วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อิทัปปัจจยตา 13 ในฐานะที่เป็นกฎแห่งกรรม กรรม และกัมมักขัย(ต่อ)

เสาร์ที่ 25  มีนาคม 2515
          ท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย
            การบรรยายเรื่อง อิทัปปัจจยตา ในครั้งที่ 13 นี้ จะได้กล่าวโดยหัวข้อว่า อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นแบบของปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ แบบ ข้อนี้หมายความว่า อิทัปปัจจยยตาเป็นคำรวม ที่อาจเรียงความกระจายออกไปได้เป็น ปฏิจจสมุปบาท และปฏิจจสมุปบาทนี้ ก็อาจจะกล่าวได้หลาย ๆ แบบ  หลายแบบก็เพราะว่ากล่าวอย่างนั้น ๆ ย่อ ๆ ไม่กี่อาการก็มี มากอาการก็มี โดยต่างก็มี โดยอ้อมก็มี
        การบรรยายในครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายของเรื่อง อิทัปปัจจยตา ดังนั้นมันจึงเป็นเสมือนสรุปรวมความเรื่อง อิทัปปัจจยตา อยู่ในตัว
            ข้อที่กำหนดการของเราต้องผิดไปบ้าง คือในครั้งที่แล้วมา ไม่ได้พูดถึงเรื่องอริยสัจจ์ เพราะว่าเรื่องก่อนหน้านั้นพูดไม่จบ ต้องเอาเวลาครั้งที่แล้วมาไปพูดเรื่องนั้นเสีย เรื่องอริยสัจจ์จึงยังไม่ได้พูด จึงขอถือโอกาสนำมาพูดรวมกันกับครั้งนี้ ข้อนี้ทำได้ไม่ยาก เพราะว่าเรื่องอริยสัจจ์ ก็คือปฏิจจสมุปบาทแบบหนึ่งนั้นเอง จึงเป็นอันว่าเราได้กล่าวครบถ้วน ตามหัวข้อซึ่งตั้งใจว่าจะกล่าวแล้วนั้น ทุกประการ ดังนั้น ในวันนี้จะต้องกล่าวเรื่องอริยสัจจ์ผนวกลงไปด้วยในฐานะที่เป็นปฏิจจสมุปบาทแบบหนึ่ง
        ทีนี้เรื่องที่อยากจะพูดแล้วพูดเล่า ไม่กลัวใครรำคาญก็คือการทบทวนความมุ่งหมายในการบรรยายเรื่อง อิทัปปัจจยตา นี้ และวันนี้ก็จะเป็นครั้งสุดท้ายอยู่แล้วจึงขอทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ว่า ถ้าพุทธบริษัทไม่เป็นผู้แตกฉานในเรื่องอิทัปปัจจยตา ก็หาใช่พุทธบริษัทไม่ แต่ว่าข้อนี้มีการยกเว้นอยู่บางอย่าง คือว่าพุทธบริษัทบางคนก็รู้สึกในความจริงอันเป็นลักษณะอาการของ อิทัปปัจจยตา อยู่บ้างแต่ไม่รู้จักเรียกโดยชื่อว่า อิทัปปัจจยตา อย่างนี้ก็มี
            ข้อนี้ เหมือนอย่างที่ได้กล่าวแล้วในการบรรยายแต่ครั้งแรก ๆ ที่เดียว ว่าการที่คุณย่าคุณยายบางคนพูดออกมาได้ว่า มันอย่างนั้นแหละ ลูกเอ๋ย ! อย่าไปเดือดเนื้อร้อนใจกับมันเลย ! อย่างนี้ก็ย่อมแสดงลักษณะของ อิทัปปัจจยตา อยู่ไม่น้อย หากแต่ว่าคนผู้กล่าวนั้น ไม่รู้จักใช้คำว่า อิทัปปัจจยตา เท่านั้นเอง
        อิทัปปัจจยตา ก็คือเรื่องความจริงของธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง ถ้าผู้ใดรู้แล้ว จะไม่มีสิ่งไร เป็นที่น่าประหลาดอกประหลาดใจ แก่บุคคลนั้น ไม่ทำให้บุคคลนั้นยินดีได้ยินร้ายได้ แต่ว่าเขาจะมีความปกติสม่ำเสมออยู่ได้ เพราะรู้ธรรมะเรื่อง อิทัปปัจจยตา นี้
        ขอให้ท่านทังหลายคิดดูให้ดีเถิดว่า เราเป็นพุทธบริษัททำไมกัน ที่เห็น ๆ กันอยู่นี่ ก็เป็นพุทธบริษัทกันแต่เปลือก คือว่าเมื่อพ่อแม่เป็นพุทธบริษัท แล้วก็จดทะเบียนลูกลงไปว่าเป็นพุทธบริษัท มันก็เป็นพุทธบริษัทกันแต่เปลือกอย่างนี้เรื่อย ๆ มา เลยไม่รู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา ก็ยังได้ ถ้าใครต้องการเพียงเท่านั้น มันก็ไม่มีความยากลำบากอะไรที่จะต้องมาศึกษาเรื่องอย่างนี้ แต่ถ้าจะเป็นพุทธบริษัทกันให้ได้จริง ๆ กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีลักษณะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยแล้ว จะต้องมีความรู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา แล้วเป็นพุทธบริษัทกันให้แท้จริง อย่าเป็นกันแต่เปลือก
        นี่แหละ คือความมุ่งหมายของการบรรยายเรื่องนี้ ว่าพุทธบริษัทนั้นแปลว่าผู้รู้ ไม่ใช่คนโง่ และเป็นผู้ตื่น หมายความว่าไม่หลับ และเป็นผู้เบิกบาน ก็หมายความว่าไม่มีความทุกข์ร้อนอะไร ทั้ง 3 อย่างนี้ มันเนื่องกัน รู้ หรือตื่น นี้เป็นเหตุ ส่วนเบิกบานนี้มันเป็นผล และเบิกบานอยู่ได้ในลักษณะที่เหมือนกะว่าดอกไม้ที่บานแล้ว ไม่รู้จักโรย นี่แหละ คือผลของความเป็นพุทธบริษัท เพราะเหตุที่รู้ธรรมะชนิดที่ทำให้ไม่หลับ หรือชนิดที่ทำให้ไม่ต้องหวั่นไหวไปตามอารมณ์ จึงมีความคงที่อยู่ด้วยความเบิกบาน
            ท่านผุ้ใดกำลังเป็นอย่างไร ในทุกวันนี้ ก็จงไปพิจารณาดูตัวเองบ้างว่ามันมีความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน อยู่พอสมควรแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีอะไรที่ไม่รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องทำใจคอให้เป็นปกตินี้ นี้ก็เรียกว่ายังเป็นคนหลับ เป็นพุทธบริษัทแต่เปลือก ไม่มีเนื้อใน ควรจะรีบแก้ไขเสียโดยเร็ว หรือว่าถ้ามันยังมีส่วน หรือมีเวลาที่เบิกบานน้อยเกินไป ก็ต้องรีบแก้ไขให้มันมีมากขึ้น ๆ จนกว่าจะอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าเป็นฝักฝ่ายแห่งบุคคลผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ซึ่งบางที่ก็จะเรียกว่าบรรลุมรรคผล เป็นพระโสดา ฯ เป็นสกิทาคา ฯ เป็นต้น นี้มันไม่ใช่เรื่องลึกลับ หรือเรื่องขลังเรื่องศักดิ์สิทะวิเศษวิเสโสอะไร เพียงแต่ว่ามันเป็นเรื่องของบุคคลผู้มีความรู้ มีความตื่นคือลืมตา มีความเบิกบานขึ้นมาถึงระดับที่พอจะเรียกได้ว่าอย่างนั้น ๆ เท่านั้น แต่ว่าที่แท้แล้ว คนธรรมดาสามัญก็ควรจะมีความรู้ ความตื่น และความเบิกบาน อย่าด้วยตามสมควร แต่เมื่อมันมากถึงขนาดหนึ่ง จึงจะบัญญัติว่าเป็นฝ่ายที่แน่นอนต่อนิพพาน คือเป็นพระอริยเจ้า
            เรื่องความดับทุกข์ทัวงหมด เราไม่อาจจะแก้ปัญหาได้ด้วยหลักธรรมะข้ออื่นนอกไปจากธรรมะข้อนี้ คือข้อ อิทัปปัจจยตา ที่ได้บรรยายมาแล้วตังสิบกว่าครั้ง โดยแสดงให้เห็นว่ามันเป็นหลักธรรมที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ที่เมื่อรู้แล้ว กิเลสก็ไม่อาจจะเกิด จนกระทั่งกิเลสหมดความเคยชิน ในการที่จะเกิด มันไม่อาจจะเกิดอีกต่อไปได้
            ส่วนที่หวังมากเกินไปกว่านั้นอีกก็คือว่า ขอให้คำคำนี้เป็นคำที่ชินปากให้เราพูดคำ คำนี้กันจนชินปาก คือคำพูดว่า อิทัปปัจจยตา จะสังเกตได้ก็คือการพลั้งปากออกมา ในเมื่อจิตใจมันกระทบอารมณ์อะไรที่รุนแรง
            คนบางพวกพลั้งปากออกมา เป็นคำพูดที่หยาบคายเกี่ยวกับเรื่องเพศ นี้ย่อมแสดงจิตใจที่ยังต่ำอยู่มาก บางคนก็พลั้งปากออกมาด้วยถ้อยคำที่มีรู้ว่าอะไรเหมือนกันคนบ้าจี้ นี้ก็ยังต่ำอยู่มากบางคนก็พลั้งปากออกมาในลักษณะที่แสดงอารมณ์ในใจว่า เป็นคนขลาด เป็นคนกลัว ร้องให้คนนั้นช่วย ร้องให้คนนี้ช่วยหรือแสดงความโง่เขลาออกดมาในคำพูดนั้น ๆ นี้เรยกว่าพลั้งปากออกมาอย่างนั้นเพราะว่าเขาไม่รู้ธรรม ถ้าว่าเป็นบุคคลที่รู้ธรรมะในพระพุทธศาสนาโดยแท้จริงแล้ว ก็จะพลั้งปากออกมาว่าเป็นเรื่อง อิทัปปัจจยตา นั้นมันเป็นภาษาบาลี ถ้าเป็นภาษาไทย ก็จะพลั้งปากออกมาด้วยคำเช่นว่า มันอย่างนั้นเอง !” “มันต้องเป็นตามเรื่องของมัน ดังนี้เป็นต้น
            อิทัปปัจจยตา คำนี้ ถ้าจะสรุปเอาความหมายสั้น ๆ ที่สุดได้ ก็คือว่ามันอย่างนั้นเอง คือมันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมันอย่างนั้นเอง แล้วทำไมจะต้องนั่นนี่ให้มันวุ่นวายไป หรือจะต้องกลัว จะต้องดีใจเสียใจ ด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา เมื่อมันเป็นอย่างนั้นเอง ก็หมายความว่ามันเป็นไปตามธรรมชาติ เป็นไปตามความจริง ตามกฎความจริงของมัน
        การบรรยายรวม 13 ครั้งทั้งวันนี้ ได้มีการพูดคำว่า อิทัปปัจจยตา ๆ นี้นับด้วยร้อย ๆ ครั้ง หรือเชื่อว่าจะถึงพันครั้ง ดังนั้นเข้าใจว่าคงจะเป็นความเคยชินเกิดขึ้นมาใหม่บ้าง ในการพูดจา ถ้ามีอะไรกะโต๊กกะต๊าก ก็ให้ อิทัปปัจจยตา ถ้ามีอะไรมายั่วให้หลงรักก็ อิทัปปัจจยตา !” ให้หลงโกรธก็ อิทัปปัจจยตา !” ให้หลงเกลียดก็ อิทัปปัจจยตา !” ที่น่ากลัวก็ อิทัปปัจจยตา !” อย่าให้มีความกลัวจนขนลุกซ่า หรือว่ามีความดีใจจนเนื้อเต้น หรืออะไรทำนองนั้น เพราะนั่นคือคนที่มี่รู้จัก อิทัปปัจจยตา
            ถ้าเขารู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา จะคงมีความปรกติ ไม่มีขึ้น ๆ ลง ๆ หมายความว่าที่น่ารักก็ไม่รัก ที่น่าโกรธก็ไม่โกรธ ที่น่ายินดีก็ไม่ยินดี ที่น่ายินร้ายก็ไม่ยินร้าย ที่น่ากลัวก็ไม่กลัว แล้วทุกอย่างก็จะพูดได้ว่า ไม่มีอะไรที่จะทำให้เราผิดไปจากธรรมดา นี้คือผลของการที่มีความรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา อยู่ในใจ ถึงขนาดที่ว่าจะพลังปากอะไรออกมา ก็พลั้งออกมาว่า อิทัปปัจจยตา ดังนี้
            เนื่องจากเราจะไม่มีโอกาสได้พูดเรื่องนี้กันอีกต่อไป เพราะว่าจะเปลี่ยนกำหนดการบรรยายเป็นเรื่องอื่น จึงขอย้ำมากเป็นพิเศษในวันนี้ และขอให้รับเอาความตั้งใจอันนี้ไปพิจารณาดู แล้วก็ช่วยกันทำให้สมตามความตั้งใจด้วย เพื่อว่าจะเป็นการกู้สถานะของพุทธบริษัทในยุคนี้ ให้เป็นพุทธบริษัทที่ดี สมกับยุคที่เขาเรียกกันว่ามันเป็น ยุคก้าวหน้า พวกอื่นเขาก็ก้าวหน้าไปตามแบบของเขา เราก็ก้าวหน้าไปตามแบบของเราคือพุทธบริษัท และเมื่อก้าวหน้าไปตามแบบของพุทธบริษัทก็มีแต่จะทำให้มีความปกติสุขมากขึ้นเท่านั้นเอง แม้ว่าเขาจะก้าวหน้ากันไปในทางที่จะทำลายโลกให้วินาศ แต่เราก็ยังมีความก้าวหน้าไปในทางที่จะทำให้เราอยู่ด้วยความสงบสุข เพราะฉะนั้น คนอื่นจะมาทำให้เราเป็นทุกข์ไม่ได้ ในเมื่อพุทธบริษัทได้คงอยู่ในร่องในรอยของพุทธบริษัท ดังที่กล่าวมาแล้ว
            ในทีนี้อยากจะพูดเป๋นครั้งสุดท้ายว่า ปัญหาต่าง ๆ มันแก้ได้ด้วยความรู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา ไม่มีเงินจะใช้ ก็ต้องแก้ได้ด้วยเรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือจะมีความเจ็บไข้ลำบากทุกข์ยากอะไรก็ตามใจ มันก็แก้ได้ด้วยเรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือว่ามันมีเงินมากเกินไปกว่าที่จะใช้ มันก็แก้ปัญหาได้ด้วยเรื่อง อิทัปปัจจยตา คือจะรู้จกใช้ จะรู้จักทำให้มันหมดไปในทางที่ถูกต้อง
        แม้มันจะเป็นมากถึงกับว่า คนทั้งโลกเขาจะบ้ากันใหญ่แล้ว จะทำให้โลกนี้มันวินาศแล้ว เหลือแต่เราคนเดียวที่ไม่คิดเหมือนเขา ไม่ทำเหมือนเขา เราก็ยังอยู่ได้ไม่ต้องกลัว ด้วยวิชชาความรู้ในเรื่อง อิทัปปัจจยตา มันไม่มีใครมาทำให้เรากลัวได้ ไม่มีใครมาขู่ให้เรากลัวได้ และไม่มีใครมาล่อมาหลอกมาลวงเราให้ไปตามอำนาจของเขาได้ เพราะว่าแม้แต่ความตายมันก็ไม่ทำให้เรากลัวได้ นี่จึงมีความปรกติมั่นคง สม่ำเสมออยู่ตามกฎเกณฑ์ของเร่องนี้ เพราะนั้น ความปลอดภัยของพุทธบริษัท มันก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา เพียงเรื่องเดียว จึงได้เรียกว่าเป็นเรื่องที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
            นี่แหละคือสิ่งที่ขอทบทวนแล้วทบทวนเล่า ซ้อมความเข้าใจแล้วซ้อมความเข้าใจเล่า มา 12 ครั้ง แล้วก็ 13 ครั้งในวันนี้ กล่าวคือ เรื่อง อิทัปปัจจยตา
            ทีนี้ ก็จะได้กล่าวโดยหัวข้อ ที่กำหนดไว้ต่อไป ถึงเรื่อง อิทัปปัจจยตาที่อยู่ในแบบหรือรูปต่าง ๆ กัน เป็นการประมวลเรื่อง อิทัปปัจจยตา ทุกแบบพร้อม ๆ กัน ในหลาย ๆ ครั้งที่แล้วมา ก็ได้กล่าวถึงปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา ไม่แบบใดก็แบบหนึ่งทุกครั้ง แต่ไม่ได้กล่าวในคราวเดียวกันหมด ในวันนี้อยากจะกล่าวเป็นการเปรียบเทียบ ในคราวเดียวกันหมดทุกครั้ง จึงได้ให้หัวข้อไว้อย่างนี้
            ทีนี้ ก็จะต้องทบทวนเรื่อง อิทัปปัจจยตา โดยเฉพาะคำสำหรับเรียก เพราะว่าบางคนไม่เคยได้ยินได้ฟังการบรรยายครั้งก่อน ๆ มาเลยก็มี อาจจะฟังไม่ถูกจึงขอสรุปเอาใจความของคำคำนี้ มากล่าวไว้อีกครั้งหนึ่ง
            อิทัปปัจจยตา ตามตัวหนังสือก็แปลว่า ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น คนได้ฟังทีแรกจะรู้สึกว่า มันเหมือนกับคำพูดกำปั้นทุบกินมีมีสาระอะไร แต่ว่าคนที่ฟังออกแล้ว จะรู้ว่ามันมีความหมายมากและลึกเหลือประมาณ และมันเป็นหัวใจของพุทธศาสนา ในลักษณะที่บอกว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติอย่างนี้ ๆ มันเป็นด้วยธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติอย่างนี้ ๆ ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งใดนอกจากเหตุผลของมันเอง ไม่ขึ้นอยู่กับพระเจ้าชนิดที่เขาพูด ๆ กัน ถ้าขึ้นอยู่กับพระเจ้าก็คือขึ้นอยู่กับตัวมันเอวง อิทัปปัจจยตา นั้นเอง คือตัวพระเจ้า ที่มันจะสร้างอะไรขึ้นมาได้ ที่มันจะควบคุมอะไรได้ หรือมันจะทำลายอะไรได้ หรือมันจะให้ทุกข์ให้สุขอะไรได้ แล้วแต่ว่าเราไปทำเข้าอย่างไร
            ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น นี้เป็นคำพูดที่พูดไว้เป็นกลาง กลางที่สุด ไม่ไปข้างซ้าย ไม่ไปข้างขวา หรือมันไม่ไปข้างหน้า ไม่มาข้างหลัง ไม่ไปข้างบน ไม่ลงไปข้างล่าง มันอยู่ตะรางกลางที่สุดว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ย่อมเกิดขึ้น มันเป็นไปได้ทั้งทางดีและทางร้าย เพราะว่าตัวอิทัปปัจจยตา เองนั้น ไม่มีดี ไม่มีร้าย
        มนุษย์ต่างหากที่ไปว่าอะไรดีอะไรร้าย ชอบใจอะไรก็ว่าดี ไม่ชอบใจอะไรก็ว่าร้าย แต่ตัว อิทัปปัจจยตา นั้น มันไม่มีความรู้สึกเป็นดีเป็นร้าย มันมี่แต่เพียง เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ก็เกิดขึ้น ตามสมควรแก่เหตุแก่ปัจจัย ไม่รู้สึกว่าดีหรือร้าย สุขหรือทุกข์ ส่วนมนุษย์ที่เอาความรู้สึกของตัวเป็นประมาณก็จะบัญญัติว่า ฝ่ายนั้นเราเรียกว่าทุกข์ ฝ่ายนี้ เราเรียกว่าสุข ฝ่ายนั้นดี ฝ่ายนี้ร้าย เป็นต้น เป็นคู่ ๆ กันไป มันจึงเลยกลายเป็นเอียงออกไปข้างซ้ายหรือข้างขวาเป็นต้นตามสติปัญญาของมนุษย์
        มนุษย์ก็นับว่าลาดแล้วที่พูดได้อย่างนั้น แต่ก็ยังเป็นความโง่อย่างรายกาจอีกชนิดหนึ่ง ในเมื่อมองให้ซึ้งลงไปถึงตัว อิทัปปัจจยตา คือว่ามันเป็นแต่เพียงธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ นั้นคือความจริงที่สุด ทีนี้ คนไปว่าดีต่อเมื่อตนชอบ ว่าไม่ดี ต่อเมื่อคนไม่ชอบ แล้วที่ว่าดีหรือไม่ดีตามที่ตนชอบหรือไม่ชอบนั้น มันก็ยังต่างกัน คนพาล อันธพาล พวกโจร พวกคนโง่ นี้มันก็ว่าดีไปอย่างหนึ่ง ถือว่าดีไปอีกอย่างหนึ่งตามแบบของตัว ผู้ที่เป็นบัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ก็ว่าดีไปอีกแบบหนึ่งตามแบบของตัว แต่ทั้งสองคนนี้ยังไม่จริง ยังมุสา เรียกว่ามีโมสธรรม คือธรรมที่เป็นความเท็จหรือมุสาอยู่โดยไม่รู้สึกตัวด้วยกันทั้งนั้น เพราะมันยังโง่ ไปบัญญัติอะไร ๆ ตามความรู้สึกของตนเป็นดี เป็นชั้ว เป็นบุญ เป็นบาป เป็นสุข เป็นทุกข์ ทั้งที่โดยแท้จริงแล้วมันเป็นสักแต่ว่า อิทัปปัจจยตา ตัว อิทัปปัจจยตา หรือธรรมชาติแท้ ๆ ไม่มีความหมายเป็นคุณค่าอย่างนี้อย่างนั้น มันมีความหมายแต่เพียงว่า มันจะต้องเป็นไปตรงตามเหตุตามปัจจัยของมัน มันมีหน้าที่เพียงเท่านี้ ส่วนที่ว่าจะดี ชั่ว สุข ทุกข์ ชอบใจ ไม่ชอบใจ นั้น ทิ้งไว้ให้มนุษย์แต่ละคนรู้สึกเอาเอง แล้วก็ว่าเองเอง
            นี่เราจึงเห็นว่า มันเกิดมีความดีความชั่วขึ้นมาในโลก แล้วก็ไม่ตรงกัน คนพาลก็ว่าดีไปอย่าง บัณฑิตก็ว่าดีไปอย่าง แล้วที่ว่าดีของบัณฑิตนี้ ก็ยับมีเป็นเหลาย ๆ ชั้น ดีอย่างของบัณฑิตชั้นเตรียมอย่างนี้ บัณฑิตชั้นอุดมก็รับไม่ไหว นี่เป็นเหตุให้มีการบัญญัติสุคติขึ้นเป็นชั้น ๆ ๆ ๆ กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร อะไรเป็นชั้น ๆ ไป ล้วนแต่ฝ่ายดีฝ่ายกุศล แต่ชั้นบนมันรับเอาชั้นล่างไม่ไหว เพราะมันยังดีอย่างเด็กอมมือเท่านั้นเอง นี้มันไม่เกี่ยวกันกับ อิทัปปัจจยตา ซึ่งมันมีหน้าที่เพียงแต่จะบอกว่า เมื่อต้องการอย่างนี้ ก็ต้องทำอย่างนี่ ให้ถูกตามกฎเกณฑ์ของปัจจัย ผลก็จะเกิดขึ้นตามกฎเกณฑ์ของปัจจัย คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ย่อมเกิดขึ้น
            ตัว อิทัปปัจจยตา นี้ มีอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง แม้แต่ว่าจะเป็นก้อนหินก้อนดิน มันมีกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา เพราะว่าก้อนหินก้อนดิน ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจัยตา สูงขึ้นมาเป็นต้นไม้ ต้นบอน ต้นหญ้ามันก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา สูงขึ้นมา เป็นปลา เป็นปู เป็นเต่า เป็นหมู เป็นสุนัข เป็นแมว อะไร มันก็ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา กระทั่งมาเป็นคนนั่งอยู่ที่นี่ได้ มันก็มาตามอำนาจของ อิทัปปัจจยตา
        นี้เรากำลังพูดกันถึงเรื่อง อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นเรื่องของทุกคน ทั้งผู้พูดและทั้งผู้ฟัง เราควรจะได้รู้เรื่องนี้มากขึ้น ๆ ว่า อิทัปปัจจยตา นั้น คืออะไร? อยู่ที่ไหน? เมื่อไร? ตอบได้ว่า มันคือทุกสิ่งทุกอย่าง มันอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่งแล้วมันก็อยู่ตลอดเวลา ทุกยุคทุกสมัยไม่มีจำกัด ไม่มียกเลิก คือมันเป็นทุกอย่างในที่ทุกแห่ง และตลอดทุกะเวลา ทุกยุคทุกสมัย
            นี่สังเกตดูให้ดีจะเห็นว่า มันยิ่งกว่าพระเจ้ากระมัง? หรือจะว่าไม่มีพระเจ้าไหนยิ่งไปกว่ากฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา จึงถือว่า นี้คือพระเจ้าในพุทธศาสนา ตามความหมาย เขาพูดกันถึงพระเจ้าในศาสนาอื่น ๆ ว่าเป็นผู้สร้างโลก เป็นผู้ควบคุมโลก ผู้ทำลายโลก ผู้ดูแลโลก รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง มีอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง สุดแล้วแต่จะพูดไปอย่างไร มันจะมามีครบอยู่ในคำว่า อิทัปปัจจยตา เพราะนั้นเราควรจะรู้จักสิ่งนี้
            คำว่า อิทัปปัจจยตา นี้ บางทีก็เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ใช้แทนกันได้ เปรียบเทียบดูความหมายของมันก็แล้วกัน อิทัปปัจจยตา แปลว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น ทีนี้ พูดโดย logic มันก็พูดกลับไปกลับมาได้ แปลว่า เมื่อไม่มีสิ่งนี้ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ มันก็ไม่เกิดขึ้น หรือว่าเมื่อมันไม่มีอะไรเป็นปัจจัยมันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
            อาการที่สิ่งนี้ปรุงแต่งสิ่งหนึ่งให้เกิดขึ้น นั้นเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทแสดงเฉพาะอาการที่ว่า มันเป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา ที่มีอยู่ว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น อาการของมันนั้นเองเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ตัววัตถุ หรือตัวธรรมะแท้ ๆ นั้น ก็เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม คือเมื่อเพ่งเล็งถึงการที่มันเป็นอยู่ตามปกติ ไม่ได้ทำหน้าที่ปรุงแต่งสิ่งใด นี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม ธรรมที่ได้อาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเสร็จแล้ว ตั้งอยู่ ปรากฏอยู่ ที่นี้ ถ้าว่าสิ่งนั้นกลับเป็นเหตุปรุงแต่งสิ่งอื่นต่อไปอีก มันก็กลายเป็นอาการที่ไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา ที่จะทำให้สิ่งใหม่อีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นมา อาการระหว่างนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท คือความที่อาศัยสิ่งหนึ่ง แล้วเกิดสิ่งใหม่ขึ้น
            คำสองคำนี้ มนใกล้ชิดกันมาก พยายามเข้าใจให้ดี คำว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม หมายถึงตัวธรรมชาติที่มันเป็นไปตามนั้น ปฏิจจสมุปบาท คือ อาการที่มันจะเป็นไปตามนั้น ตามนั้น คือตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา
        ตามหลักของพุทะศาสนา ต้องการให้ทุกคนมองเข้ามาข้างใน ไม่ต้องการจะมองออกไปข้างนอกก็ได้ เพราะเรื่องความทุกข์ ความสุข ปัญหาต่าง ๆ มันอยู่ในตัวคน มันเกิดในใจ เพราะฉะนั้น เราต้องมองเข้ามาข้างใน ไม่จำเป็นจะต้องมองข้างนอก แม้ว่ามันจะอาศัยสิ่งข้างนอกเป็นต้นเหตุ แต่ว่าเมื่อเกิดเรื่องอะไรขึ้นมาแล้ว มันก็ปรากฏขั้นในใจ หรือตั้งอยู่ที่ใจ เป็นอยู่ที่ใจ ทุกข์อยู่ที่ใจ เดือดร้อนอยู่ที่ใจ ดังนั้น ก็ต้องมองที่ใจเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะต้อวงดูกันโดยละเอียดพอสมควร ว่าร่างกายนี้มันเป็นอย่างไร? มันมีอะไร? แล้วมันเป็นไปตามกฎเกณฑ์อย่างไร จะดูกันที่ไหนก่อนก็ได้
        เมื่อดูกันที่เนื้อหนัง มันก็มาจากเหตุปัจจัยของมึน ถ้าพูดอย่างภาษาในสูตรที่กล่าวว้า ก็ว่า มันอาศัยบิดามารดาเป็นต้นเหตุ แล้วก็เจริญเติบโตขึ้นด้วยข้าวปลาอาหาร แล้วมันเป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดเวลา คือเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราก็เห็นได้ทันทีว่า เนื้อหนังร่างกายนี้มันก็เป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม ที่แสดงอาการแห่งปฏิจจสมุปบาทอยู่เสมอไป เนื้อหนังร่ายกายนี้ มันเกิดมาจากบิดามารดา อาศัยข้างปลาอาหาร เพียงเท่านี้ มันก็เนื่องกันไปถึงข้าวปลาอาหารซึ่งมันเป็นปฏิจจสมุปปันนธรรมอย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน
        ข้าวปลามันเกิดมาจากไหน? ข้าวมันเกิดจากในนา ปลามันเกิดจากในน้ำ แล้วมันเกิดขึ้นมาเจริญขึ้นมาได้ด้วยอาการแห่ง อิทัปปัจจยตา ตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา มาเป็นอาหารของมนุษย์ เกี่ยวข้องกับร่างกายของมนุษย์ ทำให้ร่างกายของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป นี่ความเปลี่ยนแปลงนี้ ก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา
            เมื่อร่างกายเป็นไปถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา ก็หมายความว่ามันเป็นไปได้ มันไม่ตาย เด็กคนนี้ก็จะต้องค่อย ๆ เติบโตขึ้นมา คือไม่ตาย ร่างกายที่มีชีวิตเติบโตขึ้นมา ความรู้สึกส่วนที่เป็นนามธรรมในร่างกายนั้น มันก็เจริญเติบโตขึ้นมาด้วยกัน เพราะว่าในสิ่งที่มีชีวิตนั้น มันย่อมมีความรู้สึก เซลล์ท่ามีชีวิตย่อมมีความรู้สึกได้เฉพาะเซลล์ เมื่อเซลล์หลาย ๆ เซลล์มันรวมกันเข้ารูปของความรู้สึกมันก็ใหญ่โตกว้างขวางออกไป นี้ก็เป็นเรื่องของ อิทัปปัจจยตาคือเป็นปฏิจจสมุปบาท ปรุงแต่งกันตามกฎของ อิทัปปัจจยตา
            ขณะที่มันไม่ทำหน้าที่ปรุงแต่ง แต่ถูกสิ่งอื่นปรุงแต่งนี้ เราเรียกมันว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม คือธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมาแล้ว พอมันปรุงแต่งสิ่งอื่นมันก็กลายเป็นเหตุสำหรับปรุงแต่งสิ่งอื่นด้วยอาการของปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปปันนธรรมอันใมห่ก็เกิดขึ้นมา ถ้าเราจะดูที่เนื้อหนังของเรา มันก็ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แทบจะว่าทุกลมหายใจเข้าออก ล้ามันมีความเจริญขึ้น ทั้งโดยร่างกายและโดยจิตใจ
            เราดูกันอย่างนี้ก่อนเป็นพื้นฐาน ว่าที่เราเรียกกันว่าคน ๆ หนึ่งนี้ ไม่มีอะไรนอกจากปฏิจจสมุปปันนธรรมนานาชนิด ที่ได้เปลี่ยนไปตามกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา อย่างละเอียดจนมองไม่ค่อยเห็นก็มี อย่างที่หยาบ ๆ ง่าย ๆ มองเห็นได้ง่ายก็มี แต่คนมันไม่มองเอง มันก็เห็นไม่ได้
        แม้แต่เรื่องเทวทูตหยาบ ๆ เช่นเรื่องความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายอย่างนี้ มันก็ยังมองไม่เห็น ทีนี้จะไปมองเรื่องที่ละเอียดกว่านั้น มันก็มองยาก เรื่องละเอียด ก็คือเรื่องจิตใจ เมื่อตาได้เห็นรูปเข้าอย่างหนึ่ง หรือเมื่อหูได้ฟังเสียงเข้าอย่างหนึ่ง ฯลฯ ความเป็นไปทางจิตใจก็เกิดขึ้นเรียกว่าพฤติทางจิตก็ได้ตั้งต้นเคลื่อนไหว
            ตัวอย่างเมื่อตาเห็นรูป ก็เกิดความรู้สึกทางตาขึ้นมา ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วจิตก็กำหนดเอาความรู้สึกอันนั้นต่อไปอีก เรียกว่าสัมผัสในอารมณ์นั้น โดยจิตใจเกิดความรู้สึกขึ้นมาเป็นความพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง อย่างนี้ก็เป็นขั้นหนึ่งแล้วที่สำคัญมาก ทีนี้ เมื่อเกิดความพอใจบ้างหรือไม่พอใจบ้าง มันก็เกิดความคิดที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่พอใจ หรือตามที่ไม่พอใจ
            พฤติของจิตตอนนี้เป็นอันตรายมาก คือจะเป็นทุกข์หรือสุข หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขกันก็เพราะว่าทำผิดหรือทำถูกตอนนี้เอง เช่นว่าเห็นรูปที่สวยตรงกันกับกิเลสนี้ มันก็ต้องมีความคิดชนิดที่จะกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามความต้องการของกิเลส ปรุงเป็นความโลภ หรือความโกรธ หรือความหลง ขึ้นมา
        ตอนนี้คำพูดที่จะใช่เรียกนี้ปนเปกันยุ่งไปหมด เช่นว่าเกิดความรักขึ้นมา จะเรียกว่า กิเลส ก็ได้ คือเป็นโลภะ หรือเป็นราคะ จะเรียกว่าเป็น กรรม คือมโนกรรมก็ได้ เพราะว่าจิมันได้กระทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปแล้ว คือเป็นความโลภ เป็นอภิชฌา ความอยาก ความกระหาย ความต้องการ คือจิตมันทำกรรมเข้าแล้ว ก็เรียกว่ากรรมก็ได้
            นี้ก็พูดไว้เพื่อจะเป็นเครื่องสังเกต ว่าคำพูดในภาษาบาลีนี้ เมื่อมาแปลเป็นไทยแล้ว ทำยุ่งเสมอ เพราะว่าภาษาไม่เท่ากัน ไม่ค่อยจะมีคำที่ตรงกันหรือเทียบกันได้ทันที เช่นเราโกรธอะไรขึ้นมา อย่างนี้จะเรียกว่าอะไร? ลองคิดดูเรียกว่ากิเลสก็ถูก เพราะความโกรธนั้นเป็นกิเลส คือทำจิตให้เศร้าหมองไปแล้ว ความโกรธนั้นจะเรียกว่ากรรมก็ได้ คือมโนกรรม กรรมที่จิตใจกระทำ เป็นมโนกรรมอย่างหนึ่งในอกุศลกรรมบถ 10 มันก็เป็นกรรมได้ ความโกรธเป็นกรรมก็ได้ เป็นกิเลสก็ได้ แล้วแต่จะเล็งถึงแง่ไหน ส่วนไหน จะให้เป็นกิเลสก็เล็งถึงส่วนที่ทำใจให้เศร้าหมอง จะให้เป็นกรรมก็เล็งถึงการที่มันเกิดการเคลื่อนไหวในทางมโน คือในทางจิตขึ้นมาแล้ว ครั้นมันทำกรรมแล้วมันก็มีผลกรรมคือเผลตัวเองให้ร้อน มโนกรรมชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อไร ก็เผาจิตใจนั้นให้ร้อนนี้ก็เป็นวิบากหรือผลแห่งกรรมแล้ว
            กิเลสมันก็คือความโกรธนั่นแหละ กรรมก็คือความโกรธนั่นแหละ วิบากก็คือความโกรธนั่นแหละ เพราะมันร้อน คำพูดมันกำกวมได้อย่างนี้ เราจะต้องเอาตัวจริงเป็นหลัก อย่าเอาคำพูดเป็นหลัก คือจะต้องพุดกันให้ชัดลงไปว่า หมายถึงอะไร
            ถ้าความโกรธเป็นเพียงเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ก็เรียกความโกรธว่า กิเลส ถ้าความโกรธเป็นการกระทำของขจิต ก็เรียกว่าเป็น มโนกรรม แล้วความโกรธนี้ไม่ต้องสงสัยละ ไม่ต้องรอแล้ว พอโกรธก็ร้อนเท่านั้นแหละ นี้มันก็เป็น วิบาก แล้ว อาการที่เป็นไปอย่างนี้ เป็นไปได้โดยอัตโนมัติหรือว่าโดยกฎของธรรมชรติ คือ อิทัปปัจจยตา พอเราโกรธก็เศร้าหมองแล้วก็ร้อนเป็นไฟ ตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา
            กฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา นี้ มันเข้าเป็ฯเจ้ากี้เจ้าการ ไปเสียในที่ทุกหนทุกแห่ง แม้แต่จะถ่ายอุจจาระไม่ออก มันก็เพราะอันนี้ ถ่ายอุจจาระสะดวก มันก็เพราะอันนี้ นี่ขออภัยที่พูดกันให้มันประหยัดเวลา ว่ากฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา นี้ มันเป็นเจ้ากี้เจ้าการ หรือเป็นพระเจ้าชนิดไหนก็ไม่รู้ แทรกแซงเข้าไปในที่ทุกหนทุกแห่ง ทุกกรณี ทุกเวลา ขอให้ช่วยกันรู้จักไว้
        เมื่อรู้จักสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นกฎเกณฑ์สำหรับให้ปฏิจจสมุปปันนธรรมมีพฤติเคลื่อนไหวอนยู่เสมอ ดังนี้แล้ว ก็เรียกว่ารู้สิ่งที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท คืออาการที่มันเปลี่ยนไป ๆ
            หัวข้อใหญ่ที่เรามีไว้จะบรรยายนั้น ก็ว่า ปฏิจจสมุปบาทนานาแบบ คือ ปฏิจจสมุปบาทที่มองเห็นได้หลาย ๆ แบบ และจะพูดให้ฟังได้กี่แบบก็ตามใจเท่าที่เวลามันจะอำนวย
ปฏิจจสมุปบาทแบบคร่อมภพคร่อมชาติ
            อย่างไรก็ดี อยากจะเตือนอีกครั้งหนึ่งว่า ได้พูดมาแล้วว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ มันมีอยู่สองฝ่าย ฝ่ายที่เขาพูดกันทั่ว ๆ ไป สอนกันอยู่ในโรงเรียกทั่ว ๆ ไป ทุกหนทุกแห่ง ทั้งเมืองไทย ลังกา พม่า นั้นมันก็อย่างหนึ่ง ที่เขาพูดกันตรง ๆ กันอยู่ เป็นปฏิจจสมุปบาทคร่อมสามภพสามชาติ คือสำหรับคนที่ถือหลักว่า ทำเหตุในชาตินี้ แล้วก็ไปมีผลในชาติหน้า ผลในชาติหน้ากลายเป็นเหตุสำหรับมีผลในชาติถัดไปอีก กินเวลาสามชาติอย่างนี้ ก็มีอยู่ สอนอยู่ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาจะมีมากที่สุด แต่ที่เป็นพุทธภาษิต หาไม่ค่อยจะพบ คือว่าปฏิจจสมุปบาทในพระพุทธภาษิตนั้น เอาแต่ที่นี่ในชาตินี้เท่านั้น
ปฏิจจสมุปบาทแบบขณิกะ
            ที่นี่ ตรงนี้ เดี๋ยวนี้ เท่านั้น ก็มีปฏิจจสมุปบาทได้เป็นรอบ ๆ ๆ ๆ นับไม่ไหว ในวันหนึ่งก็นับไม่ไหว ไม่เหมือนกับที่ต้องรอถึงสามชาติ จึงจะเป็นปฏิจจสมุปบาทสักรอบหนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทอย่างนั้น มันมีไว้สำหรับสอนศีลธรรม สอนให้คนกลัวบาป ทำดีในชาตินี้ไว้ เป็นผลในชาติหน้าต่อตายแล้วนั่นน่ะ ดูมันมีลักษณะเป็นสัสสตทิฏฐิอยู่ในนั้น คือเชื่อว่าคนเดียวกันตายแล้วเกิดอีกแล่วจะได้รับผลของกรรมที่ทำไว้ในชาตินี้ คือตัวกูนั่นแหละ อย่างนี้มันเป็นลักษณะของสัสสตทิฏฐิ ไม่ใช่พุทธศาสนาที่ถูกต้องแต่ก็สอนได้ในฐานะเป็นศีลธรรมให้คนกลัวบาปกลัวกรม ตั่งหน้าตั้งทาทำดี หวังพึ่งดี อยู่กับดี เอาตัวรอดกับดีมันก็เป็นไปแต่เพียงดี นี้อย่างหนึ่ง
ปฏิจจสมุปบาทเพื่อทำลายสัสสตทิฏฐิ
            ปฏิจจสมุปบาทอีกอย่างหนึ่ง ที่มุ่งจะสอนลงไปถึงว่า ไม่มีตัวเรา กระจายออกไปเหลือแต่กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาททแล้วก็เป็นเพียงปฏิจจสมุปปันนธรรมอย่างหนึ่ง ๆ ๆ ๆ ใน 12 อย่างนั้น ไม่มีตัวเราอยู่ที่ไหน ไม่มีใครเป็นผู้ทำกรรมชนิดที่ว่าฝากไว้ก่อน จะไปเอาผลชาติหน้า อย่างนี้ไม่ได้สอน เพราะเหตุว่า มาถึงชั้นนี้แล้ว ให้ถือว่าไม่ไหว ! ไม่ได้แล้วโว้ย ! การที่เวียนว่ายตายเกิดอย่างนั้นมันไม่ไหว จะดีก็ไม่ไหว จะชั่วก็ไม่ไหว เกิดเป็นเทวดาก็ไม่ไหว เกิดเป็นพรหมก็ไม่ไหว อย่าว่าแต่จะเกิดเป็นเศรษฐีเป็นอะไรเลยนี้มันไม่ไหวทั้งนั้น ดังนั้น มันจึงเป็นปฏิจจสมุปบาทที่จะสอนให้ไม่มีรคน ไม่มีคนเหลืออยู่ ไม่มีตาวตนหรือตัวกุเหลืออยู่ ให้จิตใจมันหมดจากความรู้สึกที่ว่ามีตัวคน หรือมีตัวตน ที่จะดีหรือจะชั่ว เรื่องมันเลยเป็นคนละความมุ่งหมาย ไม่มีสัสสตทิฏฐิ ไม่มีความคิดดิ่งอยู่ ว่ามีตัวฉันที่จะทำและจะได้ หรืออะไรทำนองนั้น
            พวกแรกเขาก็ต้องพูดว่า ฉันทำดี ทำบุญทำกุศล ตายแล้วก็ได้ผลทำแล้วก็สบายใจ เมื่อจะตายก็สบายใจ นั้นก็พวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่งจะมองกันไปในแง่ว่ามันไม่มีตัวฉัน มีแต่กระแสแห่งธรรมชาติเปลี่ยนแปลวงไปตามกฎของอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ฉันไม่อยากได้ทังดีทั้งชั่ว ไม่อยากอะไรหมดอยากจะมีจิตใจที่เป็นอิสระ มีอะไรจำทำก็ทำ แต่จะไม่ถือว่าได้ ว่าเสีย มีอะไรจะกิน ก็กินพอให้ชีวิตมีนปกติอยู่ได้ ไม่มีตัวฉันที่จะเป็นเจ้าของของสิ่งนั้น ของสิ่งนี้ หรือว่าจะรับเอาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรืออะไรอย่างนี้ไม่มี
            เรื่องปฏิจจสมุปบาทของพวกแรกนั้น จะไม่พูดในวันนี้ เพราะว่าเขาพูดกันทั่วไปทุก ๆ หนทุก ๆ แห่งแล้ว จะพูดแต่เรื่องปฏิจจสมุปบาทตามพระบาลีของพระพุทธเจ้า ที่จะชี้ไปในทางท่าว่า ไม่มีตัวตน
            เมื่อปฏิจจสมุปบาทมีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้ ก็หมายความว่า เราจะพูดอย่างชนิดหลังที่ไม่เป็นสัสสตทิฏฐิ และก็ไม่เป็นอุจเฉททิฏฐิ แต่เป็นสัมมาทิฏฐิแท้คือไม่มีตัวตน ไม่มีสิ่งใดที่ควรจะถือว่าตัวตน มีแต่ธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา มันรู้สึกว่าอะไร ๆ อย่าง ๆร ในทุกอย่างได้ แต่มันไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวกู เป็นของกู นั้นคือหลักพระพุทธศาสนา ที่ถูกต้องตามหลักแห่งมหาปเทส เราจะพูดกันแต่ปฏิจจสมุปบาทประเภทหลังนี้ แล้วทีนี้ก็จะพูดไปตามลำดับว่า :-
        สำหรับข้อนี้ให้เข้าใจเสี่ยก่อนว่า แม้มันจะปรุงแต่งช่วงเดียว ขณะเดียว แม้ช่วงเดียว ก็เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท แม้มันจะปรุงแต่งกันหลาย ๆ ๆ ๆ ช่วงต่อกันไปจนถึงผลสุดท้ายของกรณีหนึ่ง ก็เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ดังนั้น ดังที่เราทราบกันอยู่ดีแล้ว และที่พระสวดตั้งหลายสิบครั้งแล้วนี้ มันก็บอกแล้วว่า แม้แต่เพียงว่า อวิชชาให้เกิดสังขาร ช่วงเดียวนี้ก็คือปฏิจจสมุปบาท แม้ สังขารให้เกิดวิญญาณ นี้ก็คือปฏิจจสมุปบาท ช่งเดียวอาการเดียวอย่างนี้ก็เรียวว่าปฏิจจสมุปบาท และเมื่อมาต่อกันทั้ง 11 อาการ มันก็เป็นปฏิจจสมุปบาทอยู่นั้นแหละ หาแต่ว่ามันเต็มรอบ หรือเต็มสาย หนึ่ง ๆ
            เพราะว่า คำว่า ปฏิจจสมุปบาท มันเล็งถึงอาการที่ เมื่อสิ่งหนึ่งเป็นปัจจัย ทำให้สิ่งใหม่เกิดขึ้น นี่คือปฏิจจสมุปบาท ดังนั้นมันจึงมามากมาย แล้วแต่ว่าจะมองกันในแง่ไหน หรือสักเท่าไร การปรุงแต่งที่เกี่ยวเนื่องกันไปเป็นสายนั้นเป็นปฏิจจสมุปบาททั้งนั้น แม้ของสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่นรถยนต์ เป็นต้น หากแต่ไปยักเรียกว่า อิทัปปัจจยตา สำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิต แต่ในที่นี้เราไม่ได้พูดถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิต เราจะพูดถึงแต่สิ่งที่มีชีวิต เพราะมันรู้จักสุขรู้จักทุกข์ อาการที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท คืออาการที่สิ่งหนึ่งได้กระทำให้สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น คืออาการที่เหตุได้ทำให้ผลเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท มีชื่อแทนหลาย ชื่อเช่นคำว่า อิทัปปัจจยตา ยถาปัจจยปวัตตนตา เป็นต้น แล้วก็ควรจะทบทวนชื่อที่เคยพุดมาแล้ว ที่พระก็เคยสวดอยู่เสมอว่า ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น คือความเป็นไปตามกฎธรรมชรติ อวิตถตา แปลว่า ความที่ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น ก็ถูกแล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้นมันก็ไม่ผิดไปจากความเป้นอย่างนั้น แล้วก็ อนัญญถตา ความที่ไม่เป็นไปโดยประการอื่นจากนั้น นี่ก็เพื่อให้คำจำกัดความมันชัดยิ่งขั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสคำที่มันเนื่องกัน เพื่อจะช่วยกำกับกัน เป็นคำที่ต้องพุดให้มันเนื่องกันไว้ เพื่อให้มันจำกัดไว้ให้ชัด อย่าให้มันดิ้นได้
            ตถตา วิตถตา อนัญญถตา อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท นี้ มีลักษณะเป็นวลีเนื่องสหสัมพันธ์กันไป จนพูดได้ว่า ถ้าเห็น อิทัปปัจจยตา ก็เห็นปฏิจจสมุปบาทท เห็นปฏิจจสมุปบาท ก็เห็นตถตา ก็คือเห็นอวิตถตา เห็นอวิตถตา ก็เห็น อิทัปปัจจยตา แต่ทั้งหมดนั้น ก็เรียกได้ว่าปฏิจจสมุปบาท แต่คำที่มันเหมาะสมที่จะเป็นเจ้าของที่สุด ก็คือคำ อิทัปปัจจยตา ที่เป็นหัวใจของการบรรยาย 13 ครั้ง ในชุดนี้
            เอาละทีนี้จะให้ อิทัปปัจจยตา อาวะลาดดูบ้าง มันจะอาละวาดไปได้ถึงไหน? ที่แท้มันก็เท่าที่ได้ยินได้ฟังได้รู้กันอยู่ทั่วไปนั่นแหละ แต่ไม่รู้จัก ถ้าเราพูดอะไรไปในทำนองที่เรียกว่า มันเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแล้ว มันเป็นอิทัปปัจจยตา หมด เรียก อิทัปปัจจยตา ไว้เป็นหลัก แล้วมันก็เป็นตถตา เป็นอวิตถตา เป็นอนัญญถตา แล้วก็เลยออกไปถึงเป็นธัมมัฏฐิตตา ที่สวดอยู่วันละเที่ยวก็จะออกชื่อคำนี้ถึง 11 ครั้ง ชั้วที่สวดนิดเดียวนี้ และเป็นธรรมนิยามตา เป็นกฎตายตัวของธรรมดา ความตั้งอยู่แห่งธรรมดา เรียกว่า ธัมมัฏฐิตตา ความเป็นกฎตายตัวของกฎธรรมดา เรียกว่า ธัมมนิยามตา
        ทีนี้ เรียกให้กว้างครอบจักรวาล ก็เรียกว่า ธัมมธาตุ ธัมมธา-ตุ ที่เรียกว่าธัมมธาตุ นี้ตัวมันใหญ่จนวัดไม่ได้แล้ว ถึงตัว อิทัปปัจจยตา เอง มันก็ใหญ่จนวัดไม่ได้แล้ว แต่ฟังดุยังไม่ใหญ่เท่ากับคำว่า ธัมมธาตุ ลองคิดดูเองซิว่าธรรมธาตุ อยู่ที่ไหน? ตัวใหญ่เท่าไร? มันไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมธาตุ โลกนี้ โลกไหน โลกอื่น หรือว่าความดับแห่งโลก ความเกิดขึ้นแห่งโลกทั้งปวง ความดับไปแห่งโลกทังปวง หรือการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับโลกทั้งปวง มันเรียกว่า ธรรมธาตุ ได้ทั้งนั้นแหละ อิทัปปัจจยตา มันอาละวาดได้มากถึงอย่างนี้ ถ้าไปเกิดเรียกมันว่า ธรรมธาตุ เข้า แต่ทีนี้ เราไม่จำเป็นจะต้องไปเสียเลา ไปมองกันให้มากถึงขนาดนั้น เรามองเท่าที่จำเป็นแก่เรา เกี่ยวกับปัญหาของมนุษย์คนหนึ่ง ๆ ก็ดูแต่เพียงว่า รู้เท่าไรมันจะช่วยขจัดความทุกข์ร้อนในใจได้
        จงนึกถึงบทปัจจเวกขณ์ ที่มีคำว่า ธาตุมตฺตกา ธาตุมตฺตโก อะไรนี่ มันแปลว่า สักว่าธาตุ อิทัปปัจจยตา มุ่งเฉพาะแต่สิ่งที่มันเป็นสักว่า ธาตุตามธรรมชาติ แต่แล้วมันก็ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธาตุตามธรรมชาติอยู่นั่นแหละ ถ้าเห็นว่าไม่มีอะไรนอกจากธาตุตามธรรมชาติ มันก็ไม่เห็นว่ามีตัวตน ไม่มีตัวกุ ไม่มีของกู ไม่มีอัตตา ดังนั้น เราก็เรียกเรื่องธาตุมัตตะโก นิสสัตโต นิชชิโว สุญโญ มาตั้งแต่บวชเณร แล้วก็เรียนอย่างหลับหูหลับตาให้เต่ามันด่าว่า อ้ายคนโง่ !”
            เต่าตัวนี้หมายถึงเต่าในโรงหนัง มันด่าอ้ายคนโง่ว่า กูนี้ต่างหากเป็นพระธรรม อ้ายที่มึงว่าเป็นพระธรรมนั้น มันเป็นกระดาษ เต่าก็ต้องต่ำอย่างนี้เสมอ ก็เหมือนกับมันด่าพวกคนทั้งหลาย ที่เรียน ยถาปจฺจยํ ปวตฺตมานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ฯลฯ มาจนปานนี้แล้วก็ยังไม่รู้ว่าอะไร
        วันนี้ขอบอกเสียเลยว่า ธาตุมัตตะดก นั้นแหละคือ อิทัปปัจจยตา มันสักว่าธาตุที่ปรุงแต่งไปตามธรรมชาติ ตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา
            การที่บุคคลที่นุ่งห่มเครื่องนุ่งห่มนี้ จีวร หรือ เครื่องนุ่งห่มนี้ ก็สักว่าธาตุ บุคคลที่นุ่งห่มจีวรนี้ ก็สักว่าธาตุ ข้าวที่กินเข้าไป ก็สักว่าธาตุ คนที่กินข้าวเข้าไป ก็เรียกว่าสักว่าธาตุ บ้านเรือน เสนาสนะ เครื่องใช้สอนก็สักว่าธาตุ คนที่นั่งนอนบนบ้านเรือน เสนาสนะที่อาศัย ก็สักว่าธาตุ หยูกยาแก้โรค ก็สักว่าธาตุ คนที่กิจยาเข้าไป ก็สักว่าธาตุ นี้ก็เพ่อให้เห็นชัดเสียก่อนว่า สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์ 4 อย่างนั้น และกับตัวมนุษย์เองด้วยนั้น มันเป็นสักว่าธาตุ นั้นก็คือ อิทัปปัจจยตา สิ่งเหล่านี้ย่อมจะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา คนจึงอยากจะนุ่ง อยากจะห่ม จะกิน จะนั่ง จะนอน จะรักษาโรค จะแก้โรค หรือว่าอาการของร่างกายที่มันจะตั้งอยู่ได้ โรคภัยไข้เจ็บมันจะหายไปได้ นี้ก็โดยกฎเกณฑ์อันนี้ มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา
            ทีว่า นิสสัตโต นิชชีโว นี้ ก็แสดง อิทัปปัจจยตา โดยลักษระว่าอย่าได้เห็นสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นสัตว์ หรือเป็นบุคคล หรือเป็นเตภูต เป็นชีวะ เป็นอัตตา อะไรเหล่านี้ให้เห็นว่าเป็นสักว่า อิทัปปัจจยตา หรือเป็นสักว่าธาตุที่กำลังเป็นไปตามธรรมชาติ ตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา
            คำที่จะเข้าใตจยากอยู่หน่อย ก็คือคำว่า สุญโญช=ว่าง
            คำว่า ว่าง นี้ ถ้าจะให้หมายความว่าไม่มีอะไร ก็คงจะมีคนค้านว่า มันก็ต้องไม่ใช่ อิทัปปัจจยตา เพราะคำว่า อิทัปปัจจยตา นั้น มันหมายความว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น เดี๋ยวนี้มันว่างไม่มีอะไรเกิดขึ้น แล้วมันจะเป็น อิทัปปัจจยตา ได้อย่างไร ขอตอบว่าเพราะว่า สุญโญ ในบทปัจจเวกขณ์นั้นมุ่งหมายจะให้เห็นว่า มันเป็นเพียงกระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา เพราะมันว่างจากบุคคลสิ่งที่เรียกว่า ตัวตน ของตน ตัวกู ของกู โดยแท้จริงมันไม่มี นั่นคือว่าง แล้วตัว อิทัปปัจจยตา เองนั้น ว่างที่สุด ว่างจากบุคคล ว่างจากตัวตน ว่างจากเจตภูต ว่างจากอะไรที่เขาเรียกกันว่าตัวตน ดังนั้น ตัวความว่าง หรือสุญญตานี้ คือตัว อิทัปปัจจยตา แท้ ว่างจากอัตตาว่าตัวตน ว่างจากอัตตนิยา ว่าของตน
            ทีนี้ คำที่เราพูดกันมากที่สุดว่า อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นก็คือ อิทัปปัจจยตา
        ยิ่งคำว้าอนิจจังด้วยแล้ว ยิ่งหมายถึงอิทัปปัจจยตา อย่างยิ่ง คือเปลี่ยนเรื่อย ส่วนทุกขตานี้ ก็เป็นของเพิ่งเกิดตามอำนาจของการปรุงแต่งโดยกฎของ อิทัปปัจจยตา มันจึงเกิดทุกข์ขึ้นมา สำหรับภาวะที่เรียกว่า อนัตตา นั้น ตามตัวหนังสือแสดงชัดอยู่แล้ว ว่ามันไม่มีอัตตา มันเป็นเพียง อิทัปปัจจยตา เรียกว่าอนัตตา =ไม่มีอัตตา เพราะว่ามันเป็นเพียง อิทัปปัจจยตา เท่านั้น
            นี่คำว่า อิทัปปัจจยตา มันก็มีความหมายขยายกว้างออกไปอย่างนี้ ไปทุกทิศทุกทาง กินความไปหมดถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งที่มันเกิดขึ้นและไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่มีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น นี่ อิทัปปัจจยตา ฝ่ายดับ เพราะฉะนั้น เมื่อทุกข์มันดับ กิเลสมันดับกระทั่งเป็นนิพพาน อย่างนี้ มันก็เป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา ว่า เมื่อไม่มีสิ่งนี้ ๆ เกิดขึ้น สิ่งนี้ ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ มันเป็นคู่กันอยู่อย่างนี้
            อิทัปปัจจยตา ฝ่ายเกิด ก็มีว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป(นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ก็เกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น ทีนี้ ฝ่ายดับมันก็มีว่า เมื่อไม่มีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้มันก็ดับ ดังนั้น ก็เลยพูดได้ว่า ทั้งฝ่ายเกิดขึ้นและทังฝ่ายดับไป ก็ล้วนแต่เป็นอิทัปปัจจยตา
        สภาพความดับสนิทแห่งกิเลสและความทุกข์ คือนิพพาน นั่นทำให้ปรากฏออกมาได้ตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา เราต้องปฏิขัติให้ถูกตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา นิพพานจึงจะปรากฏออกมา แม้ว่าเราจะไม่ได้สร้างนิพพานขึ้น แต่เราทำให้นิพพานปรากฏได้ เพราะการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์แห่งอิทัปปัจจยตา จิตได้รับความสุข ไม่มีทุกข์ ก็พอแล้ว
            ถ้าจะเรียกอีกทีหนึ่ง ให้เป็นภาษาธรรมดาหน่อย ก็ว่า ความที่สิ่งทังหลายทังปวงเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คำแรกของบทปัจจเวกขณ์ที่ว่า ยถาปจฺจยํ ปวตุตมานํ นั้น ยถาปัจจะยัง แล้วก็ ปะวัตตะมานัง ปะวัตตะนะ= ความเป็นไป ยะถาปัจจะยัง= ตามปัจจัย นี้เรียกว่า ยถาปัจจยปวัตตนตา= ความที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย อย่างนี้พูดชัดหน่อย แต่ก็คือ อิทัปปัจจยตานั้นเอง
            ทีนี้ เราจะพูดกันถึง ไวพจน์หรือคำพูดที่ใช้แทนกันได้กับคำว่า อิทัปปัจจยตา ถ้าถือเอาตามความหมาย ก็มีอยู่มากมายนับตั้งแต่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตา นิสสัตโต นิชชีโว สุญโญ ธาตุมัตตกา ธัมมธาตุ ธัมมนิยามตา ธัมมัฏฐิตตา อวิตถตา อนัญญถตา ตถตา อิทัปปัจจยตา ยถาปัจจยปวัตตนตา กี่คำก็ได้ ล้วนแต่มีความหมายถึงสิ่ง ๆ เดียวกัน ความที่ไม่มีอะไรเป็นตัวตน มีแต่สิ่งที่เป็นไปตรมเหตุตามปัจจัย อย่างนี้
            อย่างนี้อาตมาเรียกว่า อิทัปปัจจยตา มันอาละวาด หมายความว่ามันเปะปะไปถึงหมดทุกสิ่ง ไม่ยกเว้นอะไร เพียงแต่ว่าคนมันดูไม่เป็น มันก็มองไม่เห็น เหมือนที่เราพูดกันว่า สาหร่ายเขียนพระไตรปิฎก ไส้เดือนเขียนจดหมายถึงมนุษย์ นี้ ก็ล้วนแต่ไม่มีใครมองเห็นทั้งนั้น บางทีจะไปนั่งดู อิทัปปัจจยตาที่สนหนองที่มีสาหร่ายนั้นน่ะ จะดูง่ายกว่าเสียอีก
            ทีนี้ ก็มาถึงการที่จะแจกไปตามประเภท พูดว่า อิทัปปัจจยตา คำเดียวก็เป็นปฏิจจสมุปบาทได้ในเมื่อเล็งถึงอาการ ๆ หนึ่ง ที่สิ่งหนึ่งทำให้สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น เพียงคู่เดียวเพียงอาการเดียว ก็เรียกว่า อิทัปปัจจัยตา หรือปฏิจจสมุปบาท ได้ทั้งนั้น อย่างที่พระสวดตามพระพุทะภาษิตเมื่อตะกี้นี้ว่า เธอทังหลายจงมาดู เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี ทีนี้ก็สวดต่อไปว่า ความเป็นอย่างนี้ ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนี้ ความไม่เป็นอย่างอื่น ความเป็นไปตามปัจจัย อย่างนี้ นี้เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนี้
            เดี๋ยวนี้เรารู้จักคำว่า ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา พอสมควรแล้ว จะได้กล่าวถึงแบบต่าง ๆ ของมันให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก แล้วก็อยากจะยกเอาเรื่องอริยสัจจ์ทั้งสี่ ที่เป็นหัวข้อกำหนดไว้แล้วในกำหนดกาลนั้นมาพูดเสียเลย ว่า อิทัปปัจจยตา ในลักษณะที่เป็นอริยสัจจ์นี้ ควรจะเข้าใจกันให้ทั่วถึง เป็นพิเศษ
ปฏิจจสมุปบาทในรูปของอริยสัจจ์
            เรื่องอริยสัจจ์สี่นี้ ก็รู้กันอยู่ดีแล้วทุกคน ว่าได้แก่ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความไม่มีทุกข์ และทางให้ถึงความไม่มีทุกข์ นี่เรียกว่า อริยสัจจ์สี่ จงนึกขึ้นมาให้ได้ทุกคนเสียก่อนว่ามีนมีอยู่ 4 อย่าง นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจจ=ความจริงคือทุกข์ ทุกขสมุทยอริยสัจจ์= ความจริงคือเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกขนิโรธอริยสัจจ์= ความจริงคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ทุกขนิโรธคามินิปฏิปทาอริยสัจจ์=ความจริงคือหนทางปฏิบัติให้ถคึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
            ทีนี้ ก็ดูว่า อริยสัจจ์ข้อ 1 หรือความทุกข์แท้ ๆ นั้น ก็คือตัว อิทัปปัจจยตาเหมือนกัน เพราะว่าความทุกข์เกิดเองไม่ได้ ความทุกข์จะเกิดข้นมาลอย ๆ ไม่ได้ ถ้าสมมติว่า พระเจ้าบันดาล มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา พระเจ้าบั้นดาลให้เกิดทุกข์ได้ พระเจ้านั่นแหละเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ดังนั้น มันก็ยังคงเป็น อิทัปปัจจยตา ความทุกข์มันเกิดเองลอย ๆ ไม่ได้ หรือว่าเพื่อนฝูงทำให้ มันก็เป็นอิทัปปัจจยตา รถยนต์ชนโดยบังเอิญ มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา เพราะมันเป็นคำที่มีความหมายกว้างเหลือประมาณ
        แต่ทีนี้เราจะพูดกันถึง อริยสัจจ์ ที่ 1 คือ ความทุกข์ ในทางจิตใจโดยตรงก็เห็นชัดทันทีว่า ความทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจของใครคนใดคนหนึ่ง เวลาใดเวลาหนึ่ง นั้น มันต้องมีเรื่อง เรื่องของใครอย่างไร คนนั้นก็รู้เอาเองก็แล้วกันว่ามันต้องมีเรื่อง มันจึงเกิดความทุกข์ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เรียกว่าเหตุให้เกิดทุกข์ จึงเกิดตามมาเป็นปัญหาหนึ่ง
            อริยสัจจ์ข้อ 2 เหตุให้เกิดทุกข์นี้ คือปฏิจจสมุปบาทในฝ่าวนสมุทยวารก็ท่องกันได้ดีอยู่แล้วทุกคนสำหรับคนวัดที่อยู่วัด ปฏิจจสมุปยบาทฝ่ายสมุทยวาร คือปฏิจจสมุปบาทฝ่ายที่จะให้เกิดความทุกข์ มีตัวบทสำหรับสวด  ว่า อวิชชาให้เกิดสังขาร สังขารให้เกิดวิญญาณ วิญญาณให้เกิดนามรูป นามรูปให้เกิดอายตนะ อายตนะให้เกิดผัสสะ ผัสสะให้เกิดเวทนา เวทนาให้เกิดตัณหา ตัณหาให้เกิดอุปทาน อุปาทานให้เกิดภพ ภพให้เกิดชาติ เมื่อมีชาติแล้วทุกข์ทังหลายก็เกิดขึ้นได้ นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร ทุกอาการ ก็เรียกว่า อิทัปปัจจยตา และอาการเดียว ก็เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ทุกอาการ ก็เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อาการเดียว ก็เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท นี้คืออริยสัจจ์ข้อที่สอง ในฐานะที่เป็น อิทัปปัจจยตา หรือว่าเป็น ปฏิจจสมุปบาทก็ตาม
            อริยสัจจ์ข้อ 3 ที่เรียกว่า ทุกข์นิโรธอริยสัจจ์=ความจริงคือความดับไม่เหลือแห่งความทุกข์ อริยสัจจ์ข้อที่สามนี้ ก็คือปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวารซึ่งก็ท่องกันได้อยู่แล้วว่า เพราะอวิชชาดับไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ อายตนะจึงดับ เพราะอายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติดับ เพราะชาติดับ ความทุกข์ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ นี้เรียกว่าฝ่ายนิโรธวาร เป็น อิทัปปัจจยตา หรือเป็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร เป็นทุกขนิโรธอริยสัจจ์ เต็มไปด้วยความหมายของคำว่า อิทัปปัจจยตา
            อริยสัจจ์ข้อที่ 4 เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานอริยสัจจ์ คือข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้น นี้ท่านแสดงไว้เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 ทุกคนก็จำได้ เด็กตัวเล็ก ๆ ก็ท่องได้ว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้จะต้องดูกันให้ดี เพราะว่ามันเป็นเรื่องปฏิบัติ เรื่องรู้เฉย ๆ มันไม่สำคัญ เรื่องปฏิบัติมันสำคัญ ดังนั้น เราจะต้องรู้เรื่องอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ ให้ดี ๆ ในฐานะที่มันเป็นปฏิจจสมุปบาท
            ที่เรียกว่า มรรค นี้ แปลว่า หนทาง คือทางเดิน ทีนี้ ทางเดินเป็นเหตุให้ถึงจุดหมายปลายทาง เท่านี้มันก็เป็นปฏิจจสมุปบาทเสียแล้ว ว่าทางเดินนี้มันเป็นเหตุทำให้ถึงจุดหมายปลายทาง พูดเพียงอาการเดียวเท่านี้ คำว่ามรรคนี้ก็เป็นปฏิจจสมุปบาท หรือเป็น อิทัปปัจจยตา
        ทีนี้ ข้อแรกของมรรคประกอบไปด้วยองค์ 8 คือสัมมาทิฏฐิ ความรู้ ความเป็น ความเชื่อ ความเข้าใจ ถูกต้อง เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะความรู้ ความเชื่อ ความเห็น ความเข้าใจมันถูกต้อง ก็สิ่งที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ นี้ มันเกิดได้เองลอย ๆ เมื่อไรเล่า? มันต้องมีการกระทำที่ถูกวิธี มันจึงจะมีสัมมาทิฏฐิขึ้นมาได้  เพราะฉะนั้น แม้ส่วนนี้มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา อีก เป็นปฏิจจสมุปบาทอีก ในข้อที่ว่ามีอะไรมาทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิขึ้นมา
            ถ้าพูดรวบรัดก็ว่า พอเกิดสัมมาทิฏฐิแล้ว สัมมาทิฏฐิก็เป็นเหตุให้เกิดสัมมาสังกัปปะได้ เพราะว่ามีความรู้ความเข้าใจถูกต้องดีแล้ว เราก็คิดนึกใฝ่ฝันปรารถนา ถูกต้อง ลองเราไม่มีความรู้ถูกต้องดูซี เราก็คิดผิด ปรารถนาผิด ใฝ่ฝันผิด เดี๋ยวนี้มีสัมมาทิฏฐิคิดนึกถูกต้อง ก็เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการปรารถนา ใฝ่ฝัน ถูกต้อง ที่เรียกว่า สัมมาสังกัปโป เพียงระหว่างของสองสิ่งนี้ก็เป็น อิทัปปัจจยตา หรือเป็นปฏิจจสมุปบาทอาการหนึ่งอีก
            เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ ความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ อะไรถูกต้อง มันก็มีการพูดจาถูกต้อง มันก็ทำการงานถูกต้อง มันก็หาเลี้ยงชีวิตถูกต้อง ทุกคู่มันเป็น อิทัปปัจจยตา แล้วมันก็รู้จักทำความเพียรถูกต้อง ทำสติถูกต้อง ทำสมาธิถูกต้อง นี่เราพูดไปตามลำดับ เพราะเรามีสัมมาทิฏฐิ ความรู้ความเข้าใจถูกต้อง เราก็มีสมาธิถูกต้อง เมื่อสมาธิถูกต้อง มันตลบหลังมาส่งเสริมสัมมาทิฏฐิ ให้สัมมาทิฏฐิมีกำลังยิ่งขั้น นี่การตลบหลังอย่างนี้ ก็เป็นอิทัปปัจจยตา ความเพียร ความอะไรต่าง ๆ มันก็ย้อนหลังมาสนับสนุนให้สัมมาทิฏฐิก้าวหน้าต่อไปอีก มันเป็น อิทัปปัจจยตา ย้อนหลังได้ทุกข้อ เท่ากับที่เป็น อิทัปปัจจยตา ออกไปทางหน้าได้ทุกข้อ มันเลยเป็น อิทัปปัจจยตา ที่ส่งเสริมกันจนเป็นกลุ่ม จนแยกแทบจะไม่ออก แล้วแต่ว่าจะมองกันไปในแง่ไหน
            นี่มันก็ครบเรื่องของอริยสัจจ์สี่ เรื่องทุกข์ เรื่องสมุทัย เรื่องนิโรธ เรื่องมรรค คิดดูเถิดว่ามันมี อิทัปปัจจยตา กี่ครั้ง มันมีมากจนแยกไม่ไหวแล้ว เอากันแต่ที่เห็นง่าย ๆ ก็ว่าให้มันครอบจักรวาลทีเดียวหมดเลย
            สำหรับเรื่องอริยสัจจ์นี้ อยากจะขอบอกว่า พระพุทะเจ้าท่านตรัสว่าเรื่องอริยสัจจ์นั้นอยู่ในโลก โลกคือทุกข์นั่นเอง คือตรัสว่า โลกก็ดี เหตุให้เกิดโลกก็ดี ความดับของโลกก็ดี ทางให้ถึงความดับโลกก็ดี มีอยู่ในร่างกายยาววาหนึ่งที่ยังมีสัญญาณและใจนี้ นี้จะเรียกว่า โลกข้างใน มีในร่างกายร่างหนึ่ง ๆ นี้ก็ได้ หรือว่าจะเรียกว่า โลกข้างนอก คือโลกทางวัตถุ สากลจักรวาล โลกข้างนอกนี้ ก็ยังได้ ไม่ว่าโลกไหนก็ตามใจ เป็น อิทัปปัจจยตา ทั้งนั้น
            ดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก็เพราะ อิทัปปัจจยตา ดวงจันทร์เกิดขึ้น ดวงดาวทังหลายเกิดขึ้น อะไรเกิดขึ้น ซึ่งเมื่อก่อนนี้มันไม่เคยมี มันเกิดขึ้นเพราะกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา มันดำรงอยู่ เปลี่ยนแปลงไป เพราะกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา ถึงยุคหนึ่ง โลกนี้ก็จะไม่มี ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ก็จะไม่มี ดาวทังหลายก็จะไม่มี นี่เพราะกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา เหล่านี้มันไกลนัก ไม่ต้องพูด ไม่เกี่ยวกับเรา ที่มันใกล้ ๆ กับเรา  ก็คือโลกนี้หรือโลกที่เราเกี่ยวข้องด้วยได้นี้ มันมีสิ่งต่าง ๆ ในโลก ที่เรียกว่า รูปธรรม และนามธรรม
            สิ่งที่เป็นวัตถุร่างกาย แล้วก็มีชีวิตจิตใจนี้ เรียกว่ารูปธรรม-นามธรรม ในโลกนี้ทุกหนทุกแห่ง มันเต็มไปด้วยรูปธรรมและนามธรรม นี่ขั้นหนึ่งแล้ว มันเป็นหลักพื้นฐาน ว่าในโลกนี้ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเต็มไปด้วยรูปธรรมและนามธรรม ที่มันเป็นได้อย่างนั้น ก็เพราะกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา แต่หนหลัง มันสร้างให้เต็มไปด้วยรูปธรรม-นามธรรม
            รูปธรรมนามธรรมทังหลาย เป็นอารมณ์ของผัสสะ นี่ถึงตอนจะเกิดเรื่องแล้ว คืออารมณ์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ มันเป็นอารมณ์ของผัสสะ เมื่อตาเราไปเห็นรูปเข้า หูเราไปได้ยินเสียงเข้า จมูกเราไปได้กลิ่นเข้า ลิ้นเราไปสัมผัสรสเข้า ผิวหนังก็ไปสัมผัสโผฏฐัพพะเข้า จิตก็ไปคิดนึกเข้า มันเกิดสัมผัสอย่างนี้ ทีแรกนี้ก็เป็นสักว่ากระทบกันในทางภายนอก จึงเรียกว่า ปฏิฆสัมผัส”= สัมผัสสักว่าการกระทกแห่งของแข็ง เช่นตากระทบรูป เรียกว่า จักขุสัมผัสโดยจักขุวิญญาณ แต่พอจักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว มีผลเป็นความรู้สึกเกิดขึ้นอย่างไรจิตมันไปรับหรือกระทบความรู้สึกนั้นอีกทีหนึ่ง โดยมโนวิญญาณ ตอนนี้เรียกว่า อธิวจนสัมผัส หรือสัมผัสอันแท้จริงควรแก่นามว่าสัมผัส นี่จะเกิดเรื่องเพราะว่าตอนนี้มีโอกาสที่อวิชชาหรือความโง่เข้าไปยึดครอง ทำให้เรารัก หรือเกลียด หรือโกรธ หรือกลัว หรืออะไรในสิ่งนั้น แล้วก็เกิดปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวารขึ้นมา สำหรับเป็นทุกข์
            นี่ดูซิ ! มันอยู่ตามธรรมชาติ มันก็ยังเป็นไปได้ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่ว่า ทำให้มนุษย์เป็นทุกข์ โลกนี้เต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นอารมณ์ของผัสสะ ผัสสะทำให้เกิดเวทนาชนิดที่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น จนเกิดความโลภ ความโกรธ ความหลวง หรือกิเลสอื่น ๆ แล้วก็เป็นทุกข์ นี้คือ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร
            อาการของปฏิจจสมุปบาททั้ง 11 อาการ ล้วนแต่เป็นไปเพื่อให้เกิดความทุกข์ ข้อนี้เรียกว่า ความทุกข์ในโลกเกิดขึ้นมาด้วยกฎแห่ง อิทัปปัจจยตา ดับลงไป ก็คือ อิทัปปัจจยตา อย่างชนิดตีกลับ คือตรงกันข้าม ส่วนที่ให้เกิดทุกข์มีอย่างไร ส่วนดับทุกข์ก็คือกลับตรงกันข้ามจากอย่างนั้น
            ทีนี้ จะพูดในส่วนที่มันเกี่ยวกับมนุษย์มากข้นตามที่จำเป็นจะพูด ก็คือพูดถึงมรรคมีองค์ 8 ว่าเราจะต้องกระทำให้ถูกต้อง เราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยอันตรายอย่างนี้ เราจะต้องกระทำให้ถูกต้อง การกระทำให้ถูกต้องนี้ เรียกว่ามรรค
            การกระทำให้ถูกต้องหรือมรรคนี้ ก็เป็นไปตามกำเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา เราว่าเองเองไม่ได้ เราตั้งเอาเองไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็บัญญัติไม่ได้  พระพุทธเจ้าก็สั่งบังคับสิ่งนี้ไม่ได้ มันเพียงแต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านทราบความจริงข้อนี้ของธรรมชาติ คือกฎของ อิทัปปัจจยตา แล้วท่านเอามาบอก มาสอนเรื่องอิทัปปัจจยตา ไม่ใช่ว่าท่านจะสร้างกฎ อิทัปปัจจยตา บังคับกฏ อิทัปปัจจยตา ได้ ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านบอกว่าท่านทำไม่ได้อย่างนั้น เป็นแต่ผู้รู้ธรรมธาตุที่มันมีอยู่แล้ว ก็เอาธรรมธาตุนั้นมาชี้แจง แสดง เปิดเผย กระทำให้แจ้ง กระทำให้เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด หรืออะไรอย่างนั้น นี้แสดงว่า ตัวอิทัปปัจจยตา มันเด็ดขาดอยู่ในตัวมันเอง มรรคคือหนทางที่จะดับทุกข์ ก็เป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา
            ดูให้ละเอียดเข้ามาอีก ก็คือว่า มรรคมีองค์ 8 คือความถูกต้องทั้ง 8 ประการนี้ มันทำให้จิตเกิดอวิชชาไม่ได้
            นี่เป็นจุด ๆ หนึ่งที่จะต้องสังเกตดูให้ดี ว่าถ้าเรามีมรรคมีองค์ 8 ความถูกต้อง 8 ประการ คือความรู้ความเห็นความเข้าใจนี้ก็ถูกต้อง ความปรารถนา ความใฝ่ฝันอะไรนี้ ก็ถูกดต้อง การพูดจา ก็ถูกต้อง การงาน ก็ถูกต้องเลี้ยงชีวิตก็ถูกต้อง ความพากเพียร ก็ถูกต้อง สติก็ถูกต้อง สมาธิก็ถูกต้องแล้ว ความถูกต้องนี้มันทำให้อวิชชาเกิดไม่ได้ ถ้าจะพูดเป็นภาษา logic ก็ต้องว่านี้มันทำให้เกิดการเกิดข้นไม่ได้แห่งอวิชชา นี้มันทำให้เกิดการไม่เกิดแห่งอวิชชา นี้คือปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวารมันจะเกิดขึ้น เพราะว่าอวิชชาเกิดไม่ได้หรือดับไป มันจึงเท่ากับดับอยู่เรื่อยไป มันจึงไม่เกิดทุกข์
            ถ้าจะให้แคบเข้ามาก็ต้องพูดว่า มรรคมีองค์ 8 ประการที่กำลังปฏิบัติอยู่นี้ มันทำให้เกิดวิปัสสนาญาณต่าง ๆ ตามลำดับ จนเกิดมรรคผล ตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา
        วิปัสสนาญาณ ก็หมายความว่า ญาณที่มันจะเจาะแทงกิเลสได้ มรรคมีองค์ 8 นั้นแหละ ! อยู่ไปเถอะ ! ตามมรรคมีองค์ 8 นั้น มันจะเกิดวิปัสสนาญาณตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา แรงขึ้น ๆ ๆ ๆ จนมันเจาะแทงกิเลส หรือว่าเผากิเลสหรือทำลายกิเลสให้หมดไป นี่เรยกว่ามรรคมีองค์ 8 ทำให้เกิดปฏิจจสมุปบาทส่วนนิโรธวาร ทำให้มีการเกิดขึ้นไม่ได้แห่งอวิชชา แล้วก็สังขาร วิญญาณ นามรูปที่มีอุปทานก็ไม่เกิด มันก็ไม่มีทุกข์
            บางคนก็จะเกิดสงสัยในตอนนี้ว่า ความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ทำไมเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท? ขอตอบว่า เพราะว่าคำว่าปฏิจจสมุปบาท แปลว่า การอาศัยกันและกันแล้วเกิดขึ้นพร้อม ทีนี้ฝ่ายดับทำไมเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท? นามันเป็นความกำกวมของคำพูด ก็ให้เกิดความดับอย่างไรเล่า ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวารนั้น มันก็ทำให้เกิดอาการแห่งฝ่ายดับ หรืออาการดับ นั่นเอง ลองสังเกตดูถ้อยคำต่อไปนี้ :-
        ความดับแห่งอวิชชา ทำให้เกิดความดับแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขารทำให้เกิดความดับแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ทำให้เกิดความดับแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป ทำให้เกิดความดับแห่งอายตนะ ฯลฯ นี่มันทำให้เกิดความดับ แล้วมันจะดับ-ดับ-ดับลงไป ก็เรียกได้ว่าปฏิจจสมุปบาททั้ง ๆ ที่คำนี้มันแปลว่า อาศัยกั้นเกิดขึ้น เดี๋ยวนี่ความดับได้เกิดขึ้น
            อิทัปปัจจยตา แปลว่า เพราะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น ก็พูดได้ว่าเพราะมีความดับแห่งอวิชชาเป็นปัจจัย ความดับแห่งสังขารจึงเกิดขึ้น ฯลฯ นี่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร คือฝ่ายที่เป็นการดับ
        เมื่อปฏิบัติไปตามมรรคมีองค์ 8 ครบถ้วนแล้ว ดับทุกได้แล้วเรื่องจบหรือยัง? ดูซิ มันก็ไม่รู้จักจบ ตามกฎของ ปฏิจจสมุปบาทนั้น เราดับทุกข์ได้แล้ว มันก็ยังไม่จบ คิดดูซิ ความที่ดับทุกข์ได้นี้ มันจะทำให้เกิดความรู้ว่าดับทุกข์ได้ เกิดสิ่งที่เรียกว่าความสุขนั่นแหละ แล้วสิ่งที่เรียกว่าธรรมราคะ ธรรมนันทิ นั่นแหละจะเกิดตามมา พอเราดับทุกข์ได้ลงไป มันจะเกิดธรรมราคะ คือมีความรักความกำหนัดในธรรม เกิดธรรมนันทิ พอใจเพลิดเพลินในธรรมะนี้ มันยังไม่หยุด มันก็ปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกที่เป็นสุข ที่พอใจที่อะไรเป็นไปตามเรื่องของมัน แต่ไม่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทแห่งการดับทุกข์
            ถ้าสมมติว่าเป็นพระอรหันต์เสียเลย มันก็ยังเรียกได้ว่า ได้มีชีวิตอยู่โดยไม่เป็นทุกข์ เป็นอยู่ได้โดยไม่ต้องมีความทุกข์ แล้วท่านจะทำอะไรก็ได้ พระอรหันต์จะไปเที่ยวสั่งสอนก็ได้ จะไปทำอะไรก็ได เพราะว่าความทีท่านดับทุกข์ได้นี้ ท่านมี่เหตุมีปัจจัย ที่จะทำให้ไปช่วยเหลือผู้อื่นได้ ถ้าท่านไม่เป็นพระอรหันต์ท่านก็ช่วยใครในระดับนั้นไม่ได้ ดูแล้วมันก็ไม่เห็นว่าอะไรจะว่างไปจาก อิทัปปัจจยตาได้แม้ว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว มันเป็นแต่เพียงว่า มันเปลี่ยนรูปไปเป็น อิทัปปัจจยตา ส่วนที่ไม่เกี่ยวกับกิเลส เท่านั้น และบางคนจะไม่เห็นว่าเป็น อิทัปปัจจยตา เพราะเคยพูดกันแต่ที่เกี่ยวกับกิเลส
            ถ้าใครเคยเข้าใจว่า อิทัปปัจจยตา จะต้องเกี่ยวกับกิเลสเท่านั้นแล้วไม่ถูก เพราะว่าคำนี้มันกว้าง กว้างจนว่ามันเป็นเหตุเป็นปัจจัย แล้วมันก็ให้เกิดผลได้ เพราะว่าคำนี้มันกว้าง กว้างจนว่ามัน เป็นเหตุเป็นปัจจัย แล้วมันก็ไม่เกิดผลได้ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิเลสหรือไม่เกี่ยวกับกิเลสก็ตาม รียกว่า อิทัปปัจจยตา ได้ เดี๋ยวก็จะพิจารณากันดุในเรื่องนี้ ฉะนั้นขอให้พิจาณากันให้ละเอียดในปัญหาเฉพาะหน้า ว่าในมรรคมีองค์ 8 นั้น มรรคเพียงองค์เดียวก็เต็มไปด้วย อิทัปปัจจยตา กว่าเราจะเกิดสัมมาทิฏฐิขึ้นได้ มันต้องมี อิทัปปัจจยตา หลายซับหลายซ้อน ต้องได้ยินได้ฟัง ต้องเชื่อตัวเอง ต้องเข้าไปนั่งใกล้ผู้รู้ แล้วก็เข้าไปถามผู้รู้ แล้วนำมาใคร่ครวญ นำมาศึกษาปฏิบัติอยู่ จึงเกิดสัมมาทิฏฐะขึ้นมาได้เพียงตัวเดียว สัมมาทิฏฐิเพียงอย่างเดียว ก็ต้องมี อิทัปปัจจยตา หรือปฏิจจสมุปบาทของมันเองมากมายจนกว่าจะเกิดสิ่งที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิขึ้นมาได้
            นี่องค์มรรคทั้ง 8 องค์ ก็มี อิทัปปัจจยตา ส่วนของมันเองหลายชั้นหลายซับหลายซ้อน จึงจะเกิดขึ้นมาได้ และเมื่อมันเกิดข้นมาได้ครบทั้ง 8 องค์แล้วมันก็มี อิทัปปัจจยตา ที่ผูกพันกันในตัวเอง แล้วมันก็มี อิทัปปัจจยตา ที่สำคัญที่นสุดคือทำให้เกิดทุกขนิโรธอริยสัจจ์ คือดับทุกข์ได้ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า ในอรยิสัจจ์ทังสี่นี้ ไม่มีอะไรนอกจากเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา หรือว่าธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา หรือว่าธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา เป็นเหตุบ้าง เป็นผลบ้าง ไม่มีหยุด กระทั่งว่าดับทุกข์แล้ว ก็ยังจะต้องทำอะไรไปตามที่มันดับทุกข์ได้แล้ว
            นี้เรียกว่าอริยสัจจ์ในปฏิจจสมุปบาท หรือ ปฏิจจสมุปบาทในอริยสัจจ์มีหลักสำคัญที่สุด แต่ว่าย่อได้ที่สุดอย่างนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าท่านจะตรัสอรยิสัจจ์ในบางคราว ท่านตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราจะกล่าวอริยสัจจ์ที่ใครค้านไม่ได้แก่พวกเธอทั้งหลาย ฯลฯ แล้วท่านก็ตรัสปฏิจจสมมุปบาท ทั้งฝ่ายสมุทยวาร และนิโรธวาร (ดูรายละเอียดหน้า 11)
ปฏิจจสมุปบาทแบบที่รู้จักกันมากที่สุด
            ปฏิจจสมุปบาทแบบที่คุ้นตา คุ้นหู คุ้นอะไรกับพวกเราพุทธบริษัท ก็คือ ปฏิจจสมุปบาทแบบที่พระสวดกันทั่วไป หรือว่าเมื่อบังสุกุลเป็น ก็สวดปฏิจจสมุปบาทแบบนี้ ที่ว่า อิวฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจิจยา วิญฺญาณํ วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ ฯลฯ จนไปถึงว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ เอวเมตสฺส เกวลสิส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ นี่แหละคือแบบที่แพรหลาย ที่รู้จักกันดีที่สุด แล้วบางคนก็รู้จักแต่ปฏิจจสมุปบาทแบบนี้ เท่านั้นแหละ ไม่รู้จักปฏิจจสมุปยบาทแบบอื่น ก็เพราะได้ยินแต่อย่างนี้โดยมาก แบบนี้อธิบายกันมามากมายแล้วในการบรรยายครั้งก่อน ในแบบฉบับตำตับตาราก็ไปหาดูได้ เรียกว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาท 11 อาการ นับตั้งแต่ อวิชชาให้เกิดสังขาร จนถึงชาติให้เกิดชรามรณะ เป็นปฏิจจสมุปบาทแบบหนึ่งรูปหนึ่ง มี 11 อาการ ถ้าว่าลงไปหาความทุกข์เรียกว่า อนุโลม ถ้าว่าขึ้นมาจากความทุกข์เรียกว่าปฏิโลม ถ้าอวิชชาให้เกิดสังขาร สังขารให้เกิดวิญญาณ วิญญาณให้เกิดนามรูป ฯลฯ เรื่อยไปอย่างนี้เรียกว่า อนุโลม ไปตามลำดับ ถ้าว่าย้อนกลับ ก็ว่า ทุกข์เกิดมาจากชาติ ชาติเกิดมาจากภพ ภพเกิดมาจากอุปานทาน อุปาทานเกิดมาจากตัณหา ตัณหาเกิดมาจากเวทนา ฯลฯ เรื่อยไปจนกระทั่งไปถึง สังขารเกิดจากอวิชชา นี้ก็เรียกว่าพูดกัน หรือพูดกลับ ก็เรียกว่า ปฏิโลม ทวนลำดับ แล้วมันก็ 11 อาการเหมือนกัน นี่ฝ่ายสมุทยวาร ก็มีวีรพูดทังปบบอนุโลมและแบบปฏิโลม
            ทีนี้ ฝ่ายนิโรธวาร ฝ่ายดับ ก็มีวีพูดทั้งแบบอนุโลมและแบบปฏิโลมด้วยเหมือนกัน เมื่อพูดว่าเพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ วิญญาณดับ นามรูปก็ดับ นามรูปดับ อายตนะก็ดับ ฯลฯ กระทั่งทุกข์ดับ นี้พูดลงไป อย่างนี้ก็เรียกว่า นิโรธวารอย่างอนุโลม คือกล่าวลงไปตามลำดับ
            พูดย้อนกลับ ก็พูดว่า ความทุกข์ทั้งหลายดับ เพราะชาติดับ ชาติจะดับก็เพราะภพดับ ภพจะดับ ก็เพราะอุปาทานดับ อุปทานจะดับ ก็เพราะตัณหาดับ ฯลฯ เรื่อยขึ้นมาจนถึง สังขารจะดับ ก็เพราะอวิชชาดับ อย่างนี้เรียกว่าปฏิโลม ก็จำกันได้ง่าย ๆ ว่า ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิดทุกข์ หรือสมุทยาวารนั้นมันก็มีวิธีพูดได้ทั้งฝ่ายพูดลงและฝ่ายพูดขั้น ทีนี้ ปฏิจจสมุปบาทดับทุกข์หรือที่เรยกว่านิโรธวารนั้น ก็มีวิธีพูดทั้งฝ่ายพูดลง และฝ่ายพูดขึ้น มันก็เลยได้ 4 สาย ฝ่ายเกิดทุกข์ก็ได้ 2 สาย ฝ่ายดับทุกข์ก็ได้ 2 สาย นี้คือปฏิจจสมุปบาทชนิดที่มี 11 อาการ
ปฏิจจสมุปบาทแบบที่ทรงท่องเล่น
            ทีนี้ ก็มีปฏิจจสมุปบาท แบบที่พระพุทะเจ้าท่านตรัส อย่างจะแสดงการปฏิบัติให้ชัด ท่านไม่ได้ขึ้นต้นด้วยอวิชชา นี่อีกแบบหนึ่ง ส่วนแบบทั่วไปที่คุ้นหูคนทั้งหลายนั้น คือแบบที่ขึ้นต้นด้วยอวิชชา ที่ท่องกันอยู่แซ็ดไปหมดนั้น
        แบบที่พระพุทธเจ้าตรัส หรือตรัสเองอยู่พระองค์เดียว เหมือนกับ ร้องเพลง เล่นอยู่พระองค์เดียว มันมีอีกแบบหนึ่ง ขึ้นต้นว่า อาศัยตากับรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งธรรม 3 ประการนี้ เรียกผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ฯลฯ ตอนต่อไปนี้ก็เหมือกันแบบธรรมดาไปจนจบ หากแต่ตอนขึ้นต้นไม่เหมือนกัน เพราะไปขึ้นเสียว่า เพราะอาศัยตากับรูป เกิดจักขุวิญญาณ เพราะอาศัยหูกับเสียงเกิดโสตวิญญาณ เพราะอาศัยจมูกกับกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ เพราะอาศัยลิ้นกับรส เกิดชิวหาวิญญาณ เพราะอาศัยผิวกายกับสัมผัสที่มาจากกระทบผิวกาย เกิดกายวิญญาณ เพราะอาศัยธรรมารมณ์มากระทบใจ เกิดมโนวิญญาณ ก็คืออายตนะข้างนอก กับอายตนะข้างในพบกัน แล้วเกิดวิญญาณตามชื่อนั้น ๆ เมื่อรวมสามประการนั้นเข้าด้วยกัน คืออายตนะกายนอก กับอายตนะภายใน และวิญญาณกระทบกันแล้ว เรียกว่าผัสสะ ผัสสะกระทบแล้วก็มีเวทนา แล้วก็มีอะไรไปตามแบบทั่วไปของปฏิจจสมุปบาท นี้ก็แบบหนึ่ง เข้าใจได้ง่าย เข้าใจได้ชัดกว่าแบบที่ขึ้นต้นด้วยอวิชชา แบบที่ขึ้นต้นด้วยอวิชชา ต้องอธิบายดีจริง ๆจึงจะเข้าใจ ถ้าไม่อย่างนั้นไม่เข้าใจ และไม่เข้าใจคำว่าอวิชชา และคำว่าสังขาร กันเป็นส่วนใหญ่
ปฏิจจสมุปบาทที่ขึ้นต้นด้วยเวทนา
            อีกแบบหนึ่งคือ ปฏิจจสมุปบาทที่ไม่ตรัสยาวอย่างนี้ เพราะตัดครึ่งตรงกลาง เริ่มขึ้นมาก็ว่าเพราะเวทนาเลย โดยมีเวทนาเป็นสิ่งที่เกิดอยู่แล้วเป็นประจำวันใคร ๆ ก็รู้จัก เกือบไม่ต้องพูดถึงว่าเวทนาจะเกิดขึ้นโดยเหตุใด แต่พุดไปเลยว่า เมื่อเกิดความพอใจ หรือเกิดความไม่พอใจขึ้นมา นี้เรียกว่า เป็นเวทนา เพราะเวทนา ก็เกิดตัณหา เพราะตัณหาก็ เกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานก็ เกิดภพ เพราะภพก็ เกิดชาติ เกิดอะไรเรื่อยไปจนถึงทุกข์ ตามกำธรรมดาอีกนั่นแหละ การกล่าวอย่างนี้ ก็เพราะจะให้มันสั้นเข้า ให้ผู้ศึกษาได้สังเกตง่ายเข้า ใช้เวลาน้อยเข้า ให้ระวังแต่การเกิดของเวทนาแต่อย่างเดียว พอเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ก็จะหยุดมันเสีย หรือว่าเปลี่ยนกระแสมันเสีย ให้มันกลายเป็นเกิดความฉลาดขึ้นมา อย่าปล่อยให้โง่ไปตามเวทนา มันจะเกิดตัณหา อุปาทาน แล้วเป็นทุกข์ ขยายความออกไปอีกหน่อยหนึ่งก็ว่า :-
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น