหลายแขนง ช่วยกันเอาไปคิดพิจารณาดูให้ดี วันนี้ก็พอสมควรเวลา

ขอยุติการบรรยายให้พระสงฆ์สวดธรรมปหังสนกถาต่อไป
(คัดลอกจากหนังสือ อิทัปปัจจยตา ของ ท่านพุทธทาส หน้า 133-368  เมื่อ 26 มี.คม 49)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น