วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อิทัปปัจจยตา 6 ในฐานะธรรมทั้งปวง หรือทุกสิ่งรอบตัวเรา

เสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2515
          ท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย!
        การบรรยายเรื่องอิทัปปัจจยา ในอันดับที่ 6 นี้ จะได้กล่าวโดยหัวข้อว่ อิทัปปัจจยตา ในฐานะธรรมทั้งปวงหรือทุกสิ่งรอบตัวเรา ดังทีท่นทั้งหลายก็ทราบกันอยู่เป็นอย่างดีแล้ว เกี่ยวกับเรื่องนี้ อยากจะซักซ้อมความเข้าใจกันทุก ๆ คราว ที่มีหารบรรยายนี้ว่า อาตมามีความประสงค์อย่างยิ่งที่จะให้พวกเราพุทธบริษัททังหมด คุ้นเคยกันกับคำว่า อิทัปปัจจยตา โดยเหตุที่ว่าเป็นคำสำคัญที่สุด ในพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา; แต่แล้วกลับไม่มีใครเอามาพูด ไม่มีใครได้ยินจมหายเงียบอยู่ในพระไตรปิฏก เป็นที่น่าสังเวช จึงขอชักชวนท่านทั้งหลายให้ร่วมมือกัน ทำให้สิ่งนี้ออกมาสู่การพูดจา เป็นประจำวันของพวกเรา แม้ว่าจะยากลำบากบ้าง แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ถ้าเอามาพูดกันอยู่บ่อย ๆ ก็ย่อมจะได้ยินได้ฟังจนเป็นคำธรรมดา แล้วก็จะเข้าใจกันได้ง่ายขึ้นในที่สุด
            ขอให้สังเกตดูว่า ในพระสูตรสั้น ๆ สูตรนี้ ที่พระภิกษะสงฆ์นำมาสาะยายชั่วเวลา 40 นาทีนี้ มีคำว่า อิทัปปัจจยตาถึง 22 ครั้ง แล้วก็มีคำที่สำคัญ คือสุรปสั้นยิ่งขึ้นไปอีก คือคำว่า ตถตา ถึง 11 ครั้ง และคำว่า อวิตถตา อนัญญถตาเป็นต้น อีก 11 ครั้ง คำเหล่านี้มีความหมายเนื่องถึงกันไปหมด เรียกว่าเป็นเรื่องเดียวกัน แม้ว่าตัวพยัญชนะนั้นจะต่างกันบ้าง
          อิทัปปัจจยตา แปลว่า ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ยอ่มเกิดขึ้น; ตถตา หมายความว่า ความเป็นอย่างนั้น ก็คือความที่มันต้องเป็นอย่างนั้น มันไม่เป้นอย่างอื่นไปได้ คือต้องเป็นว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น และถือว่านี้เป็น ธัมมัฏฐิตตา คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา และเป็น ธัมมนิยามตา เป็นกฎตายตัวของธรรมดา เราควรจะชิดกันกับถ้อยคำเหล่านี้ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่คำ ให้สมกับที่ว่าเป็นพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา
            คำว่า อิทัปปัจจยตา นั้น เล็งถึงปฏิจจสมุปบาท พระพุทธองค์ตรัสเรียกปฏิจจสมุปบาท ว่า อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท คือสิ่งที่อาศัยกันและกันแล้วเกิดขึ้น ๆ ก็คือ อิทัปปัจจยตา คือเพราะความที่เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น นี่เป็นหัวใจทั้งหมดของพระพุทธศาสนา
            แม้ว่าเราจะกล่าวกันว่า หัวใจของพุทธศาสนา มีอยู่อย่างนั้น มีอยู่อย่างนี้ มีอยู่อย่างโน้น ตั้งหลายสิบอย่าง แต่มันมาสรุปความอยู่ที่คำ ๆ นี้ว่า อิทัปปัจจยตา ในพระบาลี ใช้คำที่เหมือนกันกับคำในธรรมนิยามสูตร ที่เอ่ยถึงแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัจตตา ว่าเป็นธัมมัฏฐิตตา ธัมมนิยามตา; นั่นมันก็เป็นการแสดงถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ส่วนในสูตรนี้แสดง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชัดลงไปถึงกับว่า เพราะเมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น มันเป็นอย่างนี้เอง ไม่เป็นอย่างอื่น ดังนั้นจึงเป็นหัวใจของพุทะศาสนาในฐานะที่เป็นธัมมธาตุ คือสิ่งที่จะมีอยู่ตลอดกาล โดยไม่คำนึงในข้อที่ว่า พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้น หรือพระพุทธเจ้าจะไม่เกิดขึ้นก็ตามที สิ่งนี้ย่อมมีอยู่ในฐานะที่เป็น อิทัปปัจจยตา อย่างนี้
            พระพุทธองค์ก็ตรัสอย่างนี้ ท่านตรัสว่า ท่านรู้ ท่านเห็น ท่านเข้าใจเรื่องนี้ จึงปฏิญาณว่าเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ ก็ยังไม่ปฏิญาณพระองค์ว่ เป็นผุ้ตรัสรู้อนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ ครั้นรู้เรื่องนี้แล้ว ก็ทรงเปิดเผย ทรงบัญญัติขึ้นมาแสดงให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นการหงายของที่เคยคว่ำอยู่มาแต่ก่อนให้เป็นที่เข้าใจ แล้วก็มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา; ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม และตรัสว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรม ขอให้คิดดูว่า มีความสำคัญมากน้อยอย่างไรสำหรับเรื่องนี้ ผู้ที่จะเห็นธรรม ที่มีค่าเท่ากับเห็นพระตถาคตนั่น คือการเห็น อิทัปปัจจยตา ฉะนั้นขอให้ธรรมะนี้เป็นที่คุ้นเคย แก่ปาก แก่หู แก่ลูกตา หรือแก่อะไร ของเราเป็นประจำวันเถิด
            ที่จริงก็มีคนพูดถึงสิ่งนี้กันอยู่บ้างเหมือนกันแต่ว่าไม่ได้พูดเป็นภาษาบาลี เขาพูดเป็นภาษาชาวบ้าน ที่พูดว่า มันเป็นไปตามเรื่องของมัน นั้น คือพูดถึง อิทัปปัจจยตา และพูดว่า มันเป็นอย่างนั้นเอง อย่าไปยินดียินร้ายกับมัน นั้นคือตถตา; อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งข้อนี้ก็ขอเตือนแล้วเตือนอีกว่า จงรู้สึกละอายคุณตาคุณยาย แก่ ๆ เฒ่า ๆ ที่ไม่รู้หนังสือตามบ้านนอกคอกนา แต่ก็พูดเป็นเหมือนกันว่า ลูกเอ๋ย หลานเอ๋ย! อย่าไปเสียใจกับมัน มันต้องเป็นไปตามเรื่องของมัน หรือมันต้องเป็นอย่างนั้นเอง เช่นเมื่อมีใครตายลง หรือว่ามีความเสื่อมเสียวิบัติอะไรต่าง ๆ ที่เขามักจะร้องไห้กัน หรือในกรณีที่ตรงกันข้ามก็ดีใจ หัวเราะลิงโลดบ้าง; คนแก่ ๆ ก็พูดว่า มันเป็นอย่างนั้นเอง มันเป็นไปตามเรื่องของมันเอง นี้เรียกว่ายายแก่คนนั้น ถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นผู้ไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งทั้งหลายที่เปลี่ยนแปลง นี่แหละคือการที่มีพุทธศาสนาตัวจริงอยู่ที่นั่น
            แต่เดี๋ยวนี้มันไม่ค่อยจะมี มีแต่จะรักหรือจะเกลียด ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งกันเอยู่ 2 อย่างเท่านั้น คำพูดประจำวันไม่มีว่า อิทัปปัจจยตา หรือตถตาเลย มีแต่พูดว่า : เงินของกู ทองของกู ลูกของกู เมียของกู จนลิงต้องล้างหู อย่างนี้มีอยู่ประจำวัน ขอให้คิดดูเถิดว่า มันเป็นอย่างไร ในวันหนึ่ง ๆ เรามีกันแต่คำพูดว่า เงินของกู ทองของกู เดี๋ยวที่นั่น เดี๋ยวทีรนี่ เกร่อไปหมด ไม่มีใครพูดว่า อิทัปปัจจยตา ตถตา เป็นต้น
            ถ้าว่าจิตใจมองเห็น อิทัปปัจจยตา คือข้อที่ว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น แล้วมันจะร้องว่า เงินของกูไม่ออก มันร้องออกมาไม่ได้ว่า เงินของกู ว่าทองของกู ว่าเมียของกุ ว่าลูกของกู มันร้องออกมาไม่ได้; ในเมื่อเห็น อิทัปปัจจยตา เดี๋ยวนี้เรากูพูดกันทุกวัน ได้ยินอยู่ทั่วไปหมด เรื่องเงินของกู เรื่องทองของกู มันก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่า ไม่มีการเห็น อิทัปปัจจยตา
            ฉะนั้น ขอให้ช่วยกันขวนขวายให้พุทธบริษัทเรา เข้าถึงพระพุทธเจ้าคือ เห็ฯพระองค์ เห็นพระตถาคต ด้วยการเห็นธรรมนี้กันให้มากขึ้น; ใช้คำว่า เมื่อมันเป็นของมันอย่างนั้นเอง มันเป็นไปตามเรื่องของมันเอง เหล่านี้ให้มากขึ้น ถูกลอตเตอรี่ เมื่อมีโชคดี ได้ลาภใหญ่หลวงก็ว่า อิทิปปัจจยตา มันเท่านั้นเอง หรือเมื่อเสียเงินไปหมด มันก็ อิทัปปัจจยตา มันเป็นอย่างนั้นเอง นี้หมายความว่ามันคงมีสติปัญญาอยู่แก่เนื้อแก่ตัว พูดอีกทีหนึ่งก็ว่า มีหัวใจพุทธศาสนาอยู่กับเนื้อกับตัว พูดอีกทีหนึ่งก็ยังได้ว่า มีองค์พระพุทธเจ้า พระตถาคตนั้นอยู่กับเนื้อกับตัวอย่างที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม”; และระบุชัดไว้ในพระสูตรหนึ่งว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผุ้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท คือ เห็น อิทัปปัจจยตา ว่า : เพราะความที่มีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น ฉะนั้นขอให้ท่านทังหลาย พยายามกำหนดจดจำใจความของอิทัปปัจจยตาไว้ ในลักษณะอย่างนี้เถิด มันจะเป็นการแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ในวงพุทธบริษัทเราให้ดียิ่งขึ้น ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ให้มีประโยชน์ยิ่งขึ้น
            เพราะเหตุผลดังที่กล่าวมานี้ อาตมาจึงพยายามที่จะบรรยายเรื่องนี้ แม้ว่าเป็นเรื่องที่ชวนง่วงนอนสำหรับคนที่ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ว่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้หูตาแจ่มใสสว่างไสว สำหรับคนที่ฟังรู้เรื่อง เพราะว่ามันเป็นหัวใจของพุทะศาสนา ดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นจึงได้ออกโปรแกรมกำหนดกาลการบรรยายในภาคมาฆบูชานี้ทั้ง 13 ครั้งว่า จะบรรยายเฉพาะเรื่อง อิทัปปัจจยตา  ดังที่ได้โฆษณาไปแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อจะชีให้เห็น อิทัปปัจจยตา ในแง่ต่าง ๆ กัน ทุกแง่มุม จนรู้จัก อิทัปปัจจยตาอย่างทั่วถึง
          ในครั้งแรกที่สุด ไดชี้ให้เห็นในข้อที่ว่า หัวใจพระพุทธศาสนา ยังจมเงียบอยู่ในพระไตรปิฎก คือไม่มีคใครเอ่ยถึง อิทัปปัจจยตา และนำมาพูดอยู่ติดปากเป็นประจำวัน ว่า เพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น; มีแต่จะมองเห็นไปในรูปที่ว่า เงินของกู ทองของกู อะไรของกู แล้วก็โกรธบ้าง แล้วก็เกลียดบ้าง รักบ้าง ชังบ้าง เป็นอย่างนี้กันทั้งโลก และถ้ามองไปถึงโลกที่ไม่ใช่พุทธบริษัทแล้ว อาจจะเป็นมากไปกว่านี้อีกก็ได้ ฉะนั้นเพื่อไม่ให้หัวใจของพระพุทธศาสนาจมเวียงอยู่ในพระไตรปิฎก จึงคุ้ยเอามา แล้วยังจะทำทุกอย่างทุกประการ ที่จะให้มีสิ่งนี้เป็ฯที่เข้าใจกันอย่างแพรหลายในหมู่พุทธบริษัท จนมาชิดอยู่ที่ปากสำหรับจะพูด แล้วหูก็จะได้ยินบ่อย ๆ ถึงคำนี้ แล้วตาก็จะได้เห็นบ่อย ๆถึงตัวหนังสือ ที่แสดงถึงคำ ๆ นี้อย่างนี้เป็นต้น
          ในครั้งที่ 2 ได้แสดงให้เห็นว่า อิทัปปัจจยตา มีความสำคัญในฐานะที่เป็นศาสตร์ หรือเป็นวิชาทุกอย่างในโลกนี้ นี้ก็เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า ศาสตร์หรือวิชาทั้งหลาย ที่คนชอบหลงใหลกัน หรือว่าที่จะใช้เป็นประโยชน์อยู่นั้น ล้วนแต่เป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา ต่อให้เป็นนักปราชญ์เฉลียวลาดในระดับไหนมา มันก็ต้องอาศัยกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา จึงจะบัญญัติศาสตร์และวิชาเหล่านั่นขึ้นมาได้ และให้เป็นสิ่งที่ใช้ประพฤติปฏิบัติได้ ถ้ามันผิดจากหลักเกณฑ์อันนี้ไปแล้ว มันก็เป็นศาสตร์หรือเป็นวิชาที่เกิดขึ้นไม่ได้; หรือแม้ว่าจะบัญญัติขึ้นมามันก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะว่ามันปฏิบัติไม่ได้ นี่ขอให้สนใจว่า อย่าไปเข้าใจเรื่องศาสตร์ เรื่องวิชาว่า มันเป็นเรื่องอื่น ซึ่งมันวิเศษไปกว่าหัวใจของพุทธศาสนา
        ในครั้งที่ 3 ได้ชี้ให้เห็นถึงข้อที่ว่า สิ่งที่เราพูด เราคิด เรานึก ว่าตัวเราหรือของเราในทุกแง่ ทุกมุมนั้น มันก็ล้วนแต่เป้นกระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา ตัวเราในทุกความหมายเป้นเพียงกระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา ถ้าไม่มีอันนี้แล้ว ตัวเราก็มิได้มี มันมีความเป็นไปตามปัจจัย จึงทำให้เกิดการคิดอย่างนั้นอย่างนี้ขั้นมาบ้าง หรือทำให้ร่างกายเจริญงอกงามบ้าง มันล้วนแต่เป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา หรือว่าเป็นตัว อิทัปปัจจยตา นั่นเอง ที่กำลังเป็นอยู่ ทำไมเราไม่มองดูจนเห็นในที่ทั่วไปอย่างนี้
          ในครั้งที่ 4 ได้พูดถึง อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นพระเจ้า หรือเป็นพระเป็นเจ้า นี้หมายความเฉพาะแต่ในแง่ที่ว่า มันมีสิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งมีอำนาจเด็ดขาดเหนือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่จะบันดาลสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ให้เป็นไปในลักษณะใดก็ตาม สิ่งนั้นไม่มีอะไรอื่นแม้แต่สักนิดเดียว ที่จะนอกไปจาก อิทัปปัจจยตา ใครจะเยกว่า พระเจ้าก็ได้ ใครจะไม่เรียกว่าพระเจ้า แต่จะเรียกว่า อิทัปปัจจยตาก็ได้ ฉะนั้นพุทธบริษัทก็มีพระเจ้า คือ อิทัปปัจจยตา เป็นสิ่งที่บันดาลให้สิ่งอะไรเกิดขึ้นมา แล้วก็ควบคุมสิ่งนั้น ๆ ไว้ แล้วก็ทำให้สิ่งเหล่านั้นบุบสลายลงไปเป็นคราว ๆแล้ก็เกิดข้นมาใหม่; นี่คือพระเจ้า อิทัปปัจจยตา ที่ทำหน้าที่ของมัน เราจะต้องรู้จักพระเจ้ากันจริง ๆ เป็นพรพะเจ้าจริง แล้วก็ให้ถูกต้อง ในลักษณะอย่างนี้ เราก็จะพูดกันรู้เรื่องกับพวกที่นับถือพระเจ้า ในความคิดนึกของเขา โดยไม่ต้องดูถูกดูหมิ่นหรือเกลียดชังซึ่งกันและกันในระหว่างศาสนา ดังนี้เป็นต้น
          ในครั้งต่อมา ได้พูดถึงว่า วิวัฒนาการทุกแขนง ของสิ่งที่วิวัฒนาการล้วนแต่เป็น อิทัปปัจจยตา บรรดาสิ่งที่มีชีวิต ไม่มีอะไรที่ไม่วิวัฒนาการ มันต้องวิวัฒนาการทังนั้น นั้นคือตัว อิทัปปัจจยตา แสดงปรากฏการณ์ออกมาตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา มันจึงมีวิวัฒนาการ : ตั้งแต่ว่า เมื่อยังไม่มีโลกนี้ ต่อมามันก็มีโลกนี่ขึ้นมาเป็นโลกเปล่า ๆ แล้วก็เป็นโลกที่มีความชื้น มีน้ำ แล้วก็มีสิ่งที่มีชีวิต สัตว์เซลล์เดียว สัตว์หลายเซลล์ หมู่แห่งเซลล์ประกอบกันเข้า เป็นสิ่งที่เรียกว่า กาย พอวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ แล้ว สิ่งที่เรียกว่า จิต ก็แสดงออกมาได้ เป็นความรู้สึกคิดนึก มันก็มีสัตว์เดรัจฉาน มีสัตว์ครึ่งเดรัจฉาน มีสัตว์มนุษย์ เทวดาหรืออะไรแล้วแต่จะเรียก ทังหมดนี้คือตัว อิทัปปัจจยตา แต่เราก็ไม่มอง ไม่มองตามที่พระพุทธเจ้าทานตรัสว่า มันเป็นอย่างนี้
        ทีนี้ก็มาถึงวันนี้ ก็อยากจะพูดโดยหัวข้อที่ว่า อิทัปปัจจยตา ในฐานะเป็นทุกอย่างที่แวดล้อมเราอยู่ ความมุ่งหมายก็เห็นชัดอยู่แล้วว่า ต้องการจะพูดถึงสิ่งภายนอก ที่อยู่รอบตัวเรา; แต่ถึงอย่างนั้นก็อยากจะยืนยันให้เห็นอยู่เสมอว่า เรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นเรื่องภายในโดยเฉพาะ พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมายให้เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องที่มันเกิดขึ้นแก่จิตใจของเรา เป็นตัวเกิดแห่งความทุกข์ หรือดับลงแห่งความทุกข์โดยตรง นี้เป็นอิทัปปัจจยตา ที่เป็นภายใน แล้วก็มีอยู่แก่ทุกคนในทุก ๆ วัน เพราะว่าจิตของมนุษย์นั้นถ้ายังไม่เป็นพระอริเจ้าในชั้นสูงสุดแล้ว ก็จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า อกุศลจิต
            เมื่อใดมีอกุศลจิต เมื่อนั้นก็มี อิทัปปัจจยตา ที่แสดงชัดในรูปของ ปฏิจจสมุปบาท
            ในสูตรทั้งหลาย ที่เป็นพุทะภาษิต แสดงความข้อนี้ชัดแจ้งอยุ่มากมายหมายสิบสูตร ร้อยกว่าสูตร ว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้น มันเป็ฯเรื่องที่เกิดขึ้นทุก ๆคราว ที่เรามีอวิชชาสัมผัส คือเราสัมผัสโลกด้วยอวิชชาเมื่อไร เมื่อนั้นเป็นมี อิทัปปัจจยตา หมายความว่า เมื่อตาเราไปเห็นอะไรเข้าด้วยความโง่ เมื่อหูของเราไปได้ยินอะไร ได้ฟังอะไรเข้าด้วยความโง่ เมื่อจูมกของเราได้กลิ่นอะไรด้วยความโง่ ลิ้มรสอะไรทางลิ้น ด้วยความโง่ สัมผัสทางผิวหนังด้วยความโง่ คิดนึกต่ออารมณ์ใด ๆ ในใจด้วยความโง่ นี้เรียกว่า อวิชชาสัมผัส คือสัมผัส 6 ประการด้วยอำนาจของอวิชชา
            เมื่อใดมีอวิชชาสัมผัส เมื่อนั้นจะมีเวทนาที่เกิดมาจาก อวิชชาสัมผัสนั้นก็เรียกว่า  อวิชชาเวทนา เป็นเวทนาที่ได้มาจากอวิชชา หรือมีมูลมาจากอวิชชา เมื่อเป้นอย่างนี้แล้ว ก็ไม่มีทางแก้ไขที่จะไม่เกิดตัณหา เพราะว่ามันมีอวิชชาเป็นรากฐาน มันก็จะเกิดตัณหาที่มาจากเวทนานั้น แล้วก็เกิดอุปทาน เกิดภพ เกิดชาติ เกิดทุกข์
            เมื่อใดสัมผัสสิ่งทั้งหลายด้วยอำนาจอวิชชาสัมผัส เมื่อนั้นก็แปลว่า ปัญจุปาทานนักขันธ์ได้เกิดขึ้นในเวลานั้นเอง อย่าได้เข้าใจว่า ปัญจุปาทานักขันธ์นั้นเกิดอยู่ตลอดเวลา
            นี่แหละการพิจารณาเห็นการเกิดแห่ง ปัญจุปาทานักขันธ์ และการดับลงไปแห่งปัญจุปาทานักขันธ์นั้น เป็นยอดสุดของวิปัสสนา ตามที่พระพุทธเจ้าท่านเรียก ว่านี้เป็นสมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ
            นี้มันย่อมแสดงอยู่แล้วว่า การเห็นปฏิจจสมุปบาทในลักษณะนี้ คือเห็น อิทัปปัจจยตา ที่จะนำมาซึ่งความสิ้นอาสวะ ฉะนั้นถือว่า อิทัปปัจจยตา เป็นเรื่องภายในโดยเฉพาะ ตามพระพุทธประสงค์
            ยิ่งข้อความในคัมภีร์อภิธรรมด้วยแล้ว ยิ่งชัดแจนมาก ในคัมภีร์อภิธรรมจะเขียนไว้ตรง ๆ ทุกข้อที่เกียวกับอกุศลจิตว่า : ยสฺมึ สมเย อกุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ เมื่อใด จิตอันเป็นอกุศลเกิดขึ้น คือสหรคตด้วยโสมนัส หรือสัมปยุตต์ด้วยทิฏฐิก็ตาม; รูปารมฺมณํ วา สทฺทารมฺมณํ วา ฯลฯ คือว่ามีรูปเป็นอารมณ์ก็ตาม มีเสียงเป็นอารมณ์ก็ตาม มีกลิ่นเป็นอารมณ์ก็ตาม กระทั่งว่าปรารภสิ่งใดเป็นอารมณ์ก็ตาม; ตสฺมึ สมเย อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร ฯลฯ ในสมัยนั้นสังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย; วิญญาณย่อมมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย; นามรูปย่อมมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย; สฬายตนะย่อมมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย; จนกระทั่งว่า กองทุกขทั้งหลายเกิดขึ้นได้วยด้วยอาการอย่างนี้
            นี้เป็นคำพูดที่นั้น และระบุชัดเจนว่า เมื่อใดมีอกุศลจิต เมื่อนั้นมีปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็น อิทัปปัจจยตา อย่างเต็มที่หรือเต็มรูป นี้ก็เป็นสิ่งที่ควรจะเข้าใจไว้ให้ดี ว่า เมื่อใดจิตวิปริตผิดทำนองคลองธรรม เป็นอกุศลไป ด้วยอาศัยอะไรเป็นอารมณ์ก็ตาม มากก็ตาม น้อยก็ตาม ใกล้ก็ตาม ไกลก็ตาม อะไรทำนองนี้มันจะมี อิทัปปัจจยตา ชนิดที่เป็นปฏิจจนสมุปบาท ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องนี้ได้บรรยายมาแล้วหลายหน จึงไม่อาจบรรยายโดยรายละเอียด แต่ขอเตือนให้นึกถึงว่า เรื่อง อิทัปปัจจัยตา นี้เป็นเรื่องภายในอย่างนี้
            ทีนี้ในวันนี้ เราจะดูกันข้างนอกบ้าง ว่ากำเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา นี้พระพุทธองค์ตรัสไว้เป้ฯกลางที่สุด ไม่ว่าภายนอก หรือไม่ว่าภายใน ไม่ว่าทางวัตถุธาตุ หรือว่าทางนามธรรม มันล้วนแต่มีกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา หรือว่าเป็นตัว อิทัปปัจจยตา ไปเสียทังหมด ฉะนั้นเราควรจะรู้ ควรจะเห็น ควรจะมองเห็นไม่ว่ามันจะอยู่ที่ไหน; จึงได้มีความตั้งใจว่า เราจะทำความเข้าใจกัน ช่วยกันและกันให้มองดุ ให้เห็นทุก ๆ แง่ทุก ๆ มุม ทุก ๆ หน ทุก ๆแห่ง หังว่าท่านทั้งหลายจะมีความตั้งใจอย่างเดียวกันกับอาตมา อย่างที่ว่านี้
          อิทัปปัจจยตา ที่เป็นภายในล้วน ที่เกิดขึ้นแก่จิตเป็นคราว ๆ ล้วน ๆ นั้นคือ อิทัปปัจจยตา ที่ทรงมุ่งหมาย ว่าเป็นเรื่องสำคัญ
        เมื่อมองดูให้กว้างออกไปก็คือว่า การเกิดมีชีวิตเป็นคน เป็นสัตว์เป็นสิ่งที่มีชีวิตตขึ้นมานี้ ก็เรียกว่า อิทัปปัจจยตา; อิทัปปัจจยตา ในทางร่างกายอย่างนี้ ก็มีผู้อธิบายยกันมาก เวลานี้ก็มีผู้อธิบายกันอยู่ แต่อธิบายไปในทางที่ว่ามันเป็นเรื่องของชีวิตร่างกาย ว่าสิ่งที่มีชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่งไร นี้ก็เรียกว่าเป็นภายนอกออกมาแล้ว; ถ้าเป็นภายใน ก็ไม่ต้องพูดถึงตัวชีวิต ตัวร่างกายพูดถึงแต่เรื่องที่กิเลสมันเกิดขึ้น คืออุกศลจิตเกิดขึ้นก็ควรจะพอ; แต่เด่ยวนี้อกุศลจิต หรือกิเลส หรืออะนี้ มันต้องอาศัยร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอกคือร่างกายนี้ จิตมันจึงจะทำการงานทำหน้าที่ได้ ร่างกายซึ่งเป็นเหมือนเปลือกนอก หรือเป็นภาชนะรองรับจิตนี้ มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา
            ที่นี้ มองให้กว้างไกลออกไปก็คือว่า แม้จะรวมกันทั้งโลก หมดทั้งโลกชีวิตทั้งหมด อะไรทั้งหมด ทั้งโลกนี้ มันก็ยังเป็นเรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือเป็นเรื่องปฏิจจสมุปบาท; อย่างนี้ก็มีผู้อธิบาย เคยเห็นหนังสือบางเล่มเขียนอธิบายปฏิจจสมุปบาทในลักษณะอย่างนั้นล้วน ๆ ก็มี นั้นมันไม่ถูก มันไม่หมด ในการที่ไปอธิบายปฏิจจสมุปบาทแต่เพียงว่า โลกเกิดขึ้นได้อย่างไรอย่างนี้ แล้วก็หมายเอาโลกทางวัตถุนี้กันไปหมด; เรื่องหัวใจจริง ๆ มันเกี่ยวกับเรื่องในจิตในใจของสัตว์ที่มีอยู่ในโลก แต่ถึงอย่างไร ก็ยังเรียกว่ามันถูกต้องอยู่นั่นเอง คือจะมองดูโลกทั้งโลกนี้ ให้เห็นในแง่ของ อิทัปปัจจยตา แล้วก็ไม่ตื่นเต้น แล้วก็ไม่หลงใหลไปตามโลก เพราะเห็นโลกเป็น อิทัปปัจจยตา
            ทีนี้ เราจะให้แคบเข้ามาอีก คือว่า จะมอง อิทัปปัจจยตา ที่สิ่งทั้งหลายเฉพาะที่มันแวดล้อมตัวเราอยู่ สำหรับข้อนี้ ขอให้มองเห็นสิ่งที่สำคัญ หรือน่าอันตรายอย่างยิ่ง สักข้อหนึ่งก่อนว่า สิ่งที่มันแวดล้อมเราอยู่ อยู่ใกล้ ๆ เราใกล้ชิดเรานั่นแหละ ร้ายกาจ ระวังให้ดี มีปัญหาอยู่ที่นั่น
            ถ้าเป็น ฆราวาส มันก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าที่ว่ามาแล้วว่า : เงินของกู ทองของกู ลูกของกู เมียของกู บ้านของกู เรือนของกู พวกพ้องของกู วัวควายไร่น่าของกู อะไรของกู นั่นคือสิ่งที่แวดล้อมตัวเราอยู่
            ถึงแม้จะเป็น บรรพชิต มันก็มีอะไรคล้าย ๆ กัน ถ้าหากว่าไม่มีความรู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา มันก็จะเอานั่นนี่เป็นของกู กระทั่งเอาวัดนี้เป็นของกู เอาสมบัติพัสถานเป็นของกู แม้กระทั่งว่า บาตร จีวร มันก็จะกลายเป็นของกูไป อย่างนี้มันก็มีความโง่เท่ากันกับฆราวาส ไม่มีอะไรดีกว่ากัน เพราะความที่ไม่รู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา
            ดังนั้นเราควรจะมาพิจารณากันถึงข้อนี้ให้รู้เรื่องของ อิทัปปัจจยตา ที่มันเป็นอยู่แก่สิ่งทั้งหลาย ที่กำลังแวดล้อมอยู่รอบ ๆ ตัวเรา เราอยู่ในท่ามกลางของสิ่งแวดล้อมอะไรบ้าย ก็จงดูให้ดีเถิด : หน้าที่การงาน ความรับผิดชอบ เงินท่องข้าวของ บุตรภรรยา สามี เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดเรื่องขึ้นมา สิ่งอื่นมันไม่ค่อยทำเรื่องเพราะมันอยู่ไกลออกไห มันไม่ได้มากลุ้มรุมแวดล้อมตัวเราอยู่
            นี้เราก็ต้องดูสิ่งที่มันจะเป็นอันตราย ไม่ทางกาย ก็ทางใจ มันอาจจะเป็นอันตรายทางกายมาก จนถึงกับทำให้เราตายลงไปก็ได้ หรือมันจะเป็นอันตรายทางใจ จนทำให้จิตใจนี้เสียไป ไม่มีทางที่จะประกอบอยู่ด้วยความสะอาดสว่าง สงบ เสียเลย ดังนี้ก็ได้ ดังนั้นขออย่าได้ทำเล่น ๆ กับสิ่งที่แวดล้อมเราอยู่ เราจะต้องดูมันให้ดี
            ทีนี้ ก็มาเหลืออยู่แต่ว่า คำว่า ดูให้ดี คำว่า ดูให้ดี เพียง 3 พยางค์นี้คือหัวใจของการปฏิบัติ การปฏิบัติในพุทธศาสนา ไม่ว่าจะพูดกันอย่างไหน ๆ กี่ร้อยอย่างกี่พันอย่าง มันเหลืออยู่แต่คำเพียงว่า ดูให้ดี ถ้าแก่ดูดีแล้ว มันไม่มีเรื่อง แล้วก็จะดับทุกข์ได้
            ขอแทรกสักนิดหนึ่งว่า อาตมาอยากจะให้ทุกคน ถือหลักในคำกล่าวสั่น ๆว่า  ดูให้ดี มีแต่ได้ ไม่มีเสีย อันนี้จะเป็นเครื่องราง ที่คุ้มครองป้องกันอันตรายสารพัดอย่าง เหมือนกับว่าเอาพระไปแขวนไว้ในใจ ด้วยอำนาจของพระนั้น มันจะดูดี ดูสิ่งต่าง ๆ ดี แล้วก็มีแต่ได้ ไม่มีเสีย; อะไรจะเกิดขึ้น อะไรจะเข้ามา อะไรจะออกไห มันจะมีแต่ได้ไม่มีเสีย ได้เงินมา มันก็ไม่เสียหายอะไร ฉิบหายหมด มันก็ไม่เสียอะไร; นอกจากได้ คือได้ความรู้ ได้ความจริง ได้ความเข้าใจ
        อย่างว่าเราได้เงินมา มักจะทำให้เราโง่ เพราะว่าเราก็ไม่ได้ดุให้ดี มันก็เกิดกืเลสเพราะได้เงินมา ทีนี้พอถึงคราวที่เสียเงินไป เราก็คงโง่ตามเคย ร้องห่มร้องไห้ กินข้าไม่ได้ นอนไม่หลับ มันก็คือโง่ มันก็มีแต่เสีย ไม่มีได้ นี้ยกตัวอย่างเพียง 2 อย่าง ถ้าดูให้ดีแล้ว มันจะมีแต่ได้ ไม่มีเสีย; ได้มาก็ทำให้ลาด เสียไปก็ยิ่งทำให้ฉลาด ยิ่งบอกว่าเป็นเพียง อิทัปปัจจยตา ก็ยิ่งมากไปกว่าการได้เสียเสียอีก การได้นี้มันทำให้ประมาท ทำให้ลืมตัว การเสียมันก็ทำให้ลืมตัวเหมือนกัน ตี่มันยังมีทางที่จะทำให้นึกไดมากกว่า การได้ ความเจ็บไข้ ความเป็นความตายนี้ มาสอน คือว่าความสะดวกสบายร่ำรวย แต่ถ้าเราดูดี ดูเป็น ดูให้เป็นแล้ว จะมีแต่ได้ ไม่มีเสีย ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น จะได้ หรือจะเย ก็มีแต่จะได้วิชาความรู้ จะอยู่หรือจะตาย มันก็มีแต่จะได้วิชาความรู้ นี้เรียกว่า ดูให้ดี มีแต่ได้ไม่มีเสีย
            ขอให้ถือหลักอย่างนี้ เราจะมีแต่ได้ไม่มีเสีย แม้จะถ่ายอุจจาระออกไปมันก็ยังมีได้ ถ้าดูเป็น : อย่างน้อยมันก็ได้ความรู้ ได้อะไรที่เกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หรือทำให้มันดีมีนถูกต้องยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ มันจึงสำคัญอยู่ที่ว่า ดูให้ดีอย่างเดียวเท่านั้น
            การดูให้ดี นี้ก็คือ วิปัสสนา วิปัสสนาแปลว่า  เห็นอย่างวิเศษ เห็นอย่างแจ่มแจ้ง เห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างถูกต้อง มันก็คือดูอย่างดีนั่นแหละ มีคำพูดเป็นภาษาชาวบ้านว่า ดูให้ดี ๆ ๆ เท่านี้มันจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้หมด; ก็มีแต่ได้ ไม่มีเสีย เมื่อเขาร้องไห้ ส่วนเรากลับจะได้ ไฟไหม้บ้านหมดเลย เราก็ยังจะได้ ได้อะไรมาก ๆ ด้วยถ้าเราดูเป็น ถ้าเราดูไม่เป็น เราก็นั่งร้องไห้ มันก็มีเท่านั้นเอง นี่เรื่องดูให้ดีจะมีแต่ได้ ไม่มีเรื่องเสีย
          ดูให้เป็น ก็คือดูให้ละเอียดลออ เมือเป็นเรื่องทางจิตใจ ก็ต้องมีจิตใจที่เหมาะสมที่จะดู มันต้องมีการอบรมจิตใจให้เหมาะสมที่จะดุ ด้วยการที่เราทำวิปัสสนา ทำกรรมฐาน ทำอะไรต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นการอบรมจิตใจให้มันดี สำหรับจะดูเสียก่อน แล้วต่อจากนั่นก็ดู มันก็เห็นจริง ๆ ดูได้ดีจริง ๆ; มันก็แก้ปัญหาต่าง ๆได้
            ตรงนี้อยากจะเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจความหมาย ว่า ถ้าเป็นเรื่องเครื่องจักร เครื่องยนต์ กลไก ที่พวกช่างพวกนายช่างเทคนิค(Technician)ต่าง ๆ เขาดูที่เครื่องจักร กลไกที่กำลังเดินอยู่ เขาก็เห็นมากกว่าเราชาวบ้านโง่ๆ มากมาย นี่ก็ลองคิดดูซิ เมื่อทอดสายตาไปยังเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง ที่กำลังทำงานอยู่ พวกที่เป็นช่างเครื่องจักรกล เขาก็ดูและดูได้ดี มันก็เห็นได้ดีว่าเป็นอย่างไร ส่วนเราดูก็ดูไปอย่างนั้นแหละ เห็นว่ามันหมุนอยู่อย่างนั้น มันทำงานอยู่อย่างนั้น แต่เราไม่รู้ พวกนายช่างเขาจะรู้ลึกเข้าไปถึงกับว่า มันกำลังทำงานปกติ หรือมันมีส่วนไหนเริ่มผิดปกติแล้ว นี่เพียงแต่ตาดุ เขาก็รู้มากกว่าพวกเรา ที่เกือบจะไม่รู้อะไรนอกจากเห็นว่ามันหมุนไปเท่านั้น
        นายช่างคนนั้น เขาเอาหูฟังแต่ที่ไกล เขาก็รู้ว่า เครื่องจักรกำลังเป็นอย่างไร ที่ส่วนไหน ส่วนเราก็โง่ตามเคย หรือว่า นายช่างคนนั้น เขาเพียงแต่ได้กลิ่นเครื่องจักรที่กำลังเดินเท่านั้น เขาก็รู้ ว่าอะไรมันบกพร่อง ที่ตรงไหน นี่เขาดุลึกกว่าเราอย่างนี้
            พอมาถึงเรื่องธรรมะ เราก็พยายามเป็นผู้ชำนาญให้เหมือนกับนายช่างจักรกล ให้เป็นเหมือนกันทุกคนซิ คือรู้ว่า มันกำลังเป็นอะไรที่ตรงไหน ที่รูป ที่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไรที่ตรงไหน มันกำลังมีอะไรที่ตรงไหน มันมี โลภ โกรธ หลง หรือมีอะไรที่ตรงไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนั้นอาตมาอยากจะขอร้องว่า ให้รู้ว่า มันกำลังมี อิทัปปัจจยตา ในลักษณะอย่างไรและที่ตรงไหน เมื่อเราจะมองไปที่อะไร ที่คน ๆ หนึ่ง หรือที่สิ่งที่อยู่รอบตัวเรานี้ นี่ขอให้พยายามเป็นผู้ที่ดูอะไร ดูแล้วก็เข้าใจ ดูเป็น หรือดูอย่างแท้จริงกันอย่างนี้
            หรือว่านักดาราศาสตร์ แหงนหน้าดูดาว เขารู้มากว่าเราหลายร้อยเท่า เราโง่ แหงนขึ้นไปบนฟ้า เห็นดาวพรึบไปหมด แต่นักดาราศาสตร์ที่แท้จริง เขารู้ เข้าใจ เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับดวงดาวเหล่านั้นมากกว่าเราตั้ง 100 เท่าเป็นอย่างน้อย นี่มันต้องดูกันอย่างนี้
            หรือว่า ชาวประมง ดูทะเล ผู้เชี่ยวชาญการประมงทอดสายตาไปในทะเล เขารู้ว่าปลาอยุ่ตรงไหน ส่วนเราก็โง่ตามเคย ไม่เห็นแม้แต่สักตัวเดียวไม่รู้ว่าใต้ทะเลยเป็นอย่างไร
        หรือว่า นักแผนที่ เขาดูแผนที่ที่เขาทำขึ้นมาเอง นี่เขารู้เหลือเกินปลอดโปร่งเหลือเกิน ส่วนเราดูแผนที่ ก็เหมือนเป็นกระดาษ มีเส้นยุ่ง ๆ นี่มันผิดกันกี่ร้อยเท่า ขอให้คำนวณดูอย่างนี้
            หรือว่า หมอผู้เชี่ยวชาญ เห็นคนไข้ เขาก็เห็นได้ลึกกว่าเรา ว่าคนไข้กำลังเป็นอะไรอยู่ข้างในเท่าไร นี่เราก็ไม่รู้ หรือว่า พวกอุตุนิยมทั้งหลาย ที่เป็นนักวิชา เขาก็รู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เขาก็ดูเหมือนเรา แต่เขาเห็นมากกว่าเรา
            แม้ที่สุดแต่ว่า นกกะเต็นตามกวาง ที่โลดเต้นอยู่ในวัดนี้ มันก็เก่งกว่าเรามาก มันเอาปากสับลงไป ดึงขึ้นมาเป็นไส้เดือน ส่วนเรานี้ก็โง่ตามเคยเห็นแต่ดินธรรมดาเท่านั้นแหละ แต่นกนี้รู้ถึงขนาดว่า มันมีไส้เดือนอยู่ตรงนั้น เหมือนกับหลับตาเห็น เอาปากสับลงไปลึก ๆ ดึงขึ้นมาเป็นไส้เดือน ส่วนเราก็โง่คงจะอดตาย หากินไม่ได้ ถ้าไปเทียบกับนกเหล่านี้
            นี่เรียกว่า ดูอย่างดี คือมนดุเห็นอะไรมากกว่าธรรมดา อย่างนี้เราต้องอบรม เราจะดุธรรมทังปวงที่ดูสิ่งแวดล้อมตัวเรา เช่น เงินทอง ช้างของ ลูกเมีย บุตรภรรยาสมี เกียรติยศชื่อเสียง หน้าที่การงาน เราจะดูมันอย่างที่เรียกว่ามีสายตาอันแหลมคม เมื่อเทียบส่วนกันแล้ว ก็ให้เหมือนกับพวกช่างเทคนิคหรือพวกที่เชี่ยวชาญอะไรต่าง ๆ แต่นั้นมันเป็นเรื่องวัตถุ นี่มันเป็นเรื่องนามธรรม เรื่องภายใน เรื่องจิตใจ เราจะดูที่ธรรมะทั้งปวง ที่แวดล้อมเราอยู่เห็นเท่าไร เห็นอย่างไร เห็นเพียงไร เท็จจริงอย่างไร
        เดี๋ยวนี้เรามันเห็นน้อยเกิดไป เพราะอะไร? เพราะว่า ความกลัดกลุ้มของกิเลสนั้นมันออกหน้าเสียก่อนเสมอไป คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ร้ายกาจที่สุดที่ออกชื่อมาหลายคร้งหลายหนแล้วว้า อวิชชสสัมผัส คำนี้ก็เป็นคำสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างยิ่ง ในฐานะเป็นสิ่งที่ต้องระวัง อวิชชาสัมผัส! อวิชชาสัมผัส! ช่วยท่องจำกันไว้ให้ดี ให้คุ่กันกับคำว่า อิทัปปัจจยตา
            ถ้าไม่มีอวิชชาสัมผัสแล้ว อิทัปปัจจยตา ในภายในจะเกิดขึ้นไม่ได้ ก็จะไม่มีกิเลส-ไม่มีทุกข์ อวิชชาสัมผัสมันคู่กันกับ อิทัปปัจจยตา ถ้ามีอิทัปปัจจยตาก็เป็นที่แน่นอนว่า มันมีอวิชชาสัมผัสแล้วแต่ต้น หรือว่าถ้ามันกำลังมีอวิชชาสัมผัสนี้ มันจะต้องมี อิทัปปัจจยตา คือการเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ จักมีด้วยอาการอย่างนี้
            ฉะนั้นอย่าได้สัมผัสสิ่งใด ๆ ด้วยอวิชชาสัมผัสเลย แต่ด้วยการดูให้ดี จนเห็นสิ่งเหล่านี้ สิงที่แวดล้อมตัวเราอยู่นี้ เป็นอย่างดี จนอวิชชาสัมผัสเกิดขึ้นไม่ได้ นี่ถ้าถามว่าจะเห็นเท่าไร? เห็นอย่างไร? เห็นเพียงไร? ก็ตอบว่า เห็นในลักษณะที่อวิชชาสัมผัสเกิดขึ้นไม่ได้ ทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางผิวกาย ทางใจก็ตาม จะไม่สัมผัสสิ่งใด ๆ ด้วยการเผลอสติ หรือความประมาท หรืออะไรที่เรียกว่า อวิชชา นั้น
            แต่เรานี่ มันเหมือน ๆ กับทำเล่น คือไม่ได้ตั้งใจจริงที่จะควบคุมสติหรือควบคุมความรู้สึกต่อสิ่งทั้งปวง เราไม่กลัว เราไม่มีโอตตัปปะ ไม่กลัวความทุกข์เหล่านี้ แล้วเราก็ไม่ละอายแก่ใคร ๆ ว่า เราได้ปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นอย่างนี้ เราก็ไม่ละอายแก่คา ๆ เราเป็นคนไม่มีหิริ ไม่มี โอตตัปปะ คือไม่ละอายเป็นคนหน้าด้าน แล้วก็ไม่กลัว เหมือนกับคนบ้า ไม่รู้จักกลัวอะไร แต่ถ้าว่ามีความละอายอย่างพุทธบริษัท หรืออย่างชาวพุทธแล้ว ก็จะละอายมากเมื่อเผลอสติ; ถ้าว่ากิเลสเกิดขึ้นได้แล้ว ก็เป็นเรื่องที่ต้องละอายอย่างยิ่ง แล้วก็กลัวทุกข์ภัยในวัฏฏสงสารอย่างยิ่ง
            ถ้ามีความละอาย มีความกลัวอย่างนี้ มันก็จะเป็นเหตุอันแรก ที่ทำให้เราระมัดระวังสำรวมดี ในการที่จะไม่เผลอไปสัมผัสอะไรเข้าด้วยอวิชชาสัมผัส นี้เรียกว่าเราเกิดเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือว่าเป็นนายช่าง เป็น Technician อะไรขึ้นมาแล้ในการที่จะดุสิ่งต่าง ๆ หรือธรรมทั้งปวงที่แวดล้อมเราอยู่ แล้วมันก็จะเห็นจริงยิ่งขึ้นไปทุกที ลึกยิ่งขึ้นไปทุกที ว่า เพราะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น
            ข้อที่ว่า เพราะมีสิ่งนี่ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้นนั้น มันมีมากแม้แต่ความทุกข์ มันก็มีหลาย ๆ สิบอย่างหลายร้อยอย่าง ความสุขความเพลิดเพลินทางอารมณ์นี้ ซึ่งไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงอะไร มันก็มีมากมายหลายร้อยหลายพันอย่าง; แต่เมื่อเราดูเป็น ดูจริง ดูได้ดีจริงแล้ว จะเห็นง่าย ๆ เหมือนกับว่า มันมีอย่างเดียวเท่านั้นแหละ มันมีเพียงความเป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา ไม่มีร้อยอย่างพันอย่างอะไรขึ้นมาได้ เป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น คือเกิดมาจากการที่มีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น ทั้งนั้น
            ดังนั้น ความได้ ก็น่าสงสาร ความเสีย ก็น่าสงสาร ถ้าใครไปหลงความได้ ไปหลงความเสีย ไปหลงความดี ไปหลงความชั่ว ไปหลงบุญ ไปหลงบาป ไปหลงอะไรที่มันเป็นคู่ ๆ ๆ สำหรับให้หลงนั้น ซึ่งรามความแล้วมันก็หลงดี-หลงชั่ว นี่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่มันเกิดในความรู้สึกของมนุษย์เรา มันคือเรื่องหลงดี-ชั่ว
            แม้ว่า มันจะมีเพียงดีและชั่ว แต่วิธีที่จะหลงมันมีอีกหลายสิบอย่างหลาร้อยอย่าง หลายพันอย่าง หลงดีก็หลงได้  หลาย ๆ สิบอย่าง หลงชั่วก็หลงได้ หลาย ๆ สิบอย่าง ถ้าว่ามันรู้จักข้อเท็จจริง ความจริง หรือตัวจริงเสียอย่างเดียว มันจะไม่หลง ไม่หลงสักอย่างเดียว นั่นคือมีความรู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา ฉะนั้นจงพยายามสนใจในเรื่องนี้ สำหรับจะดูทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มันแวดล้อมอยู่รอบ ๆ ตัวเราซึงเราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ของเรา
          ตัวเรา มันคู่กันกับ ของเรา สิ่งที่เรียกว่า ของเรา นั้นมันต้องเรียกว่าอยู่นอกตวแสมอ แม้ว่ราอยู่ในร่างกายนี้ มันก็ต้องเรียกว่าอยู่นอกตัวเราเพราะมันเป็นของเรา ส่วนตัวเรานั้น คือตัวกุ ของเราคือของกู ของกูนั้นมันต้องอยู่นอกตัวกู แล้วก็มีมากอย่าง สำหรับตัวกูนี้มันจะได้หลงใหล คือโง่แล้วก็ลูบคลำสิ่งเหล่านั้นด้วยอวิชชา ก็เรียกว่า อวิชชาสัมผัสขึ้นมา; มันก็เกิดเรื่องคือจะเป็นทุกข์
        เรื่องสัมผัส 2 เคยพูดไปบ้างแล้ว ครั้งเดียวคราวเดียว บางคนอาจจะไม่เข้าใจ หรือลืมเสียแล้วก็ได้ ว่าสิ่งที่เรียกว่าอวิชชาสัมผัสนั้น มันสัมผัสด้วยอวิชชาแต่ว่ามันมี 2 ระยะ ระยะแรกเรียกว่า สัมผัสแห่งการกระทำ เรียกเป็นบาลีว่า ปฏิฆะสัมผัส ปฏิฆะในกรณีนี้ แปลว่าการกระทบ ไม่ใช่เป็นชื่อของกิเลส เดี๋ยวจะไปแปลเป็นชื่อของกิเลส แล้วเลยไม่รู้เรื่องกัน คำว่า ปฏิฆะ แปลว่าการกระทบ; ปฏิฆะสัมผัส คือสัมผัสแห่งการกระทบ เช่นตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส ผิวกายกระทบกับสิ่งที่มาสัมผัสผิวหนังของเรา แล้วก็จิตสัมผัสอารมณ์ที่มันเกิดขึ้นแก่จิต
            ปฏิฆะสัมผัสนี้ มันยังไม่เท่าไร คือยังไม่แน่นอนว่าจะสุขหรือจะทุกข์ ถ้าหากว่าในขณะนั้นมันเผลอสติ มันจึงจะแน่ ว่าการสัมผัสนี้จะนำไปสู่ความทุข์คือมันจะเกิดสัมผัสชั้นที่ 2 ขึ้นมา ที่เรยกว่า อธิวจนะสัมผัส”; อธิวจนะสัมผัสคือ สัมผัสด้วยใจล้วน เมื่อเสร็จเรื่องปฏิฆะสัมผัสแล้ว มันมีอะไรเกิดขึ้น ใจมันจะสัมผัสต่อสิ่งนั้นอีกครั้งหนึ่ง ครั้งหลังนี้เรียกว่า อธิวจนะสัมผัส : สัมผัสสักว่าชื่อเรียก เพราะมันเป็นนามธรรม
            สำหรับสัมผัสคู่แรกมันเป็นรูปธรรม ที่ว่าเป็นรูปธรรมนั้น เช่นตากับรูป หูกัเสีย จมูกกับกลิ่น ฯลฯ นี้รูปธรรมต่อรูปธรรมพบกัน นี้เรียกว่า กระทบ ใช้คำว่ากระทบคือ ปฏิฆะ ถูกต้องที่สุดแล้ว เช่นว่าเมื่อตาเห็นรูปแล้ว มันก็เกิดความรู้สึกไปตาม สัญญา ว่า รูปอะไร มีความหมายอย่างไร นี้มันเกิดเป็นความรู้สึกที่เป็น เวทนา ขึ้นมา คือรู้รส รู้ความอร่อยของการสัมผัสนั้นขึ้นมา ทีนี้จิตก็จะสัมผัสความอร่อยนั้นอีกครั้งหนึ่ง สำหรับจะเกิดตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งสัมผัสตอนหลังนี้ก็เรียกว่า อธิวจนะสัมผัส และเป็นตอนที่สำคัญที่สุด ถ้าเผลอก็เผลอตอนนี้
            ยกตัวอย่างเช่นว่า เราได้กลิ่นดอกไม้หอม เรียกว่าจมูกมีปฏิฆะสัมผัสกันเข้าแล้วกับกลิ่นดอกไม้นั้น ทีนี้ความรู้สึกต่อความหอมนี้ มันเป็นความรู้สึกอันหนึ่งซึ่งจะเป็นอารมณ์ของใจที่จะสัมผัสโดยวิธีของอธิวจนะสัมผัส ทีนี้จิตก็ไปสัมผัสโดยวีอธิวจนะสัมผัส ต่อความรู้สึกที่ว่าหอมหรือถูกใจนี้ ตอนนี้อวิชชาสัมผัสจะเต็มรูปขึ้นมาเป็นอวิชชาสัมผัสต่อเวทนานั้น มันก็เกิดตัณหา เช่นสมมติว่าดอกไม้หอม มันก็มีตัณหาที่จะได้ จะยึดครอง จะเด็ดดม จะอะไรไปตามเรื่องของตัณหา
            ฉะนั้นอวิชชาสัมผัสจึงทำให้เกิดเรื่อง เกิดสิ่งที่เป็นเรื่องเป็นราว เป็นอันตรายขึ้นตรงนี้ ทั้งท่างตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือทางจิตเองก็มี 2 ซ้อนอย่างนี้ : อันแรกเรียกว่า ปฏิฆะสัมผัส สัมผัสเพียงโดนกันเข้าพอให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แล้วมีผลอะไรเกิดขึ้นมา จิตก็จะสัมผัสซ้ำไปอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้เรียกว่า อธิวจนะสัมผัส; ถ้ามีสติได้ตอนนี้ ก็ดีเท่านั้นแหละ จะไม่มีเรื่องสำหรับที่จะเป็นทุกข์ แต่ถ้าเผลอไปก็เป็นอวิชชาสัมผัส สำหรับจะต้องเป็นทุกข์ไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงได้
            นี่แหละการที่เราจะดูอะไรให้ดี รู้อะไรให้ดี ควบคุมอะไรให้ดี ต้องรู้เรื่องสัมผัสอย่างที่ว่านี้ คล้าย ๆ กับว่าเราอยู่ในท่ามกลางโลกแห่งการสัมผัส คิดดูซิมันหลีกไปพ้นเมื่อไร เราอยู่ในดลกนี้ มันก็คืออยู่ในโลกแห่งการสัมผัส เดี๋ยวตา เดี๋ยวหู เดี๋ยวจมูก เดี๋ยวลิ้น เดี๋ยวกาย เดี๋ยวใจ ไม่มีอะไรใจมันก็คิดนึกเป็นอารมณ์ขึ้นมาได้ โดยมันสัมผัสอารมณ์นั้น; มีรสชาติอะไรเกิดขึ้นมา จิตมันก็จะยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์นั้น
            ทีนี้ มันเคยใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มามากแล้ว มันเก็บรักษาไว้ในสัญญา ในคลังของมัน มันจะเอาออกมาดู มาชม มาอะไรอีก เมื่อไรก็ได้ ฉะนั้นเรื่องของจิตมันจึงเป็นเรื่องที่ลำบาก ตอนที่มันคิดนึกเมื่อไรก็ได้ มันคิดนึกเอาอะไรมาคิดมานึกก็ได้ หนทางที่จะเกิดอวิชชาสัมผัสมันก็เกิดได้ทุกเวลา กระทั่งว่าฝันไปอย่างสนุกสนานก็ยังได้
            ข้อสำคัญก็คือว่า ทังหมดนี้ไม่มีอะไรมากไปกว่า อิทัปปัจจยตา; จะเป็นสัมผัสแรกก็ตาม สัมผัสหลังเกิด เวทนา ตัณหา อุปาทาน อะไรก็ตาม มันก็เป็นอิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นตัวความทุกข์ อย่างที่พูดกันมาอย่างซ้ำ ๆ ซาก ๆ แล้ว
            ขอเตือนให้สังเกต ให้รู้จักสังเกต จนเข้าใจเรื่องสัมผัส ว่าสัมผัสนั้นมีอยู่เป็น 2 ชั้น คือชั้นแรกเป็นการกระทบระหว่างอารมณ์กับอายตนะ มีผลอะไรเกิดขึ้นมา ใจก็สัมผัสมันอีกครั้งหนึ่งด้วยอธิวจนะสัมผัส พระพุทธเจ้าท่านได้ใช้คำสองคำนี้ ไม่ต้องบัญญัติขึ้นใหม่ ไม่ต้องไปยืมมาจากอภิธรรม หรือในอภิธรรมบางที่จะไม่มีด้วยซ้ำ แต่ว่าถ้ามีก็เอาไปจากสุตตันตะ ซึ่งเป็นพุทธภาษิตล้วน ๆ ว่าสัมผัสมันมีอยู่ 2 ชั้น อย่างนี้
            นี้เราก็รู้อยู่ว่า สิ่งภายนอกที่แวดล้อมรอบตัวเราอยู่นี้ มันจะให้เกิดอวิชชาสัมผัส : เงินของกู ทองของกู ลูกของกู เมียของกู บ้านของกู เรือนขจองกู อะไรของกูนั้นรอบ ๆ ตัวนั่นแหละ มันจะให้เกิดอวิชชาสัมผัสเสียเรื่อยไป ถ้าเกิดขึ้นเมื่อไรมันก็เป็นอันว่า ต้องมีความทุกข์เมื่อนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระวังจิตของเรานี้ เกี่ยวกับสิ่งภายนอกที่แวดล้อมรอบ ๆ ตัวเรานี้ ให้ดี ถ้าไม่มีอะไรเข้าไปเป็นอารมณ์แล้ว จิตมันไม่ทำอะไรได้
        การที่พูดว่า ระวังจิต ๆ ๆ นี้ก็ถูกเหมือนกัน; แต่ต้องระวังจิตที่มันจะไปสัมผัสอารมณ์ ฉะนั้นการพูดว่า ระวังอารมณ์นั้นมันก็ถูกเหมือนกัน เดี๋ยวนี้ มันกำลังอยู่ท่ามกลางอารมณ์ทั้งหลาย ที่รอบตัวเรา เราก็ต้องรู้จักมันว่า อารมณ์เหล่านั้น มันจะทำอะไรแก่เราบ้าง ถ้าเรารู้อย่างนี้ การระวังจิตมันก็ง่ายเข้า ถ้าเราไม่รู้เรื่องอย่างนี้เสียเลย การระวังจิตมันก็เป็นไปได้ยาก
        นี่แหละเข้าใจว่า ที่เราปฏิบัติธรรมไม่สำเร็จนี่ ก็เพราะบกพร่องใน 2 อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง : ระวังจิตก็ไม่เป็น ระวังอารมณ์ที่จะเข้ามากระทบจิตก็ไม่เป็น อะไรก็ไม่เป็น สติมันก็ไม่มีเพียงพอ
            ในวันนี้ก็จะแยกพูดกันถึงเรื่องว่า สิ่งที่มันแวดล้อมตัวเราเหล่านี้ ให้รู้จักมันให้ดี ควบคุมมันให้ได้ ในฐานะที่มันเป็นสักว่า อิทัปปัจจยตา
            ถ้าเรามีความรู้เรื่องอะไร ๆ รอบตัวเราทั้งหมดนี้ ว่าเป็นเพียง อิทัปปัจจยตาแล้ว การระวังจิตจะง่าย เพราะว่ามันได้เปรียบมาตั้งครึ่งตั้งค่อนแล้ว คือจิตมันรู้ว่าทังหมดนั้นมันเป็น อิทัปปัจจยตา มันก็เลยเฉื่อยชาไปเอง ที่จะไปหลงรัก หลงเกลียด หรือว่าจะไปยึดมันถือมัน
            ดังนั้นให้ขยันดูสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มาเกี่ยวข้องกับเรา ในฐานะเป็นเพียงอิทัปปัจจยตา ให้มาก ๆ เข้าไว้ มันก็มีทุกคน ตังแต่เด็กไปจนกระทั่งเข้าโลง มันก็มีเรื่องสำหรับยึดมั่นถือมั่น ที่จะเป็ฯทุกข์มากที่สุด ระหว่างเป็นเด็ก มันก็เป็นอย่างเด็ก ๆ เป็นเพื่อนเล่นกัน พอเป็นหนุ่มเป็นสาว มันก็เป็นคู่รักกัน พอแต่งงานมันก็เป็นผัวเป็นเมียกัน พอมันแก่เฒ่าแก่ชรา มันก็เป็นเพื่อนกันอีกสำหรับคอยมัจจุราช คนแก่อายุตัง 90 ตั้ง 100 เป็นผัวเป็นเมียกันนี้มันก็น่าหัววเต็มที มันเป็นไม่ได้ แต่มันก็เป็นเพื่อนกัน สำหรับที่จะเป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา
            ฉะนั้นจึงว่า นับตั้งแต่คลอดออกมาจนถึงเข้าโลง มีเรื่องสำหรับที่จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับ อิทัปปัจจยตา เป็นระยะ ๆ ๆไป มันเปลี่ยนมาก จนเราทำไม่ค่อยจะถูก เราคิดว่ามันมีเพียงอย่างเดียว ใช้วิธีเดียวกันตลอดไป อย่างนี้มันก็น่าหัวว น่าสงสาร; ที่ปฏิบัติธรรมะไม่สำเร็จ มันก็เป็นเพราะเหตุนี้ นี่จึงจะต้องสนใจข้อที่ว่า อิทัปปัจจยตา นี้ ให้มันถูกต้องทุก ๆ ระยะ คือทุกวัยทุกชั้นทุกระยะเวลานาทีของวัยหนึ่ง ๆ เพื่อให้การเป็นอยู่ในโลกนี้มันน่าดู ซึ่งเป็นความมุ่งหมายของความเป็นพุทธบริษัท
            เราเป็นพุทูบริษัทกันทำไม? ช่วยคิดกันหน่อยว่า เราเป็นพุทธบริษัทกันทำไม? เห่อ ๆ ตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย เราเป็นพุทธบริษัทกันทำไม พูดอย่างกิเลส ก็ว่าเราเป็นพุทธบริษัทให้ดีกว่าพวกที่ไม่เป็นอย่างนั้นหรือ? หรือว่าเราจะเป็นพุทธบริษัทเพื่อให้ได้เปรียบผู้อื่น พวกอื่น ในการที่เราจะตับความทุกข์นั้นก็ยังดี เพราะว่ามนุษย์ในโลกทุกคน มีหน้าที่ที่จะต้องดับทุกข์ให้แก่ตัวเอง ที่นี้เราเป็นพุทธบริษัท เชื่อว่าเราจะได้เปรียบ คือเราจะได้ดับทุกข์ได้ง่าย ดับทุกข์ได้เก่งกว่าพวกอื่น อย่างนี้ก็ยังดี ขอให้มันเป็นอย่างนี้เถอะ ว่าเราเป็นพุทธบริษัทเพื่อให้มันสะดวกดาย ในการที่จะทำความดับทุกข์
            ทีนี้เราก็ไม่มีอะไร มีแต่ศึกษาให้รู้เรื่องของพระพุทธเจ้า ว่า ท่านแนะให้ดับทุกข์อย่างไร? วิธีไหน? เดี๋ยวนี้ท่านก็พูดอยู่ชัดแล้วว่า ต้องรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา คือรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่อที่พระพุทธเจ้าท่านทรงเอามายืนยันว่าตถาคต จะเกิดหรือ ตถาคตจะไม่เกิด สิ่งนี้ยังเป็นอย่างนี้เนมอไป นี้มีอยู่ 2 เรื่อง เท่านั้นแหละ ที่พบในพระบาลีทั้งหมด คือเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรื่องหนึ่ง; แล้วก็เรื่อง อิทัปปัจจยตา ที่พระสวดเมื่อตะกี้นี้อีกเรื่องหนึ่ง; มี 2 เรื่องเท่านั้น
            เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กับเรื่อง อิทัปปัจจยตา มันเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะมันเป็น อิทัปปัจจยตา มันจึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าพูดแยกกันไป มันก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น ที่นี้มารวมเสียว่า อิทัปปัจจยา-เพราะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น ก็เหลือเรื่องเดียว ทีนี่อยากจะย่นอีก ย่นย่อให้สั้นเข้ามาอีกก็เหลือ ตถตา ตถตา แปลว่า อย่างนั้นเอง เป็นอย่างนั้นเองความเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น เป็นแต่อย่างนั้น คือตถตา ดังนั้นจะต้องรู้จัก ตถตา ถ้าพูดคำเดียว ทุกคนจะต้องรู้จักตถตา พุทธบริษัทจะต้องรู้จักตถตา จึงจะได้เปรียบคนเหล่าอื่นในโลก ในการที่จะแข่งกันทำความดับทุกข์
            คำว่า ตถตา นี้มีมากที่สุดในพระคัมภีร์ แต่ว่าด้วยเหตุใดก็บอกไม่ได้ที่พวกเราไม่เอามาพูดกันเลย แม้ในอภิธรรมปิฎกก็มีมากแห่ง แล้วางทีก็ใช้คำว่า ตถา แทนที่จะพูดว่าตถตา พูดแต่เพียงว่าตถา แทนที่จะพูดว่าอวิตถตา พูดแต่เพียงว่าอวิตถา อย่างนี้เป็นต้น
            ในบาลีบ่างแห่ง ตรัสเรียกชื่อของอริยสัจจ์ทั้งสี่ว่า ตถา (ความเป็นอย่างนั้น) ว่า อวิตถา (ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น) ว่า อนัญญถา(ความไม่เป็นโดยประการอื่น) แทนที่จะตรัสเรียกว่าอริยสัจจ์สี่ ดังนี้ก็มี
            ถ้าสมมติคาดคะเนเอาว่า การที่ยายแก่ตาแก่ของเราสมัยโบราณ บรรพบุรุษของเราพูดคำ ๆ นี้เป็น คือพูดว่า : อย่า ๆๆ อย่าคิดให้มากไปเลยลูกเอ๋ย หลานเอ๋ย มนเป็นอย่างนั้นเอง มันเป็นไปตามเรื่องของมันอย่างนั้นเอง; นี้มันคงจะเป็นเพราะว่า แผ่นดินที่ตรงนี้ เคยได้รับพุทธศาสนามานมนานแล้วอย่างถูกต้อง
            พูดไปแล้วมันก็จะหาว่าอวด ให้แก่บ้านเมืองของตัว เช่นบทกล่อมลูกเรื่อง มะพร้าวนาฬิเกร์ กลางทะเลขี้ผึ้ง อะไรนี่ มันก็ล้วนแต่เป็นเรื่องลึก ๆ เท่ากันกับเรื่อง ตถตา ทำไมพวกชาวบ้านบรรพบุรุษของเราแถวนี้ รู้เรื่องนี้ พูดอย่างนี้เป็น กล่อมลูกให้นอนด้วยข้อความอย่างนี้? เขาคงเคยเข้าใจ ได้รับประโยชน์มายุคหนึ่ง แล้วมันก็เสื่อมไปสลายไป เพราะคนรุ่นหลังโง่ลง ๆ; ควรจะได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ คือธรรมะที่บรรพบุรุษเคยไดรับประโยชน์มาแล้ว; เดาว่าเป็นสมัย 1200 กว่าปีมาแล้ว สมัยศรีวิชัย มีอาณาเขตตั้งแต่ชุมพรลงไปจนตลอดแหลมมลายู สุมาตรา ชวา มันคงจะเป็นอย่างนี้ มันจึงพูดคำนี้เป็น ไม่ใช่ว่าบังเอิญเป็นโดยธรรมชาติ; แต่เขว่ากันเป็น ในข้อที่ว่า มันเป็นอย่างนี้เอง มันเป็นอย่างนี้เอง ๆ มันไปตามเรื่องตามราวของมันเอง
        ทีนี้ถ้าใครเกิดนึกได้เอง พูดออกมาได้เอง คนั้นก็เก่งเท่าพระพุทธเจ้า ถ้าสมมติว่า มันมีใครคนหนึ่งรู้เรื่องนี้เอง และพูดได้อย่างนี้เอง โดยไม่ต้องอาศัยต้นตอมาจากพระพุทธเจ้า; แม้นี้ก็คือเรื่อง อิทัปปัจจยตา อย่างเดียวกัน
            เอาละทีนี้เราก็จะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียกว่าอิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นเครื่องที่จะเป็นคุ่มือ ไม่ใช่เครื่องมือเก็บไว้เฉย ๆ เครื่องมือที่เป็นคู่มือ คืออยู่ในมือ แล้วก็ใช้มันเรื่องเหมือนกัยไม้เท้านี้ ถืออยู่เรื่อย ใช้ให้เป็นประโยชน์อยู่เรื่อย; ให้มาใช้ อิทัปปัจจยตา ในฐษะนที่เป็นของคู่มือสำหรับป้องกันความทุกข์และกำจัดความทุกข์ออกไป เพราะว่าธรรมะทั้งหลายมันสรุปลงในธรรมะข้อนี้ พระพุทธศาสนาทังหมดทั้งสิ้นมันสรุปลงในคำนี้ จนกระทั่งว่าพระพุทะเจ้าท่านตรัสว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท คือ อิทัปปัจจยตา นี้
            ฉะนั้นการที่เราเห็นพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลานี้ มันก็เท่ากับว่า พระพุทธเจ้าอยู่กับเราตลอดเวลา แล้วจะเอาอย่างไรกันอีก เพราะฉะนั้นอย่าเผลอดสติในข้อนี้ก็แล้วกัน ให้มันพร้อมที่จะ อะไรเข้ามา-ก็อิทัปปัจจยตาออกไป พูดอย่างนี้มันง่าย แต่ทำมันยาก อะไรเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน จากสิ่งแวดล้อมเรานี้ทรัพย์สมบัติพัสถาน เงินทอง ข้าวของ บุตรภรรยา สามีอะไร มันเป็นอารมณ์อะไรขึ้นมากระทบ ก็ให้มันถูกกระเด็นกลับออกไปด้วย อิทัปปัจจยตา นั่นแหละคือทังหมดของพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นปริยัติ เป็นปฏิบัติ เป็นปฏิเวธ แล้วแต่จะเรียก; ถ้ารู้จักก็รู้อย่างนี้ ถ้าปฏิบัติ ก็ปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าได้ผลของการปฏิบัติ ก็ได้ผลอย่างนี้ นี้โดยหลักปริยัติก็ตาม ปฏิบัติก็ตาม ปฏิเวธก็ตาม มันมีแต่อย่างนี้ หัวใจของพุทธศาสนามีแต่อย่างนี้ เรามีไว้เป็นเครื่องมือ สำหรับที่จะเผชิญหน้ากับทุกสิ่งที่แวดล้อมตัวเราอยู่ตลอดเวลา ในชีวิตประจำวันทุกๆ วัน
            สิ่งที่มันแวดล้อมตาเราอยู่ตลอดเวลานั้น มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา มันเป็นอย่างนั้น มันไม่เป็นอย่างอื่น; แต่เรามันโง่ ไปรับเอามา เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง เป็นอย่างโน้นบ้าง ข้อนี้เราต้องไม่ลืมคำบรรยายครั้งก่อน ที่ชี้ให้เห็นว่า ทุกอย่างเป็น อิทัปปัจจยตา อยู่แล้ว มันเป็นอย่างนั้น มันเป็นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น; แต่พอมากระทบกับเรานี้ มันเปลี่ยนได้ตามความโง่ ความฉลาด ความรู้ ความไม่รู้ รู้มาก รู้น้อย ของเรา เช่นเงินไหลเข้ามานี้ เราจะต้อนรับมันในลักษณะอย่างไร มันแล้วแต่ความโง่ ความบาด ความอะไรของเรา; ผิดวิธีมันก็เป็นทุกข์ ถูกวิธีมันก็ไม่เป็นทุกข์ ตัวเงินนั้นแหละ โดยเนื้อแท้มันเป็นอิทัปปัจจยตา คือเป็นเงินเฉย ๆ อย่างนั้นแหละ; แต่พอมันเกี่ยวข้องกับเรา มันเปลี่ยนไปได้ ไปเป็นอะไรต่างๆ แล้วแต่ความโง่ ความฉลาดของเรา
            เดี๋ยวนี้ เราจะพูดกันทีเดียวหมด เพราะว่าไม่มีเวลาจะพูด : เรียกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แวดล้อมตัวเราอยู่ มันเข้ามาหาเรา เข้ามากระทบเรา เพื่ออะไร? เพื่อทำให้เราเป็นอย่างไร? ถ้ามันทำให้เกิด โลภะ โทสะ โมหะ ก็กลายเป็นว่า มันคือเครื่องมือหรืออะไรสำหรับมาทำให้เกิดทุกข์แก่เรา ได้เงิน ได้ทอง ได้อะไรก็ตาม พอได้เข้ามา ที่เรียกว่าได้ๆ กันนี้ มันก็ทำไปด้วยอวิชชาสัมผัส; ในบางกรณีก็เกิดความโลกเผาตัวเอง ในบางกรณีก็เกิดความโกรธเผาตัวเอง ในบางกรณีก็เกิดโมหะ ความโง่ผูกพันหุ้มห่อตัวเอง; นี่มันกายเป็นว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ให้เกิด โลภะ โทสะ โมหะ แก่เรา นี่เราไปโทษมัน เราก็โง่ที่สุด เพราะดูไม่ดี มีแต่ความฉิบหายหมด; ที่แท้มันไม่เป็นอะไร มันเป็น อิทัปปัจจยตา คือมันเป็นอย่างนั้นตามกฎเกณฑ์ของมันเอง มีแต่ความเป็นอย่างนั้น ทีนี้จิตนี้โง่รับเอามา สำหรับจะโลภบ้าง จะโกรธบ้าง จะหลงบ้าง; แล้วไปโทษมัน ไม่โทษตัวเอง นี้คือคนโง่
            แต่ถ้าคนที่ฉาดที่รู้แล้ว เขาจะไม่โทษสิ่งอื่น เพราะมันเป็นอย่างนั้นเอง แต่จะโทษจิตใจของเราเองที่มันไม่มีความรู้อะไร หรือว่ารู้แล้วยังบังคับไม่ได้; ไปโทษมันว่า มันเป็นเหยื่อสำหรับหลอกลวงเรา ทำไมไม่คิดว่า เรามันเป็นปลาโง่ เป็นปลาบรมโง่ ไปกินเหยื่อนั้น; ทำไมจะต้องไปโทษว่า เหยื่อนี้มันมาหลอกลวงเรา ไม่โทษตัวเองว่า เรามนเป็นปลาที่บรมโง่ ดังนั้นสิ่งทั้งหลายมันไม่ได้มีไว้สำหรับตกเบ็ดเรา ส่วนเรามันเป็นปลาโล่ ที่ไปทำสิ่งเหล่านั้นให้กลายเป็นเหยื่อขึ้นมา พอเรารู้ว่ามันเป็น อิทัปปัจจยตา มันจะเป็นเหยื่ออย่างไรได้ พอเรารู้ว่ามันเป็นอิทัปปัจจยตา มันก็เป็นเหยื่อแก่เราไม่ได้ มันก็คงเป็น อิทัปปัจจยตา
            เอาละ ทีนี้ไม่มากถึงอย่างนั้น ไม่โง่มากถึงอย่างนั้น เราก็คิดในแง่ที่ว่า โอ!  มันเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ อะไร ๆ มันก็เป็นประโยชน์หมด ดูซิ เห็นไม้ฟืนอะไรก็ได้เท่าที่เห็นอยู่นี้ ดิน ทราย กรวด หินนี้ เอาไปสร้างตึก สร้างคอนกรีตก็ได มันก็ยังเป็นประโยชน์; นี้มันไปหลงใหลในประโยชน์ ไม่มองเห็นอิทัปปัจจยจา นี้ก็ยังดี ยังดีกว่าที่ว่า มันจะเป็นเหตุให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง; คือเห็นสิ่งเหล่านี้ในฐานะที่เอาไปใช้ให้เป็ฯประโยชน์ได้ด้วย สติ ปัญญา: เอาไม้ไปทำฟืน เอาทรายเอาหินไปก่อสร้าง ฯลฯ
            ทีนี้ ถ้าดีกว่านั้นอีก มันก็ควรจะว่า มันเป็นเรื่องเห็นแล้วสบายตา สบายใจก็ได้ เช่นป่าไม้นี้มัน สบายตา สบายใจ เยือกเย็น ได้มานั่งอยู่ที่นี่ มันป้องกันไม่ให้เกิดความคิดนึกที่เป็นตัวกูของกู ให้หยุดให้เย็นเหมือนต้นไม้ เหมือนก้อนหิน เหล่านี้มันก็เป็นเครื่องสบายตา สบายใจ เย็นอกเย็นใจได้ แต่แล้วมันก็เป็น อิทัปปัจจยตา มันไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าอิทัปปัจจยตา แต่ว่าเรารู้จักใช้ เอาประโยชน์ความเยือกเย็นใจได้จากสิ่งเหล่านี้ ที่แวดล้อมเราอยู่ในเวลานี้ ที่บ้านก็เหมือนกัน บ้านเรือน ข้าวของ เงินทอง เครื่องใช้ไม้สอย มันจะเป็นอะไรแก่เราได้ทุกอย่าง ให้เกิด โลภะ โทสะ โมหะ ก็ได้ มากกว่านั้นก็ได้ หรือเอาไว้ดูเล่น ๆ สบายตาก็ได้ หรือว่าใช้ให้เป็นประโยชน์ตามปกติก็ได้
            ทีนี้ ที่ดีกว่านั้น มันก็ควรจะเป็นการศึกษา อะไร ๆ เข้ามาหาเราจัดให้เป็นการศึกษาไปเสียให้หมด แล้วก็อย่าลืมข้อที่พูดเมื่อตะกี้ว่า ดูให้ดี มีแต่ได้ ไม่มีเสีย ดูให้ดีมีแต่ได้ไม่มีเสีย อะไรเข้ามาหาเรา ก็ดูให้ดีไปเสียให้หมดมันก็มีแต่ได้ไม่มีเสีย ถ้ายุงมันมาตอมข้างหู ถ้าดูดีก็จะเห็นว่ามันมาร้องเพลงให้ฟัง มันก็ไม่ต้องโกรธ; คือว่าพยายามดูให้ดี ให้มีแต่ได้ ไม่มีเสียไว้เรื่อยไป ถ้ามันทำให้ต้องจ่ายเงินไปมาก มันก็ต้องเอาประโยชน์มาให้ได้มาก คือว่าให้ได้ความรู้ หรือมันสอนอะไร ๆ ที่มันลึกซึ้ง ที่ตามธรรมดา มันสอนกันไม่ได้
        ความเจ็บ ความไข้ ความตาย นี้มันก็มาสอน ต้องถือเอาประโยชน์จากมันให้ได้ ดังนั้นเป็นอันว่า เราไม่มีความทุกข์ เพราะอะไร ๆ มันเป็นการได้ไปหมด ไม่มีเสียเลย ลองคิดดูซิ! มันไม่มีอะไรมาทำให้เป็นการเสีย มันมีแต่ได้ ได้สิ่งที่ควรจะได้ คือความรู้ อิทัปปัจจยตา ต่อสิ่งทั่งหลายทั่งปวง ที่มาแวดล้อมเรานี้; อย่างนี้มันเป็นการศึกษาไปหมด ตั้งแต่อย่างต่ำที่สุดไปจนถึงอย่างสูงที่สุด
            พวกนักวิทยาศาสตร์ เขาพบวิชาความรู้ขึ้นมาในโลกมากมาย จนไปโลกพระจันทร์ได้ ก็เพราะว่า เขาต้อนรับสิ่งทั้งหลาย ในลักษณะที่เป็นการศึกษาไม่ต้อนรับในลักษณะที่จะให้มันเกิดกิเลส หรือยุ่งกันอยู่แต่กับความทุกข์ ดังนั้นเขาจึงเจริญก้าวหน้าเรื่องของการศึกษา ทีนี้เรื่องธรรมะนี้ก็เหมือนกัน ควรรู้จักศึกษาให้ลึกไปกว่านั้น คือเห็น อิทัปปัจจยตา ไว้เรื่อยไป มันก็เป็นการศึกษาชนิดที่เรียกว่าสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ ตรงกันข้ามไปหมด กับที่ปุถุชนคนธรรมดาสามัญเขาใช้กันอยู่
            ปุถุชนเรียกว่าไม่ได้ยินได้ฟังธรรมะของพระอริยเจ้า นั้นก็คือไม่มีการศึกษา ฉะนั้น จึงต้อนรับสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ในลักษณะที่เป็นทุกข์ กลายเป็นแส่ไปหาความทุกข์ ทีนี้พระอริยสาวก คือผู้ที่ได้รู้ ได้ฟัง ได้ถูกแนะนำดีในธรรมวินัยของพระอริยเจ้า มันก็ตรงกันข้าม นี่คือมีการศึกษาดี ข้อนี้เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า  เราเป็นผู้ที่หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด สิ่งไฟไว้ในทีมืด เพื่อให้คนเขาเห็นสิ่งต่าง ๆ เมื่อใครเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เขาก็สรรเสริญพระพุทธเจ้าอย่างนี้กันทั้งนั้น และพระพุทธเจ้าเองท่านก็ตรัสในทำนองว่าพระองค์เป็นเพียง ผู้ อะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่านั้น: เพียงแต่เป็นผู้เปิดของที่มันปิดอยู่ หงายของที่มันคว่ำอยู่ แล้วก็ส่องตะเกียงไว้ในที่มืด คนมีตาก็เห็นเอาเองก็แล้วกดัน ดูเอาเอง รู้เห็นเอาเอง
            พระพุทธองค์ท่านไม่ได้ทรงอวดอ้างว่าเป็นผู้สร้างอะไร ไม่ใช่พระเจ้า ไม่ใช่ผู้สร้าง ไม่ใช้ผู้บังคับธรรามชาติอะไรได้; ทรงสารภาพว่า ตถาคตจะเกิดหรือตถาคตจะไม่เกิด ก็ไม่มีความหมายแก่ อิทัปปัจจยตา มันเป็นอย่างนั้นของมันเอง; แต่มีความหมายตรงที่ว่า ได้เห็นสิ่งนี้ ได้เข่าถึงสิ่งนี้ ครั้นเข้าถึงสิ่งนี้แล้ว เห็นสิ่งนี้แล้ว ย่อมแสดง ย่อมบอก ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำเหมือนกับการหงายของที่คว่ำ; นี้ท่านทรงยืนยันในข้อนี้
            ทีนี้ พอเราศึกษาสิ่งที่แวดล้อมตัวเราในลักษณะอย่างนี้ เราก็เป็นผู้ที่ทำให้พระพุทธประสงค์สำเร็จได้ คือเราได้รับการหงายของที่คว่ำ พูดอีกทีหนึ่งก็ว่า เรานี้หงายของที่คว่ำตามแบบของพระพุทธเจ้า ตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงแนะนำไว้
            อย่าลืม ต้องนึกถึงข้อที่ว่า ทุกคนต้องเดินเอง ปฏิบัติเอง ตถาครต เป็นแต่ผู้ชี้ทาง ท่านหงายของที่คว่ำ ก็หมายความว่าชี้วีที่เราจะมาหงายได้เอง เพราะว่าการรู้สึกหรือการเห็น หรือการบรรลุธรรมนี้ มันทำแทนกันไม่ได้ มันทำให้ดูอย่างของธรรมดานี้ก็ไม่ได้; เพราะมันเห็นอยู่ข้างใน ฉะนั้นคนนั้นต้องรู้จักทำเอาเอง ทำลายกิเลสเอง รู้แจ้งเอง ตรัสรู้เอง แล้วก็เห็นเอง ถ้าเรารู้จักดูทุกสิ่งที่แวดล้อมอยู่รอบ ๆตัวเรา ในลักษณะที่เป็น อิทัปปัจจยตา เราก็คือผู้ที่สามารถหงายของที่คว่ำอยู่ อย่างที่พระพุทะเจ้าท่านสอน ท่านต้องการ
            ทีนี้ มันก็ไม่มีปัญหาอะไร เมื่อเห็นทุกอย่างเป็น อิทัปปัจจยตา อย่างถูกต้อง มันก็จะเป็นไปเอง ทีนี้มันจะเป็นไปเอง ถ้าเห็น อิทัปปัจจยตา อย่างถูกต้องแล้ว มันจะเป็นไปของมันเอง คือว่าจะเกิดนิพพิทา
            นิพพิทาที่ว่านี้หมายถึงความเบื่อหน่าย สำหรับความเบื่อหน่ายของคนธรรมดานั้นไม่ใช่นิพพิทา : ความเอือมระอาเพราะว่าซ้ำซาก หรือว่าซ้ำซากมากเข้ามันก็เกิดความเบื่อรำคาญ ความเอืมระอาของคนธรรดมอย่างนี้ยังไม่ใช้นิพพิทาเพราะมันยังไม่เฉย แต่ความเบื่อหน่ายที่เป็นนิพพิทาอย่างแท้จริงนั้นมันเฉยได้ ถ้าเบื่อหน่ายเพราะว่ารำคาญอย่างนี้ไม่ใช่นิพพิทา; เบื่อหน่ายแล้วยังเกลียด ยังรำคาญยังอะไรอยู่ อย่างนี้มันไม่ใช่นิพพิทาที่ต้องต้อง นิพพิทาที่ถูกต้องมันเฉยได้ด้วยเหตุว่า มันเริ่มไม่มีความทุกข์ คือเมื่อมีความเบื่อหน่าย ก็มีความคลายกำหนัด ไม่ยึดมั่นถือมั่น แล้วก็มีวิมุตติ ความหลุดพ้น
            ข้อนี้อย่าไปหาที่อื่น อย่าไปหานิพพิทา วิราคะ วิมุตติที่อื่น; จงหาจากการมองเห็น อิทัปปัจจยตา ที่มีอยู่ในสิ่งทั้งปวง หรือว่าเป็นตัวสิ่งทั้งปวง
            สำหรับข้อนี้มี 2 ความหมาย พูดมาหลายหนแล้ว เดี๋ยวจะลืมกันเสีย ว่าทุกอย่างนี้เป็นตัว อิทัปปัจจยตา ด้วย แล้วเป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา ด้วย เช่นต้นไม้ต้นนี้ มันมีความเปลี่ยนแปลง; คือมันเป็นไปตามกฎที่ว่า เพราะปัจจัยนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น แล้วเพราะปัจจัยนี้เกิดขึ้น ฯลฯ นี้เรียกว่าต้นไม้นี้เป็นตัว อิทัปปัจจยตา แล้วความที่มันเป็นอย่างนั้น มันย่อมเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา: กฎเกณฑ์สากลกฎเกณฑ์ทังหมดทั่วไปนั้น มันเป็นกฎอยู่อย่างนั้น ฉะนั้นความที่มันเป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา ก็ดี หรือความเป็นอย่างนั้นก็ดี มันเป็น อิทัปปัจจยตา เสมอกัน
            เมื่อเราดูสิ่งทั้งปวงที่แวดล้อมตัวเราอยู่ ในลักษณะอย่างนี้ ก็กลายเป็นว่า การดูนั้น เป็นประโยชน์แก่การเกิดขึ้นแห่งนิพพิทา วิราคะ และวิมุตติ คิดดูซิ มันไม่ใช่เล็กน้อยเสียแล้ว การรู้จักมองสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่แวดล้อมตัวเราอยู่อย่างถูกต้อง กฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา นั้น การมองดูนั้นจะทำให้มีผลดี นำมาซึ่งการเกิดขึ้น แห่ง นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ แต่แล้วแม้อาการอย่างนี้มันก็ไม่พ้นไปจาก ความเป็น อิทัปปัจจยตา
            สำหรับข้อที่ว่า ทำไม นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ จึงเกิดขึ้นแก่จิตนี้? มันก็เกิดขึ้น เพราะกฎของ อิทัปปัจจยตา เพราะมีการเห็นอย่างนี้ มันจึงเกิดขึ้น
            การเห็นอย่างนี้มีได้ เพราะว่ามีการพิจารณา หรือการดูอย่างถูกต้องว
            การพิจารณา การดูอย่างถูกต้อง มันมีได้ เพราะได้รับการศึกษา อบรมดี ปฏิบัติดีว
            การได้รับการศึกษา สั่งสอนอบรมดีมีได้ เพราะว่าได้นั่งใกล้พระอริยเจ้า จึงมีโอกาสได้รับการศึก อบรมดี;
        การที่ได้นั่งใกล้พระอริยเจ้า ก็เพราะได้เกิดมาในยุคสมัยที่มันเหมาะ ในแผ่นดินที่มีพระอริยเจ้า ถ้าไปเกิดในสวรรค์เสีย บางทีก็จะแย่ จะไม่มีโอกาสที่จะได้ฟังสิ่งเหล่านี้ได้ง่าย ๆ เพราะว่าในพวกเทวดา หรือในหมู่คนที่เขาเป็นอยู่อย่างพวกเทวดานั้น เขาไม่สนใจกับเรื่องเหล่านี้; ดังนั้นมันก็ต้องเหมาะสำหรับผู้ที่จะไม่หลง เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท มันจึงจะมีจิตใจเหมาะสม แล้วก็ไม่เสียทีที่เกิดมาในความเป็นมนุษย์ และได้พบพระพุทธศาสนา
            ขอให้ถือเอาข้อนี้เป็นโชคดีก็แล้วกัน ว่าได้เกิดมาเป็นมนุษย์; นี้ดีอย่างหนึ่งแล้ว แล้วเผิญว่าเกิดในยคุที่มีพระพุทธศาสนาด้วย นี้ก็เป็นโชคดีอีกอย่างหนึ่ง; แล้วก็ได้ฟังเรื่องนี้ด้วย นี้ก็เป็นโชคดีอีกอย่างหนึ่ง; แล้วก็ได้เข้าใจธรรมข้อนี้ด้วย นี้ก็เป็นโชคดีอีกอย่างหนึ่ง; แล้วก็ได้ปฏิบัติถูกต้องด้วย; แล้วมันก็เกิด นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ ขึ้นมา
            ข้อนี้มันจะสำเร็จอยู่ที่ว่าเรารู้ มีความรู้ใน อิทัปปัจจยตา รู้จักใช้มันให้เป็นประโยชน์ สิ่งทั้งหลายแวดล้อมตัวเราอยู่นี้ มันก็จะกลายเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความดับทุกข์โดยถ่ายเดียว เพื่อเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเห็น อิทัปปัจจยตา ตถตา แล้วแต่จะเรียก
            ข้อที่ว่าให้ดูสิ่งทั้งหลายทั้งปวง โดยความเป็น อิทัปปัจจยตา เป็นคำพูดสั้น ๆ พูดก็ง่าย แต่เรื่องปฏิบัตินั้นมัจจะยากหรือไม่ยาก ก็แล้วแต่บุคคลนั้น ๆ ถ้า อิทัปปัจจยตา หลายคำจำยากก็ว่า ตถตา; ภาษาจีน ยิ่งจำง่าย ภาษจีนว่า ยู่สี ยู่สี แปลว่า ตถตา-ความเป็นอย่างนั้น; ไม่เป็นอย่างอื่น มีแต่ความเป็นอย่างนั้น นี้ไม่ใช่เราว่าเอาเอง มันต้องถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาตินั้นด้วย
            คนที่มี ยู่สี จะกลายเป็น ยู่ไล้ คือพระตถาคต คำจีเขาจำง่าย ลุ่นๆ สัน้ๆ อย่างนี้ เป็นได้ก็เพราะเห็นว่าโลกทั้งโลกเป็นมายา : โดยปรากฎการณ์ที่มันแสดงแก่เรานี้เป็นมายา; โดยรสชาติทีมันจะมาให้แก่จิตใจนี้ก็หลอกลวงคือเป็นอัสสาทะ เห็นรสอร่อย ทำให้เกิดความลุ่มหลง นี่ที่มันแสดงแก่เรา มันก็หลอกลวง; ที่มันมาชิม มาร่อยที่ลิ้น ที่อะไร มันก็ยังเป็นเรื่องหลอกลวง ดังนั้นเราจะต้องมีของคู่มือ อาวุธคู่มือเข้าไปเกี่ยวข้องกับมัน ในลักษณะที่ถูกต้องอย่างที่พูดมาแล้วตั้งร้อยครั้งพันครั้งว่า : เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น โดยไม่ยึดมั่นถือมั่น เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้นโดยไม่ยึดมั่นถือมั่น นั่นแหละคือบทสรุปของการปฏิบัติเกี่ยวกับหลักของ อิทัปปัจจยตา
            เดี๋ยวนี้ เรามันพ้อมที่จะยึดมั่นถือมัน แล้วเราไม่ยอม ไม่ยอมคลายความยึดมั่นถือมั่น; เรามีข้อแก้ตัวเสมอที่จะยึดมั่นถือมั่น แล้วจะมีจะหาสิ่งต่าง ๆ ยึดมั่นถือมั่นได้เสมอ กระทั่งการยึดมั่นพระนิพพาน นี้คือความงมงายอันสุดท้าย มันยึดมั่นถือมั่นกระทั่งพระนิพพาน เหมือนที่เป็น ๆ กันโดยมากนั่นแหละ ถ้ายึดมั่นพระนิพพาน จนตายแล้วตายอี ก มันก็ไม่มีโอกาสพบพระนิพพาน
            พวกนักวิปัสสนาเป็นบ้ากันเป็นฝูง ๆ นี้ มันก็เพราะยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่ควรหรือไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่น เพราะว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้นไม่ถูกต้อง พวกชาวบ้านร้านตลาดก็เหมือนกัน ที่ไปอยู่โรงพยาบาลโรคประสาทโรคจิตมากขึ้นทุกที ที่ยังไม่ได้ไปอยู่ยังอีกแยะ นี่ก็เพราะว่ามันเป็นโรคความยึดมั่นถือมั่น นี่จึงว่าอย่าทำเล่นกับ อิทัปปัจจยตา
            ดังนั้นขอให้ช่วยกันปรับปรุงตัวเสียใหม่ ให้มันพอใจให้ยินดีในบรมธรรมอันสูงสุด คือความรู้ข้อนี้; ให้พอใจในธรรม ต้องมีจิตใจสูง อย่ามีจิตใจต่ำ จิตใจตำเป็นได้แต่เพียงคน จิตใจสูงก็เป็นมนุษย์ ที่นี้ ธรรมะกับคน นี้มันอย่างหนึ่ง ธรรมะกับมนุษย์ มันอีกอย่างหนึ่ง ถ้า ธรรมะกับคน แล้ว คนมันเกลียดธรรมะ ดูให้ดี ธรรมะกับคนปุถุชนธรรมดาสามัญนี้ มันเกลียดธรรมะ มันต้องการอะไรที่เป็นของกู ตัวกะ-ของกู เงินของกู ทองของกุ นี้คนธรรมดาเข่าต้องการอย่างนี้ เขาเลยเกลียดธรรมะ ถ้าเป็นมนุษย์ จิตใจมันสูง มนจะค่อย ๆ ละวางจากเหยื่อเหล่านี้ มันจะไปหาธรรมะ จะชอบธรรมะมากขึ้น
        ฉะนั้นเราพูดให้จำกัดความได้ว่า คนกับมนุษย์ต่างกัน คนนี้คือใจยังไม่สูง; ฉะนั้นเขาจึงเกลียดธรรมะ ถ้าเป็นมนุษย์ใจสูงพอ เขาก็จะค่อย ๆ รักธรรมะ พอใจธรรมะ ชอบธรรมะ กระทั่งเป็นธรรมะไปเลย จนไปถึงที่สุดเป็นพระอรหันต์ เป็นธรรมะไปหมดทั้งเนื้อทั้งตัว
            ถ้ายังเป็นคนปุถุชนเป็นพาล ปุถุชนอย่างมากนี้ จะเกลียดธรรมะ เหมือนกับที่คนทุกคนกำลังเกลียดธรรมะอยู่ในเวลานี้ มีเรื่องอาละวาด มีปัญหาวัยรุ่น อันธพาล วัยรุ่นอาละวาด ไปดูซิ ทังหมดนั้นไม่มีอะไรนอกจากเกลียดธรรมะ เพราะไม่รู้จักธรรมะ ไม่มีใครทำให้เข้ารู้จักธรรมะ ก็กำลังเป็นปัญหาเป็นอันตราย แล้วจะมากขึ้นทุกที แล้วก็จะเลวมากยิ่งขึ้นทุกทีในโลกนี้ โลกเกลียดธรรมะนี่แหละ แล้วโลกนี้ก็จะเป็นอะไรเป็นอย่างไรก็คอยดูก็แล้วกดัน นี่ถ้ามันเป็นคนอย่างนี้ มันจะเกลียดธรรมะ เปรียบเหมือนกับว่าไก่ ไก่กับพลอย นิทานสอนเด็ก ไก่สมัครเอาข้าวสารเม็ดหนึ่ง เพชรพลอยสักกอบสักกำก็ไม่ต้องการ มันเป็นไก่ มันไม่เพียงเฉย แต่จะถึงกับเกลียด
            มีคนเขาเล่าให้ฟังว่า ลิงนี้มันเกียดกะปิด จริงหรือไม่จริง เท็จจริงอย่างไรก็ไม่ทราบ ลิงนี้เกลียดกะปิ ถ้าจะให้ลิงตายก็เอากะปิดทาที่มือมัน มันเกลียดกะปิดมันทนไม่ได้ มันจะวิ่ง มันจะไปเช็ด เช็ด ๆ ๆ จนเนื้อหาด เช็ดจนเนื้อขาดเลือดไหล ถ้ามันยังได้กลิ่นกะปิ มันก็จะเช็ดอยู่นั่นแหละ จนมือเหลือแต่กระดูกมันเกลียดกะปิ เพราะมันเป็นลิง นี่พูดเปรียบเทียบน้ำหนักของความที่มันเกลียด ถ้ามันเกลียดจริงมันก็เกลียดกันอย่างนั้น เดี๋ยวนี้เราเป็นคนแล้วก็เกลียดธรรมะ อยากได้แต่เงิน อยากได้แต่ความเอร็ดอร่อยทางเนื้อทางหนัง เมื่อความรู้เรื่องอันนี้ครอบงำมากเข้า ๆ ก็ไม่เห็นแก่ธรรมะ ไม่รู้จักธรรมะ จนธรรมะไม่มีในโลก พระเจ้าตายแล้ว เขาจะพูดแต่อย่างนี้ มากขึ้นในโลกนี้ทั้งโลก
            แต่ถ้าว่าเขาเป็นมนุษย์ใจสูงสว่างไสว จิตใจได้รับการหงายจากที่คว่ำ เห็นอะไรพอสมควรแล้ว เขาก็จะชอบธรรมะ พอใจธรรมะ เป็นธรรมกามะ ธรรมนันที ธรรมราคะไปเลย ธรรมกามะแปลว่า รักธรรมะ ธรรมนันทิแปลว่า เพลิดเพลินในธรรมะ ธรรมราคะแปลว่ากำหนัดหลงใหลในธรรมะ แต่นี่เพราะเขาเป็นมนุษย์ เหมือนกับไก่กับเม็ดข้าวสาร มันชอบเพียงขนาดนั้น มันไม่ชอบเพชรพลอย แต่มันก็ชอบเม็ดข้าวสาร; เมื่อสิ่งมันไม่ชอบกะปิด มันก็ชอบผลไม้ชอบเปี้ยว ชอบปู ชอบอะไรไปตามเรื่อง ถ้ามันถูกฝาถูกตัวกันเข้าอย่านี้ เรื่องมันก็ไปดี ไม่มีความทุกข์
            ฉะนั้นขอให้เราทุกคนพุทธบริษัท ช่วยกันทำหัวใจของพระพุทธศาสนาให้ออกมาปรากฏ เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง แล้วก็เป็นการช่วยเพื่อนมนุษย์ทั้งโลก ให้ได้เครื่องมือเครื่องคุ้มครอง อย่าให้ดลบกนี้ล่มจมไปด้วยอำนาจของกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลงเลย; ตัวเราก็ได้รับประโยชน์ เพื่อนมนุษย์ทั้งโลกก็พลอยได้รับประโยชน์ เพราะความรู้อันถูกต้องของพระพุทธเจ้า ที่ได้ออกมาสู่ความรู้ ความเข้าใจ บรรดาการศึกษาการปฏิบัติของมนุษย์แล้ว ไม่มีอะไรที่จะสำคัญเท่ากับเรื่อง อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นความจริงสูงสุดในทุกแง่ทุกมุม; แล้วจะเป็นที่พอใจให้แก่ทุกคน จะเป็นศาสนาที่ยอมรับได้แม้แต่คอมมิวนิสต์ หรือยิ่งกว่าคอมมิวนิสต์หรืออะไรก็ตามใจ ถ้าเอาศาสนาที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้าออกมาพิสูจน์เผยแพร่กันแล้ว ทุกคนที่มีสติปัญญาจะต้องชอบ
            ฉะนั้น เราหวังอยู่ว่า ถ้าพวกเราพุทธบริษัททุกคน ช่วยกันไป ๆ อย่าท้อถอย ช่วยทำให้ธรรมะอันแท้จริงนี้ ออกมาสู่ความรู้สึกของคนในโลกสมัยนี้ให้มากยิ่งๆขึ้นไป นี่เราก็ได้พยายามกันมาเรื่อย ๆ ทุก ๆ วันเสาร์ ตามกลำลังสติปัญญาความสามารถที่เราจะทำได้ที่นี่ ด้วยความไม่ท้อถอย ด้วยความร่วมมือของท่านทังหลายที่จะนำไปเผยแผ่ให้รู้กันมาก ๆ ออกไป ฟังกันอยู่ที่นี่เพียงไม่กี่คน แต่ถ้าว่าเอาไปพูดต่อ ๆ กันไปมันก็จะรู้กันมากคน หรือว่าเอาไปพิมพ์เผยแผ่ให้มันมากเข้า มันก็คงจะสำเร็จประโยชน์บ้าง ด้วยความหวังอย่างนี้ จึงมีความตังใจที่จะพูดเรื่อง อิทัปปัจจยตาตลอดเวลา 3 เดือน
            วันนี้ก็พอกันที ขอยติการบรรยายไว้แต่เพียงเท่านี้ ให้โอกาสพระสงฆ์สวดคำตักเตือนของพระพุทะองค์เป็นที่กระตุ้นเตือนจิตใจอีกวาระหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น