วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อิทัปปัจจยตา 12 ในฐานะที่เป็นกฎแห่งกรรม กรรม และกัมมักขัย(ต่อ)

เสาร์ที่ 18 มีนาคม 2515
          ท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย
            การบรรยายเรื่อง อิทัปปัจจยตา ในครั้งที่ 12 นี้ จะได้กล่าวโดยหัวข้อว่า อิทัปปัจจยตา ในฐานะเป็น กฎแห่งกรรม เป็นกรรม และเป็นความสิ้นแห่งกรรม ต่อจากครั้งที่แล้วมา ซึ่งบรรยายไม่จบ
            เกี่ยวกับข้อนี้ มีสิ่งที่ต้องการทำความเข้าใจกันบ่างอย่าง สักนิดหนึ่ง คือว่าคำบรรยายนี้เป็นคำบรรยายชุด จำเป็นที่จะต้องว่าไปตามลำดับ ตามที่กำหนดไว้ในชุด; ดังนั้นบางท่านที่เพิ่งจะมาฟังเป็นครั้งแรก ครั้งใดครั้งหนึ่งนั้น อาจจะไม่ค่อยเข้าใจข้อความเหล่านั้นก็ได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่เนื่องมาจากข้อความในการบรรยายครั้งก่อน ๆ นี้มันเป็นธรรมดาของการบรรยายชนิดที่เป็นชุด
            เรื่อง อิทัปปัจจยตา นี้ก็มีลักษณะเป็นชุด มี 13 ครั้งด้วยกัน ฉะนั้นถ้าท่านผู้ใดไม่เข้าใจในตอนไหน ก็ต้องแสวงหาความเข้าใจเพิ่งเอาเองเป็นพิเศษ จากคำบรรยายทั้งชุด ที่แล้วมาก็มีการทบทวนอยู่เสมอว่า ทำไมจึงบรรยายเรื่อง อิทัปปัจจยตา? นี้ขอทบทวนซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยไม่ต้องกลัวใครจะรำคาญว่า เพราะมีความต้องการจะให้คำว่า อิทัปปัจจยตา นี้ กลายมาเป็นภาษาสำหรับชาวบ้านพูด ถึงกับว่าถ้าจะพลั้งปากอะไร ก็ควรจะพลั้งปากเป็น อิทัปปัจจยตา; เมื่อตกใจอะไรขั้นมาก็จะนึกได้ว่า อิทัปปัจจยตา มันจะหายตกใจ; หรือมันดีใจอะไรขึ้นมากก็จะว่า อิทัปปัจจยตา มันก็จะหายตื่นเต้น หรือจะหายอวดดีในที่สุด
        อิทัปปัจจยตา เป็นหัวใจของพุทะศาสนา คือแสดงความไม่เป็นอย่างไรหมดนอกจากความเป็นที่ว่า เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น อย่างนี้เหมือนกันหมด ทั้งเรื่องสุข เรื่องทุกข์ เรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องบาป เรื่องได้ เรื่องเสีย เรื่องอะไรก็ตาม มันจะเหมือนกันหมดตรงที่ว่า มันเป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย แล้วสิ่งนี้ ๆ ย่อมเกิดขึ้นตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ คนต่างหากมันโง่ไปเอง จะชอบสิ่งนั้นหรือฝ่ายนั้น แล้วก็เกลียดสิ่งนี้หรือฝ่ายนี้ นี้มันเป็นความหลง ที่เรียกว่า อวิชชาหรือโมหะ ไม่รู้สิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง มันจึงได้รกฝ่ายหนึ่งเกลียดฝ่ายหนึ่ง ยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง ฟู ๆ บ้าง แฟบ ๆ บ้าง ไปตามประสาของคนที่ไม่รู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา แม้จะพลั้งปากเพราะตกใจอะไรออกมา มันก็พลั้งปากออกมาเป็นการแสดงความโง่; หรือเมื่อมันดีใจตื่นเต้นอะไรนัก มันก็หลุดปากออกมา เป็นการแสดงความรู้สึกของคนที่หลงใหลในสิ่งที่ตนได้
            เดี๋ยวนี้อยากจะให้คำว่า อิทัปปัจจยตา กลายมาเป็นภาษาของชาวบ้าน คุ้นเคยกับการพูดจา มีอะไรเกิดขึ้นก็มีสติว่า อิทัปปัจจยตา แล้วก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย เป็นปรกติอยู่ได้ อย่างนี้เรียกว่าสมกับความเป็นพุทธบริษัท ขอให้ท่านทั้งหลายทนฟัง แล้วก็ทนศึกษาเรื่อง อิทัปปัจจยตา กันต่อไป นี้คือสิ่งที่ต้องขอทบทวน มันถึงเวลาแล้ว ถึงสมัยแล้ว ที่พุทธบริษัทควรจะขึ้นไปให้ถึงขนาดของความเป็นพุทธบริษัท คือรู้หัวใจของพระพุทธศาสนาที่สรุปไว้ด้วยคำว่าอิทัปปัจจยตา นั่นเอง; จะทำให้ไม่เห็นอะไรแปลกจนไปกลัว หรือไปยินดียินร้ายหรือตื่นเต้น ซึ่งล้วนแต่ทำให้จิตใจผิดปรกติไปทั้งนั้น ถ้าเป็นผู้แจ่มแจ้วงในสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา แล้ว จะคงที่ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในลักษณะที่ฟู ๆ แฟบ ๆ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวยินดี เดี๋ยวยินร้าย
        ทีนี้ พุทธบริษัทเป็นพุทธบริษัทกันแต่ปาก คือไม่ถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา ก็เรียกได้อีกอย่างหนึ่งเหมือนกันว่า เป็นพุทธบริษัทหัวมงกุฎท้ายมังกรมันไม่สมกันเลย ในหมู่คนที่ตังตนเป็นผู้รู้ผู้สอน ก็ยังเป็นหัวมังกุท้ายมังกรอยู่นั่นเอง : ไม่เข้าใจในเรื่อง อิทัปปัจจยตา ที่เกี่ยวกับกรรม และความสิ้นไปแห่งกรรม
        ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในการบรรยายครั่งที่แล้วมา มีว่า เรื่องกรรมนี่มันมีอยู่ 2 ชนิด ถ้าเอาไปปนกันแล้วมันยุ่ง
            เรื่อง กรรมชนิดแรก นั้น เป็นเรื่องกรรมสำหรับคนที่ยังมีกิเลสยึดมันถือมั่นเรื่องตัวตน ยังละความรู้สึกว่าตัวตนไม่ได้ ยังหนาแน่นอยู่ด้วยตัวตน ก็ต้องสอนเรื่องกรรมกันไปทางหนึ่ง ปฏิบัติกันไปทางหนึ่ง ทีนี้ บุคคลที่ได้เห็นโลกมานาน หรือรู้ธรรมะเพียงพอแล้ว ต้องการจะถอนความยึดมั่นถือมันว่าตัวตน มันก็ต้องสอนเรื่อง กรรมชนิดหลัง ไปอีกอย่างหนึ่ง คือเรื่อง กรรมชนิดที่จะทำความสิ้นไปแห่งกรรม สำหรับคนทั่วไปหรืออย่างแรกนั้น เรียกว่าเรื่อง กรรมในชั้นศีลธรรม; ส่วนอย่างหลังนี้เรียกว่าเรื่อง กรรมในชั้นสัจจธรรม
            เรื่องกรรมในชั้นศีลธรรมนั้น บัญญัติตามความประสงค์มุ่งหมายสำหรับชาวบ้านทั่วไป ที่ยังมีตัวตน ที่ยังอยากจะดี ยังอยากจะสุข ยังอยากจะอะไรไปตามความต้องการของกิเลส ส่วนกรรมในชั้นสัจจธรรมนั้น หมายความว่าเขารู้ว่าดี-ชั่วเหล่านี้ มันเป็นเรื่องหลอกลวง ทำให้เราต้องวิ่งไปวิ่งมา ตามความรู้สึกว่าดีว่าชั่ว มันจึงมีขึ้น ๆ ลง ๆ ฟู ๆ แฟบ ๆ เดี๋ยวยินดี เดี๋ยวยินร้าย; แล้วอยากจะอยู่เหนือกรรมเหล่านั้น
        เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็เหมือนกัน : มีอยู่ 2 ฝ่าย คือฝ่ายศีลธรรม และฝ่ายสัจจธรรม เรื่องกรรมก็ดี เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็ดี ถ้าเป็นในชั้นศีลธรรมแล้วก็เอาไว้สอนให้ผู้ที่ยังยึดมันถือมั่นในตัวตน จะได้ปฏิบัติเพื่อให้ได้สิ่งที่เขายึดมั่นถือมั่น ถ้าว่าเป็นเรื่องกรรมหรือเรื่องปฏิจจสมุปบาทในชขั้นสัจจธรรมแล้ว ทุกอย่างจะแสดงว่าไม่มีอะไรนอกจาก อิทัปปัจจยตา คือการที่มันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมันเอง เมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ย่อมเกิดขึ้น มันมีเพียงเท่านั้น
        ที่ว่าดี ว่าชั่วนั้น คนว่าเอาเอง คนก็ว่าไปตามกิเลสของตัวเอง รักอะไรก็ว่านั้นดี ไม่รักอะไรก็ว่านั้นชั่ว จึงไม่ใช่สัจจธรรม ถ้าเป็นเรื่องสัจจธรรม มันก็ต้องไม่อยู่ใต้อำนาจการหลอกลวงของความดีความชั่ว ซึ่งทำให้ยึดมั่นถือมั่น ดังนั้นจึงเฉยได้ นี้มันจึงกลายเป็นเรื่องของบุคคลผู้ที่จะชนะ เลิกการแพ้กันเสียทีมาเป็นการชนะ : ชนะต่ออารมณ์ทั้งหลายที่มีอนยู่ในโลก ที่จะเข้ามากระทบตน นี่คือข้อที่ต้องทบทวน ว่าเรื่องกรรมที่อยู่เป็น 2 ชั้น : สำหรับคนธรรมดาสามัยที่ยังประกอบอยู่ด้วยสัสสตทิฏฐิ ก็สอนกรรมในขั้นศีลธรรม ทีนี้ ผลที่ต้องการจะละเสียซึ่งสัสสติทิฏฐิ คือความรู้สึกว่าตัวตนว่าของตนนั้น ก็จะต้องศึกษาเรื่องกรรมในขั้นสัจจธรรม จนรู้ว่ากรรมดีกรรมชั่วนั้น สู้ไม่ไหว ต้องการจะมีกรรมอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งจะเพิกถอนเสียซึ่งกรรมดีและกรรมชั่ว นั่นแหละคือ ตัวพุทธศาสนา คือสิ่งที่เรียกว่า อัฏฐังคิกมรรค หรือมัชฌิมาปฏิปทา ดังนั้นขอท่านทั้งหลายอย่าได้ไปเข้าใจหรือไปพูดว่า อัฏฐังคิกมรรคนั้นจัดเป็นดีหรือเป็นชั่ว เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
        อัฏฐังคิกมรรค ต้องเป็นการปฏิบัติเพื่อจะเพิกถอนเสียซึ่งความยึดมั่นในบุญกุศล ในบาป ในอะไรทุกอย่าง คือทังดีทังชั่ว แล้วก็จะอยู่เหนือดีเหนือชั่ว ดังนั้นจึงได้นามใหม่ว่า เป็นกรรมที่จะเพิกถอนเสียซ่างกรรมดีกรรมชั่ว เรียกว่าเป็นกรรมที่ 3 ก็ได้ : กรรมที่ 1 คือกรรมชั่ว กรรมที่ 2 คือกรรมกดี; นี้เป็นไปตามเรื่องชาวโลก ทีนี้ กรรมที่ 3 เป็นไปตามเรื่องพระอริยเจ้า คือเป็นกรรมที่จะเพิกถอนเสียซึ่งอำนาจของดีชั่ว ซึ่งมันครอบงำจิตใจคนเรา
        คนเรามีปัญหาเรื่องดีเรื่องชั่วเป็นหลัก ถ้าอย่ารู้จักเรื่องดีเรื่อชั่วปัญหาจะไม่มี เหมือนสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายที่ไม่มีความรู้เรื่องดีเรื่องชั่ว; ดังนั้นปัญหาของสัตว์จึไม่มากเหมือนมนุษย์ มนุษย์มีปัญหาไม่สิ้นสุด เพราะยึดมั่นเรื่องดีเรื่องชั่ว
        ศาสนาไหนก็สอนความไม่ยึดมั่นอย่างนี้ แต่คนฟังไม่ถูกต้อง แม้ศาสนาคริสเตียนก็ยังสอนอย่างนี้ ลองไปอ่านดูหน้าแรก ๆ หน้า 1 หน้า 2 ของคัมภีร์ไบเบิลดู จะพบว่าทีแรกมนุษย์ไม่มีความทุกข์ไม่มีบาป; พอไปกินผลไม้ต้นที่หนึ่งที่เรียกว่า ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว เข้าไป อาดัมกับอีฟนี้ก็กลายเป็นคนบาป คือมีความทุกข์ตลอดกาล กลายเป็นมนุษย์ที่มีบาปตลอดกาล ก่อนแต่ที่ยังไม่รู้เรื่องดีเรื่องชั่ว เขาไม่มีความทุกข์เลย ผ้าก็ไม่ต้องนุ่ง ความรู้สึกว่าหญิงว่าชายนี้ก็ไม่มีความรู้สึกว่าดีว่าชั่วก็ไม่มี การตั้งต้นเป็นมนุษย์ ก็คือการตั้งต้นเผชิญกับปัญหาเรื่องดีเรื่องชั่ว
            นี่แหละขอให้เข้าใจว่า เรื่องดีเรื่องชั่วนี้ ตังต้นขึ้นเมื่อไร มนุษย์ก็มีบาปและมีทุกข์เมื่อนั้น แต่มันเป็นของใหม่ คือบาปหรือความทุกข์ตามแบบของมนุษย์ เป็นของใหม่เพิ่งเกิดสำหรับมนุษย์ที่รู้จักดีรู้จักชั่ว มนุษย์ที่ยังไม่รู้จักความหมายของดีชั่ว มันก็ต้องเหมือนกับสัตว์ แม้รูปร่างจะเป็นคนแล้วก็ยังเรียกว่าเหมือนกับสัตว์ เพราะไม่รู้เรื่องดี-ชั่ว ดังนั้นกฎเรื่องกรรมมันจึงต่างกันระหว่างคนกับสัตว์
        อย่างที่เคยได้พูดให้ฟังแล้วในวันก่อนว่า ถ้าแมวจับหนูกินมันไม่บาป; แต่ถ้าคนไปฆ่าสัตว์มากินมันบาป นี่เพราะแมวมันไม่มีความรู้เรื่องดี-ชั่ว-บุญ-บาป ไม่ได้ยึดมั่นดีชั่ว ไม่ได้รู้ว่านี้เป็นความผิดแล้วจะฝืนทำ; เพราะฉะนั้นมันจึงไม่บาป แมวจับหนูกินก็เป็นกิริยาเฉย ๆ ถ้าจะมีผลก็เป็นเพียงปฏิกิริยา ซึ่งจะถูกหนูกัดเอาบ้า หรืออะไรก็ตามใจ มันเป็นเพียงปฏิกิริยา ไม่เรียกว่ากรรมหรือผลกรรม
            แต่ถ้ามนุษย์ไปฆ่าสัตว์ มันก็เป็นกรรม เพราะว่ามีความรู้เรื่องดีเรื่องชั่ว เรื่องบุญเรื่องบาป หรือมีเจตนาจะฝืนกฎของความดีความชั่ว แล้วก็ทำลงไปด้วยเจตนาจะห่า ฉะนั้น มนุษย์ฆ่าสัตว์จึงเป็นบาป แต่แมวจับหนูกินไม่เป็นบาป มันเป็นคนละชั้นคนละระดับ
            นี่แหละดูเถอะว่า เรื่องดีเรื่องชั่วนี่แหละ มันไดทำให้เกิดเป็นปัญหาอันยุ่งยากเหลือประมาณขึ้นมาแก่มนุษย์เรา ท่านทั้งหลายอุตส่าห์ลำบากมาจนถึงที่นี่ก็เพราะอยากดี ขออภัยพูดตรง ๆ อย่างนี้ : ถ้าไม่อยากดีก็ไม่จำเป็นอะไรที่จะต้องมา มันมีความก้าวหน้าก็เพราะว่าล้วนแต่อยากดี ยึดมั่นในความดี จนกว่าจะรู้พิษสงของความดีกันเสียก่อน แล้วจึงจะปฏิบัติขั้นต่อไป; คือขั้นที่จะอยู่เหนือความดี
            เมื่อเล่าเรื่องคริสเตียนแล้ว ก็จะเล่าต่อไปให้จบว่า มันยังมีต้นไม้อีกต้นหนึ่ง เรียกว่า ต้นไม้แห่งชีวิตนิรันดร ต่อเมื่อไรมนุษย์ได้กินผลไม้ของต้นไม้ที่สอง คือต้นไม้ชีวิตนิรันดรนี้แล้ว เมื่อนั้นมนุษย์จะหมดบาป ทีนี้ ลูกหลานของอาดัมกับอีฟนี้ ไม่รู้จักได้กิเอนผลไม้ต้นที่สองสักที จนกว่าจะมีพระศาสนา เช่นพระเยซู หรืออะไรเกิดขึ้น สอนให้ละความยึดมั่นในเรื่องความดีความชั่ว อย่างเดียวกับที่พระพุทธศาสนาสอน เมื่อนั้นแหละมนุษย์จะพ้นจากบาปดั้งเดิม คืออยู่เหนือดีเหนือชั่วได้
            การอยู่เหนือดีเหนือชั่วนี่แหละ คือสิ่งที่เรียกว่าเหนือกรรม : เหนือกรรมดี กรรมชั่ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสิ้นกรรม
            หัวข้อที่เราจะต้องอธิบายมีอยู่ 3 หัวข้อ คือ เรื่องกฏแห่งกรรม กับเรื่องตัวกรรม นั้นเอง และเรื่องความสิ้นไปแห่งกรรม มี 3 หัวข้อ กรรมในขั้นศีลธรรมที่คนทั่วไปจะต้องปฏิบัติ ในฐานะที่ยังมีตัวตนนี้ ได้อธิบายอย่างละเอียดลออที่สุดแล้วในการบรรยายครั้งที่แล้วมา ดังนั้น ในวันนี้จึงเหลืออยู่แต่เรื่องกรรมที่จะทำความสิ้นไปแห่งกรรม; หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า ความสิ้นไปแห่งกรรม
            เราจะต้องระลึกนึกถึงความสิ้นไปแห่งกรรมนี้ ว่ามันย้อนกลับไปคล้าย ๆ กับที่แรก : ทีแรกทำอะไรไม่เป็นกรรม เหมือนกับแมวจับหนูกิน ไม่เป็นบาปมันมีแต่กิริยา ต่อมามนุษย์รู้จักดีชั่ว ทำอะไรเกิดเป็นกรรมขึ้นมา เพราะทำด้วยเจตนา ด้วยกิเลส มันจึงเกิดเป็นวิบากกรรมขึ้นมา ดีชั่ว ดีชั่ว ดีชั่ว ล้มลุกคลุกคลานไปในวัฏฏสงสาร ทีเหมือนกับทะเลขี้ผึ้งซึ่งเดี๋ยวเหลว เดี๋ยวแข็ง เดี๋ยวเหลว เดี๋ยวแข็ง นานเข้ามันเบื่อ มันจึงละความยึดม่านถือมั่นเสียได้ จนถึงอันดับสุดท้ายคือพระอรหันต์; ครั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีดีไม่มีชั่วอีก ทำอะไรก็เป็นแต่เพียงกิริยาเช่นเดียวกันอีกครั่งหนึ่ง
        พระอรหันต์ไม่มีทางที่จะเป็นบาปได้ด้วยเหตุใด ๆ เลย เพราะไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุให้เจตนา ที่จะทำไปด้วยอำนาจของเจตนา ดังนั้น พระอรหันต์จะทำอะไรจึงเป็นเพียงกิริยา แม้ว่าจะได้ทำให้สัตว์ตายลงไป ก็จะไม่มีกรรม เพราะไม่มีเจตนาที่จะฆ่าให้ตาย
            นี่จะต้องรู้เรื่องทีมันคล้าย ๆ กัน แต่มันไม่ใช่อย่างเดียวกัน : แมวจับหนูกินก็เป็นกิริยา; พระอรหันต์ทำอะไรลงไป ก็เป็นเพียงกิริยา; แต่ไม่ใช่เหมือนกันเลย
        ทีนี้ เรื่องเกี่ยวกับคนเราในระหว่างกลาง ที่ไม่ใช่แมว และก็ไม่ใช่พระอรหันต์นี้ มันก็ยังมีเรื่องที่เป็นเพียงกิริยา : วันหนึ่ง ๆ เรามีการทำอะไร ๆ ที่เป็นเพียงกิริยานี้มากมายเหลือเกิน เช่น ตื่นขึ้นมาก็อาบน้ำ ล้างหน้า ถูฟัน ทำอะไรไปตามเรื่อง เหล่านี้เป็นกิริยาทังนั้นไม่ได้เป็นกรรม แต่ว่านี้มันก็ไม่แปลก ไม่ค่อยจะมีปัญหา
            มันจะมีปัญหาต่อมเอมีเรื่องที่สำคัญกว่านี้เกิดขึ้น เช่นว่าเราจะต้องกินยาถ่ายตัวพยาธิ : ถ้าเราทำไปด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ หรือเรียกว่าไม่มีเจตนาดีกว่าการกินยาถ่ายตัวพยาธิตายนี้ ก็เป็นเพียงกิริยา ไม่เป็นกรรม แต่ถ้าเรามีความโกรธแค้นในตัวพยาธิ ต้องการจะฆ่ามันเสีย แล้วก็กินยาถ่ายเข้าไป อย่านี้มันก็เป็นกรรม คือการฆ่าสัตว์ หรือว่าเป็นกรรมชั่ว
        นี่แหละ แม้แต่ในเรื่องราวของคนธรรมดาในประจำวันนี้ ก็ยังต้องระวังเรื่องที่จะให้หลุดรอดไปจากกรรม : ถ้าเราจะเดินไปค่ำ ๆ คืน ๆ มันก็จะต้องเหยียบอะไรตาย; ถ้าเราไม่เข้าใจเราก็จะไม่กล้าเดินไปไหน; หรือว่าเราจะไม่กล้ากินยาถ่ายพยาธิ หรือจะกระทำการรักษาโรคใด ๆ ที่มันจะต้องทำให้สิ่งมีชีวิตตาย หรือถ้าจะดูให้ละเอียดลงไปอีก ก็คล้าย ๆ กับว่า เราหายใจเข้าไปครั้งหนึ่ง ก็มีพวกจุลินทรีย์ สิ่งที่มีชีวิตบางประเภทติดเข้าไป และไปตายในตัวเราอย่างนี้ ถ้าเราทำไปด้วยเจตนาจะฆ่ามัน เราก็ต้องเป็นบาป; ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว มันก็บาปอย่างเหนือประมาณ บาปอย่างถ่ายถอนกันไม่ไหวทีเดียว เพราะมันต้องหายใจอยู่ตลอดเวลา
        แต่เดี๋ยวนี้เราก็ไม่มีเจตนาที่จะฆ่าสัตว์เหล่านั้น ดังนั้น การที่ทำให้สัตว์เหล่านั้นตายไป มันก็เป็นกิริยาไปหมด ไม่เป็นผลบาป ไม่เป็นผลบุญ ไม่เป็นผลอะไร นี้เป็นเรื่องกรรม เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องกรรม ที่จะต้องรู้ว่า ถ้าทำลงไปด้วยเจตนาของบุคคลผู้รู้จักดีรู้จักชั่ว แล้วมันก็ต้องเป็นกรรมดีกรรมชั่ว
            กรรมชั่ว คือ ทำเมื่อฝืนความรู้สึกที่รู้อยู่ว่า นี้เป็นกรรมชั่ว ถ้าเป็นกรรมดี มันก็ทำไปด้วยความรู้สึกว่านี้มันเป็นกรรมดี; ทำลงไปมันก็เป็นกรรมดี แต่ถ้า มัวชั่ว ๆ ดี ๆ กระโดดโลดเต้นอยู่อย่างนี้ มันก็ไม่ไหว ในที่สุด จึงต้องการที่จะพ้นไปเสียจากสิ่งทั้งสองนี้ นี่จึงประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา ตามมิชฌิมาปฏิปทา หรืออัฏฐังคิกมรรค; ฉะนั้น หนทางนี้ไม่เรียกว่า ดี ไม่เรียกว่า ชั่ว; แต่จะเป็นไปเพื่ออยู่เหนือดีเหนือชั่ว ถูกแล้ว ตอนต้น ๆ ก็คงจะเรียกหนทางนี้ว่าดี ว่าเป็นกุศลไปก่อน แต่ว่าอย่าลืมว่าหนทางนี้ มันเป็นทนทางที่จะไปให้พ้นดีพ้นชั่ว
        สิ่งที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา นั้น ถ้าเป็นอย่างชั้นต่ำ ก็เล็งเอาอัฏฐังคิกมรรค มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม เป็นต้น นี้ก็จะเป็นได้ว่า เป็นไปในฝ่ายดี คือ การกระทำถูกใช้คำว่าสัมมาคือถูกต้อง แต่พระพุทธเจ้าได้ตรัส มิชฌิมาปฏิปทาที่สูงไปกว่านั้น คือ อิทัปปัจจยตา ความที่เมื่อสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น นี่แหละ คือ มัชฌิมาปฏิปทา ที่แท้จริง หรือสูงสุด
          อิทัปปัจจยตา อยู่เหนือความเป็นของดีหรือความเป็นของชั่ว : ไม่เอียดไปทางไหนหมด คือไม่ได้ไม่เสีย ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่บุญไม่บาป ไม่สุขไม่ทุกข์ มันเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย แต่ว่าพวกเราไม่ค่อยเคยได้ยินคำที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ อิทัปปัจจยตา
            ถ้าขยายความออกไปก็คือว่า ปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละ คือมิชฌิมาปฏิปทา : ให้รู้แต่ว่า เพราะมีสิ่งนี้ ส่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ตามสายแห่งปฏิจจสมุปบาท; ไม่บัญญัติว่าดี ไม่บัญญัติว่าชั่ว มันก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา; ทำให้คนมีความรู้สึกคิดนึกในทางที่มีอยากดีไม่อยากชั่ว ไม่หลงเรื่องดีเรื่องชั่ว นี้คือทางที่จะอยู่เหนือกรรม หรือจะสิ้นกรรม ซ่างจะได้พูดกันต่อไปอีกพอให้เป็นที่เข้าใจ
            เดี๋ยวนี้ต้องการจะพูดแต่เพียงว่า เรื่องกรรมมีอยู่ 2 ชนิด สำหรับคนธรรมดาสามัญหรือปุถุชนนี้ ก็เป็นกรรมขั้นศีลธรรม; ถ้าเป็นเรื่องกรรมที่สูงขึ้นไปของพระอริยเจ้า มันก็เป็นสัจจธรรม คือจะอยู่เหนือดีเหนือชั่ว
            ถ้าเป็นศีลธรรม มันก็เรื่องดีเรื่องชั่ว หลีกชั่วเอาดีเข้าไว้เรื่อย มันก็เป็นศีลธรรม แต่พอไปถึงขั้นสูง คือขั้นสัจจธรรม มันบอกว่าไม่ไหวทั้งนั้น ไม่ไหวทั้งดีทั้งชั่ว ต้องการที่จะอยู่เหนือดีเหนือชั่ว จึงเกิดเป็นกรรมชนิดที่จะทำลายกรรมดีกรรมชั่วเสียให้หมดอำนาจ นี้คือการบรรลุความสิ้นกรรม อยู่เหนือกรรม หมดเรื่องกรรมกันเสียที บุคคลที่จะทำได้อย่างนี้ มีแต่พระอรหันต์ประเภทเดียว ที่ต่ำลงมา เช่นพระโสดาบัน เป็นต้น เป็นเพียงผู้กำลังจะเป็นอย่างนั้นเท่านั้น แต่ยังเป็นไม่ได้; คงเป็นได้แต่พระอรหันต์พวกเดียว ที่จะอยู่เหนือกรรม
        เมื่อยังอยู่ใต้อำนาจของกรรม คืออำนาจความบีบคั้นของความดีความชั่วแล้ว เรายังเป็นทุกข์ ดังนั้น เมื่อยังไม่อยู่เหนือกรรม ก็ยังไม่อยู่เหนือทุกข์ ยังไม่สิ้นกรรม ก็ยังไม่สิ้นทุกข์; จึงต้องมีการกระทำชนิดที่เรียกว่า อยู่เหนือกรรมหรือ สิ้นไปแห่งกรรม ไม่มีการกระทำอะไรที่จะเป็นกรรมอีกต่อไป เป็นเพียงกิริยาเฉย ๆ
            เอาละ ทีนี้จะได้พูดกันให้ละเอียด พูดไปโดยรายละเอียด เพื่อจะให้เข้าใจในสิ่งที่เรียกว่า ความสิ้นกรรม
            ตัวอย่างของเรื่องนี้ ได้เคยนำมาพูดในครั้งที่แล้วมา เรื่อง พราหมณ์พาวรีเป็นพราหมณ์มีชื่อเสียง ออกตั้งสำนักอยู่ที่ริมแม่น้ำ โคธาวารี ทุกคนเลื่อมใสว่าเป็นผู้รู้ ทีนี้ ก็เกิดมีนักบวชที่อยู่ป่า ที่มีฌานกล้ามีอะไรเข้มแข็งคนหนึ่ง มาเรียกร้องเอาทรัพย์จากพราหมณ์นี้ ถ้าไม่ให้ก็จะทำให้ศีรษะแตกเป็นเสียง คือศีรษะระเบิด ด้วยฤทธิ์อำนาจของเขา พราหมณ์พาวรีเดือดร้อนเป็นทุกข์ ไม่รู้จะทำอย่างไร แล้วก็มีความเชื่อในฤทธิ์เดชของนักบวชคนหนึ่งท่ามาจากป่า คือเป็นฤๅษีหรือโยคีอะไรคนหนึ่ง ก็เลยต้องแสวงหาธรรมที่จะทำให้ไม่ต้องศีรษะระเบิด ไม่ต้องให้ศีรษะแตกเป็นเสี่ยง ธรรมที่แสดงให้เห็นชัดว่า เราจะไม่ต้องถูกใครทำอันตรายเราได้อีกต่อไป คือจะไม่ตายหรือไม่ถูกทำอันตรายอีกต่อไป; นี้เป็นเหตุให้นึกหาที่พึ่ง ก็ไปถามเทวดาองค์นั้นองค์นี้
        เทวดาองค์หนึ่งบอกว่า มีแต่พระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น ที่รู้ธรรมที่ทำให้ศีรษะไม่ต้องแตก แล้วพระพุทธเจ้านั้นท่านเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งกรรม : สัพพะกัมมักขยัง ปัตโต ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งกรรมทั่งปวง พราหมณ์พาวรีได้ยินคำนี้ ก็เกิดสนใจพระพุทธเจ้าผู้สิ้นกรรม; จึงได้ส่งลูกศิษย์ของตัวมาถามพระพุทธเจ้า จะเอาข้อความทังหมดให้ได้ จึงส่งมาตั้ง 16 คน ให้ต่างคนต่างมาถามพระพุทธเจ้า เพื่อจะเอาความรู้เรื่องนี้ เรื่องโสฬสปัญหา มันก็เกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ ล้วนแต่แสดงธรรมะในขั้นลึก ขั้นอยู่เหนือกรรมทั้งนั้น ข้อให้ไปพิจารณาดูว่า ธรรมะที่แสดงไว้ในโสฬสปัญหานั้น เป็นเรื่องเหนือกรรมทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องศีลธรรม นี้เป็นตัวอย่างที่เราจะต้องเข้าใจว่า เรื่องเหนือกรรมนี้มันอยู่ในระดับไหน
            เรื่องมันจะต้องพูดกันต่อไป ว่ามันมีอะไรบ้าบงที่เป็นกฎของกรรม กันเสียก่อน คำว่ากฎในที่นี้ จะต้องครอบคลุมไปหมดทุกชนิดของกรม จึงจะเรียกว่า กฎแห่งกรม ได้
            เท่าที่สำรวจดูแล้ว ในพระคัมภีร์ เห็นมีอยู่ว่าสูตรที่ชื่อว่า นิพเพธิกสูตร มันก็เป็นชื่อที่ดีมากที่จะแสดงกฎแห่งกรรมทั้งปวง นิพเพธิกสูตร มันก็เป็นชื่อที่ดีมากอยู่แล้ว คือกล่าวถึงสิ่งที่จะเป็นเครื่องทำลาย คือเหมือนกันตอกลิ่ม เข้าไปทำลายสิ่งทั้งหลายให้แตกกระจายไป สูตรนี้ได้กล่าวเรื่องกรรมไว้ในลักษณะที่เป็นกฎเกณฑ์ที่ดีที่สุด แต่มิได้กล่าวไว้เฉพาะเรื่องกรรมเรื่องเดียว กล่าวเรื่องอื่น ๆ อีกด้วย; หากแต่ว่าเรื่องกรรมนี้ กล่าวไว้สมบูรณ์ที่สุด
            เอาตามหัวข้อย่อ ๆ ก่อนว่า ในสูตรนี้ เริ่มขึ้นก็แสดงลักษณะแห่งกรรม หรือกรรมลักษณะ ว่ากรรมนี้คืออะไร? มีคำระบุไว้ชัดว่า กรรมคือการกระทำที่ทำไปด้วยเจตนาทางทวารทั้ง 3 คือ กาย วาจา ใจ”; สำคัญอยู่ที่ว่าทำด้วยเจตนา
            เจตนานั้น คือความตังใจอย่างรุนแรก ความรุนแรงนี้ต้องมาจากกิเลส สรุปอยู่ที่อวิชชา เพราะมันมี่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร มันจึงมีเจตนาไปตามอำนาจของกิเลส หรืออวิชชา  แล้วก็ทำไปทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง เป็น 3 ทางด้วยกัน สรุปเป็นคำนิยามสั้น ๆ ว่า การกระทำด้วยเจตนา ทางกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร นี้คือกรรม
        หัวข้อต่อไปมีว่า อะไรเป็นนิทานสัมภวะแห่งกรรม คือเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งกรรม? คำอธิบายมีอยู่แล้วในสูตรนั้น ว่า ผัสสะ ผัสสะคือการกระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี้เป็นนิทานสัมภวะ เป็นแดนเกิดแห่งกรรม
            ท่านต้องสังเกตดุ ให้เข้าใจว่าผัสสะ เป็นแดนเกิดแห่งกรรมได้อย่างไร? เรื่องผัสสะโดยละเอียด ก็ได้เคยอธิบายมาแล้ว; ในวันนี้จะได้พูดกันแต่ในความสั้น ๆ ว่าการกระทบทางอายตนะ เช่นการที่ตากระทบรูป เป็นต้น ในตอนนี้เรียกว่า ปฏิฆสัมผัส การสัมผัสด้วยการกระทบกระทั่งของอายตนะ เท่านั้น ยังไม่เกี่ยวด้วย อิวชชาหรือกิเลส
            ตัวอย่าง เรานั่งอยู่ที่นี่ เหลือบตาไปมันก็เป็นภาพ นี่เรียกว่าภาพข้างนอกกับตาข้างในนี้ กระทบกันเป็นปฏิฆสัมผัส และในขณะแห่งสัมผัสนี้ ถ้าว่ามันเป็นไปในทางที่มีอวิชชาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มันก็กลายเป็นอวิชชาสัมผัส คือเกิดความหวัง เกิดความสงสัย เกิดอะไรขึ้นมา เพื่อจะได้ เพื่อจะเอา เพื่อจะอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสิ่งนั้น อย่างนี้เป็นอวิชชาสัมผัส คือสัมผัสสิ่งนอกตัว ด้วยอำนาจของอวิชชา นี่ไม่ใช่ปฏิฆสัมผัส เพราะมันมีอวิชชาเข้าไปเจือเสียแล้ว จึงเรียกว่า อวิชชาสัมผัส; เรียกชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า อธิวจนะสัมผัส; คือสัมผัสสักว่าชื่อ : ของไม่ต้องสัมผัสกัน แต่มันกลับมีการสัมผัสอย่างยิ่ง; คืออวิชชาเข้าไปเกี่ยวข้องแล้วก็รู้สึกว่าอันนี้เป็นอะไร แล้วก็ยินดีหรือยินร้าย แล้วก็ทำไปตามความยินดียินร้าย นั้นคืออธิวจนะสัมผัส
            ตัวอย่างในการเห็นรูป ก็คือว่ามันไม่เห็นเฉย ๆ เสียแล้ว : มันไปมีความหมายอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามา เช่นว่า สวยหรือไม่สวย น่ารักหรือไม่น่ารัก แล้วก็ตรงกับกิเลส ก็เกิดความต้องการ
        การเกิดความต้องการนี้ เป็นกรรมแล้ว คือเป็นมโนกรรมแล้ว ผัสสะนั้นเป็นเหตุให้เกิดกรรมแล้ว คือมโนกรรม ทีนี้ มโนกรรม มักจะไม่หยุดอยู่เพียงแค่มโนกรรม มันก็ออกมาทางปากเป็นวจีกรรมบ้าง; ทางการกระทำทางกายเป็นกายกรรมบ้าง; นี่มันก็เป็นครบทั้ง 3 ทวาร คือ ใจ วาจา แล้วก็กาย นี่แหละ ผัสสะเป็นแดนเกิด หรือนิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้เอง
            ดังนั้นเมื่อถามว่า อะไรเป็นแดนเกิดแห่งกรรม? คำตอบมีสั้น ๆ ว่าผัสสะ : ทุกคราวที่มีผัสสะ; จะมีกรรม ทุกคราวที่มีผัสสะนั้นแหละจะต้องมีเรื่องที่เกี่ยวกับกรรม; ถ้าไม่มีกิเลสเข้ามาเกี่ยวข้อง มันเป็นกิริยาไป ถ้ามีกิเลสเข้ามาเกี่ยวข้อง มันก็เป็นกรรม ทางกาย ทางวาจา ทางใจ; แล้วมันจะเป็นดีหรือเป็นชั่ว ตามที่มนุษย์บัญญัติกันขึ้นเอง ว่าถ้ามันทำให้ผู้อื่นหรือตัวเองเดือดร้อนเราเรียกว่า กรรมชั่ว ถ้าไม่ทำตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน ก็เรียกว่า กรรมดี แต่ทั้งกรรมดีกรรมชั่ว มันก็เป็นกรรมด้วยกัน แล้วกรรมทุกชนิดต้องมาจากผัสสะ
            ทีนี้ มีหัวข้อต่อไปว่า เวมัตตาของกรรม เวมัตตา นี้แปลว่า มาตรฐานที่ต่าง ๆ กัน เวมัตตา คือมาตรการหรือมารฐานของกรรมที่เป็นต่าง ๆ กันนั้นคืออะไร? คำอธิบายแล้วในสูตรนั้น ว่าถ้าถือเอาผลในทางโลกในทางที่มนุษย์จะพึงรู้จัก ก็ว่า กรรมมีความต่าง ๆ กัน ตามผลที่มันทำให้มนุษย์เกิดขึ้นใหม่ในทางวิญญาณ ในลักษณะอย่างไร
            นี้ก็แสดงว่า กรรมที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์นรกก็มี กรรมที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็มี กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตก็มี แล้วกรรมที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ก็มี แล้วกรรมที่ทำให้เกิดเป็นเทวดาก็มี ระบุไว้เป็น 5 ชั้นด้วยกัน อย่างเลวที่สุดคือเกิดเป็นสัตว์นรก สูงขึ้นมาเป็นเดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา ตามลำดับ
        ข้อที่ว่ากรรมทำให้เกิดต่าง ๆ กันนี้ บางพวกที่เล็งถึงว่าเกิดใหม่นี้เกิดต่อตายแล้ว เข้าโลงแล้วไปเกิด อย่างนี้ก็มี เขาก็มีความเชื่อของเขาว่า ตายแล้วไปเกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง ตายแล้วไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง ตายแล้วไปเกิดเป็นเปรตบ้าง เป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดานานาชนิดบ้าง; แต่ว่าการเกิดใหม่ในภาษา อิทัปปัจจยตา นั้น ไม่ต้องรอต่อตายแล้ว; ที่นี่เดี๋ยวนี้ มันก็เกิดได้ เรื่องนี้ได้อธิบายไว้แล้วในการบรรยายเรื่องปฏิจจสมุปบาท คือเรื่อง อทัปปัจจยตาครั้งแรก ๆ
        เกิดนี้ คือการเกิดแห่งจิตใจ มันเกิดได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้; คือถัดมาจากผัสสะนั่นเอง : มีผัสสะชนิดที่ประกอบด้วยอวิชชาที่ไหน จะมีการเกิดที่นั่น เช่นว่าตากระทบรูปแล้วมีอวิชชาเข้าไปเกี่ยวข้อง มันก็ยินดีเป็นต้น ในรูปนั้น ทีนี้ความยินดีนี้ มันก็ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ตัณหา : เวทนาให้เกิดตัณหา มีความอยากเกิดขั้น มันก็มีจิตที่รู้สึกอยากนั้นแหละเป็นตัว ผู้อยาก แล้วก็เกิดอุปาทานว่า เรา : เราอยากได้นั่น เราอยากได้นี่ เราได้นั่นแล้ว เราได้นี่แล้ว เกิดอุปทานอย่างนี้เรียกว่า เกิด คือ คน นั้นมันเกิด
            ถ้าหากว่า ในเรื่องกดารเห็นรูปครั้งนี้ มันได้ทำให้เขาเกิดความร้อนใจเหลือประมาณ เขาก็เกิดเป็นสัตว์นรกแล้ว ในเวลานาทีเดี่ยวสองนาทีเท่านั้น คนนั้นเกิดเป็นสัตว์นรกแล้ว
        ถ้าว่าในการเห็นรูปนั้น มันได้ทำให้คนนี้โง่อย่างดักดานทีเดียว ก็แปลว่าคนนั้นได้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานแล้ว สัตว์เดรัจฉาน เป็นคำพูดที่หมายถึงความโง่
            ถ้าว่าการเห็นรูปในครั้งนั้น ได้ทำให้เขาเกิดความอยาก ความหิวต่อสิ่งนั้นเหลือประมาณ นี้เขาก็เป็นเป็นเปรตแล้ว ในเวลาถัดมาเพียงนาทีเดียวสองนาที
        หรือว่ามันทำให้เขาพยายามที่จะเอาให้ได้ ด้วยเรี่ยวด้วยแรงของมนุษย์ด้วยเหงื่อด้วยไคลอย่างนี้ เขาก็เกิดเป็นมนุษย์แล้ว คือเป็น คน นั่นเอง
            หรือว่าถ้ามันโชคดี ประจวบเหมาะอย่างไรก็ตาม; เพราะว่าเขาเป็นคนโชคดีบังเอิญประจวบเหมาะทำให้เขาได้เอร็ดอร่อยทางเนื้อหนังอย่างอกอย่างใจ เนื่องในการเห็นรูปนั้น เขาก็เกิดเป็นเทวดาชั้นกามาวจรแล้ว
        หรือถ้าสูงไปกว่านั้น เขาใช้การเห็นรูปนั้นเป็นอารมณ์ของการเจริญสมถะภาวนาอะไร ในทำนองที่ไม่เป็นเรื่องของกามารมณ์ นี่เขาก็เกิดเป็นเทวดาชั้นรูปาวจรบ้าง ชั้นอรูปาวจรบ้าง; เป็นลำดับไปตามแต่กรณี
          นี่แหละคือกรรม มันมีอยู่หลายชนิด : มันมีมาตรการเป็นชั้น ๆ ไปว่ากรรมที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์นรก กรรมที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรต กรรมที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ แล้วก็กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเทวดา; มีอยู่ 5 อย่างเท่านั้น แต่ว่าแต่ละอย่าง ๆ นั้น มันมีแจกซอยไปได้อีกมาโดยเฉพาะเทวดามีหลายสิบชนิด หลายร้อยชนิด; ฉะนั้นเมื่อจะจัดลำดับกรรม โดยเอาผลของมันเป็นหลักแล้ว ก็กล่าวอย่างนี้
            นี่แหละถามว่าเกิดมีอะไร? บางคนว่าต่อตายแล้ว แต่คำสอนที่ปรากฏอยู่ในสูตรพวก อิทัปปัจจยตา ล้วนแต่แสดงว่าเกิดที่นี่และเดี๋ยวนี้
        คำว่า เกิด นั้นคือเกิดแห่งอุปทานว่า ตัวกู ว่า ของกุ เพราะฉะนั้น ความหมายของคำว่า ทิฏฐธรรม กับคำว่า สัมปรายิกะ มันจึงต่างกัน ในภาที่เขาใช้พูดกัน มีคำอยู่ 3 คำ; ทิฏฐธรรม อุปปัชชะ และอปรปริยายะ แยกคำแปลออกเป็น 3 อย่าง ทันที ทันตาเห็น ในชาติทันตาเห็น นี้อย่างหนึ่ง; แล้วก็ในชาติถัดไปอย่างหนึ่ง; แล้วก็ในชาติหลัง ๆ ไปอีกอย่างหนึ่ง พวกที่ถือว่าเกิดต่อตายแล้ว; มันก็เอาไว้ต่อตายแล้ว ส่วนพวกที่ถือตามเรื่อง อิทัปปัจจยตา เขาเอาไว้ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ทั้ง 3 อย่าง ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
          ทิฏฐธรรม คือทันควันที่ได้มีการกระทบทางอายตนะ ถ้าอุปปัชชะหรืออุปปัชเช ก็ต่อมาอีกบางขณะจิตหรือหลายขณะจิต ถ้าอปรปริยายะ ในบาลีเรียกอย่างนี้ แต่ที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า สัมปรายะ นี้มันก็หมายถึงว่ามันนานต่อไปอีกหน่อย; คือนานต่อไปอีกจากสองอย่างข้างต้นนั้น นี่เรื่องกรรมให้ผลเป็นลำดับอย่างนี้ แล้วก็ในเวลาอย่างนี้ รวมเป็น 2 ความหมาย : พวกที่ถือเอาเนื้อตัวร่างกายเป็นหลัก ก็ต้องเป็นเรื่องต่อตายแล้ว; ส่วนพวกที่ถือเอาจิตใจเป็นหลัก มันก็ล้วนแต่ที่นี่ และเดี๋ยวนี้; เพราะจิตมันเกิดเร็วกว่ากาย อย่างที่จะเปรียบกันไม่ได้
            ฉะนั้น ไปคิดดูเอาเองก็แล้วกัน ว่าการเกิด 2 อย่างนั้น อย่างไหนมันน่ากลัวกว่า : คิดอย่างไหนหรือเชื่ออย่างไหน มันน่ากลัวกว่า หรือมีประโยชน์กว่า หรือว่าอาจจะแก้ไขให้เป็นประโยชน์ได้มากกว่า? ถ้าถือเอาตามหลัก อิทัปปัจจยตาจะต้องถือว่า ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ทั้งนั้น ที่มันน่ากลัวกว่า จริงกว่า ใช้เป็นประโยชน์ได้มากว่า
        ความเป็นนรก เป็นเดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา นั้น จะเกิดขึ้นที่นี่และเดี๋ยวนี้ทั้งนั้น คือทุกครั้งในทันทีที่มีการกระทำกรรม การกระทำกรรมก็มี่ทุกครั้งที่มีการสัมผัสด้วยอวิชชา คือเผลอสติไปสัมผัสทางตา ทางหูเป็นต้นด้วยอวิชชา ผัสสะนั้นจะทำให้เกิดกรรม แล้วก็จะเกิดมีผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 อย่างนั้น แต่ถ้าผัสสะนั้นไม่ประกอบด้วยอวิชชา มันกลายเป็นกิริยาเท่านั้น นี้เรียกกว่า เวมัตตา ของกรรม 5 ประการ เวมัตตา นี้แปลเป็นไทยก็ยาก; ถ้าแปลตามตัวหนังสือก็แปลว่า มาตราที่ต่างกันของกรรม
            ทีนี้ หัวข้อต่อไปมีว่า กัมมวิกาก วิบากแห่งกรรม แจกเป็น 3 อย่าง เวลาที่มันให้ผลอย่างที่ว่ามาแล้ว : (1) ให้ผลในทิฏฐธรรมคือทันควัน; (2) ให้ผลในอุปปัชชะในเวลาถัดไป; (3) ให้ผลเป็นอปรปริยายะ คือต่อ ๆ ไปอีก
        ทีจริงอาจจะเอาเกณฑ์ให้ผลอย่างอื่นมาเป็นหลักก็ได้ แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงด้วยเกณฑ์อย่างอื่น; ทรงแสดงด้วยเวลาที่มันให้ผล วิบาก แปลว่าให้ผล วิบากมันให้ผลไม่เหมือนกัน : ทันควันบ้าง ต่อมาบ้าง ต่อมาอีกบ้าง นี้คือวิบาก กัมมวิบากมีอยู่ 3 ชนิดอย่างนี้
            แต่มันมีหลักที่ต้องสนใจอย่างหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เขาประกอบกรมในอัตตภาพใด กรรมย่อมให้ผลในอัตตภาพนั้น กรรมให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยผลกรรมในอัตตภาพนั้น นี่แปลว่าได้วิบากในอัตตภาพนั้น แต่ว่าในอัตตภาพนั้น มัยยังแตกต่างไปว่า ทันควันบ้าง ในเวลาต่อมาบ้าง ในเวลาถัดต่อมาอีกบ้าง
            นี่ถ้าคือตามหลัก อิทัปปัจจยตา ก็มีอยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้ทั้งนั้น : การให้ผลของกรรมจะให้ผลในอัตตภาพที่มันกระทำกรรม แล้วมันจะเสวยผลของกรรมในอัตตภาพที่กระทำกรรม หมายความว่า มันมีผัสสะในอัตตภาพนี้ ในร่างกายนี้ มันก็เป็นกรรมขึ้นในอัตตภาพนี้ แล้วมันก็ให้ผลในอัตตภาพนี้ แล้วเสวยผลกรรมในอัตตภาพนี้ แต่ว่าเป็นอย่างชนิดทันควันบ้าง เป็นอย่างชนิดถัดมาบ้าง เป็นอย่างชนิดถัดมาอีกบ้าง ทั้ง 3 อย่างนี้ ล้วนแต่ในอัตตภาพนี้ นี้ตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา
        แต่ว่าความเชื่อของคนทั่วไป เขาไม่ว่าอย่างนั้น เขาว่าตายเข้าโลงแล้วจึงจะไปเกิดอย่างนั้นอย่างนี้ ได้อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นหลัก นั่นมันก็อีกดเรื่องหนึ่งของคนจำพวกหนึ่ง ซึ่งเชื่อลัทธิกรรมอย่างศีลธรรม แล้วตามความเชื่อที่มีมาแต่กาลก่อนพุทธกาล ซึ่งในพระบาลีก็มีกล่าวเหมือนกัน; และพระพุทธเจ้าก็กล่าวสอนกรรมในลักษณะศีลธรรมอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน; แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เรื่องหัวใจของพระพุทธศาสนา
            ถ้าเป็นเรื่องหัวใจของพุทธศาสนา คือโดยหลักแห่ง อิทัปปัจจยตา แล้ว จะตรัสเหมือนอย่างที่กล่าวแล้วข้างบนนี้ทั้งนั้น รายละเอียดก็เคยพูดกันทีหนึ่งแล้ว คือข้อที่ว่ามันมีผัสสะในอัตตภาพใด มันจะมีกรรมในอัตตภาพนั้น; มีกรรมในอัตตภาพใด มันจะให้ผลกรรมในอัตตภาพนั้น; ครั้นให้ผลกรรมในอัตตภาพนั้น มันจะเสวยผลกรรมในอัตตภาพนั้น เป็นสัตว์นรกบ้าง เดรัจฉานบ้าง เปรตบ้าง มนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง และในอัตตภาพนั้นอย่างทันควันบ้างระยะต่อมาอีกนิดหนึ่งบ้าง ระยะต่อมาอีกนานบ้าง แต่ก็โดยอัตตภาพนั้น ในอัตตภาพนั้น นี้คือเรื่องกัมมวิบากตามสูตรนี้ ซึ่งถือกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา เป็นหลัก
            ทีนี้ หัวข้อสุดท้ายก็คือ กัมมะนิโรธะ; กัมมะนิโรธะ ความดับแห่งกรรม
            ความดับแห่งกรรมคืออะไร? ความดับแห่งกรรม คือผัสสะนิโรธะ ผัสสะหรือสัมผัสดับ กรรมก็ดับ เรื่องผัสสะนี้เล็งถึงผัสสะที่ประกอบด้วยอวิชชา นี้ข้อให้เข้าใจไว้ให้ดี ๆว่า ผัสสะที่จะเป็นเรื่องกรรมนั้นไม่ใช่กิริยาเฉย ๆ ต้องเป็นผัสสะที่ประกอบอยู่ด้วยอวิชชา
            สิ่งที่ต้องสังเกตให้มากเป็นพิเศษคือคำว่า กัมมะนิโรธะ พระพุทธเจ้าตรัสว่า คือผัสสะนิโรธะ ความดับแห่งผัสสะ ไม่ได้ตรัสว่า ดับแห่งตัณหา หรือดับแห่งอวิชชา; นี่มันแปลกอย่างนี้ ถ้าทุกขนิโรธ ก็หมายถึงดับตัณหาดับกิเลส แต่พอถึงทีกัมมนิโรธ กลายเป็นดับผัสสะ ก็หมายความว่า อย่าให้ผัสสะชนิดนี้เกิดขึ้นมาได้ คือผัสสะที่เจือด้วยอวิชชานั้น ถ้าผัสสะอย่างนี้เกิด กรรมก็ย่อมเกิด; ถ้าผัสสะอย่างนี้ดับ กรรมก็ย่อมดับ
            พูดให้ละเอียดให้แคบเข้าก็ว่า เมื่อตากระทบรูปเป็นผัสสะแล้ว ให้อวิชชาวิ่งเข้ามาให้สติวิ่งเข้ามา; อย่าให้อวิชชามีโอกาส อย่างนี้กรรมจะดับ ดังนั้นจึงตรัสว่าความดับแห่งกรรม คือความดับแห่งผัสสะ
          ความดับแห่งผัสสะนี้มีผลมาก คือดับกาม กามนิโรธ ก็คือความดับแห่งผัสสะ; เวทนานิโรธ การดับแห่งเวทนา ก็คือการดับแห่งผัสสะ; สัญญานิโรธ การดับแห่งสัญญา ก็คือผัสสะนิโรธ คือการดับแห่งผัสสะ; ในทีนี้กัมมนิโรธ ก็คือดับแห่งผัสสะ
        บางคนจะฟังไม่ถูกหรือเลือน ก็จะพูดย้อนกลับว่า ความดับแห่งผัสสะนี้ คือดับแห่งกาม ดับแห่งเวทนา ดับแห่งสัญญา และ ดับแห่งกรรม พูดง่าย ๆ ก็คือ ดับแห่งปัญจุปาทานนักขันธ์ มันไม่เกิดปัญจุปาทานขันธ์ข้นมาในโอกาสใดได้ ถ้ามันมีการดับแห่งผัสสะ คือผัสสะไม่ถูกเกี่ยวข้องด้วยอวิชชา แล้วมันก็ดับไป
            ดับแห่งผัสสะ คือดับแห่งกรรม ใครไม่อยากให้มีกรรม ไม่ให้เกิดกรรม อยากให้ดับกรรมเสียทันควันละก็ จงดับที่ผัสสะ : อย่าให้อวิชชาทำให้เกิดเป็นอวิชชาสัมผัส : ไม่เกิดเวทนาที่มาจากอวิชชาสัมผัส แล้วย่อมไม่เกิดตัณหา ไม่เกิดอุปาทาน ไม่เกิดภพ ไม่เกิดชาติ นั่นคือไม่เกิดเป็นอะไรหมด
            นี้พระพุทธเจ้าท่านแสดงอย่าง วิธีของวิทยาศาสตร์แท้ แล้วแสดงชัดเจนเจาะจงในลักษณะที่แคบที่สุด คือระบุชัดที่สุด ให้มันชัดลงไปที่ผัสสะ ในสูตรนี้แปลกก็ตรงที่ว่า ท่านระบุลงไปที่ผัสสะ เพราะว่าในสูตรทั้งหลายโดยมากจะระบุไปที่เวทนา เวทนานั้นเป็นตัวการเป็นตัวเรื่อง ที่จะทำให้เกิดกิเลสตัณหา เกิดภพ เกิดชาติ; ส่วนในนิพเพธิกสูตรนี้ ขยับขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งคือถึงผัสสะเลย : ให้ระวังที่ผัสสะ คืออย่าให้อวิชชาสัมผัสเกิด; คือว่าเมื่อกระทบทางตา ทางหู เป็นต้น อย่าให้อวิชชาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นั้นคือผัสสะไม่เกิด
        ผัสสะ หรือเวทนา นี้โดยพฤตินัยมันเหมือนกัน เพราะว่าถ้าเกิดผัสสะแล้ว มันหนีไม่พ้น มันต้องเกิดเวทนา หรือถ้าพูดว่าเวทนา มันก็เหมือนกันอีก เพราะเวทนามันไม่มาจากอื่น มันย่อมมาจากผัสสะ ฉะนั้นในบางคราวหรือที่เจาะจงชัด ๆ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านทรงระบุไปที่ผัสสะ; แต่ในที่ทั่วไปทรงระบุไปที่เวทนา
        ถ้าลงได้เกิดเวทนา สุข ทุกข์ อทุกขมสุข โดยปราศจากสติแล้ว มันก็เป็นอันแน่นอนว่า มันจะต้องเกิดตัณหาอุปาทาน
            ทีนี้ ถ้าจะเขยิบเข้าไปให้มันใกล้เข้ามาอีก คือให้มันใกล้ต้นตอเข้ามาอีกก็ระบุไปที่ผัสสะ : ผัสสนิโรธ คือกัมมนิโรธ นี่ช่วยจำไว้ตรงนี้; เดี๋ยวจะพูดเรื่องสิ้นกรรมอย่างไรต่อไป
        ปัญหาสุดท้ายก็มีว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติเพื่อยังสัตว์ให้ถึงซึ่งความดับแห่งกรรม ก็คือข้อปฏิบัติที่ยังสัตว์ให้เข้าถึงความดับแห่งผัสสะนั่นเอง มีคำตรัสไว้เลยว่า อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค ว่า อริยอัฏฐังติกมรรค เป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
        ท่านทั้งหลายก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อัฏฐังคิกมรรคนั่นคืออะไร คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต ฯลฯ อะไรนี่ นี่เรียกว่า อัฏฐังคิกมรรค ในที่นี่พระพุทธเจ้าตรัสอัฏฐังคิกมรรคในฐานะเป็นปฏิปทาเพื่อความดับแห่งกรรม
            ถ้าเราสำรวจดุพระสูตรทั้งหลาย เราจะพบว่า อัฏฐังคิกมรรคนี้ เป็นทางให้ถึงความดับแห่งอะไรอื่นอีกมากมายหลายสิบอย่าง แต่แล้วมันเป็นเรื่องเดียวกันตรงที่ว่ามันดับกิเลสทั้งนั้น
        อัฏฐังคิกมรรคเข้ามาที่ไหนเมื่อไรแล้ว มันจะเป็นการดับกิเลสทั้งนั้น เพราะมันมีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวการอยู่นั่น เป็นตัวปัญญา เป็นตัวการอยู่ที่นั่น เพราะฉะนั้น จึงดับอวิชชาอยู่เรื่อยไป ฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคเข้ามาเมื่อไรกิเลสก็บ่อนแตกเมื่อนั้น ทุกทีไป ทุกกรณีไป ทุกเรื่องราวไป
            นี้เป็นข้อที่ทำให้พระพุทธเจ้าต้องตรัสถึง อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค อัฏญังคิกมรรคอันประเสริฐ เพื่อจะดับตัณหาก็ดี เพื่อจะดับกรรมก็ดี เพื่อจะดับทุกข์ก็ดี เพื่อจะดับชาตริ ดับอะไรก็ดี พอเอ่ยถึงปฏิปทาแล้วก็จะตรัสถึง อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค ด้วยทุกแห่งไป เฉพาะเรื่องกรรมนี้เป็นอย่างนี้
            ทีนี้ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค นี้ ก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เป็นทางไปนิพพาน อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นทางไปสู่นิพพาน นิพพาน คือดับหมดของกิเลน ของทุกข์ ของวัฏฏสงสาร ของกรรม ของอะไรหมด; อัฏฐังคิกมรรคเป็นทางไปนิพพาน มันจึงมีอำนาจไพศาลอย่างนี้
            ทีนี้ เราจะดูไปในแง่ที่ว่าเราจะเข้าใความสิ้นกรรม
            ถ้าดุแต่เพียงนิพเพธิกสูตรนี้ มันก็ง่ายสบายเลย ไม่ต้องมีเรื่องที่จะต้องพูดกันมาก : ปฏิบัติอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค มันก็ดับผัสสะ และดับกรรม พยายามตังตนอยู่ในอัฏฐังคิกมรรคนั้นเอง มันจะเป็นการเดินทางไปนิพพานมันก็จะดับกรรม ดับผัสสะ ดับทุกข์ ดับอะไรแล้วแต่ที่จะต้องดับ สิ่งที่จะต้องดับทั้งหลายจะดับหมดในเมื่อคนนั้นเดินอยู่ในอริยอัฏฐังคิกมรรค นั่นแหละคือการทำเพื่อสิ้นกรรม มันสิ้นกรรมกันอยู่ที่ตรงนั้น มันง่าย ๆ อย่างนี้
            พระอรหันต์ทั้งหลาย รวมทั้งพระพุทธเจ้าด้วย ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง เพราะว่าเดินหรือปฏิบัติในอัฏฐังคิกมรรคสิ้นสุดแล้ว ถึงที่สุดแล้ว นี่เรื่องสิ้นกรรมมันอยู่ที่ตรงนี้ ถ้ายังต้องไปดี ไปชั่ว ไปนรก ไปสวรรค์ อยู่นั้น ยังเป็นเรื่องที่เป็นไปตามกรรม และยังประกอบอยู่ด้วยอวิชชา
            ข้อนี้ ขอให้จำไว้เป็นหลักกว้าง ๆ ว่า อัฏฐังคิกมรรค หรือมรรคมีองค์ 8 คือความเข้าใจชอบ หรือถูกต้อง ความปรารถนาใฝ่ฝันชอบ หรือถูกต้อง การพูดจาชอบ หรือถูกต้อง การทำการงานชอบ หรือถูกต้อง การเลี้ยงชีพชอบ หรือเลี้ยงชีวิตถูกต้อง มีวายามะ ความพากเพียรชอบ หรือถูกต้อง มีสติระลึกอยู่ในใจชอบ หรือถูกต้อง มีสมาธิชอบ หรือถูกต้อง เหล่านี้เป็นความชอบ หรือความถูกต้อง อยู่ 8 ประการนี้เรื่อยไป มันเลยมีอำนาจมาก มีกำลังมาก ทำให้อวิชชาสัมผัสเกิดไม่ได้
            ถ้าท่านผู้ใดดำเนินอยู่ในความถูกต้อง 8 ประการนี้แล้ว ไม่มีช่องโหว่ที่ตรงไหนที่จะให้เกิดอวิชชาสัมผัสได้ นี่จะเป็นเหตุให้กรรมเก่าสิ้นไป กรรมใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น เดี๋ยวเราจะพูดกันบ้างถึงเรื่องกรรมเก่ากรรมใหม่ แต่ในที่นี้จะพูดรวมกันว่ากรรมทังหลายนี่มันจะสิ้นไปที่ตรงนี้ : สิ้นไปเพราะความที่เราเป็นอยู่อย่างถูกต้อง 8 ประการ
            เมื่อเรามีการเป็นอยู่อย่างถูกต้อง 8 ประการนี้ มันตะไม่เกิดกรรมใหม่ขึ้นมาได้ แล้วกรรมเก่าก็จะสินไป ถ้าเรามีอัฏฐังคิกมรรคชั่วขณะ มันก็สิ้นไปชั่วขณะ; ถ้าเรามีอัฏฐังคิกมรรคตลอดกาล มันก็สิ้นไปตลอดกาล เดี๋ยวนี้ เรามักจะมีอัฏฐังคิกมรรคกันแต่เพียงชั่วขณะ ๆ บางทีจะไม่ถึงครึ่งชั่วโมงกระมัง?
            นี่กล่าวได้ว่า ถ้ามีอัฏฐังคิกมรรคที่ไหน เมื่อไร มันจะมีการไม่เกิดแห่งกรรมใหม่และมีการระงับอยู่แห่งกรรมเก่าตลอดเวลาเท่านั้น
            อย่าลืมเรื่องครั้งที่แล้วมา ที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นหลักสัมมาทิฏฐิ ว่าเมื่อจะดับจิต เมื่อจะตาย สัมมาทิฏฐิเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ถ้าเวลาอื่นมันเผลอไปบ้างก็ขออย่างเผลอเมื่อตาย เมื่อจะดับจิต นี้หมายถึงดับจิตเข้าโลง แต่ถ้าว่าจะไปหมายถึงดับจิตอย่างชั่วขณะ คือความเปลี่ยนแปลงแห่งเรื่องที่มันเกิดขึ้นทางตา ทางหู ฯลฯ นี้ก็ให้มันดับลงไปด้วยสัมมาทิฏฐิ เช่นว่าคราวนี้เกิดเรื่องทางตา ยุ่งยากลำบากแล้วมันจะดับจะสิ้นสุดลง ก็ให้มันดับลงด้วยเรามีวิชชา มีความรู้ มีสัมมาทิฏฐิ เกี่ยวกับเรื่องตานั้น ถ้าอย่างนี้มีหวังที่จะดีขึ้น ดีขึ้น ในทางที่จะดับกิเลส หรือดับทุกข์
        พูดให้สั้นอีกทีหนึ่งว่า ถ้ามันเกิดเรื่องอะไรขึ้นก็ตาม ในชีวิตของเราชั่วขณะหนึ่ง ๆ แล้ว ก็ขอให้เรื่องมันจบลงด้วยความลาด มันเกิดเรื่องอะไรขึ้น ในชีวิตของเรานี้ วันหนึ่งไม่รู้กี่ครั้งก็ตามใจมันเถอะ แต่ให้เรื่องทุกข์เรื่องมันจบลงด้วยความฉลาด หรือสอนให้เราฉลาด ให้เราได้สัมมาทิฏฐิไว้ทุกทีไป นี้ก็เรียกว่าดับจิตด้วยสัมมาทิฏฐิ
        ทีนี้พอเกิดเรื่องใหม่ ทางหู ทางจมูก ฯลฯ ทางอะไรก็สุดแท้ มันจะดีขึ้นเป็นไปในทางดีขึ้น คือว่าเกิดทุกข์ไม่ได้
            ขอให้เข้าใจคำว่าสัมมาทิฏฐะไว้อย่างนี้ เพราะเป็นตัวนำทั้งหมดของอัฏฐังคิกมรรค มันมานำหน้า มันเป็นตัวทำหน้าที่ออกหน้า หรือเป็นตัวสำคัญ; ส่วนตัวอื่น ๆ นั้น เป็นกำลังบ้างเป็นตัวสนับสนุนบ้าง เป็นอุปกรณ์บ้าง อะไรบ้าง หน้าที่โดยางที่จะดับอะไรนี้ มันอยู่ที่สัมมาทิฏฐิ
        อัฏฐังคิกมรรค มีความสำคัญอยู่ที่สัมมาทิฏฐิ ในฐานะเป็นตัวนำหน้านอกนั้นเป็นบริวาร แต่ว่าถ้ามีแต่หัวหน้า แล้วไม่มีบริวาร มันก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน มันต้องพร้อมกันหมด หัวหน้าคนหนึ่ง แล้วก็บริวารหลาย ๆ สาขา รวมกันแล้ว มันก็ทำอะไรได้
        สรุปกฎแห่งกรรม มีอยู่สั้น ๆ อย่างนี้ว่า :-
        กัมมลักขณะ หรือลักษณะแห่งกรรมนั้น คือการกระทำด้วยเจตนาทางกาย ทางวาจา ทางใจ
          นิทานสัมภวะแห่งกรรม แดนเกิดแห่งกรรมนั้น ก็คือผัสสะที่ประกอบด้วยอวิชชา
          กัมมเวมัตตา มาตรการหรือมาตรฐานต่าง ๆ ของกรรมนั้น ก็คือกรรมที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์นรก เดรัจฉาน เปรต มนุษย์ เทวดา รวม 5 ชั้น
          กัมมวิบาก คือผลกรรมนั้น แบ่งตามที่ว่า มันให้ผลทันควัน มันให้ผลในระยะถัดมา มันให้ผลในระยะถัดมาอีก
          กัมมนิโรธ ก็คือผั้สสะนิโรธ ความดเบแห่งผัสสะ นั่นแหละคือความดับแห่งกรรม
          กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา คือมัชฌิมาปฏิปทา หรือ อิทัปปัจจยตา ในชั้นสูงสุด; และในชั้นทั่วไปคืออิรยอัฏฐังคิกมรรค : มีความเป้นอยู่ถูกต้อง 8 ประการ
            นี้คือกฎแห่งกรรมที่ตรัสไว้ในบาลีนิพเพธิกสูตร อังคุตรนิกาย ฉักกนิบาต สูตรที่ 9 แห่งมหาวรรค นี้มันยุ่ง มันดีแต่สำหรับคนที่รู้บาลี มีพระไตรปิฎกก็จะเป็นประโยชน์; แต่สำหรับชาวบ้านก็รู้ไว้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้
            ทีนี้ ในเรื่องกัมมนิโรธ คือดับเสียซึ่งกรรมนี้ มันยังมีข้อที่อธิบายได้อีกที่แปลกไปจากสูตรนี้ หมายความว่าสูตรนี้ระบุอัฏฐังคิกมรรค เป็นเครื่องดับกรรม หรือทำความสิ้นไปแห่งกรรม แต่ว่าในสูตรอื่น ไปรุบุธรรมะชื่ออื่น : ในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค ทรงระบุ โพชฌงค์ 7 ประการ ว่าเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งกรรม
            รายละเอียดของสูตรนี้ ก็ไม่ค้านอะไรกันกับสูตรที่แล้วมา ในสูตรนี้ตรัสโพชฌงค์ 7 ประการ ว่าเป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา อย่างนี้ทุกคนได้ยินได้ฟังอยู่ทั่วไปแล้ว; ถ้าเป็นพุทธบริษัท เคยศึกษาเคยฟังเทศน์จะได้ยินว่าโพชฌงค์ 7 ประการนั้น เป็นหนทางหรือเป็นปฏิปทาเพื่อจะดับเสียซึ่งตัณหา ดับตัณหาก็คือดับทุกข์
        ทีนี้ ถ้าว่าดับตัณหา หรือสิ้นตัณหา มันก็คือสิ้นกรรม; สิ้นกรรมคือสิ้นทุกข์ สิ้นทุกข์มาจากสิ้นกรรม สิ้นกรรมมาจากสิ้นตัณหา นี่เนื่องเรื่องอย่างเดียวกันหมด; แต่ไปให้ชื่อธรรมที่จะดับตัณหาดับกรรมนี้เป็นโพชฌงค์ไปแทนที่จะตรัสว่าเป็นอริยอัฏฐังคิกมรรค
        ทีนี้ ก็ดูที่โพชฌงค์ :-
          โพชฌงค์ที่ 1 ก็คือสติ มีสติ มันก็ไม่มีอวิชชาได้ ในที่ใดมีสติ ในที่นั้นไม่มีอวิชชา; ในที่ใดมีสติ ในที่นั้นมีความรู้สึกตัวทั่วถึงรอบคอบอยู่ เมื่อมีสัมโพชฌงค์ คือสติเป็นข้อที่หนึ่งแล้ว มันก็ป้องกันอวิชชาเสียแล้ว ฉะนั้นการสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก เป็นต้น ไม่มีทางที่จะเป็นอวิชชาสัมผัส เพราะมันมีสติสัมโพชฌงค์นั่นเอง
            สติสัมโพชฌงค์ ก็ทำให้เกิด ธัมมวิจยโพชฌงค์ คือรู้จักเลือกรู้จักเฟ้น รู้จักแยกแยะ มันก็ทำถูกในการที่จะเลือกเอาว่าทางไหนอย่างไร เมื่อไร ในวิธีใด ฉะนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มันก็ช่วยไม่ให้เกิดอวิชชาสัมผัส ไม่ให้เกิดผัสสะที่จะเป็นกรรม
            ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็ทำให้เกิดวิริยสัมโพชฌงค์ ทำให้เกิดความพากเพียร คือว่าเมื่อทำพอย่างนี้ถูกต้องแล้ว ทำมันให้หนักขึ้น ทำให้แรงขึ้น ทำให้สุดความสามารถ นี้คือวิริยสัมโพชฌงค์; อย่างนี้อวิชชามันก็ถอยกรูดลงไปเลย ยิ่งไกลออกไปต่อการที่จะทำให้เกิดขึ้น
        วิริยสัมโพชฌงค์ทำให้เกิดปีติสัมโพชฌงค์ คือพอใจ เป็นสุขอยู่ด้วยการกระทำอย่างนี้ ฉะนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องน่าเศร้า หรือว่าเรื่องน่าเบื่อหน่าย แต่เป็นเรื่องชวนให้สนุก ชวนให้เป็นสุข เพราะอำนาจของปีติสัมโพชฌงค์ : คนเราพอเรารู้สึกว่า เราทำได้สำเร็จแล้ว เราก็ปีติทังนั้นแหละ ทีนี้มันไม่ใช้ปีติเฉย ๆ มันเป็นปีติที่เพิ่มกำลังใจ กำลังแรงอะไรให้มันมากขึ้น นี่มันก็เป็นการที่ขจัดอวิชชาให้ถอยห่างออกไปอีก เกิดยากขึ้นไปอีก
            ปีติสัมโพชฌงค์ทำให้เกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือมันสวบรำงับลงไป มันเข้ารูปเข้ารอย เข้าเรื่องเข้าราว มันก็ไม่เอะอะตึงตัง มันสงบรำงับลงไปหมายความว่ามันก้าวหน้า คือความถูกเรื่องถูกราวนั้นมันมีแน่นแฟ้นขึ้น เมื่อมันรำงับแล้วมันยากที่จะฟูหรือจะพลุ่งขึ้นมา ปีติสัมโพชฌงค์ทำให้เกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์คือสงบรำงับลง
            ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ทำให้เกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ คือมีความแน่วแน่หนักแน่นเต็มที่จริงจังขึ้นไปอีก
            สมาธิสัมโพชฌงค์ทำให้เกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือความเฉยอยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง รอแต่เพียงเวลา เหมือนกับเรารอเวลาที่ผลไม้จะออกลูก หรือว่าเรารอเวลาว่าน้ำที่ต้มอยู่บนไฟในกานั้นมันจะเดือด เพราะว่าเราจะเอากานี้วางบนเตาให้เดือดทันทีมันไม่ได้ เราต้มให้ถูกวิธี ถ้าถูกวิธีแล้วเรารอนิดหน่อย น้ำนั้นก็เดือด นี้ก็แปลว่าการใช้เวลานั้นมันถูกต้อง ถ้าใช้เวลาไม่ถูกต้อง มันก็เลิกเสียก่อน; หรือว่ามันไม่รู้จักใช้เวลา
        การอยู่ด้วยอุเบกขานี้ หมายความว่าทุกสิ่งถูกต้องแล้ว ทีนี้อุเบกขามันให้ผลตามที่เวลามันถึงเข้า เหมือนอย่างเราจะบ่มผลไม้ให้สุกให้กินได้นี้ เราต้องใช้เวลา เรื่องมรรคผลก็เหมือนกัน มันก็ต้องทำให้ถูกต้องทุกอย่าง แล้วก็รอเวลา นี่ครบ 7 อย่างนี้ เรียกว่า สัมโพชฌงค์ เป็นหลักกลาง ๆ ใช้ได้ทั่วไปหมดไม่ว่าเรื่องอะไร แต่ถ้าในเรื่องดับกิเลสดับกรรมนี้ ก็ต้องทำไปในทางที่จะดับกิเลสดับกรรม เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสถ้อยคำที่กำชับไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลงได้ ว่าต้องเป็นสัมโชฌงค์ชนิดที่เป็นวิเวกนิสสิโต เป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก วิราคนิสสิโต คืออาศัยวิราคะ หรือนิโรธนิสสโต เป็นโพชฌงค์ที่อาศัยนิโรธ หรือว่าโวสสัคคปริณามี เป็นโพชฌงค์ที่จะน้อมไปเพื่อความสลัดเสียซึ่งกิเลสและความทุกข์นี้
        มันต้องเป็นโพชฌงค์ที่มุ่งหมายอย่างนี้ เพราะว่าหลักใจความเรื่องโพชฌงค์นี้เอาไปใช้ในการทำไร่ ทำนา ทำมาหากินก็ได้ แต่ว่าถ้าใช้เพื่อดับกรรมดับกิเลสไปนิพพานแล้ว ก็ต้องให้มันถึงขนาดที่เรียกว่า เนื่องกันอยู่กับวิเวกะ วิราคะ นิโรธะ โวสัสัคคปริณามี; จึงจะเรียกว่าเป็นโพชฌงค์ที่ใหญ่โต ที่ใหญ่หลวง ที่ไพบูลย์ ที่หาประมาณมิได้ : โพชฌงค์นี้ทำให้สิ้นกรรม
            ยังมีตรัสไว้เป็นหลักต่อไปอีกว่า ตณฺหา ปหียติ เมื่อมีโพชฌงค์อย่างนี้ตัณหาย่อมละไป; ตัณฺหาย ปหานา กมฺมํ ปหียติ เพราะตัณหาละไป กรรมย่อมละไป; กมฺมิสฺส ปหานา ทุกฺขํ ปหียติ เพราะกรรมละไป ความทุกข์ย่อมละไป; อิติ โข อุทายิ ตัณฺหกฺขยา กมฺมกฺขโย ดูก่อนอุทายี ! ด้วยเหตุดังนี้แล ความสิ้นไปแห่งกรรมย่อมมีเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา; กุมฺมกฺขยา ทุกฺขกฺขโย -ความสิ้นไปแห่งความทุกข์ ย่อมมีเพราะความสิ้นกรรม ดังนี้
            นี่ถ้าว่าไม่เคยศึกษา ก็จะเห็นว่าเป็นสองเรื่องสามเรื่อง เดี๋ยวว่าอย่างนั้น เดี๋ยวว่าอย่างนี้ เช่นประเดี๋ยวว่าอัฏฐังคิกมรรคทำให้สิ้นกรรม ประเดี๋ยวว่าโพชฌงค์ทำให้สิ้นกรรม นั้นมันเป็นเรื่องเรียกชื่อ แล้วก็มุ่งหมายในแง่ใดแง่หนึ่ง มุมใดมุมหนึ่ง แล้วก็เรียกชื่ออย่างนั้น; แต่เนื้อแท้ของมันนั้นมันเป็นเรื่องการกระทำอย่างเดียวกัน คือมีอะไรมาสกัดกั้นเอาอวิชชาไม่ให้มาเกี่ยวข้อง ในเมื่อเราจะเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก รู้รสด้วยลิ้น สัมผัสผิวหนังด้วยผิวกาย หรือกระทั่งคิดนึกอารมณ์อะไรขึ้นมาในจิตในใจ
        นี้คือเรื่องสิ้นกรรม เพราะสติปัญญาที่มาทันท่วงที ดำเนินอย่าในโพชฌงค์ก็คือดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค ถ้าคนศึกษาธรรมะมาเต็มตัวแล้ว ก็จะเห็นชัดโดยไม่ต้องมีใครอธิบาย อัฏฐังคิกมรรคก็เล็งไปในทางที่จะพูดว่า มี่อาการที่ถูกต้อง ๆ; โพชฌงค์ก็เล็งไปในข้อที่ว่า อาการที่ถูกต้อง ๆ นั้นมันมีความรู้เนื่องกันอยู่เป็นลำดับ ๆ อย่างนี้; มันมีความถูกต้องอยู่ในความรู้นั้น มันจึงจะเป็นโพชฌงค์ได้
            ทีนี้ อัฏฐังคิกมรรคนี้ อาจสรุปได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นเองเป็นเครื่องทำความสิ้นไปแห่งกรรม ศีล สมาธิ ปัญญานั้นอาจขยายออกไปเป็นรูปอื่น แบบอื่น ในรูปร่างอย่างอื่นได้อีก แต่มันก็ป่วยการ : ถือเอาอัฏฐังคิกมรรค หรือโพชฌงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นหลักก็พอแล้ว ก็จะนำไปสู่ความสิ้นไปแห่งกรรม
        ทีนี้ ก็จะมาพูดกันถึงข้อที่พูดค้างไว้เมื่อตะกี้ว่า กรรมนั้นจะต้องสิ้นไปทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่
            อะไรเป็นกรรมเก่า? อะไรเป็นกรรมใหม่? ก็มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ในพวกสังยุตตนิกาย ว่า จกฺขุ ภิกฺขเว ปุราณกมฺมํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตานั่นแหละเป็นกรรมเก่า อภิสงฺขตํ อันปัจจัยแต่งขึ้นเฉพาะแล้ว อภิสญฺเจตยิตํ อันเป็นปัจจัยทำให้มันมีความรู้สึกเจตนา เวทมิยํ ปัจจัยทำให้มันรู้สึกเวทนาได้ หมายความว่ามันไม่ใช่ดวงตาเฉย ๆ เหมือนดวงตาที่เขาถอดจากคนนี้ไปใส่คนโน้นได้; มันไม่ใช่ดวงตาเฉย ๆ อย่างนั้น แต่มันเป็นดวงตาที่ว่า มันสะดวกหรือพร้อมอยู่เสมอที่มันจะรู้สึกทางตา เพราะปัจจัยมันปรุงแต่งมาสำหรับให้ตานี้มันรู้สึกสัมผัส แล้วเป็นที่ที่จะให้อวิชชาเข้าไปผสมโรง แล้วก็เป็นสัมผัสด้วยอวิชชาทางตา นี้คือตาเป็นกรรมเก่า เหลืออยู่เป็นกรรมเก่า หรือเป็นผลของกรรมเก่า คือว่ามันมีอยู่ก่อน
        ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้จะถูกเรียกเป็นกรรมเก่าทั้งนั้น : จกฺขุ ภิกฺขเวา ปุราณกมฺมํ....; โสตํ ปุราณกมฺมํ....; ฆานํ ปุราณกมฺมํ....; ชิวฺหา ปุราณกมฺมา.....; กาโย ปุราณกมฺโม.....; มโน ปุราณกมฺโม อภิสงฺขโต อภิสญฺเจตยิดต เวทนิโย ทฏฺฐพฺโพ อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ปุราณกมฺมํ นี้คือกรรมเก่า ถ้าเราอย่ามี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กันแล้ว มันก็ไม่มีเรื่อง แต่บัดนี้มันมีเหตุปัจจัยอะไรที่ทำอยู่แล้ว ทำให้มันมีตารอคอยอยู่ ทำให้มีหูรอคอยอยู่ จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้มันรอคอยอยู่ ตอคอยอยู่ต่อการสัมผัส พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า นี้เป็นกรรมเก่า
            ทุกคนมีกรรมเก่า คลำดูซิ มันมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่คอยพร้อมอยู่เสมอที่จะทำเรื่องผัสสะ
            ทีนี้ กรรมใหม่ อะไรเล่ากรรมใหม่? ยํ โข ภิกฺขเว เอตรหิ กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว นวกมฺมํ –“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลนี้; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ก็หมายความว่าอะไรที่มันงอกออกมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นแหละคือกรรมใหม่
            เพราะเรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่ เราจึงมีการสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อวิชชาเข้าไปผสมโรง มันก็เกิดเวทนาที่มาจากอวิชชา ที่อยู่ใต้อำนาจของอวิชชา เกิดตัณหา เกิดอุปทาน เกิดทุกข์
        กรรมนี้สมบูรณ์ที่สุดเมื่อเกิดอุปาทาน หมายความว่า เมื่อเรามีความรู้สึกเป็นตัวกูของกูอย่างไรแล้ว นั่นแหละจะเรียกว่ามีการกระทำทางใจหรือทางกายหรือทางวาจาลงไปแล้ว นี้กรรมใหม่เกิดขึ้นมาหยก ๆ แล้วก็สิ้นไปโดยสิ้นเรื่อง เพื่อจะเปลี่ยนไปเกิดกรรมอย่างอื่นต่อไป
        การดับแห่งกรรมอย่างนี้ มันชั่วคราว ไม่ได้หมายความว่า ดับเชื่อแห่งกรรม แล้วกรรมจะไม่เป็นกรรมขึ้นมาอีก มันเพียงแต่เปลี่ยนกรรม : เปลี่ยนกรรมเป็นทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ฯลฯ นี้เราเปลี่ยนกรรมกันอยู่ตลอดเวลากรรมใหม่จึงมีอยู่ตลอดเวลา : อยู่บนบ่อเก่าคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ที่ตรงนั้นแหละ
            ทีนี้ ความดับแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า? โย โข ภิกฺขเว กายกมฺม วจีกมฺม มโนกมฺมสฺส นิโรธา วิมุตฺตึ ผุสติ อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว กมฺมนิโรโธ –“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลย่อมถูกต้องซึ่งวิมุตติ เพราะการดับไปแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี่แหละเราเรียกสว่า ความดับแห่งกรรม นี้คือความดับแห่งกรรม ถ้าดับไปแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทั้ง 3 นี้แล้ว จิตจะถูกต้องต่อวิมุตติ คือว่างกรรม; จะเป็นชั่วคราวก็ตาม เด็ดขาดก็ตาม มันมีลักษณะอย่างนี้ ถ้าดับชั่วคราวมันก็ว่างชั่วคราว ถ้าเด็ดขาดมันก็ไม่มีการกระทำอีก
            ทีนี้ข้อที่ว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับแห่งกรรมเป็นอย่างไรเล่า? อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค เสยฺยถีทํ สมฺมาทิฏฐิ สมิมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมิมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว กมฺมนิโรธคามินิ ปฏิปทา แปลว่า ข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงซึ่งความดับแห่งกรรมนั้น คือมรรคประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐนี้เอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไปแห่งกรรม
            แล้วมีข้อที่ตรัสกำชับกับพวกเราว่า อิติ โข ภิกฺขเว เทสิตํ โว มยา ปุราณกมฺมํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยข้อความอย่างนี้แล เป็นอันว่าเราแสดงกรรมเก่าแก่พวกเธอแล้ว; เทสิตํ นวกมฺมํ –“เราแสดงกรรมใหม่แก่พวกเธอแล้ว เทสิโต กมฺมนิโรโธ –“เราแสดงความดับแห่งกรรมแก่พวกเธอแล้ว”; เทสิตา กมฺมนิโรธคามินี ปฏิปทา –“เราแสดงปฏิปทาเพื่อความดับแห่งกรรมแก่พวกเธอแล้ว
            ทีนี้ ก็มีตรัสว่า นั่นโคนไม้ ! นั่นที่สงัด ! พวกเธอจงประกอบความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งกรรม
            แล้วก็ยังมีตรัสเป็นพิเศษอีกว่า เรื่องนี้เรารู้เอง มิได้ฟังมาแต่ผู้อื่น เรื่องกฎเกณฑ์แห่งกรรมอย่างนี้ พระพุทะเจ้าท่านตรัสยืนยันว่า เป็นเรื่องที่ท่านรู้เอง ไม่ได้เล่าเรียนมาจากใคร
            เมื่อเป็นดังนี้ก็แปลว่า เรื่องกรรมเก่า กรรมใหม่ นี้ มันแปลกจากที่เราเคยได้ยินได้ฟัง ที่เราเคยได้ยินได้ฟังกัน นั้นมันเป็นการพูดอย่างที่เขาพูดกันอยู่ มันเป็นการพูดอย่างศีลธรรม พูดอย่างบรมโบราณพูด : พูดอย่างมีตัวมีตน มีกรรมใหม่กรรมเก่า ข้ามภพข้ามชาติ เข้าโลงไปแล้วยังติดตามไปอีก อะไรทำนองนี้
            แต่ถ้าพูดอย่าง อิทัปปัจจยตา ตามแบบของพระพุทธเจ้า เป็นหลักธรรมที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา แล้ว ก็ว่า กรรมเก่านี้ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รอคอยอยู่ตลอดเวลา ทีนี้ พอมันเคลื่อนไหวไปในทางที่มีอวิชชาเข้ามาประกอบด้วยแล้ว มันเป็นกรรมใหม่ เป็นการกระทำทางกาย ทางวจา ทางใจ แล้วมันอยู่ที่นี่ ใกล้ ๆ ที่ตรงนี้ แล้วก็มากมายเหลือเกิน ดูจะมากมายหยุมหยิมไปหมด
        เราจะต้องตั้งตัวให้ถูก ดำรงตัวอยู่ให้ถูก แล้วกรรมเหล่านั้นเกิดไม่ได้ ทำอะไรเราไม่ได้ ตั้งตัวให้ถูกคือมีมัชฌิมาปฏิปทา หรือว่าอริยอัฏฐังคิกมรรค คือความถูกต้อง 8 ประการ
        แม้ว่าจะมีสูตรอื่นที่แสดงกรรมเก่ากรรมใหม่ ข้อความมันก็ยังเหมือน ๆ กันนั่นแหละ เช่นว่ามีสูตรหนึ่ง ตรัสว่า : นายํ ภิกฺขเว กาโย ตุมฺหากํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย; นาปิ อญฺเญสํ กายนี้ไม่ใช่ของคนแม้เหล่าอื่น; ปุราณมิทํ ภิกฺขเว กมฺมํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้แหละคือกรรมเก่า อภิสงฺขตํ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อภิสญฺเจตยิตํ อันปัจจัยทำให้มันนึกคิดได้แล้ว เวทนิยํ อันปัจจัยทำให้มันรู้สึกเวทนาได้ ทฏฺฐพฺพํ ควรที่พวกเธอทั้งหลายจะมองเห็น
        ในทีนี้พระพุทธเจ้าท่านทรงชี้ว่า กรรมเก่านั้น คือกายนี้; กายนี้ก็เป็นที่รวมแห่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ; นี้คือกรรมเก่า เรื่องนี้ก็มาในสังยุคตนิกายด้วยกันกับสูตรที่แล้ว แต่ในสุตนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสพิเศษออกไปหน่อยหนึ่งว่า กายคือกรรมเก่านี้ ไม่ใช่ของเธอ แล้วก็ไม่ใช้ของคนแม้เหล่าอื่นด้วย
        ถ้าว่ากายนี้เป็นของเรา มันก็มีตัวตนเป็นของเรา; นั่นเป็นเรื่องอวิชชาเป็นเรื่องสัสสตทิฏฐิ แล้วก็ไม่ใช่ของคนอื่น เพราะมันไม่มีคนอื่นอยู่นั่นแหละ ไม่มีทั้งตนเอง ไม่มีทั้งคนอื่น เพราะว่ามีเพียงกระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท เท่าที่พระสวดเมื่อตะกี้นี้เพียง 11 ข้อ ก็ออกชื่อ อิทัปปัจจยตา ตั้ง 22 หน
            อิทัปปัจจยตา นั่นแหละ คือตัวที่ถูกสมมติว่า เป็นตัว เธอ บ้าง เป็นตัว ผู้อื่น บ้าง ที่ตรัสว่าไม่ใช้ของเธอ ไม่ใช่ของผู้อื่นนั้น เพราะมันเป็นเพียงธรรมชาติ คือกระแสดงแห่ง อิทัปปัจจยตา เป็นไปอย่างนั้น; มันเกิดมาตามกำของ อิทัปปัจจยตา ที่ว่า : อวิชชาให้เกิดสังขาร; สังขารให้เกิดวิญญาณ; วิญญาณทำให้เกิดนามรูป; นามรูปให้เกิดสฬายตนะ; สฬายตนะให้เกิผัสสะ; ผัสสะให้เกิดเวทนา; ฯลฯ อะไรนี่ นี้ก็เคยฟังกันอยู่แล้ว หรือไม่เคยฟังก็ไปหาอ่านได้ง่าย; นั้นคือกระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา
            เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยหลักธรรมที่เป็นชั้นลึก ที่เป็นสัจจธรรมแล้วจึงกล่าวไปในทำนองว่า ไม่มีบุคคลใดที่ทำกรรม และ ไม่มีบุคคลใดที่เสวยผลของกรรม นี่ฟังให้ดีเดี๋ยวจะฟังไม่ถูก; คือกำลังพูดว่า การทำกรรมมีแล้ว แต่ไม่มีผู้ทำกรรม; การเสวยผลของกรรมก็มีแล้ว แต่ไม่มีผู้เสวยผลของกรรม : เพราะว่ามันมีแต่กระแสของ อิทัปปัจจยตา
          กายกับใจ และสิ่งที่ประกอบอยู่ที่กายกับใจ มันทำไปตามกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา; เพราะฉะนั้น จะไม่เรียกว่า บุคคลใดกระทำ; จะไม่เรียกว่า นาย ก. นาย ข. นาย ค. นาย ง. กระทำ แต่ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านก็ต้องพูดว่า คนนั้นคนนี้กระทำ เป็นหญิง เป็นชาย เป็นนาย ก. นาย ข. นาย ค. นาย ง. เป็นผู้กระทำ เป็นผู้เสวยผลของกรรม
            ทีนี้ ถ้าใครถามว่า ใครทำกรรม? ใครเสวยผลของกรรม? ก็บอกว่าไม่มี ถ้าเขาจะถามต่อไปอีกว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีการทำกรรม ไม่มีการเสวยผลของกรมซี่? ก็บอกว่า มี ! มีการทำกรรม มีการเสวยผลของกรรม แต่บุคคลผู้ทำกรรมผู้เสวยกรรมนั้นไม่มี; คือตัวที่เรียกว่าบุคคลนั้น มันมิได้มีอยู่จริง มันเป็นเพียงกายใจ; มันคิดว่ามีนเป็นตัวฉันผู้ทำกรรม ถ้ายังขืนหลงอยู่อย่างนี้ จะมีทำกรรมเรื่อย จะไม่พ้นจากกรรมได้ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ
            ฉะนั้น จะต้องหมดความคิดความหลงว่า เรา ว่า ฉัน เป็นผู้ทำกรรมเสียก่อน จึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิขึ้นมา เรียกว่าตลอดเวลาทีเดียว ที่ไม่มีบุคคล มีแต่ อิทัปปัจจยตา นี่ถ้าจะพูดว่าการที่พวกคุณมากันที่นี่ มาจากที่ต่าง ๆ มากันที่นี่ นี้ไม่มีบุคคลมา ไม่มีใครมา มีแต่ อิทัปปัจจยตา มา; เดี๋ยวก็ได้หัวเราะกันใหญ่
          ทุกคนนี่ ไม่ใช่คน เป็นเพียงกระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา : มันผลักไสกันมาในตัวมัน ร่างกายจิตใจอะไร มันก็ทำให้มา การมามี แต่บุคคลผู้มาไม่มีทำนองอย่างนี้
        การเข้าใจข้อเท็จจริงลึกลงไปถึงขนาดนี้ จะนำไปสู่ความรู้เรื่องความสิ้นไปแห่งกรรม : ต้องไม่มีตัวตน มันจึงจะไม่มีการกระทำกรรม ถ้ามีตัวตน มันมีการกระทำกรรมอยู่เรื่อยไป จะต้องมองให้เห็น พยายามมองให้เห็น ว่ามันไม่มีส่วนใดที่เป็นสัตว์เป็นบุคคล แต่เรามันรู้สึกไปเองว่า เราเป็นสัตว์ เราเป็นบุคคล จะทำอย่างไรได้ เราต้องพุดไปตามความรู้สึก คนอื่นก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงมีมึงมีกูขึ้นมา ที่จะได้แข่งขันแย่งชิงกัน จนเป็นปฏิจจสมุปบาทแห่งการทะเลาะวิวาทขึ้นมาได้ ด้วยเหตุนี้
            เอาละ ทีนี้จะยกตัวอย่างว่า แม้ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ท่านสอนเอง เรื่องอนัตตา : รูป อนตฺตา เวทนา อนตฺตา ฯลฯ รูปไม่ใช่ตน เวทนาไม่ใช่ตน สัญญาไม่ใช่ตน สังขารไม่ใช่ตน วิญญาณไม่ใช่ตน; สอนอยู่อย่างนี้ ภิกษุองค์หนึ่งฟังอยู่ตลอดเวลา แต่พอจบเรื่องในที่สุด เขาได้ความรู้หรือเกิดความรู้ขึ้นมาว่า เอ้า ! พวกเราโว้ย ! รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา แต่แล้วไอ้กรรมที่อนัตตากระทำนั้น มันมาได้แก่เราที่ไม่ได้กระทำ แก่อัตตาที่ไม่ได้กระทำ
            นี่มันสับสน กรรมที่อนัตตากระทำ ไปถูกอัตตาที่เป็นเจ้าของกรรมก็ได้ นี่เพราะมันพูดกันคนละที : เมื่อฟังนั้น ฟังว่าเป็นอนัตตาหมด อนัตตาทำกรรม; แต่พอผลกรรมเกิดขึ้น มันเจ็บมันปวด หรือมันสุขมันทุกข์ แก่ได้ตัวนี้ แก่ตัวอัตตานี้ นี้เป็นเรื่องเข้าใจยากอย่างนี้
        นี้มันเป็นเรื่องเล่นตลกเกี่ยวกับเรื่องอนัตตา เพราะว่าอนัตตานั้น เป็นแต่เพียงการได้ยินได้ฟังว่าอนัตตา; ส่วนอัตตานั้นเป็นความรู้สึกในใจจริง ๆ มันเลยเล่นตลกกัน ในเมื่อเอามาเกี่ยวข้องกันด้วยการทำกรรม หรือการได้รับผลของกรรม เพราะว่าเขามีอัตตาอยู่เรื่อย เข่าไม่ยอมปล่อยอัตตา เขาจะต้องยึดอะไรอยู่อย่างหนึ่งเรื่อย
        ที่อาตมาได้ประสบมาด้วยตนเอง : เมื่อเรามีการสอนเรื่องว่า ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ให้ปล่อยวางสิ่งทั้งปวงเสียโดยความเป็นของไม่ควรยึดมั่นถือมั่น พอพูดจบแล้ว ก็มีคนถามขึ้นทันทีว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว จะให้ยึดอะไรต่อไป? ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว จะให้ยึดอะไรต่อไป? มันยังมีปัญหาเหลืออยู่อย่างนี้ ให้ปล่อยหมดทุกอย่าง แล้วจะยังมาถามว่า เอ๊ะ ! ถ้าอย่างนั้นจะยึดอะไรเล่า? นี่เพราะว่า จิตที่คิดว่าจะยึดมั่นถือมั่นตามความรู้สึกเคยชินนั้นจะเหลืออยู่เสมอ
            มันต้องศึกษาเจาะจงกันลงไปในข้อที่ว่า ความยึดมั่นถือมั่นนั้น มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? ทำให้รู้สึกว่าตัวกูตัวสูขึ้นมาได้อย่างไร? จนรู้ว่ามันเป็นอวิชชาทั้งนั้นเลย; แล้วอวิชชาก็ไม่ใช้ของจริง แต่มันทำให้เกิดความรู้สึกในใจขึ้นมาได้ว่าอย่างนั้นจริง ๆ
            นี่เรื่องกรรมนี้มันพาดพิงมาถึงสิ่งที่เรียกว่าอนัตตา เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่ากรรมนั้นเป็นเพียงกฎขอวงอนัตตา หรือ อิทัปปัจจยตา; เป็นไปตามกฎของ อิทัปปัจจยตา แต่เราไม่รู้สึกอย่างนั้น เราจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องของ เรา เสมอ
            มันต้องปลุกปล้ำกันไปเถอะ กว่าจะรู้จักว่า อันนี้ ทั้งหมดนี้ ชีวิตนี้เป็นเพียง อิทัปปัจจยตา : ไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ของกู ถ้ายังเป็นตัวกูของกู ก็ต้องทนทำกรรม รับกรรม ผลดีผลชั่วไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวร้องไห้ที เดี๋ยวหัวเราะที เดี๋ยวร้องได้ที เดี๋ยวหัวเราะที เรื่อยไปเถอะ
          ถ้ายังมีตัวมีตน มันก็ต้องรู้สึกว่าเรากำลังเป็นไปตามกรรมดีกรรมชั่ว แล้วต่างคนก็ต่างขวนขวายหากรรมดีละกรรมชั่ว แต่ทีนี้เมื่อยึดมั่นกรรมดีแล้ว มันก็มีความหนักไปตามแบบกรรมดี มีความวิตกกังวลไปตามแบบกรรมดี แม้จะโลภก็โลภอย่างดี โกรธก็โกรธอย่างดี อะไร ๆ ก็ล้วนแต่อย่างดี มันก็มีความทุกข์ไปตามแบบคนดี จนกว่าจะเบื่อ
        พอเบื่อก็จะหันไปหากรรมชนิดที่เป็นสัจจนธรรม คือที่จะทำความสิ้นกรรม เพราะฉะนั้นตั้งแต่เราเกิดมาจนบัดนี้ เราอาจจะไม่วี่แววในเรื่องสิ้นกรรมหรืออยู่เหนือกรรม : เรายังอยากดี อยากดีไม่มีที่สิ้นสุด ต้องการจะสร้างสิ่งที่ดี ๆ กัน ไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็มีความทุกข์อย่างไม่รู้ตัว
        เพราะนั้น ธรรมนี้มีประโยชน์ที่จะช่วยให้ไม่เป็นทุกข์ : อย่างน้อยเราก็เชื่อพระพุทธเจ้ากัน ในข้อที่ว่า อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมัน; หรือว่าอย่าไปยึดมั่นให้มันมากนัก ขอให้อาศัยไปทีก่อน อย่าไปยึดมั่นถือมั่นนัก ประวิงเวลาไปก่อนจนกว่าวันหนึ่งมันจะมองเห็นได้เองว่า ไม่น่ายึดมั่นถือมั่นแม้แต่ชีวิตนี้
            แม้แต่ชีวิตนี้ หรือสิ่งที่เนื่องกันอยู่กับชีวิตนี้ ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น เพราะว่ายึดมั่นถือมั่นทีไรเป็นทุกข์นั้น ทันควันเลย เป็นไปตามกฎของกรรมที่ว่ามาแล้วว่า ยึดมั่นถือมั่นแล้วมันจะเป็นทุกข์ทันที ผัสสะเข้ามาทางตา ถ้าเกิดความยึดถือก็เป็นทุกข์จากทางตา; ผัสสะเข้ามาทางหู ถ้าเกิดความยึดถือ ก็เป็นทุกข์จากทางหู; ฯลฯ มันทุกข์ได้ทุก ๆ อายตนะ ตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา ที่จะเกิดความทุกข์
            ทีนี้สมมติว่า ถ้าโชคดี มีปัญญาบ้าง รู้จักสังเกต ในเวลาอันไม่นานนักก็จะรู้ว่า โอ ! ถ้าไม่ต้องยึดมั่นมันก็ยังได้ แล้วยังดีกว่า ฉะนั้น เราอยู่ในโลกนี้โดยไม่ต้องยึดมั่นถือมันยังจะดีกว่า ไม่ใช่ว่าเราจะไม่มีอะไรกินไม่มีอะไรใช้ เราคงจะทำอะไรได้ตามเดิม แต่เราไม่เป็นทุกข์
            เราไม่ได้มีเงินไว้สำหรับเป็นทุกข์; เราไม่ได้มีเกียรติยศชื่อเสียงไว้สำหรับเป็นทุกข์; ฉะนั้น เราต้องจัดการกันให้ดี ให้ถูกต้อง เกี่ยวกับทรัพย์สมบัติ เกียรติยศ ชื่อเสีย เงินทองข้าวของ คืออย่ายึดมั่นถือมัน นั่นแหละจะไม่เกิดกรรม : จะไม่เกิดมโนกรรมชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นมา เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
            ถ้ายึดมั่นถือมั่น เดี๋ยวก็คิดลักขโมย นี้อย่างเลวที่สุด; หรือว่ายึดมั่นถือมั่นแล้ว แม้จะหาได้มาโดยสุจริต มันก็เอามาสำหรับวิตกกังวล หรือเอามาสำหรับทำให้เห็นแก่ตัวมากขึ้น มันจะเป็นทุกข์อย่างนี้
            ที่ศึกษาเรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เพื่อให้กรรมเป็นไปไม่ได้ เพื่อไม่ให้กรรมบีบคั้น หรือขบกัดเราได้ เรียกว่ารู้เรื่องการสิ้นกรรม; รู้เรื่องกรรมที่จะทำความสิ้นแห่งกรรม นี้เป็นคำสรุป
        นี้ขอให้ทุกคนจำไว้ว่า มันมี 3 กรรม พูดสรุปเสียใหม่ว่ามี 3 กรรม : กรรมชั่ว กรรมดี แล้วกรรที่ไม่ชั่วไม่ดี นี้ถ้าจะจำง่าย ๆ ต้องจำอย่างนี้ว่า 1. กรรมชั่ว 2. กรรมดี 3. กรามเหนือชั่วเหนือดี
            กรรมชั่วกรรมดีนี้ เป็นกรรมในขั้นศีลธรรม กรรมที่ไม่ชั่วไม่ดีอยู่เหนือดีเหนือชั่วนั้น คือกรรมในขั้นสัจจธรรม  คือกรรมที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของความไม่ยึดมั่นถือมั่น
        ทุกกรรมเนื่องอยู่กับ อิทัปปัจจยตา : ถ้า อิทัปปัจจยตา ตั่งต้นด้วยอวิชชา มันก็เป็นกรรมที่ขบกัดบุคคลให้เป็นทุกข์; แต่ถ้ามันเป็นกรรมที่ตั้งต้นด้วย อิทัปปัจจยตา ส่วนที่เป็นวิชชา คือไม่ปล่อยให้เกิดอวิชชา เพราะว่ามีสติมีปัญญา มีอัฏฐังคิกมรรค มีโพชฌงค์ 7 อะไรเหล่านี้แล้ว ก็กลายเป็นกรมที่เหนือดีเหนือชั่ว ที่จะระงับเสียซึ่งกรรมดีและกรรมชั่วให้หมดฤทธิ์หมดเดช
            เดี๋ยวนี้กรรมดีกรรมชั่วยังมีอำนาจขบกัดเรา บีบคั้นเรา ทั้งหลับทั้งตื่น ที่ว่ามีความสุข ๆ นั้น ก็พูดหลอกตัวเองไปอย่างนั้นแหละ คือพูดแก้เก้อไปอย่างนั้นเองแหละ มีเงินมาก มีเกียรติยศมาก มีชื่อเสียงมาก คุยโอ่ว่ามีความสุขมาก มันก็มีความสุขของอวิชชา ซึ่งจะหลอกกันทั้งนั้น; และที่สำคัญที่สุด ก็คือหลอกตัวเอง
          ความสุขที่แท้จริง มันไม่ได้อยู่ที่มีเงิน หรือไม่มีเงิน หรืออะไรทำนองนั้น : มันมีอยู่ที่ว่าเรามันไม่ยึดมั่นถือมั่น เรามีกรรมที่สาม ที่อยู่เหนือดีเหนือชั่ว เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือแพ้ เหนือชนะ เหนือได้ เหนือเสีย เหนือทุกอย่างไปเลย กรรมนี้จะเรียกว่ากรรมก็ได้ เรียกว่ากรรมเหนือดีเหนือชั่ว แต่ที่แท้คือความสิ้นกรรม มันเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของกรรม
            นี่สรุปได้ก็คือว่า ถ้ามีอวิชชา คือเป็นคนธรรมดาสามัญ มีอวิชชาก็ต้องอยู่ใต้อำนาจของกรรมดีกรรมชั่ว : พยายามหลีกกรรมชั่วทำกรรมดี พอให้ได้ปล่อยตัวเองไว้ก่อน จนกว่าจะรู้จักมันดี
            ทีนี้ก็ถึงบทของวิชชากันบ้างแล้ว เห็นว่าไม่ไหว ดีชั่วนี้ไม่ไหว เดี๋ยวฟูเดี๋ยวแฟบ เดี๋ยวฟู เดี๋ยวแฟบ ไม่เป็นอย่างนั้นเสียดีกว่า ที่ว่าไม่เป็นอย่างนั้นยังพูดยากว่าเป็นอย่างไร ไม่เป็นอย่างนั้น มันพูดยากว่าจะเป็นอย่างไร คือมันไม่เป็นอย่างไร มันไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นอย่างไร ไม่อาจจะบัญญัติว่าเป็นอย่างไร; มีอย่างเดี๋ยวแต่ว่า ไม่เป็นไปตามอำนาจของกรรม ไม่เป็นไปตามกิเลส ตัณหา อวิชชา : มันมีความหยุด มันมีความเย็น มีความสะอาด มีความสว่าง มีความสงบ ซึ่งรวมความแล้วมันหยุด หรือมันเย็น นี้เรียกว่าถึงที่สุดของกรรมคือสิ้นกรรม หรือว่าเหนือกรรม
        เราอยากอยู่เหนือกรรม อยากสิ้นกรรม เราก็ต้องกระทำกรรมชนิดที่จะทำให้อยู่เหนือกรรม; อย่าไปทำกรรมที่จะพอกพูดความชั่วหรือความดี มันจะไม่มีที่สิ้นสุดในกรรมชั่วหรือกรรมดี; แล้วก็ต้องเลี้ยวไปหาพระพุทธเจ้าเพื่อดำเนินไปในอัฏฐังคิกมรรค คือทำกรรมชนิดที่จะให้สิ้นสุดแห่งกรรมทั้งปวงเหมือนที่เขาสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า สพฺพกมฺมกฺขยํ ปตฺโต ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง
            กรรมมีอยู่ 3 อย่าง ถ้าเรียกอย่างพระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่า กรรมดำ กรรมขาว กรรมไม่ดำไม่ขาว เดี๋ยวจะฟังมีถูกจึงเรียกเสียใหม่ว่ากรรมชั่ว กรรมดี แล้วกรรมที่ไม่ชั่วไม่ดี คืออยู่เหนือชั่วเหนือดี มีอยู่อย่างนี้
          กรรมที่เกี่ยวพันกับมนุษย์ ทำให้มนุษย์เป็นทุกข์นั้น เนื่องอยู่ด้วยอวิชชา ส่วนกรรมที่จะทำให้สิ้นกรรมทั้งปวงนั้น เนื่องอยู่กับวิชชา วิชชาตรงกันข้ามจากอวิชชา ทีนี้กรรมชั่วดี เนื่องอยู่กับอวิชชา มันก็มีตัวมีตนมันก็ต้องเป็นเรื่องแบกเรื่องหามตัวตน ถ้าเป็นกรรมเหนือดีเหนือชั่ว มันไม่มีอวิชชา มีแต่วิชชา; ดังนั้น มันจึงไม่มีความรู้สึกว่าตัวว่าตน มันก็ไม่ต้องแบกต้องหามอะไร มันจึงเบา มันจึงสบาย
            ตัวตนนั้นเป็นเพียงมายา แต่ว่าหนักยิ่งกว่าภูเขาเลากา นี่พูดอย่างอุปมาเป็นภาพพจน์ ว่าสิ่งที่เรียกว่าตัวตนนั้น มันลม ๆ แล้ง ๆ ทั้งนั้นแหละ มันเป็นความโง่ของอวิชชา แต่มันหนักยิ่งกว่าภูเขา หรือยิ่งกว่าโลกทั้งโลก เพราะนั้น มันจึงเป็นทุกข์ เรียกว่าแบกของหนักหรือภารหาโร
          เรื่องของมนุษย์ที่อยากจะหมดกรรม มันก็มีอยู่อย่างนี้ : เมื่อมนุษย์นั้นได้เบื่อการเป็นไปตามกรรม แล้วอยากจะสิ้นสุดเสียที จึงไปหาผู้รู้ ผู้รู้เรื่องนี้ก็มีพระพุทธเจ้า เป็นผู้รู้เป็นคนแรก หรือเป็นผู้รู้จริง พระพุทธเจ้าองค์ไหนก็สอนเหมือนกันหมด; สอนเรื่องความสิ้นกรรมสิ้นทุกข์นี้เหมือนกันหมด
          หลักพระพุทธศาสนาในส่วนนี้ เราเรียกได้ว่า เป็นเรื่องกรรม เรื่องกฎเกณฑ์แห่งกรรม สิ้นกรรมก็สิ้นทุกข์ ! เรียกว่าดำเนินอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทาก็ได้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าในโพชฌงค์ทั้ง 7 ก็ได้
            ข้อความโดยสังเขปย่อ ๆ อย่างที่ได้พูดมาแล้วนี้ ขอให้จำเอาไปศึกษาโดยรายละเอียดด้วยตนเอง ให้เข้าใจยิ่งขึ้น : รู้จักกรรมดำ รู้จักกรรมขาว รู้จักกรรมไม่ดำไม่ขาว; แล้วก็จบเท่านี้แหละ เรื่องกรรม
          นี่เวลาที่กำหนดไว้ก็หมดแล้ว ขอให้พระสงฆ์ท่านสวดธัมมปหังสนปาฐะต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น