วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อิทัปปัจจยตา 11 ในฐานะที่เป็นกฎแห่งกรรม กรรม และกัมมักขัย

เสาร์ที่ 11 มีนาคม 2515
          ท่านสาธุชนผุ้สนใจนธรรมทั้งหลาย !
            การบรรยายเรื่อง อิทัปัจจนขา ในครั้งที่ 11 นี้ จะได้กล่าวโดยหัวข้อว่า อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นกฎแห่งกรรม เป็นกรรม และเป็นกัมมักขัย ดังที่ท่านทั้งหลายก็ทราบได้ดีอยู่แล้วจากใบประกาศกำหนดการ
            เกี่ยวกับเรื่องนี้ ขอทบทวนทุกครั้งไป โดยไม่กลัวว่าท่านผู้ใดจะรำคาญ ว่าการบรรยายเรื่องนี้มีความมุ่งหมายส่วนใหญ่ที่จะให้คำว่า อิทัปปัจจยตา กลายมาเป็นภาษาที่ใช้พูดประจำวันในหมู่พุทธบริษัทเรา ให้สมกับความที่คำ ๆ นี้เป็นคำสำคัญ เป็นหัวใจของพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่ต้องเอามาพูดได้เป็นประจำวัน เพราะเหตุว่า เรื่องของมนุษย์ทุกวันนี้เป็นประจำอยู่นี้ก็คือพฤติกกรมต่าง ๆ ที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ของอิทัปปัจจยตา; ไม่ว่าเราจะคิดอะไร จะพูดอะไร หรือจะทำอะไร มันเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา หรือเมื่อดูที่พฤติกรรมอันนั้นแล้วคือ ตัว อิทัปปัจจยตา นั่นเอง; แต่เราไม่สนใจที่จะมองกันในแง่นี้ แล้วก็ไม่ได้เอามาพูดให้ถูกให้ตรงตามที่เป็นจริง นี้คือความมุ่งหมายที่ว่า อยากจะให้คำ ๆ นี้กลายเป็นภาษาที่ใช้พูดจากกันเป็นประจำวัน นี้อย่างหนึ่ง
            อีกอย่างหนึ่ง การบรรยายเรื่องนี้ ให้เป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งกันนั้นก็เพื่อให้สามารถใช้เป็นหลัก สำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นประจำวัน ให้ได้ทันท่วงที แล้วก็ให้แก้ได้ทุกอย่าง สมตามที่ว่า หลักธรรมะนี้จะแก้ปัญหาได้ทุกอย่างจริง ๆ
            นี่แหละคือความมุ่งหมาย ที่อาตมาได้พยายามบรรยายเรื่องนี้ และเห็นอยู่ว่าเป็นความมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา หรือของพระพุทธเจ้าด้วย ในการที่จะให้พุทธบริษัททุกคนมีความแจ่มแจ้งในเรื่อง อิทัปปัจจยตา; และใช้หลักธรรมะนี้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เราจะต้องพยายามกันต่อไป แม้ว่าจะนานสักเท่าไร ก็ยังจะพยายามเพื่อให้สมความมุ่งหมายอันนี้ให้จงได้
            ทีนี้ ก็มาถึงหัวข้อสำหรับการบรรยายในวันนี้ ท่านก็เห็นอยู่แล้วว่าเป็นการบรรยายเรื่องกรรม แต่แยกออกไปเป็น 3 หัวข้อ : เป็นกฎแห่งกรรม แล้วก็เป็นตัวกรรม แล้วก็เป็นกัมมักขัยะ คือความสิ้นไปแห่งกรรม; เป็น 3 เรื่อง หรือ 3 หัวข้อ แต่แล้วมันก็เป็นเรื่องเดียว คือเรื่องกรรม เพราะว่าเกี่ยวกับกรรมทั้งนั้น
            เรื่องกรรมนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด และกำลังเข้าใจผิดกันอยู่เป็นอันมากทั้งพุทธบริษัทเราเอง และทั้งผู้อื่นที่มิใช่พุทธบริษัท แต่เข้ามาศึกษาธรรมะในพุทธศาสนา เช่นพวกฝรั่ง เป็นต้น โดยทั่วไปก็คือเข้าใจไม่ตรงตามที่เป็นจริงในเรื่องกรรมของพุทธศาสนา; ไปเอาเรื่องวกรรมทั่ว ๆ ไปแม้ในศาสนาอื่นมาเป็ฯเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา; คือพูดกัน แต่เพียงว่า ทำดี-ดี ทำชั่ว-ชั่ว เท่านั้น แล้วก็เลิกกัน ถ้าพูดเพียงเท่านั้นยังไม่เป็นเรื่องกรรมในพุทธศาสนา
            เรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา จะต้องพุดถึงกรกรมที่ทำให้สิ้นกรรมอีกด้วย; กรรมดีก็ตามกรรมชั่วก็ตาม มีกรรมอันหนึ่งซึ่งจะทำให้มันหมดไปทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว เพื่อว่าจะไม่ต้องเป็นไปตามอำนาจของกรรมชั่ว หรือไม่ต้องเป็นไปตามอำนาจของกรรมดี แต่จะดับเสียซึ่งอำนาจแห่งกรมทุกชนิด ไม่มีการเวียนว่ายไปตามกรรม จึงจะเรียกว่านิพพาน นี้คือกัมมักขัย หรือกัมมักขโย ความสิ้นไปแห่งกรรม
          การกระทำให้สิ้นกรรมนั้น ก็เป็นกรรมอีกชนิดหนึ่ง แล้วก็ไม่เคยสนใจกัน ไม่เคยได้พูดกัน; แล้วบางคนจะไม่เรียกว่ากรรมด้วยซ้ำไป ดังนั้น เราจะต้องพิจารณากันให้ละเอียดต่อไปข้างหน้า เกี่ยวกับเรื่องนี้
          ที่พูดว่า กฎแห่งกรรรม ก็คือกฎเกณฑ์ทั้งหลายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องกรรมอันเป็นกฎของธรรมชาติกำหนดไว้อย่างตายตัวนั้นก็มี ที่เป็นกฎเกณฑ์ที่พระศาสดาบางองค์ บางคนบัญญัติกันขึ้นก็มี อย่าเข้าใจว่าเรื่องกรรมนี้มีบัญญัติแต่ในพุทธศาสนาโดยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น โดยที่แท้แล้วคนพวกอื่นก็มีบัญญัติเรื่องกรรม แต่ว่าไม่เท่าหรือไม่เหมือนทีเดียวกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติ; แต่ถึงกระนั้นพระพุทธองค์ ก็ยังตรัสรับรองคนเหล่านั้นว่า เป็นกรรมวาที คือเป็นศาสดาผู้กล่าวสอนเรื่องกรรมด้วยเหมือนกัน แม้ว่าจะไม่สมบูรณ์
            ความไม่สมบูรณ์มันก็อยู่ตรงที่ว่า : ไม่ได้สอนให้คลอดสิ้นสุดไปถึงเรื่องความสิ้นแห่งกรรม เขาสอนกันแต่เพียบว่าจะให้ได้ดี ไปตามกรรมที่ดี แล้วก็ยึดมั่นถือมั่นในกรรรมที่ดี อย่างนี้ไม่ใช่ความสิ้นกรรม ไม่ใช่ความดับทุกข์สิ้นเชิงตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา
            ทั้งนี้ มันมีปัญหาใหญ่อยู่ตรงที่ว่า ตามธรรมดาคนเราย่อมมีความรู้สึกเป็น สัสสตทิฏฐิ คือมีตัวตนเป็นของเราที่เที่ยงแท้ถาวร ตามความประสงค์ของเรานี้มันเป็นกันทุกคน ตามธรรมดาแล้ว จะรู้สึกว่าเราเป็นเรา เป็นตัวกู เป็นของกูด้วยกันทั้งนั้น; ฉะนั้น สิ่งใดที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตัวกู ก็สนใจสิ่งนั้นเป็นพิเศษ เช่นพอพูดถึงว่าดี หรือกรรมดีได้ผลดี ได้ดีอะไรอย่างนี้ก็สนใจ; แต่พอพูดว่า เลิกทั้งหมดไม่เอาอะไร ก็กลายเป็นไม่สนใจไม่ยอมรับ เพราะว่ายังมีตัวเรายังอยากจะได้อะไรอยู่
            นี่เป็นเหตุอันหนึ่งที่ทำให้เรื่องกรรมเป็นไปไม่ได้ถึงที่สุด มาติดตันอยู่แต่เพียงเรื่องกรรมที่เป็นขั้นศีลธรรม ตามที่มนุษย์จะบัญญัติ หรือจะรู้สึกขึ้นมาได้ ตามความรู้สึกที่เป็นสัสสตทิฏฐิ คือมีตัวตน
            ส่วนเรื่องกรรมตามธรรมชาตินั้น มันลึกไปถึงกับว่า กรรมดีก็ตามกรรมชั่วก็ตาม ทำให้คนลำบากทั้งนั้น : กรรมชั่วก็ทำให้ลำบากอย่างชั่ว กรรมดีก็ทำให้ลำบากอย่างดี ถ้าเราตกอยู่ใต้อำนาจของกรรมแล้วก็ต้องลำบาก คือต้องเวียนว่ายไปตามความบีบคั้นของกรรมนั้น ๆ สู้อยู่เหนือกรรมไม่ได้; เหนือกรรมในที่นี้ก็คือสิ้นกรรม กรรมนี้มันทำให้ไม่เป็นอิสระ กรรมดีกรรมชั่ว 2 อย่างนี้ทำให้ไม่เป็นอิสระ ต้องมีกรรมอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเหนือดีเหนือชั่ว คนเราจึงจะเป็นอิสระ กรรมที่ทำให้เหนือดีเหนือชั่วนี้เป็นกรรมสูง และถอนเสียซึ่งสัสสตทิฏฐิ หรือ อัตตวาทุปาทาน ว่ามีตัวเรา
            ฉะนั้นเรื่องกรรมของชาวบ้านทั่ว ๆ ไป ก็เป็นเรื่องกรรมใยขั้นศีลธรรมเป็นเรื่องทางศีลธรรม เพื่อทำให้ผู้นั้นสบายใจ หรือเพื่อให้สังคมอยู่เป็นสุข คือไม่เบียดเบียนกัน ส่วนเรื่องกรรมในระดับสัจจธรรม หรือปรมัตถธรรมนั้นหาต้องการอย่างนั้นไม่ ต้องการจะให้อยู่เหนือกรรมโดยสิ้นเชิง มีจิตใจที่จะไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือเป็นสุขเป็นทุกข์อะไรได้อีกต่อไป ดังนี้
            เพราะฉะนั้นแหละ เมื่อเราจะศึกษาเรื่องกรรมกันให้ถูกต้อง ให้ครบถ้วนและให้ชัดเจนที่สุดแล้ว; ท่านทั้งหลายจะต้องมองเห็นให้ชัดลงไปว่า เราจะต้องแบ่งกรรม หรือเรื่องราวอันเกี่ยวกับกรรมนี้ออกเป็น 2 ประเภท คือ กรรมที่เป็นไปตามหลักของศีลธรรม นี้อย่างหนึ่ง และกรรมที่เป็นไปตามหลักของสัจจธรรม นี้อีกอย่างหนึ่ง
            คนบางคนอาจจะนึกแย้งขึ้นมาในใจว่า เรื่องศีลธรรมนี้ไม่ใช้สัจจธรรมหรืออย่างไร? เรื่องนี้ขอให้มองให้ละเอียดลึกลงไปว่า เรื่องศีลธรรมนั้นเอาโลกนี้เป็นประมาณ เอาความรู้สึกของคนในโลกนี้เป็นประมาณ หรือเอาความต้องการของสังคมทุกคนในโลกนี้เป็นประมาณ ทุกคนล้วนแต่มีความรู้สึกว่า มีตัวตน; ดังนั้นเรื่องของศีลธรรม จึงยังเป็นสิ่งที่เนื่องอนยู่กับตัวตน เมื่อเนื่องอยู่กับตัวตนก็ยังไม่เรียกว่า สัจจะ หรือ สัจจธรรม; มันเป็นสัจจธรรมก็โดยสมมติเท่านั้น ไม่ใช่สัจจธรรมจริง แต่เมื่อไม่เนื่องด้วยตัวตน คือตามธรรมชาติที่ไม่มีอะไรที่ควรถือว่าเป็นตัวตน ดังนี้เสียก่อน จะจึงเรียกว่านั้นเป็นสัจจธรรม
          เรื่องกรรมนั้นมีทั่งประเภทศีลธรรม และประเภทสัจจธรรม เมื่อเราไม่มองเห็นอย่างนี้ ก็เอาปนกันไปจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร มันจึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาทันที เพราะเข้าใจไม่ได้; มีผลเกิดขึ้นก็คือทำให้เถียงกัน เพราะคนหนึ่งก็มองในแง่หนึ่ง คนหนึ่งก็มองในแง่หนึ่ง บางทีมันเผอิญเป็นไปได้ว่า คนหนึ่งมองในแง่ศีลธรรม แต่อีกคนหนึ่งมองในแง่ของปรมัตถธรรม มันก็มีเรื่องที่จะต้องเถียงจนถึงกับทะเลาะกันทีเดียว; นี่ก็เป็นผลอันหนึ่ง ที่เกิดมาจากการเข้าใจในเรื่องกรรมที่ไม่ตรงกัน
            เมื่อเข้าใจเรื่องกรรมไม่ถูกต้องครบทั้งสองอย่างแล้ว การปฏิบัติย่อมไม่ถูกต้องคือจะไขว้เขวปนเปกันไปได้ เดี๋ยวจะเอา เดี๋ยวจะไม่เอา; เมื่ออยากจะไม่มีตัวตนก็บอกว่าไม่มีตัวตน พออยากจะมีตัวตน ก็บอกว่าอยากจะมีตัวตน เมื่ออะไรเป็นที่ถูกใจก็จะบอกว่าอย่างนั้น; แล้วส่วนใหญ่ความรู้สึกในใจจริง ๆ มัตนนก็มีตัวตนมันกระหายที่จะรับผลของกรรมดีอยู่เรื่องไป อย่างนี้ก็ไม่มีหวังที่จะปฏิบัตเพื่อความดับทุกข์ หรือดับตัวตนโดยสิ้นเชิง; เพราะไม่เข้าใจเรื่องกรรมจนถึงกับทำให้เกลียดหรือเบื่อหน่ายการเวียนว่ายไปตามกรรม มันยังสมัครที่จะเวียนว่ายไปตามกรรมอย่างละเอียด อย่างดี แต่ปากเหมือนกับว่าหัวมงกุฎท้ายมังกร ไปเสียหมดอย่างนี้ ปากกับใจไม่ตรงกัน; แม้แต่ทิฏฐิความคิดเห็นก็แย้งกันอยู่ในภายในเดี๋ยวอย่างนั้น เดี๋ยวอย่างนี้ ไม่มีที่สิ้นสุด
            เหตุฉะนั้นแหละ จะต้องจักเรื่องกรรมให้ครบถ้วน ทั้งสองประเภทส่วนที่จะปฏิบัติได้อย่างไร? หรือเท่าไร? เพียงไหน? นั้น มันก็แล้วแต่สติกำลังแต่ว่าในชั้นนี้จะต้องรู้สิ่งที่เรียกว่ากรรมให้ถูกต้องและครบถ้วน ทุกอย่าง จึงได้พูดถึงสิ่งที่เรียกว่ากรรม และกัมมักขยะ คือความสิ้นแห่งกรรม พร้อมกันไปในคราวเดียวกัน
            เพื่อจะเข้าใจเรื่องกรรม ก็ควรจะเยเวลาพิจารณา โดยตัวพยัญชนะโดยตัวหนังสือ กันเสียบ้างก่อน ในภาษาบาลีมีความแน่นอนในทางตัวหนังสือ แต่ในภาษาไทยไม่มีความแน่นอนเช่นนั้น เช่นคำว่า กิริยา ก็แปลว่าการกระทำ คำว่า กรรม ก็แปลว่าการกระทำ แต่ กรรม กับ กิริยา นั้นหาใช่สิ่งเดียวกันไม่ คนไทยมาเรียกว่าการกระทำไปเสียหมด : กิริยาก็คือการะทำ กรรมก็คือกระทำ มันก็เลยเข้าใจผิดโดยไม่รู้ตัว คำว่ากิริยาแปลว่าการกระทำ ก็ถูกแล้ว แต่ว่าการกระทำที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา อันมีมูลมาจากอวิชชา; แต่ถ้าเรียกว่ากรรมก็ต้องหมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา อันมีมูลมาจากอวิชชา; ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่า กิริยา กับสิ่งที่เรียกว่า กรรม จึงต่างกันลิบ
        แม้ผลของมัน ก็เรียกชื่อต่างกัน : ผลของกิริยา ก็เรียกได้แต่เพียงว่า ปฏิกิริยา มีลักษณะเป็นอัพยากฤตล้วน คือไม่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล; แต่สวนกรรมนั้น ผลของมันเป็น วิบาก มีลักษณะเป็นได้ทั้งกุศล ทั้งอกุศล ทั้งอัพยากฤต
        นี่ตัวมันเองก็ต่างกัน ผลของมันก็ต่างกัน ชื่อของมันก็ต่างกัน; แต่ภาษาไทยเราใช้คำไม่เจาะจง ไม่ชัดเจน ไม่กะทัดรัด หลวม ๆ ไปหมด กรรมก็คือการกระทำ กิริยาก็คือการกระทำ จึงทำให้เข้าใจเรื่องนี้ได้ยาก
            ดังนั้น ขอให้เข้าใจให้เป็นหลักในขั้นแรกนี้ไว้ทีก่อนว่า ถ้าเรียกว่ากรรมก็ต้องหมายถึงการกระทำที่มีมูลมาจากเจตนา และเจตนานั้น เจตนาไปตามความโง่ของอวิชชา : หลงดี หลงชั่ว หลงบุญ หลงบาป หลงสุข หลงทุกข์ หลงอะไรก็ตามใจ ล้วนแต่เป็นเรื่องหลง; และความหลงนี้เป็นเหตุให้เจตนาเพื่อจะทำกรรมนั่น ๆ นี้เรียกว่า กรรม ถ้าเป็นเรื่อง กิริยา มันก็เป็นเพียงการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้ประกอบด้วยเจตนา แม้จะรู้สึกคิดนึกอยู่ในใจ จะเคลื่อนไหวก็เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้ประกอบไปด้วยเจตนาที่มาจากกิเลส
            เหมือนกับเราจะเคลื่อนไหว จะเดินไปเดินมา จะอาบน้ำอาบท่า จะกินข้าวกินปลา ส่วนมาก็ไม่ได้กระทำด้วยเจตนาที่มาจากกิเลสอะไร; มันจึงไม่เป็นกรรมเราจะล้างหน้า เราจะแปรงฟัน เราจะทำอะไรได้ทุกอย่าง; แต่ไม่เป็นกรรม มันเป็นเพียงกิริยา เพราะไม่มีเจนาดังที่กล่าวแล้ว; เหมือนกับว่าลมพัด หรือเหมือนกับว่าต้นไม้หักลงมา หรือว่าอะไรคล้าย ๆ กันนี้ มันก็ล้วนแต่เป็นกิริยาเช่นเดียวกับเราเดินไปเดินมา อาบน้ำอาบท่า ล้างหน้า แปรงฟัน มันก็เหมือนกันอย่างนั้น
            ดังนั้น ขอให้เข้าใจว่า ที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ เราพูดเรื่องกรรม และผลกรรม ไม่ใช่พูดเรื่องกิริยา
            นี้เป็นการทำความเข้าใจโดยตัวหนังสือ หรือตัวพยัญชนะกันก่อน ให้รู้จักคำว่ากรรม เจตนาเป็นเหตุให้ทำกรรม เจตนานั้นเป็นกิเลส ฉะนั้น จึงพูดได้เลยว่า กิเลส เป็นเหตุให้ทำ กรรม กรรมนั้นทำลงไปแล้ว ย่อมมีผลกรรมเรียกว่า วิบาก; วิบากนั้นได้รับแล้ว ก็จะก่อให้เกิดกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปได้เพื่อทำกรรมใหม่ต่อไปอีก
            วงเวียนของกรรมมันจึงวอยู่ที่กิเลส แล้วก็กรรม แล้วก็วิบาก กิเลส กรรม วิบาก กิเลส กรรม วิบาก; อยู่อย่างนี้ จนกว่ามันจะสิ้นสุดลงไปได้โดยการกระทำที่ถูกวิธี คือตามหลักที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสั่งสอนไว้
            ทีนี้ ก็จะพูดถึงพระพุทธเจ้าบ้าง พระพุทธเจข้าท่านตรัสว่า : อหมฺปิ ภิกฺขเว เอตรหิ อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ กมฺมวาโท กิริยวาโท วิริยวาโท มมฺปิ ภิกฺขเว มกฺขลิ โมฆปุริโส ปฏิพาหติ;  ซึ่งมีใจความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้ว่าเราบัดนี้เป็นอรหันต์สัมมาสัมพุทธะ ก็ยังเป็น กัมมวาโท กิริยาวาโท วิริยวาโท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แต่ว่ามักขลิ(โคสาละ) โมฆบุรุษ ย่อมกล่าวคัดค้านซึ่งเรา นี้พระบาลีอังคุตรนิกาย ติกนิบาตร ก็มีอยู่อย่างนี้
            พระพุทธเจ้าตรัสว่า : ท่านเป็นกัมมวาทา หรือจะเรียกทั่วไปว่าเป็นกัมมวาที; กัมมวาที ก็คือผู้ที่กล่าวว่า มีการกระทำกรรม; แต่ก็มิได้กล่าวว่ามีบุคคลผู้กระทำกรรม การสอนเรื่องกรรมตามแบบของพระพุทะเจ้า ก็มีการกระทำที่เป็นกรรม; การกระทำนั้นเป็นไปตามอำนาจของความต้องการหรือของกิเลส ถ้าจิมีกิเลสแล้ว มันก็เป็นเหตุให้ทำกรรม แล้วมันก็ทำกรรม; นี้เรียกว่ากรรมที่มีได้โดยไม่ต้องมีผู้กระทำ
            ความจริงอั้นลึกซึ้ง อันใหญ่หลงง มีอยู่อย่างนี้ แต่ชาวบ้านอาจจะไม่เข้าใจว่า กรรมมีการกระทำแล้ว แต่ไม่มีผู้กระทำ; และว่าพระองค์เป็นกรรมวาทีสอนเรื่องกรรม นี้ก็หมายความว่าสอนหมด ที่เกี่ยวกับเรื่องกรรม คือสอนว่ากรรมนี้เป็นอย่างไร? แล้วสอนว่ากรรรมนี้มาจากไหน? แล้วกรรมนี้จะดับหรือสิ้นสุดลงไปได้อย่างไร? และทางที่จะดับกรรมได้นั้นคืออะไร? ต้องครบหมดอย่างนี้ จึงเรียกว่าเป็นกรรมวาที ตามแบบของพระพุทธองค์
            มีแต่ศาสดาผู้แข่งขัน พ้องสมัยกันเรียกว่า มักขลิโคสาละ กล่าวลัทธิตรงกันข้ามว่า : ป่วยการ กรรมไม่มี ถึงใครจะทำอะไร ๆ ที่เรียกว่าดีหรือว่าชั่ว มันก็เท่ากับไม่เป็นการกระทำ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิที่สุดโต่ง คืออย่างยิ่ง; นี้พวกหนึ่งเป็นพวก อกัมมวาที
            พระพุทธเจ้าท่านเป็นกัมมวาที บอกว่ากรรมมี; การกระทำเป็นกรรมส่วนอีกพวกหนึ่งบอกว่า กรรมไม่มี แม้จะมีการกระทำอะไร ๆ ด้วยเจตนาอย่างไร ก็ไม่เป็นกรรม พวกนั้นเป็น อกัมมวาที
            ข้อที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ตถาคต เป็นกิริยาวาที นี้ก็หมายความว่ากิริยาหรือการกระทำนั้น ย่อมเป็นการกระทำ และเป็นอันกระทำ มีการกระทำที่สามารถจะแก้ไขการกระทำกันเองได้ พวกที่เป็นตรงกันข้าม ก็เรียกว่า อกิริยวาที่ ถือว่าไม่เป็นอันกระทำ; ถึงแม้ใครจะกระทำอย่างไร ก็ไม่เป็นอันกระทำ เช่น พวกที่เชื่อว่าอย่าไปคิดนึกอะไร สุขหรือทุกข์ หรือความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลายนี้เป็นไปตามอำนาจของพระเจ้า หรือผู้ยิ่งใหญ่ เราแก้ไขไม่ได้; ถึงเราจะกระทำอะไรลงไป ก็มีค่าเท่ากับไม่ทำ คนที่กล่าวอย่างนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรียกว่า อกิริยาวาทีทำอะไร ๆ ก็ไม่เป็นการกระทำ
            แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า : ตถาคตเป็นกิริยวาที การกระทำที่กระทำไปนั้น มันเป็นการกระทำ คือว่ามันมีผล; แม้ว่าต้นไม้จะหักลงมา มันก็มีผลที่จะทำให้อะไรเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าเราจะเคลื่อนไหวไปในลักษณะใด จะประกอบด้วยเจนา หรือไม่มีเจตนา มันก็เป็นการกรทำท่าจะต้องมีผลอย่างใดอย่างหนึ่ง; จะพูดว่าไม่มีการกระทำ ไม่มีผลของการกระทำ อย่างนี้ไม่ได้ ฉะนั้นกรรมทั้งหลาย ก็เป็นอันว่ากระทำ และมีผลได้โดยไม่ต้องมีผู้ทำ คือมันเป็นเพียงกระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา
            ถ้ามีกิเลสเป็นเหตุบังคับหรือบันดาลให้กระทำ กระทำแล้วมันก็มีกฎที่จะทำให้เกิดเผลขึ้นมา ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ทั้งนั้น;  เพราะเมื่อมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น; เมื่อมองเห็นอย่างนี้ ก็จะมองเห็นว่า ไม่มีตัวบุคคลผู้กระทำ
            นี้เป็นหลักสำคัญที่จะต้องจำไว้ให้แม่นยำว่า : การกรทำมิได้ เป็นไปได้หรือว่าเป็นไปแล้ว; แต่ตัวบุคคลผู้กระทำไม่มี เพราะว่ามีแต่ อิทัปปัจจยตา; มีนาม มีรูป มีกิเลส เช่น อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ทำให้จิตใจต้องการอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็บั้นดาลให้มีการกระทำทางกาย ทางวาจา อย่างนั้น ๆ เป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา ของธรรมชาติ มันจึงทำไปได้ และทำไปเสร็จ และได้รับผลจากการกระทำ โดยที่ไม่ต้องมีตัวบุคคลผู้กระทำ
        แต่คนทั่วไปจะรู้สึกว่า มี กู เป็นผู้กระทำ มี ของกู ได้มา อย่างนี้เสมอ มันก็เลยเป็นเรื่องกรรมชนิดที่ประกอบอยู่ด้วยความไม่รู้หรืออวิชชา มีตัวตนเป็นผู้กระทำ มีตัวกูเป็นผู้กระทำ อย่างนี้เรียกว่ากรรมของอวิชชา จะเป็นไปได้แต่ในทางศีลธรรม ถ้าเป็นกรรมที่ไม่ต้องมีผู้กระทำ หมายความว่ารูสึกลึกซึ้งสูงถึงกับว่าเป็น อิทัปปัจจยตา ไปหมดแล้ว มันก็เป็นเรื่องกรรมในประเภทปรมัตถธรรม นี้กรรมวาทีหรือกิริยาวาทีของพระพุทธเจ้า เป็นอย่างนี้
            พระองค์ตรัสว่า ตถคตเป็นวิริยวาที คือเป็นผู้กล่าวว่าวิริยะมี วิริยะคือความพากเพียร ความบากบั่น ความพยายาม ลบัทธิอื่นบางลัทธิสอนว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่าวิริยะ; ใครจะบากบั่นจะพยายามไปอย่างไร มันก็ไม่มีผลอันใดที่จะให้เกิดขึ้นได้ ตามที่ตนต้องการ เพราะมันมีสิ่งอื่นเหนือว่าเสียเรื่อยไป; เช่นว่า พระเจ้าเหนือว่า หรือแม้ที่สุดแต่ว่าผีสางปีศาจหรือว่าอะไรก็ตาม ที่เขาเชื่อว่ามันเหนือกว่า; แล้วความพากเพียร ความพยายาม ความบากบั่นของบุรุษ ก็ไม่มีความหมาย หรือแม้แต่บางคนอาจจะพูดว่าเพราะกรรมเก่าที่เราได้สร้างไว้ มันมาให้ผลเด็ดขาดตายตัว เราจะมาทำการต่อต้านแก้ไขกันในเวลานี้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร มันเหนื่อยเปล่า ๆ อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นพวกอวิริยวาที คือไม่ถือว่าวิริยะมี หรือมีผล
            แต่พระพุทธเจ้าท่านเป็นวิริยวาที; สอนว่าวิริยะคือความพากเพียร พยายามบากบั่นนั้นมีผล และจะมี่ผลใช้ในการแก้ไขสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนาก็ได้; เช่นว่ามีบาปมีกรรมชั่วติดตัวมา ก็ให้ใช้วิริยะ ความพากเพียงบากบั่นนี้ พยายามที่จะทำความดี หรือว่ายิ่งไปกว่านั้น ก็พยายามที่จะทำความสิ้นไปแห่งกรรม คือมีความรู้แจ้งถึงกับว่า ไม่มีตัวตน ไม่มีบุคคลผู้กระทำกรรม ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว บุคคลจะบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ถึงที่สุดได้ ก็เพราะสิ่งที่เรียกว่าวิริยะ หมายความว่าถ้ากรรมี หรือกฎเณฑ์ของกรรมมี แต่ถ้าคนไม่มีวิริยะ มันก็ไม่มีผลอะไร ฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่า วิริยะ นี้จึงมีความสำคัญเท่ากันกับสิ่งที่เรียกว่า กรรม
            พระพุทธเจ้าเป็นวิริยวาที ส่วนพวกอื่นที่ต่อต้านคัดค้านพระองค์นั้น เป็นอวิริยวาที
            ผู้ที่เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ควรจะทราบความข้อนี้ไว้ ว่าพระพุทธองค์หรือพระพุทธศาสนานี้ มีหลักเกณฑ์เป็นกรรมวาที เป็นกิริยาวาที เป็นวิริยวาที เรียกว่า 3 วาทีด้วยกัน; เป็นผู้เชื่อกรรม เป็นผู้เชื่อการกรทำว่าจะมีผลแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ได้ และเชื่อว่าความพยายาม เป็นสิ่งที่มีผล แต่ทั้ง 3 คำนี้มันก็สำเร็จอยู่ที่คำว่ากรรม เพียงคำเดียว : กรรมวาทีก็เป็นกรรมอยู่แล้ว; กิริยวาทีก็เป็นเรื่องกรรม แต่ว่าเป็นเฉพาะในส่วนที่จะแก้ไขเพิ่มเติม วิริยวาทีก็มีความพากเพียง บากบั่น ในการที่จะทำกรรม; ก็แปลว่ามีหลักเกณฑ์ในเรื่องกรรมนั้นอย่างถูกต้อง เพราะความเป็นกกรมวาที กิริยวาที วิริยวาที ดังที่กล่าวแล้ว
        เมื่อบุคคลรู้เรื่องกรรมตรงตามที่พระพุทธองค์สอน ก็จะรู้ว่ามีแต่ อิทัปปัจจยตา คือสิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันสืบเนื่องกันไป ไม่มีบุคคลผู้ทำกรรมหรือผู้เสวยผลของกรรม มันล้วนแต่เป็นความรู้สึกของรูปนาม คือการที่เป็นไปตามความปรุงแต่งของสิ่งที่เรียกว่ากิเลส อย่างนี้แหละเรียกว่า เป็นผู้ที่สามารถจะทำความสิ้นไปแห่งกรรมได้
            เรื่องความสิ้นไปแห่งกรรมนี้ มีความสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง คือพระพุทธองค์เป็นผู้ที่กระทำความสิ้นไปแห่งกรรมได้ จนเป็นที่เลื่องลือไปในที่ต่าง ๆ ว่าความประเสริฐของพระสมณะโคดมนั้น อยู่ที่ ทำความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวงได้
            ข้อความในปารายนวรรค สุตตนิบาต มีกล่าวไว้วว่า : พวกเทวดา จะเป็นพวกไหนก็สุดแท้ ไปกล่าวสรรเสริญ คุณของพระพุทธเจ้า ให้พวกพราหมณ์คณะหนึ่ง ซึ่งมีพราหมณ์พาวรีเป็นหัวหน้า ที่ตั้งสำนัหอยู่ที่แม่น้ำโคธาวารี นั้นแหละฟังการสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้านั้น มีตอนหนึ่งว่า : สพฺพกมฺมกฺขยํ ปตฺโต เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง และได้ความว่า เพราะคำพูดคำนี้เพียงคำเดียวเท่านั้น ก็ทำให้พราหมณ์พาวรีนั้น สนใจในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากจนถึงกับส่งลูกศิษย์ 16 คน ให้มาทูลถามปัญหา เอาเรื่อราวต่าง ๆ ไปให้หมดสิ้น เรื่องที่เรียกว่า โสฬสปัญหา ก็เกิดขึ้น เพราะคำพูดคำเดียวที่ว่า พระสมณโคดมนั้นเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง
            นั่นแหละขอให้เข้าใจเถอะว่า คนที่เป็นคนชั้นสูงในทางสติปัญญา เขาสนใจเรื่องความสิ้นกรรมกันอย่างนี้ทั้งนั้น จึงได้สนใจในพระพุทธเจ้า ถ้ารู้แต่เรื่องกรรม ๆ ๆ แล้วเป็นไปตามกรรม อย่างนี้ไม่มีใครนับถือ; ต้องสามารถทำให้สิ้นกรรม คือให้อยู่เหนืออำนาจของกรรม จึงจะดับทุกข์สิ้นเชิง ไม่เวียนว่ายไปในวัฏฏสงสาร
        ฉะนั้น ขอให้ทำความเข้าใจในคำว่า ความสิ้นแห่งกรรม นี้ ให้ถูกต้องด้วย และเรื่องความสิ้นไปแห่งกรรมนั้นแหละ คือเรื่องกรรมที่เป็นขั้นปรมัตถ์หรือสัจจธรรม
            ถ้าไม่พูดกันถึงเรื่องความสิ้นไปแห่งกรรมแล้ว เรื่องกรรมนั้นก็เป็นเรื่องศีลธรรมเป็นเรื่องของเด็ก ๆ หรือเป็นเรื่องของชาวบ้านธรรมดาที่ยังอยากจะกินของหวานของอร่อย; จึงเรียกว่าเป็นเรื่องกรรมในขั้นศีลธรรม แต่ถ้าไปเกิดเข้าใจในอานิสงส์ของความสิ้นไปแห่งกรรมแล้ว มันก็มุ่งหมายกรรมชนิดที่จะเป็นที่สิ้นแห่งกรรมทั้งปวง คือเป็นตัวแท้ตัวจริงของคำสอนของพระพุทธเจ้า ความสิ้นไปแห่งกรรม ก็เป็นเรื่อง อิทัปปัจจยตา ในลักษณะนิโรธ คือความดับแห่งกรรม
            เพราะฉะนั้น เราจะต้องแยกสิ่งที่เรียกว่ากรรมออกเป็น 2 ประเภท ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น : กรรมในขั้นศีลธรรมอย่างหนึ่ง กรรมในขั้นสัจจธรรมหรือปรมัตถธรรม นี้อย่างหนึ่ง กรรมในขั้นศีลธรรมยังมีตัวตนอยู่เรื่อง ไม่รู้จักหมดกรรม ส่วนกรรมในขั้นปรมัตถธรรมนั้น-หมดตัว พอหมดตัวก็หมดกรรม นี้ถ้าจะจำไว้เป็นคำสั้น ๆ ก็จำได้ง่าย ๆว่า ถ้ามีตัวก็มีกรรม ถ้าหมดตัวก็หมดกรรม
          เรื่องความสิ้นกรรม ก็คือเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยความเป็นตัวตนหรือของตน; ฉะนั้นควรจะจำคำสั้น ๆ นี้ไว้เพื่อกันลืมว่า : มีตัวก็มีกรรม หมดตัวก็หมดกรรม ใครไม่อยากหมดกรรม ก็มีตัวไปก่อนก็แล้วกัน เราจึงพูดเรื่องกรรมเป็น 2 เรื่อง ว่าเรื่องมีกรรม และเรื่องหมดกรรม เรื่องมีกรรมก็เป็นเรื่องกรรมในพวกศีลธรรม เป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา ฝ่ายสมุทยวาร พอพูดถึงเรื่องหมดตัวก็หมดกรรม ก็เป็นเรื่องของ อิทัปปัจจยตา ที่เป็นไปในฝ่ายนิโรธวาร
            อิทัปปัจจยตา มีอยู่ 2 ฝ่าย คือฝ่ายให้เกิดขึ้นเรียกว่ สมุทยวาร ฝ่ายที่ดับลงไปเรียกว่า ฝ่ายนิโรธาวาร กรรมประเภทที่หนึ่ง เป็นไปตามสมุทยวาร กรรมประเภทที่สอง เป็นไปตามนิโรธาวาร; ดังนั้นมันจึงต่างกันเหมือนกับว่าตรงกันข้าม; มีตัวก็มีกรรม  หมดตัวก็หมดกรรม
            เรื่องกรรมเป็นเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ที่เร้นลับ เรื่องกรรมซ่อนอยู่ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา แม้เราจะพูดกันถึงปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นเรื่องเกิดทุกข์ในภายใน มันก็มีเรื่องกรรมฝ่ายที่เกิดขึ้น และเป็นไปตามกรรมซ่อนอยู่ในนั้น แต่ถ้าพูดถึง ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร มันก็จะมีการดับตัวและหมดกรรมซ่อนอยู่ในกระแสนั้น
            เมื่อพูดมาถึงตรงนี้ อยากจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดไปเสียเลยว่า เรื่องกรรมมี 2 ชนิดอย่างไร เรื่องปกิจจสมุปบาทก็ต้องมี 2 ชนิดอย่างนั้น; หรือว่าเรื่องกรรมมี 2 เรื่องอย่างไร เรื่องอิทัปปัจจยตา ก็ต้องมี 2 เรื่องอย่างนั้น; หรือว่า อิทัปปัจจยตา มี 2 เรื่องแล้ว เรื่องกรรมก็มี 2 เรื่องเหมือนกัน
            อิทัปปัจจยตา ฝ่ายเกิด เป็นกรรมสำหรับที่จะเวียนว่ายไป; ส่วนอิทัปปัจจยตา ฝ่ายดับเป็นกรรมที่จะทำให้สิ้นสุดลง
            เพราะเหตุนี้แหละ จึงมีคนอธิบายปฏิจจสมุปบาทเป็น 2 ชนิดอยู่ คือพวกหนึ่งอธิบายปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องคร่อมภพคร่อมชาติ; หมายความว่า เกี่ยวกับชาติก่อน เกี่ยวกับชาติปัจจุบัน เกี่ยวกับชาติหน้า; นี้ก็เป็น ปฏิจจสมุปบาทของพวกที่มีตัวตน เป็นเรื่องกรรมตามแบบศีลธรรม ทีนี้พวกหนึ่งอธิบายปฏิจจสมุปบาทเป็นเพียงเรื่องขณะจิต ๆ ไม่ต้องค่อมภพคร่อมชาติ; แต่ให้ความหมายคำว่าชาติ ว่าจิตเกิดตัวกูครั้งหนึ่ง เรียกว่าชาติหนึ่ง วันหนึ่งเกิดได้หลายหนหลายสิบหน ปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ จะแสดงเรื่องกรรมที่ไม่คร่อมภพคร่อมชาติ เพราะว่าปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ไม่ต้องคร่อมภพคร่อมชาติ ก็สามารถทำความสิ้นกรรมให้ปรากฏได้ ในชาตินี้ ทันตาเห็นนี้
            ฉะนั้น เรื่องปฏิจจสมุปบาทกับเรื่องกรรม จึงเป็นเรื่องเดียวกัน หรือไปด้วยกัน สอนอยู่เป็น 2 อย่าง; อย่างคร่อมภพคร่อมชาติก็มี อย่างไม่คร่อมภพคร่อมชาติก็มี; จะต้องรู้จักไว้ทั้ง 2 เรื่อง กรรมที่ทำให้ติดอยู่ในโลกิยะหรือเรื่องศีลธรรมนี้ก็มี กรรมที่ทำให้อยู่เหนือโลก เหนืออำนาจกรรม เป็นเรื่องสัจจธรรมนี้ก็มี
            วันนี้เราจะพูดกันทั้ง 2 เรื่อง ดังนั้นรมันอาจจะมากไปหน่อยก็ได้ แต่ว่าควรจะฟังให้หมดไปเสียในคราวเดียวกัน ว่ากรรมในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ชริดที่มีตัวตน ของตนเป็นไปอย่างคร่อมภพคร่อมชาตินั้น ก็คือกรรมอย่างเด็ก ๆ ก็รู้จักเข้าใจได้โดยง่าย : ว่าเราทำกรรมดีได้รับผลดี เราทำกรรมชั่วได้รับผลชั่ว เราทำกรรมดีได้ไปสวรรค์ เราทำกรรมชั่วได้ไปนรก หรือว่าเดี๋ยวนี้เรากำลังเป็นทุกข์ หรือต้องรับทุกข์นี้ เพราะกรรมชั่วที่เราได้ทำไว้ในชาติก่อน; หรือว่าเรากำลังมีโชคลาภดีมากนี้ เพราะว่าบุญที่เราได้ทำไว้ในชาติก่อน อย่างนี้ก็อย่างหนึ่ง เรียกว่ากรรมในลักษณะที่เป็นชั้นศีลธรรมเป็นเรื่องโลกิยะ คืออยู่พันพัวกันไปในโลก ไม่ใช่เหนือโลก แต่ถ้ารู้เรื่องกรรมที่สูงไปกว่านั้น ก็เรียกว่าเป็นกรรมส่วนสัจจธรรม จะทำให้ขึ้นเหนือโลก
            เอาละทีนี้เราพูดเรื่องกรรมประเภทศีลธรรม เรื่องอยู่ในโลกกันก่อน ให้ช่วยกำหนดไว้ดี ๆ อย่าให้ไปปนกัน จะฟังไม่รุ้เรื่อง อาตมาบอกว่า กำลังจะพูดเรื่องประเภทศีลธรรม ที่เป็นไปตามวิสัยโลก ให้สิ้นกระแสความเสียก่อน
            ช่วยจำให้ดี ๆว่า บอกแล้วว่า กรรรมนี้มี 2 เรื่อง หรือ 2 ประเภท หรือ 2 ชนิด ชนิดหนึ่งของผู้มีตัวตน ยังมีความรู้สึกเป็นสัสสตทิฏฐิ มีตัวมีตนจะต้องเวียนว่ายไปตามกรรม นี่พวกหนึ่งเป็นพวกแรก; จะพูดกันเสียก่อน แต่แล้วมันก็เนื่องกันอยู่กับกรรมอื่นๆ แม้กรรมที่เรียกว่าเหนือโลก ถ้าเรามาเรียงลำดับกัน
            เรื่องกรรมนี้ ถ้าพุดกันโดยหลักใหญ่ ๆ เป็นประเภทใหญ่ ๆ แล้ว ก็มีพระบาลีอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ภิกษุว่ากรรมมี 3 ชนิด : กรรมชนิดที่ 1 เรียกว่า กามธาตุเวปักกกรรม = กรรมที่มีวิบากเป็นไปในกามธาตุ กรรมที่มีผลให้เป็นไปในกามธาตุ; ชนิดที่ 2 เรียกว่า รูปธาตุเวปักกกรรม =กรรมที่มีวิบากเป็นไปในรูปธาตุ; ชนิดที่ 3 คือ อรูปธาตุเวปักกกรรม= กรรมที่มีวิบากเป็นไปในอรูปธาตุ
            สรุปความสั้น ๆ ง่าย ๆ ก็ว่า กรรมที่มันทำให้ได้รับผลเวียนว่ายไปในกามภพ นี้อย่างหนึ่ง ที่มันทำให้มีผลเวียนว่ายไปในรูปภพ นี้อย่างหนึ่ง ให้เวียนว่ายไปในอรูปภพ นี้อีกอย่างหนึ่ง เป็น 3 อย่าง แต่ไม่พูดว่าเวียนไปในนิโรธาตุ คือไม่พูดไปถึงนิพพาน; จึงเป็นอันว่า มันเป็นกรรมประเภทที่ยังเวียนว่ายไปในโลกหรือเป็นโลกิยะ กามโลก รูปโลก อรูปโลก ทั้ง 3 โลกนี้เป็นโลภ; สิ่งที่เนื่องกับโลกนี้ก็เรียกว่าโลกิยะ ฉะนั้นกรรมทั้ง 3 ประเภทนี้เรียกว่ากรรมอย่างโลก ๆ ของชาวโลก เป็นไปในโลก; ถ้าทำอย่างนั้นจะมีผลให้ไปเกิด หรือได้เสวยผล ที่เป็นกาม ในกามโลก ถ้าทำอย่างนั้นจะมีผลให้ไปเสวยผลที่เป็นรูป ในรูปโลก อย่างที่ 3 ก็เสวยผลเป็นอรูปในอรูปโลก
            คนพวกหนึ่งเขาถือว่าผลเหล่านั้นอยู่ที่โลกอื่น ไม่ใช่ในโลกนี้ แล้วก็จะไปถึงต่อตายแล้วทั้งนั้น ถ้าคิดอย่างนั้นแล้วก็จะต้องต่อตายแล้วทั้งนั้น แม้กามโลกก็ไปถึงต่อตายแล้ว เช่นเทวดาสวรรค์ชั้นนั้นชั้นนี้ ก็เรียกว่ากามโลก จะไปถึงก็ต่อตายแล้ว  รูปโลกก็คือพรหมโลกประเภทรูปพรหม จะไปถึงได้ก็ต่อตายแล้ว ยิ่งอรูปโลก พรหมไม่มีรูปด้วยแล้ว ก็ยิ่งต่อตายแล้วไกลออกไปอีก มันเป็นเรื่องหลังจากตายแล้วทั้งนั้น
            อีกพวกหนึ่ง เขาไม่อธิบายอย่างนั้น อธิบายเอาจิตใจนี้เป็นหลัก : ว่ากรรมที่ทำแล้วให้รู้สึกเป็นความสบายใจ เป็นไปในทางกามารมณ์ นี้เรียกว่ากามธาตุหรือกามโลก; ทีนี่เดี๋ยวนี้ ถ้ามันได้รับแผลเอร็ดอร่อยไปในทางกามคุณ ก็เรียกว่ากามโลก หรือกามธาตุ ทีนี้ถ้าได้รีบผลคือความสงบ อย่างที่มีรูปบริสุทธิ์เป็นอารมณ์นี้ก็เรียกว่ารูปธาตุ หรือรูปโลก ถ้ามีผลเป็นความสุขไม่เกี่ยวกับกาม ไม่เกี่ยวกับรูปแต่เป็นอรูป เช่นความรู้สึกในทางจิตใจล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับกามคุณ แล้วไม่เกี่ยวกับวัตถุบริสุทธิ์ มาช่วยกระตุ้น มาช่วยส่งเสริม อย่างนี้ก็เรียกว่า อรูปโลก หรืออรูปธาตุ
        บางคนทำไปได้รับผลเป็นเรื่องทางกามารมณ์; บางคนบางเวลา หรือคนเดียวกันบางเวลา ทำไปได้รับผลเป็นการมีอะไรที่ไม่เกี่ยวกับกาม แต่ก็เป็นที่พอใจ; บางคนทำไปมีผลเพียงว่า จิตใจมันว่าง มันสงบดี มันสบายดี มันไม่มีอะไรรบกวนมันอยู่ด้วยจิตว่า นี้ก็ได้; มันก็เป็นความสุขเหมือนกัน
            นี้แหละกรรม 3 ประเภทนี้ แจกออกไปตามผลที่จะได้รับ เป็นกามก็มี เป็นรูปก็มี เป็นอรูปก็มี
            ที่แจกอย่างนี้ก็เพื่อจะให้สรุปเอาไว้ให้หมด ในบรรดาโลกทั้งหลายเพราะมันมีเพียง 3 โลกเท่านั้นแหละ กามโลก รูปโลก อรูปโลก พวกเทวดาชนิดกามาจร แม้สัตว์มนุษย์ สัตว์อบายในอบาย นี้ก็เป็นพวกกามโลก เสวยผลเป็นกามธาตุ ทีนี้พวกรูปพรหมก็รูปธาตุ พวกอรูปพรหมก็อรูปธาตุ
            ถ้าเราไม่อยากจะพูดอย่างนั้น เพราะมันยังไกลนัก มันไกลเกิดไปไม่รู้ว่าตายแล้วจะไปกันที่ไหนก็ยังไม่รู้; ก็เอากันเดี๋ยวนี้ที่นี่ ว่าถ้าจิตมันสบายเพราะความเปียกชุ่มไปด้วยความรู้สึกทางกามคุณแล้ว มันก็เป็นกามธาตุ; ถ้ามันบริสุทธิ์สะอาด แต่ยังต้องอาศัยรูปอยู่บ้าง ก็เรียกว่ารูปธาตุ; ถ้าไม่อาศัยกามไม่อาศัยรูปอะไรเลย ก็เรียกว่าอรูปธาตุ
            การทำบุญทำกุศลนี้ มันก็มีมากมาย : มีการให้ทาน มีการรักษาศีล มีการเจริญเมตตาภาวนา ถ้าเขาทำไปด้วยเจตนาอย่างไร มันก็จะได้อย่างนั้น ในเมื่อทำไปถูกต้อง เพราะฉะนั้น จึงมีคนให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เพื่อได้กามคุณก็มี เพื่อให้อยู่สงบ ๆอย่างรูปโลกก็มี; ทีนี้ไปไกลถึงอรูปโลกก็มี ซึ่งก็ล้วนแต่ทำเอาได้ที่นี่
            นี่ขอให้จำไว้ว่า สำหรับเรื่องกรรมนี้ พระพุทธเจ้าท่านทรงจำแนกไว้เป็น 3 อย่าง อย่างนี้ เรียกว่า กามธาตุเวปักกรรม= กรรมวิบากเป็นรูปธาตุ อรูปธาตุเวปักกกรรม=กรรมมีวิบากเป็นอรูปธาตุ นี้พวกหนึ่ง : จำได้เอาไปคิดดู จะมองเห็น ว่ามันมีเท่านี้จริง ๆเหมือนกัน
            ที่นี้ ก็มีวีแบ่งกรรมออกเป็นพวกอย่างอื่นอีก ถ้าเป็นเรื่องของชาวบ้านทั่ว ๆ ไปแล้ว ก็ควรจะแบ่งเพียง 2 อย่าง :     กรรมดี กรรมชั่ว เท่านั้นพอ พระพุทธเจ้าท่านสนทนากับพระราหุล พระโอรสของท่าน  ว่ารู้จักแว่นสำหรับส่องกรรมไหม? คืออะไร? สนทนากันอย่างนั้น ในที่สุดก็ตรัสว่า แว่นสำหรับส่องกรรมเพื่อจะมองดูให้เห็น ว่ากรรมันเป็นอย่างไรนั้น ก็มีว่า กุศลกรรม กับอกุศลกรรมเป็นสองอย่าง
          สำหรับกุศลกรรมนั้น พอเอาแว่นส่องดูแล้วมันก็เห็น : ไม่เบียดเยียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น นี้เรียกว่ากุศลกรรม ท่านกล่าวไว้ชัดว่า ไม่เบียดเบียนตนเอง แล้วก็ไม่เบียดเบียนผู้อื่น แล้วไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทังสองฝ่ายด้วย
        ถ้าเป็นอกุศลกรรม เอาแว่นส่องดูก็เห็น : เบียดเบียนตนด้วย เบียดเบียนผู้อื่นด้วย เบียดเบียดทั้งสองฝ่ายด้วย นี้มันง่ายแก่การจำ เบียดเบียนตน ก็คือว่าไม่ต้องเกี่ยวข้องกับใคร ตนเองก็เดือดร้อนลำบากอยู่; ทีนี้เบียดเบียนผู้อื่น ก็พลอยทำให้ผู้อื่นลำบาก; ที่ร้ายไปกว่านั้น ก็เบียดเบียนพร้อมกันทั้งสองฝ่ายเลย
            นี้เรียกว่าแว่นส่องกรรม ซึ่งทุกคนควรจะใช้แว่นนี้ ส่องดูกรรมของตัวอยู่ทุกเวลานาทีก็จะยิ่งดี ว่าการเคลื่อนไหว การกระทำวันหนึ่ง ๆ มันมีหลายอย่างแล้วมันเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ก็ส่องดูอย่างนี้
            แม้ว่าไม่ได้ทำให้ใครลำบาก แต่ว่าถ้าทำให้ตนเองลำบาก ก็เรียกว่าอกุศล นี่อย่างไปคิดให้มันหลวม ๆ กว้าง ๆ จนไม่รู้ว่า มันอยู่ที่ตรงไหน ถ้าทำตนเองให้ลำบาก โดยที่ไม่ควรจะลำบาก ก็ต้องเรียกว่า โง่ ว่าเป็นอกุศล; แล้วยิ่งไปทำให้คนอื่นลำบาก และลำบากพร้อมกันทั้งสองคน ก็ยิ่งโง่มาก ยิ่งเป็นอกุศลมากขึ้นไปอีก
            นี้เรียกว่าแบ่งสิ่งที่เรียกว่ากรรมออก เป็นกุศล และเป็นอกุศลยังไม่ได้เกี่ยวกับกรรมประเภทสิ้นกรรม อย่าเพื่อไปนึกถึง
        ทีนี่ ก็จะพูดถึงเรื่องกรรมแบ่งออกเป็นพวก ๆ ตามลักษณะอาการที่มันจะให้ผล นี้เขาเรียกว่ากรรม 12 อย่าง มีในหลักสูตรนักธรรมชั้นโท ผู้เรียกนักธรรมชั้นโทก็รู้อย่าแล้ว ไปเปิดดูโดยรายละเอียดก็ได้ มันไม่มีในพระพุทธภาษิต
            เรื่องกรรม 12 อย่างนี้ มันไม่มีในพระไตรปิฏก  เท่าที่พบแล้ว มันไม่มี; แต่มันมีในหนังสือวิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นหนังสือชั้นหลัง แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าฟังแล้วก็เห็นได้ชัดว่ารวบรวมเอามาจากพระพุทธภาษิต ที่ตรัสไว้ที่นี่อย่าง ที่นั่นอย่าง ที่โน่นอย่าง เอามารวมกันเข้าให้มาอยู่ในที่เดียวกันเป็นหมวด ๆ เรียกว่ากรรม 12 ชนิด ฟังดุแล้วก็ชวนเอือมระอาที่จะจำ แต่แล้วมันก็ไม่ยากนัก
            ที่ว่ากรรม 12 ชนิดนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เอาเวลาที่มันให้ผลเป็นหลัก : ถ้าให้ผลทันที เรียกว่า ทิฏฐธัมมเวทนียะ; ถ้าให้ผลในระยะต่อมาเรียกว่า อุปะปัชชเวทนียะ; ถ้าให้ผลต่อนานออกไปอีกว่าจะมีโอกาส เรียกว่า อปราปรเวทนียะ ทีนี้ ถ้าว่ามันให้ผลไปเสร็จแล้ว หรือว่าเลิกล้างกันไปนระหว่างบุคคล ที่พูดต่อรองกันได้ นี้ก็เรียกว่า อโหสิกรรม
            ทีนี้ มันมีปัญหาที่ว่า อุปะปัชชเวทนียกรรม และอปราปรเวทนัยกรรม นี้ในหนังสือวิสุทธิมรรคเอง หรือว่าคนบางพวก เขาเล็งถึงกรรมให้ผลหลังจากตายแล้ว ทิฏฐธรรมเวทนียะคือในชาตินี้ อุปปัชชเวทนียะ หมายถึงชาติข้างหน้า และอปราปรเวทนียะ หมายถึงชาติต่อ ๆ ไป หลังจากตายแล้ว เข้าโลงแล้วทั้งนั้น
        แต่ตัวหนังสือเหล่านี้ ที่เป็นพระพุทธภาษิตในบาลีแท้ ๆ เรียกว่าไม่ตรงกันอยู่สองคำ คำว่า ทิฏฐธรรม นั้นตรงกัน แต่มีคำว่า อุปะปัชเช มาแทนคำว่าอุปปัชชเวทนียะ และคำว่า อปรปริยายะ มาแทนคำว่า อราปรเวทนียะในที่นี้ ถ้าพิจารณาดูความหมายในบาลีแล้ว คำว่า ทิฏฐธรรม ควรจะแหลว่า ทันควัน คำว่า อุปปัชเช แปลว่า เวลาถัดมา คือถัดมาจากทันควัน; คำว่า อปรปริยายะ ควรแปลว่า เวลาถัดมาอีก ทั้งหมดนี้แสดงว่า ทั้งสามชนิดนั้นอยู่ในชาตินี้ ชาติเดียวกันทั้งนั้นก็ได้ ขอให้ตั้งข้อสังเกตไว้พิจารณาศึกษากันต่อไป
        มันเกิดความแตกต่างกันว่า พวกหนึ่งถือว่าชาตินี้ แล้วก็ชาติหน้า คือตายเข้าโลงแล้ว; แล้วก็ชาติต่อ ๆ ไปอีก ส่วนอีกพวกหนึ่ง ทันควันที่ทำกรรม; แล้วก็ถัดมาอีก; แล้วก็ชนิดที่ถัดมาอีก ชั่วขณะจิตหนึ่งหรือหลาย ๆ ขณะจิตก็ได้ แล้วยังมีว่าต่อไปจากนั้นอีก อาจจะเป็นหลายวัน หลายเวลาไปก็ได้ ตามหลักในบาลีจะมีความหมายว่า ทันควัน แล้วก็ในเวลาต่อมา แล้วก็ ในเวลาต่อมาอีก หมายความในวันเดียวกันก็ได้ สามคำนี้
        แต่ที่เขาสอนกันอยู่ในโรงเรียนนักธรรม ตามหนังสือวิสุทธิมรรค และเขาสอนกันมาแต่โบรมโบราณนั้น เขาเล็งถึงว่าชาตินี้ ชาติหน้า แล้วก็ชาติโน้น ๆ ต่อไปอีก ต่างกันอยู่อย่างนี้
            นี้กลุ่มที่ 1 มีอยู่ 4 กรรม ให้ผล ชาตินี้ ให้ผล ชาติหน้า ให้ผล ชาติต่อไป แล้วก็ ให้ผลเสร็จแล้ว นี้พูดตามที่สอนกันอยู่
          กลุ่มที่ 2 เอาตามกิริยาที่มันให้ผล ถ้ามันให้ผลเป็นการตกแต่งให้เกิดเรียกว่า ชนกกรรม; ให้ผลสนับสนุน เรียกว่า อุปะถัมภะกกรรม; ให้ผลบีบคั้นเรียกว่า อุปะปีฬะกกรรม; ให้ผลตัดไปเสียเลย เรียกว่า อุปะฆาตะกกรรม 4 กรรมนี้ เอาตามกิริยาที่มันให้ผลแสดงออกมานี้ เป็นหลัก
            ตกแต่งให้เกิดดี เกิดชั่ว นี้พวกหนึ่ง แล้วสนับสนุนให้ดีหรือชั่วมากยิ่งขึ้นไป นี้ก็พวกหนึ่ง แล้วก็บีบคั้นให้มันเพลาลง ให้ชั่วน้อยลง ให้ดีน้อยลง นี้ก็พวกหนึ่ง แล้วก็ให้ยกเลิกไปเสียเลย เพระมีอันอื่นเหนือกว่า นี้ก็อีกพวกหนึ่ง 4 พวกนี้มีเหตุผล มีความหมาย ตามหลักที่มีอยู่ในพระพุทธภาษิตในที่อื่น ๆ ดังนั้นจึงเข้าใจว่าผู้ที่ร้อยกรงหนังสือวิสุทธิมรรคได้ไปประมวลเอามา ทำไว้เป็นชุดหนึ่งขึ้นมาอย่างนี้
        กลุ่มที่ 3 นี้ เอาตามน้ำหนัก : กรรมหนัก กรรมมาก กรรมใกล้ตาย และกรรมเบามาก คือสักว่าทำ
            กรรมหนัก หมายความว่า ทำครั้งเดียว แต่แรงมาก เป็นอนันตรัยกรรม ที่นี้ กรรมมาก กรรมไม่แรง แต่ทำหลาย ๆ หน อย่างนี้เรียกว่ากรรมมาก คือพหุลกรรม แล้ว กรรมที่ใกล้จะตาย นั้น มีโอกาสให้ผลก่อนเรียกว่า อาสันนกรรม; แล้วกรรมที่สักว่าทำไปโดยไม่เจตนา หรือครึ่งเจตนา หรือเจตนาเป็นอย่างอื่น ส่วนมากก็เป็นเจตนาของความสะเพร่า กรรมนี้เรียกว่า กตัตตาวาปนกรรม สำหรับเรื่องอาสันนกรรมนั้น พระพุทะเจ้าได้ใช้เป็นหลักสำคัญมากเหมือนกัน เดี๋ยวก็จะไปถึงจะได้กล่าวให้ฟัง
            นี่แหละเรื่องกรรม 12 ชนิด แบ่งปัน 3 กลุ่ม ๆ ละ 4 ชนิด มีอยู่อย่างนี้ล้วนแต่เป็นกรรมในขั้นศีลธรรมทั้งนั้น ไม่มีเรื่องปรมัตถธรรม คือไม่พูดเรื่องเหนือกรรม คือพูดแต่ในลักษณะที่จะต้องได้รับผลดีผลชั่วอยู่เรื่อยไป เรียกว่าเป็นกรรมในประเภทศีลธรรม
        ต่อไปก็ถึงเรื่องที่ว่า จะเป็นเครื่องสังเกตกรรม ว่ากรรมนั้นมันจะไปในทางดี หรือทางชั่ว ข้อนี้เอาทิฉฐิเป็นหลัก คือทิฏฐิมีอยู่ 2 อย่าง : เป็นสัมมาทิฏฐิ กับมิจฉาทิฏฐิ ถ้ามันเป็นไปในอำนาจของมิจฉาทิฏฐิ มันก็เป็นฝ่ายชั่ว ถ้าเป็นด้วยสัมมาทิฏฐิ มันก็เป็นดี เป็นฝ่ายดี
          หลักเกี่ยวกับมิจฉาทิฏฐิ หรือสัมมาทิฏฐิ นี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง พูดถึงมิจฉาทิฏฐิ มีลักษณะคือ (1) ไปละอายในสิ่งที่ไม่ควรละอาย แล้วก็ไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย นี้อย่างหนึ่ง; (2)  แล้วก็กลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว แล้วก็ไม่กลัวในสิ่งที่ควรกลัว นี้อีกอย่างหนึ่ง; (3) แล้วก็ไปเห็นว่า มีโทษในสิ่งที่ไม่มีโทษ แล้วก็ไปเห็นว่าไม่มีโทษในสิ่งที่มีโทษ; กลับกันอยู่อย่างนี้
            มีสิ่งที่จะใช้ให้เห็นหลักก็คือว่า เรื่องความละอายหรือไม่ละอาย ความกลัวหรือไม่กลัว มีโทษหรือไม่มีโทษ ถ้าเห็นผิดไปหมดอย่างนี้แล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ นี้ในขั้นศีลธรรมเขาเอากันเพียงอย่างนี้ เพราะเป็นขั้นธรรมดาสามัญสำหรับคนทั่วไป ถ้าเห็นผิด อย่างที่ว่านี้ ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเห็นถูกต้องก็เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ (1) ไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย ละอายในสิ่งที่ควรละอาย (2) กลัวในสิ่งที่ควรกลัว ไม่กลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลั้ว (3) เห็นว่ามีโทษ ในสิ่งที่มีโทษ เห็นว่าไม่มีโทษในสิ่งที่มีมีโทษ
            เรื่องมิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ นี้สำคัญตรงที่ว่า ในเวลาจะตายนั้น มีสัมมาทิฏฐิ หรือมีมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าก็ทรงย้ำในข้อนี้เหมือนกัน ถ้ากล่าวถึงเรื่องศีลธรรม เดี๋ยวก็จะไปถึงความสัมพันธ์กันยุ่งในระหว่างสิ่งทั้งสองนี้
            ทีนี้ ก็มาถึงส่วนเกี่ยวข้องของอิปัจจัจจยตา ที่เกี่ยวกับกรรมต่อ ๆไปอีกคือเล็งถึงต้นเหตุแห่งกรรม ตามหลักธรรมะในพระพุทธศาสนา ถือว่า สิ่งทั้งหลายมีเหตุ จะถือว่าไม่มีเหตุไม่ได้ ในเมื่อเป็นสังขตธรรมทั่วไปอยู่
          เหตุแห่งกรรม นั้น ถ้ากรรมดี ก็คือ  อโลภะ อโทสะ อโมหะ; ถ้ากรรมชั่ว ก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ พระพุทธภาษิตข้อนี้ตรัสไว้ไพเราะยืดยาว;  แต่ถ้าสรุปความแล้วก็เท่านี้เอง
          ฝ่ายที่เรียกว่ากุศล นั้น ก็ตรัสว่า โลภะ ไม่อาจจะเกิดจาก อโลภะ อโลภะเกิดจากอโลภะ ทีนี้ โทสะ ไม่อาจจะเกิดจาก อโทสะ อโทสะเกิดจากอโทสะ โมหะ ไม่อาจจะเกิดจาก อโมหะ อโมหะเกิดจาก อโมหะ
          ฝ่ายข้างชั่ว นั้นก็ว่า อโลภะ ไม่อาจจะเกิดจากโลภะ โลภะ ต้องเกิดมาจากโลภะ อโทสะ ไม่อาจจะเกิดจากโทสะ โทสะ ต้องเกิดมาจากโทสะ อโมหะ ไม่อาจจะเกิดจากโมหะ โมหะ ต้องเกิดจากโมหะ
            ทีนี้ พวกสุคติ นี้ ไม่ปรากฏเพราะกรรมอันเกิดจาก โลภะ โทสะ โมหะ ทุคติ ย่อมปรากฏจากกรรมอันเกิดแก่ โลภะ โทสะ โมหะ ทุคติทุกอย่างไม่ปรากฏเพราะกรรมอันเกิดแต่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ สุคติทุแอย่าง ก็ปรากฏเพราะกรรมอันเกิดแต่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ คล้าย ๆกับว่า พระพุทธเจ้าท่านจะทรงย้ำไปทุกทิศทุกทาง อย่าให้มันดิ้นได้ อย่าให้มันมีช่องแก้ตัวได้ จึงตรัสอย่าง
นี้
          ถ้าถือเอาแต่ใจความ แล้ว ก็คือว่า อโลภะ อโทสะ อโมหะ นี้เป็นเหตุของกุศลกรรม โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุของอกุศลกรรม มีเท่านั้นเอง
            แต่ว่า เรื่องที่สำคัญกว่านั้น มันมี : มันมีในข้อที่ว่า กรรมที่ทำด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น จะทำให้กรรมงอกงามต่อไป ข้อนี้มีความสำคัญมากที่จะต้องจำให้ดี ว่ากรรมที่มาจาก โลภะ โทสะ โมหะนั้น จะทำให้กรมงอกงามต่อไป แต่ถ้าเป็น กรรมที่มาจาก อโลภะ อโทสะ อโมหะ แล้ว มันจะเป็นไปในทางที่ทำให้กรรมสิ้นสุดลง คือไม่ให้งอกงามต่อไป
            นี่คล้าย ๆ กับว่า มันส่งเสริมกันไปตามพวกของมัน : กรรมที่ทำไปเพราะกิเลส จะส่งเสริมให้กรรมทั้งหลายงอกงามต่อไป; กรรมที่ทำ ด้วยโพธิด้วยปัญญา นี้จะทำให้กรรมนี้ลดลง ๆ จนหมดไป สู่ความสิ้นกรรม
            เรื่อง อิทัปปัจจยตา ของกรรม ยังมีละเอียด ขอแนะให้สังเกตว่า เรื่องโลภ เรื่องโกรธ เรื่องหลง นี้ ย่อมให้ผลในอัตตภาพที่เขากระทำ และเสวยผลของการกระทำ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เขากระทำกรรมในอัตตภาพใด ย่อมเสวยผลในอัตตภาพนั้น; เป็นทิฏฐธรรมบ้าง เป็นอุปะปัชชะบ้าง เป็น อปรปริยายะบ้าง ที่พูดว่า ทันควัน และ ต่อไป และ ต่อไปอีก”; นี้มันเป็นเรื่องที่เนื่องกันในอัตตภาพที่มีการกระทำนั้นทั้งนั้น : ไม่ใช่เรื่องต่อตายแล้ว พระพุทธภาษิตมีอยู่ชัด ๆ ว่า :-
            กรรมที่ทำเพราะโลภะ โทสะ โมหะ เหล่านี้ มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นแดนเกิดเหล่านี้ ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตตภาพของบุคคลนั้นกระทำหรือเสวยผล กรรมย่อมให้ผลในอัตตภาพซึ่งบุคคลนั้นเกิด กรรมให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยผลในอัตตภาพนั้น เป็น อย่างทันควัน บ้าง เป็นอย่างในเวลาต่อมา บ้าง เป็น อย่างในเวลาต่อไปอีก บ้าง นี้เป็นพระพุทธภาษิตที่เป็นหลักตายตัว
        ฉะนั้นกรรมที่ทำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ จะส่งเสริมกรรมทั้งหลายให้งอกงาม ให้หนาไปด้วยกรรม : เปรียบเหมือนต้นไม้ ไม่เน่า ยังดีอยู่ ไม่เหี่ยว ไม่ถูกตัดให้ขาด รากดี เหง้าดี  ฝนดี ดินดี ย่อมเจริญหนาแน่นขึ้นมาเป็นดงทึบ
        แต่ถ้าทำด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ มันลดความงอกงามของกรรมเหมือนกับว่าต้นไม้ที่มันยังสดอยู่ ยังดีอยู่ แต่ถ้าเอามาเผาไฟ ให้เป็นขี้เถ้า แล้วโรยไปในกระแสลมหรือแสะน้ำ มันก็ไม่มีอะไรเหลือ
            ให้ถือว่ากรรมที่ทำเพราะอโลภะ อโทสะ อโมหะ นี้ มีแต่จะให้เป็นไปเพื่อความลดลงแห่งกรรม กระทั่งไม่มีเหลือ เป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งกรรม
        แต่เราก็ไม่ค่อยสนใจกัน หรือไม่เห็นความสำคัญในเรื่องโลภะ โทสะ โมหะ หรือเรื่อง อโลภะ อโทสะ อโมหะ เราก็เลยเข้าใจไม่ได้ว่า เราจะทำกรรมอะไรได้ ถ้าเราไม่มีความโลภ โกรธ หลง ! ถ้าเราไม่ต้องการอะไร เราก็ไม่ทำอะไรมิใช่หรือ!
            ในที่นี้หมายความแต่เพียงว่า จิตประกอบอยู่ด้วยปัญญา ด้วยอวิชชา ด้วยแสงสว่าง นั้นน่ะ ไม่มีความโลก ความโกรธ ความหลง จิตชนิดนี้ถ้ามันต้องการจะทำอะไร ทำกรรมชนิดไหน มันตะต้องการไปแต่ในทางที่จะหยุดกรรม ลดกรรม จนกระทั่งสิ้นกรรม; เพราะถ้ามันไม่โลก ไม่โกรธ ไม่หลง จริงๆ แล้ว มันก็คล้าย ๆ กับว่า ไม่รู้ว่าจะทำอะไร
            ไปคิดดูให้ดี ถ้าใครเกิดไม่มีความโลภ ไม่มีความโกรธ ไม่มีความหลง หรือว่าจิตเฉพาะเวลานั้น ไม่มีความโลภ ไม่มีความโกรธ ไม่มีความหลง มันก็ไม่รู้จะทำกรรมอะไรดี! เพราะว่าบรรดาสิ่งที่ใคร ๆ ต้องการนั้น มันก็เป็นเรื่องของความโลภ ความโกรธ ความหลง ทั้งนั้น; อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นการละโมบบุญ ละโมบเกียรติ ละโมบสวรรค์ เป็นต้น; ล้วนแต่เป็นกรรมทั้งนั้น
        เพราะฉะนั้นแหละ ถ้าว่าทำอะไรลงไปด้วยความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงแล้ว มันจะลดกรรม จะลดกระแสแห่งกรรม จะลดจำนวนแห่งกรรม; มันจะไม่เป็นไปเพื่อความเจริญงอกงามของกรรม; ดังนั้นอย่าทำเล่นกับคำว่า โลภ โกรธ หลง หรือว่า ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง มันผิดตรงกันข้ามเหมือนว่าฟ้ากับดิน หรือยิ่งกว่าฟ้ากับดิน
            ทีนี้ กรรมที่มันเกี่ยวกับบุคคล; ไหน ๆ พูดแล้วก็พูดกันเสียให้หมดว่า กรรมที่มันเกี่ยวกับบุคคล ทียังต้องเป็นไปตามกรรม ยังเป็นทาสของกรรม มันก็ต้องทำกรรม; และมันก็มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นเหตุให้ทำกรรม คนประเภทนี้ไม่เคยทำกรรมด้วยความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เพราะเขาไม่รู้จักเพราะเขาทำไม่เป็น เขาจึงทำแต่ด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง
          พระพุทธเจ้าจัดบุคคลที่ทำกรรม หรือเนื่องด้วยผลแห่งกรรมไว้เป็น 4 พวก :
        พวกที่ 1 มีชี่วิตอยู่ด้วยผลแห่งความบากบั่นของตนเอง ไม่มีผลของกรรมเก่ามาเกี่ยวข้อง นี่คนพวกนี้เขากำลังบากบั่น เหน็ดเหนื่อย เหงื่อไหลไคลย้อย อยู่ด้วยเรี่ยวแรงของตัวเอง ไม่มีผลของกรรมเก่ามาเกี่ยวข้อง ก็คือคนที่ว่าต้องอาบเหงื่อต่างน้ำไปตลอดเวลา ผลกรรมดี ผลกรรมชั่วก็ไม่มาเกี่ยวข้อง เขาก็ทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำไปตลอดเวลา เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยผลของความเพียร ความพากเพียรของตัว นี่ก็คือมนุษย์ธรรมดาสามัญทั่วไปนั่นเอง
          พวกที่ 2 มีชีวิตอยู่ด้วยผลของกรรมเก่า ไม่ได้มีชีวิตอยู่ด้วยผลของการทำความเพียงใจปัจจุบัน นี้คือพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชขึ้นไป หมายถึงเทวดาในกามาวจร มีชีวิตอยู่ด้วยผลของกรรมเก่า แล้วก็ไม่ชวนกันสร้างกรรมใหม่ แล้วก็ไม่ต้องพากเพียรให้เหน็ดเหนื่อย เหงื่อไหล ไคลย้อย บริโภคผลของกรรมเก่าเรื่องไปเรียกว่าพวกเทวดา
          พวกที่ 3 ทำทั้งสองอย่าง อาศัยความเพียงในปัจจุบันนี้ด้วย อาศัยผลกรรมเก่าด้วย มีชีวิตเป็นอยู่ : ยกตัวอย่างไว้ว่า เหมือนกับคนที่เป็นเจ้านายเป็นพระราชา ลงมาถึงช้าราชการ ถึงอะไรต่าง ๆ นี้ ผลกรรมเก่าก็มีด้วย ความพากเพียรในปัจจุบันนี้ก็มีด้วย
          พวกที่ 4 ไม่มีทั้งสองอย่าง คือความเพียรจะทำช่วยตัวเองเดี๋ยวนี้ก็ทำไม่ได้ ผลของกรรมเก่าที่มาช่วยหล่อเลี้ยงให้มีความสุข ก็ไม่มี คือสัตว์นรกทั้งหลายนั่นเอง
        พระพุทธภาษิตนี้ ชี้ให้เห็นความเกี่ยวข้องกันกับกรรมของบุคคลที่มันเป็นไปต่าง ๆ กัน แบ่งคนเป็น 4 พวก : พวกหนึ่งเกี่ยวข้องกับกรกมในแง่นี้ พวกหนึ่งเกี่ยวข้องกับกรรมในแง่นั้น แง่โน้น เป็น 4 พวกขึ้นมา; แล้วก็แยกเป็นคู่ตรงกันข้าม โดยหลักว่า พากเพียรเอาเดี๋ยวนี้ หรือว่า อาศัยผลของกรรมเก่า
        มันน่าแปลกประหลาดที่ว่า มนุษย์ส่วนมากนี้ นิยมบัญญัติให้ว่า เป็นพวกที่อยู่ด้วยความพากเพียรเดี๋ยวนี้ ไม่สู้จะเนื่องด้วยผลของกรรมเก่า นี้ดูคล้าย ๆ กับว่าในโลกมนุษย์นี้ มันต้องใช้วิธีอย่างนี้ : การเป็นอยู่ในโลกมนุษย์นี้ จะต้องอยู่ด้วยการอาบเหงื่อต่างน้ำ นี้ไม่มีอะไรมากไปกว่าว่า กระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา ของคนทั้ง 4 พวกนี้ มันต่างกัน
            เมื่อแสดงความแตกต่างกันอย่างนี้แล้ว ก็ควรจะเห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้น เพราะกรรมต่อไปอีกด้วย; คือหมายถึงความแตกต่างของสิ่งที่เรียกว่า ชาติ : ชาติกำเนิด; กำเนิดของคน และกำเนิดของสัตว์
          กำเนิดของคนแตกต่างกันตามกรรม ส่วนกำเนิดของสัตว์ไม่ได้ถือเอากรรมเป็นหลัก เพราะว่า ตามหลักธรรมะ ถือว่า สัตว์เดรัจฉานนั้น ไม่มีกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำกรรมเหมือนมนุษย์ เพราะว่าอวิชชาของสัตว์เดรัจฉานนั้น ไม่ถือว่าเป็นอวิชชา ยกตัวอย่างเช่น แมวจับหนูกิน ถือว่าไม่บาป; แต่ถ้าคนมนุษย์ฆ่าสัตว์กิน ก็ถือว่าบาป
            นี้คือ หลักอันใหญ่ ที่จะแสดงความแตกต่าง ระหว่างสัตว์เดรัจฉานกับมนุษย์ !
        มันเป็นบาปกรรมของมนุษย์เอง ที่อุตริมาความฉลาด รู้เรื่องอวิชชา รู้เรื่องวิชชา แล้วก็มีอวิชชาในการที่จะฝืนความรู้สึกทำความชั่ว ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นความชั่ว ส่วนสัตว์เดรัจฉานมันมีบุญ คือมันคิดไม่เป็น มันมีความคิดน้อยมันไม่รู้เรื่องดีเรื่องชั่ว; มันไม่มีวิชชา มันไม่มีอวิชชา; เพราะฉะนั้น มันจึงไม่ต้องฝืนความรู้สึก : เมื่อแมวจะจับหนูกิน มันไม่มีความรู้ว่าบาป แล้วก็ฝืนทำ ส่วนคนเรานี้ จะไปฆ่าสัตว์มากิน มันก็รู้ว่าบาป แล้วก็ฝืนทำ
            ฉะนั้น เราจึงสามารถจัดความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉาน ในกรณีที่เกี่ยวกับกรรมนี้ไว้เป็นคนละอย่าง พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติลงไปว่า ความแตกต่างของสัตว์เดรัจฉานนั้น มันไม่เอากรรมเป็นหลัก มันก็เลยมีชาติ ๆ ๆ ตามที่มันเกิดมาจากท้องแม่ ตามกำเนิดเป็นอย่างไร ส่วนคนนั้น เอากรรมหรือการกระทำเป็นหลักมาแบ่ง แบ่งเป็นคนชนิดนั้น เป็นคนชนิดนี้ เป็นคนชนิดโน้น นี้มีคำตรัสของพระพุทธเจ้า แสดงความแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ ในกรณีที่เกี่ยวกับกรรมไว้อย่างนี้
            อย่าเอากรรมไปใช้กับสัตว์ เพราะสัตว์ไม่มีอวิชชา ไม่มีกิเลส ตัณหา เหมือนคน คนมันมีอวิชชา มีกิเลสตัณหา เพราะนั้นจึงมีการทำกรรม แล้วจึงเอากรรมนี้มาแบ่งเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตามการกระทำของตัว
            ถ้าเกิดเป็นแมว มันก็เป็นแมวเหมือนกันหมด; แต่ถ้าว่าเกิดเป็นคนมันมีเป็นพ่อค้า เป็นชาวนา เป็นข้าราชการ เป็นโจร เป็นขโมย เป็นบัณฑิต เป็นคนพาล นี่มันแล้วแต่กรรมที่กระทำ ต่างกันไปตามกรรม แต่ถ้าเป็นแมวมันก็เป็นแมวเหมือนกันไปหมด เป็นสุนัข ก็เป็นสุนัขเหมือนกันไปหมด มันไม่มีการกระทำกรรมที่ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างคน
        เรื่องนี้มีว่า พวกพราหมณ์หนุ่ม 2 คนมาเถียงกัน คนหนึ่งว่าเป็นคนดีเพราะชาติกำเนิด อีกคนหนึ่งว่า เป็นคนดีเพราะกระทำกรรม; มันมีแง่ที่จะเถียงกันอย่างนี้ พวกหนึ่งถือว่า ถ้าเกิดมาจากพ่อแม่ดี ก็เป็นคนดี เป็นผู้ดีไปเลย อีกคนหนึ่งเถียงว่าไม่ใช่ มันแล้วแต่การกระทำ ดีหรือไม่ดี เมื่อคนหนุ่ม 2 คนนี้เขาตกลงกันไม่ได้ เขามาทูลถามพระพุทธเจ้า ว่าช่วยอธิบายทีเป็นอย่างไร
            พระพุทธเจ้าทรงอธิบายตามหลักเกณฑ์อันนี้ ว่าพวกติณชาติ หญ้าบอน ต้นไม้นี้ มนก็ประกาศตัวมันเป็นอะไรไม่ได้ ฉะนั้น ลักษณะดีชั่วของมัน ก็สำเร็จอยู่ที่ชาติที่มันเกิดมานั่นแหละ นี่ฟังดุให้ดีว่า ต้นไม้ หญ้า บอน มันปฏิญญาตัวประกาศตัวว่าดีว่าชั่วไม่ได้ ไม่เหมือนคน คนมันร้องตะโกนว่า กูดี มึงชั่วอย่างนี้ได้
            ลักษณะดีชั่วของหญ้าบอนนั้น มันก็แล้วแต่พันธุ์ที่มันเกิดขึ้น แม้ว่ามันจะมีมากอย่างมากชนิด แต่ละชนิดมันก็เหมือนกันอย่างนั้นแหละ; ถือเอาการที่มันเกิดมาตามพืชพันธุ์อย่างไรนั้นเป็นหลัก แต่คนไม่ใช่เป็นอย่างนั้น คนต้องจัดตามกรรมที่กระทำ
            พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตั๊กแตน ผีเสื้อ มดดำ มดแดง นี้ มันก็ไม่ได้ปฏิญญาตนว่าดีว่าชั่วอะไรได้ : ลักษณะความดีความชั่วของมัน ก็สำเร็จอยู่ที่ชาติตามกำเนิดของมัน ตามที่มันเกิด ไม่เหมือนคน;  คนนั้นอยู่ที่การกระทำ กระทำดี หรือชั่ว
            นี่เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสถึงต้นไม้ หญ้าบอน แล้ว ตรัสถึงตั๊กแตน ผีเสื้อ มดดำ มดแดง แล้ว; ก็ตรัสถึงสัตว์ที่มีเท้า สัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ ก็ตรัสเหมือนกันแหละ : มันร้องตะโกนว่า กูดี มึงชั่ว อะไรนี้ไม่ได้ มันไม่มีปฏิญญาความดีความชั่วของมันได้ ลักษณะดีชั่วของมันก็สำเร็จมาแต่กำเนิดของมัน แม้จะเป็นวัวควาย พันธ์ดีพันธ์ชั่วของมัน มันก็มาตามกำเนิดของมัน มันไม่ได้เกี่ยวกับกกรมที่มันกระทำในเวลานั้น; แม้มันจะเป็นวัควายหลาย ๆ ชนิด มันก็ไปตามพันธุ์ตามกำเนิดทั้งนั้น ไม่มีความแตกต่างเพราะกรรม ไม่เหมือนมนุษย์
            พระพุทธเจ้ายังตรัสว่า  สัตว์มีท้องเป็นเท้า ไปด้วยอก มีหลังยาวนี้ คือสัตว์เลื้อยคลาน เช่นงูเป็นต้น ก็อย่างเดียวกันอีก : ไม่ดีชั่วได้เพราะการกระทำแต่เป็นไปตามพันธุ์ของมัน แม้มนจะมีมากพันธุ์
          ปลา สัตว์เกิดในน้ำ หากินในน้ำ ก็อย่างนั้นอีกแหละ มันไม่มีความรู้สึกชั่วดี มันไม่ประกาศ กูดี กูชั่ว มันไปตามกำเนิดตามพันธุ์ของมัน แม้มันจะมีหลายพันธุ์ มันไม่เกียวกับทำกรรมอย่างนี้เป็นดีอย่างนั้น ทำกรรมอย่างนั้นเป็นชั่ว อย่างนั้น
          นก สัตว์ปีกบนิไปในอากาศ ก็เหมือนกันอีก ไปตามพันธุ์ ตามกำเนิด ไม่มีกรรมที่ทำให้แตกต่างกัน
            แต่ว่า ในหมู่มนุษย์นี้ ไม่เป็นอย่างนั้น จะเอาผม เอาหู ตา จมูก ปาก คอ คิ้ว คาง ห้อง ตะโพก อก เอว มือ เท้า แข้ง ขา อะไรนี้ หรืออวัยวะสืบพันธุ์ เป็นหลักว่า  คนนี้ดี คนนี้ชั่ว ก็ไม่ได้; ต้องเอากรรมตามที่เขากระทำอยู่ว่าเขาเป็นบัณฑิต หรือเป็นคนพาล
            ฉะนั้น จึงตรัสว่า ลักษณะเครื่องสังเกตดีชั่วของมนุษย์นี้ ไม่เหมือนของสัตว์เดรัจฉาน กฎเกณฑ์ที่ใช้กับสัตว์เดรัจฉาน เอามาใช้กับมนุษย์ไม่ได้ สำหรับในหมู่มนุษย์นั้น จะต้องมีลักษณะดีชั่วตามกรรมที่เขากระทำ นับตั้งแต่ว่า
            ถ้าเขาทำมาหากินด้วยวัวด้วยควาย เขาก็เป็นชาวนา หาใช่เป็นพราหมณ์ไม่
            ถ้าเขาหากินด้วยผีไม้ลายมือ เขาก็เป็นศิลปิน
            ถ้าเขาค้าขายกิน เขาก็เป็นพ่อค้า
            ถ้าเขารับใช้คนอื่นกิน เขาก็เป็นบ่าว
            ถ้าเขาขโมยกิน เขาก็เป็นโจร
            ถ้าเขาใช้อาวุธหากิน เขาก็เป็นทหาร เป็นนักรบ
            ถ้าเขาทำพิธีรีตองหากิน เขาก็เป็นคนทำหน้าที่ทำพิธีบูชายัญ
            ถ้าหากินด้วยการปกครองบ้านเมือง ก็เป็น พระราชา จนถึงข้าราชการซึ่งเป็นขั้นต่ำ พอเขาทำหน้าที่อะไร เขาก็เป็นคนอย่างนั้น ทั้งที่เขาเป็นคนเหมือนกัน
            นี่กฎเกณฑ์อย่างนี้ไม่มีในสัตว์; กฎเกณฑ์ที่มีในสัตว์ ไม่มีในคน ฉะนั้น เรื่องกรรม จึงเป็นเรื่องที่แบ่งแยกกันระหว่างคนกับสัตว์
            ถ้าว่าเขาประพฤติดีประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ เขาก็มีศีล สมาธิปัญญา บรรลุมรรค ผลนิพพาน ก็เป็นพระอริยเจ้าไปเลย ทีนี้ คนที่เขาเป็นคนธรรมดาอย่างนั้นอยู่ เราจะมาเรียกเขาว่าคนดี อย่างนี้มีก็ดีไปไม่ได้;  เว้นไว้แต่ว่า เขาจะได้ประกอบกรรมที่ดีจริงเท่านั้น
                        ผู้ที่ทำกิเลสให้สิ้นไปเท่านั้น ที่จะชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้ที่เป็นพราหมณ์ อย่างที่เรียกในภาษาพิเศษ คำว่า พราหมณ์ นี้ เขาแปลว่า หมดบาป หรือลอยบาปเสร็จแล้ว คือไม่มีบาปแล้ว แต่พวกพราหมณ์เขาว่าเขาเกิดมาจากพ่อแม่ที่เป็นพราหมณ์ เขาก็เป็นพราหมณ์ ทีนี้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า หลักอย่างนั้นใช้ไม่ได้ เขาต้องเป็นผู้หมดบาปแล้ว เขาจึงจะเป็นพราหมณ์; ให้ถือเอาการกระทำของเขาเป็นหลัก เพราะว่าเขาเป็นมนุษย์ เขาไม่ใช่สัตว์ ที่จะเป็นอะไรไปตามพันธุ์
            การที่จะจัดพวกหรือตั้งสมญากัน ว่าอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็เป็นเรื่องสมมติเท่านั้น; ไม่ใช่เรื่องกรรม การตั้งให้ว่าลูกพราหมณ์ ลูกกษัตริย์ ลูกพ่อค้า ลูกชาวนา นี้ มันก็ยังไม่ตรงตามเชื่อ เพราะเขายังไม่ได้ทำกรรมที่ตะรางตามชื่ออย่างนั้น ๆ; เช่นเดียวกันเขาอาจจะพูดว่า ผู้ดี ผู้ชั่ว ผู้บ่าว ผู้ไพร่ อะไรก็ได้; แต่มันไม่จริง ต้องอยู่ที่ว่าเขาได้ทำอะไรลงไปจริง ๆ
            คนเรามันโง่มาแต่กำเนิด มาแต่ในท้องก็ได้ เช่นว่าพอเกิดออกมา เขาเรียกอะไรกันว่าอย่างไร มันก็พลอยเรียกไปตามเขา พอเราเกิดออกมา เขาเรียกเราพ่อนั่น แม่นี่ เป็นคนดี เราก็ว่าดีไปตาม; เขาว่าเป็นพราหมณ์ เป็นเวศย์ เป็นศูทร เป็นอะไร เราก็ว่าเป็นพราหมณ์ เป็นเวศย์ เป็นศูทร ไปตามเขา นี้มันมีความโง่ตั้งแต่เริ่มลืมตาขึ้นมาดูโลก; มัวแต่เรียกไปตามโวหารสมมติที่เขาใช้เรียกชื่อโคตรเรียกชื่อแซ่;  นี้ก็ไม่ใช่กฎแห่งกรรม
            กฎแห่งกรรมต้องเอาตามที่เขาทำอะไรอยู่ แล้วเขาก็ต้องเป็นตามที่เขาต้องทำนั้น เกี่ยวกับข้อนี้ พระพุทธเจ้าตรัสสรุปไว้ว่า น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ; กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ หฺราหฺมโณ; เป็นต้น ซึ่งมีความว่า จะเป็นคนเลวเพราะกำเนิดก็ไม่ใช่ จะเป็นคนดีเพราะกำเนิดก็ไม่ใช่ เป็นคนเลวก็เพราะกรรม เป็นคดีก็เพราะกรรม; ท่านตรัสว่าอย่างนี้
            ทีนี้ ก็มี หลักสำคัญ ที่ตรัสสรุปไว้ว่า บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปรกติเห็น ปฏิจจสมุปบาท ลาดในกรรมและวิบาก ย่อมเห็นกรรมนั้นแจ้งขัดตามที่เป็นจริง ว่าโลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม; เป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายถูกกรรมผูกพันไว้ เหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไป
            ในที่นี้พระพุทธเจ้าตรัสระบุชัดว่า ผู้ที่เห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นอิทัปปัจจยตา : เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดังนั้นจึงเป็นผู้ฉลาดในเรื่องกรรมและผลของกรรม; และเห็นต่อไปว่า สัตว์โลกทั้งหลายผุ้ทำกรรมนั่นมันจะต้องเป็นไปตามกรรม ทีนี้มันทำกรรมมากมาย ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงถูกกรรมทั้งหลายผูกมัดรัดรึง เหมือนกับตรึงเอาไว้ ต้องเป็นไปตามกรรมชนิดที่ตรึงเอาไว้ และเปรียบว่า เหมือนกับลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไป คำว่าเหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไปนี้ เป็นสำนวนบาลี คนไม่คุ้นเคยฟังไม่ถูก แต่พออธิบายนิดเดียวก็พอเข้าใจได้
            พูดถึงรถยนต์กันดีกว่า : รถยนต์ที่มันวิ่งไปได้เพราะว่าหมุด หรือสลักหรือน็อตทุกตัวมันยังยึดกันอยู่ พอหมุดหรือน็อตหรือสกรูมันหลุดเท่านั้นแหละ รถมันก็กระจาย วิ่งไปไม่ได้ ถ้าหมุดทุกตัว น็อตทุกตัว มันยังอัดแน่นกันอยู่ตรึงกันอยู่ รถก็วิ่งไปได้; ดังนั้นเมื่อรถวิ่งไปได้ก็แปลว่า หมุดหรือสลักทั้งหลายยังยึดตรึงกันอยู่ดี
            สัตว์ทั้งหลายก็เหมือนกัน มันมีกรรมที่ทำเอาไว้มากมายยึดตรึงเอาไว้ จึงต้องเป็นไปตามกรรม ตามแบบของกรรม อย่างที่เห็น ๆ กันอยู่
            ข้อนี้มีความสำคัญที่จะชี้ว่า รถคน นี่วิ่งไปได้เพราะหมุดสลักคือกรรมทั้งหลาย เช่นเดียวกับรถยนต์หรือเกวียน วิ่งไปได้เพราะหมุดสกรูอะไรต่าง ๆ ในเมื่อเครื่องผูกเครื่องยึดต่าง ๆ มันยังยึดกันอยู่ ฉันใดก็ฉันนั้น แต่เรามันมองไม่เห็นว่ามันมีหมุดมีอะไรที่ไหนมายึดเรา เว้นไว้แต่เราจะพิจารณา แล้วฉลบาดในปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา ลาดในเรื่องของกรรมและวิบาก ด้วยการเห็นตามกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตา ว่า : เอ้า เรามันยังรุงรัวงอยู่เหมือนกับรถที่มันประกอบอยู่ด้วยหมุด ด้วยน็อต ด้วยสกรูอะไรเป็นอันมาก มันยึดนั่นยึดนี่ ยึดไปหมด มันจึงเล่นไปในวัฏฏสงสารได้ ลองให้ หมุดสลักแห่งกรรม นี้หลุดออกมาเท่านั้น มันก็จะหยุดวิ่งไปในวัฏฏสงสาร นั้นคือเรื่องของความสิ้นกรรม หรือ อิทัปปัจจยตา ฝ่ายที่สิ้นสุดแห่งกรรม
        ที่นี้ ก็มาถึงเรื่องที่เกี่ยวกับคนต่อไปอีก :
            อย่าลืมว่า ที่พูดมาตังนานนี่ พูดเรื่องกรรมฝ่ายศีลธรรม ทั้งนั้น ไม่ใช่พูดเรื่องสิ้นกรรมโดยตรง มันยังเป็นกรรมฝ่ายศีลบธรรมตามสมมติ ชาวโกมีตัวกูทำกรรม มีตัวกูได้รับผลกรรม ไปตามกรรมดีไปตามกรรมชั่ว; แต่ยังไม่หมดเรื่องกรรมที่จะต้องพูดกันไปต่อไป
            ต่อไปนี้ ก็จะพูดถึง แง่ที่มันเล่นตลก หรือหลอกลวงให้เข้าใจผิดได้เกี่ยวกับกรรม เกี่ยวกับการทำกรรม และการรับผลของกรรม ข้อนี้ต้องเล่าเรื่องก่อน :
            พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ยังมีสมณพราหมณ์นักบวชบางคนบางรูป ในศาสนาอื่น เขาเจริญสมาธิถึงที่สุด บรรลุวิชชาปุพเพนิวาสนุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ เห็นสัตว์ทั้งหลายเวียว่ายตายเกิด; เขาเห็นเหมือนกัน แม้ไม่เห็นเท่าพระพุทธเจ้า แล้วยังมีสมณพราหมณ์บางพวก ได้ทิพยจักษุ แล้วก็เห็นสัตว์ทั้งหลายเป็น 4 ประเภท : ประเภทที่ 1 ทำบาปทำชั่ว ตายไปตกนรก ประเภทที่ 2 ทำบาปทำชั่ว ตายแล้วไปสวรรค์ ประเภทที่ 3 ทำบุญทำดี ตายแล้วไปสวรรค์ ประเภทที่ 4 ทำบุญทำดี แล้วตายไปตกนรก
            นี่ฟังดุให้ดี เดี๋ยวจะไม่เข้าใจ หรือจะไม่เชื่อ ที่สมณพราหมณ์ในศาสนาอื่นเขาเห็นอย่างนี้  เป็นเรื่องจริง ที่พระพุทธเจ้ารับรอง เดี๋ยวจะแสดงด้วยคำตรัสต่อไป แต่ฟังดูให้ดีก่อน ในหัวข้อของเรื่องมีว่า ทำบาปไปนรก นี่พวกหนึ่ง ทำบาปไปสวรรค์ นี่พวกหนึ่ง ทำบุญในสวรรค์ นี่พวกหนึ่ง ทำบุญไปนรก นี่อีกพวกหนึ่ง
        พระพุทธเจ้าท่านอธิบายความลับของมันในเรื่องนี้ ให้เห็นชัดว่า :-
            พวกที่ 1 คนทำบาปแล้วก็ไปนรก ตายไปนรกนี้ เพราะเขาได้เคยทำชั่วทำบาปไว้ตั้งแต่ก่อนนี้ และทั้งขณะที่เวลาจะตายเขามีมิจฉาทิฏฐิ; เขาทำบาปไว้ด้วย และเวลาจะตายเขามีมิจฉาทิฏฐิ คือความคิดที่เป็นบาป เขาคนบาปจึงตายไปนรก
            พวกที่ 2 คนทำบาปตายไปสวรรค์ เพราะว่าเขาเคยทำดีไว้ก่อน และเมื่อเขาจะตายจะดับจิตนั้น เขามีสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น ทีนี้คนที่ตามปรกติใคร ๆ ก็ถือว่าเขาเป็นคนทำบาปทำชั่วนี้ แต่พอตายไปสวรรค์;  นั้นเพราะว่าเขาเคยทำดีไว้ก่อน แล้วเมื่อเขาจะดับจิตนั้น เขาเกิดสัมมาทิฏฐิ
            พวกที่ 3 ทำดีทำบุญ แล้วก็ตายไปสวรรค์ นี้ก็เพราะว่าเขาก็เคยทำดีไว้ก่อน แล้วก็เมื่อจะตาย เขามีสัมมาทิฏฐิ;  สำคัญตรงที่ว่ามี่สัมมาทิฏฐิเมื่อตาย
            พวกที่ 4 คนทำบุญทำดี ตายไปนรก หมายความว่า เขาเคยทำชั่วไว้ก่อน แล้วเมื่อตายจะดับจิตนั่นเขามีมิจฉาทิฏฐิ เขาดับจิตด้วยมิจฉาทิฏฐิ ทั้ง ๆ ที่ใคร ๆ ก็เห็นว่า เขาเป็นคนทำบุญเป็นคนดี แล้วก็ตายไปนรก นี้เพราะว่าเอาระยะหนึ่งเป็นหลัก
            สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เขามีทิพยจักขุญาณ เขาเห็นอย่างนี้ มันเกิดเป็นว่าทำบาปนี้ ไปนรกก็มี ไปสวรรค์ก็มี ทำบุญนี้ไปนรกก็มี ไปสวรรค์ก็มี; มันแล้วแต่ว่าเขาเคยทำอะไรที่ตรงกันข้ามไว้บ้าง แล้วเวลาเขาจะตายนั้น เขาดับจิตโดยมีสัมมาทิฏฐิ
            ที่นี้ ก็มาถึงถ้อยคำที่เรียกว่า โต้แย้งกันอย่างสนุกสนาน สมณพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อเขาเห็นอย่างนั้นแล้วเขาก็พูด พวกที่เขาเห็นคนทำบาป แล้วตายไปนรกนี้ สมณพราหมณ์นั้นก็พูดว่า เออนี่ กรรมชั่วมันก็มีนะ ผลชั่วมันก็มีนะ พระพุทธเจ้าว่า ถูก เห็นด้วย สมณพราหมณ์คนนั้นพูดว่า เราได้เห็นเขาทำชั่วแล้วไปตกนรกแท้ ๆ พระพุทธเจ้าก็รับว่า เออ แกเห็นจริง ทีนี้เขาพูดว่า คำพูดที่ว่าทำชั่วแล้วตายไปนรกนี้ คำพูดนี้ถูก ถ้าพูดอย่างอื่นผิด พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่จริง; จะพูดว่าทำชั่วแล้วตายไปตกนรกเสมอนี้ก็ไม่ได้ เพราะทำชั่วแล้วมันมีกรรมดีทำไว้ก่อน แล้วเลาจะตายมันมีสัมมาทิฏฐิ นี้มันทำชั่วไม่ตกนรก; ดังนั้นจะมาเกณฑ์ให้พูดว่า ทำชั่วแล้ว ตายไปตกนรกไปทั้งหมด อย่างนี้ไม่ถูก
            สมณพราหมณ์ทั้งหลายนั้น เมื่อเขาเห็นอย่างไรแล้ว เขาก็จะพูดว่าคำสอนของเราเท่านั้นถูก คำสอนของผู้อื่นผิด อย่างนี้ไม่จริง ไม่ยอมรับ
            ในคนพวกที่ 2 ที่ว่า เห็นคนชั่วตายไปสวรรค์ สมณพราหมณ์นั้นเห็นด้วยทิพยจักษุว่า  คนชั่วนี้ตายแล้วไปสวรรค์ไว้ย! เขาเกิดพูดว่า โอ๊ย ถ้าอย่างนั้นกรรมชั่วก็ไม่มีผล กรรมชั่วก็ไม่มี พระพุทธเจ้า พูดอย่างนี้ไม่ถูกเพราะผลกรรมชั่วหรือกรรมชั่วมันมี สมณพราหมณ์นั้นก็พูดว่า เราก็ได้เห็นคนทำชั่วไปสวรรค์จริง ๆ นี่ พระพุทธเจ้าก็ว่า เออ จริงซิ;  คนทำชั่วไปสวรรค์มันก็มี เพราะแต่ก่อนเขาเคยทำดีไว้ และเวลาเขาจะดับจิตเขามีสัมมาทิฏฐิ สมณพราหมณ์พวกนั้นจะพูดว่า : เราพูดว่าทุกคนที่ทำชั่วแล้วไปสวรรค์แน่ อย่างนี้ก็ให้ถือว่าผิด เพราะเขาพูดแต่ในกรณีที่เขาเห็นเท่านั้น ซึ่งถือว่าลัทธิของเขาถูก ลัทธิของคนอื่นผิดหมด นี้ก็ใช้ไม่ได้
            ในกรณีพวกที่เห็นคนดีไปสวรรค์อย่างนี้ เขาก็พูดว่า เออ กรรมดีมันมีผลกรรมดีมันมี พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เออ จริง สมณพราหมณ์คนนั้นได้พูดว่า เราได้เห็นคนทำดีไปสวรรค์จริง ๆ พระพุทธเจ้าก็ยอมรับ เออ แกเห็นจริง
            สมณพราหมณ์คนนั้น ก็ถือโอกาสพูดว่า เราจะพูดว่าทุกคนที่ทำดีแล้วไปสวรรค์ พระพุทะเจ้าว่า ไม่ถูก เพราะว่าคนทำดีแล้วไม่ไปสวรรค์ก็มี เพราะเขาเคยทำกรรมชั่วไว้ แล้วเมื่อเลาจะดับจิตเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ
            ในกรณีที่ 4 พวกที่เห็นคนดีตายไปตกนรก สมณพราหมณ์คนที่เห็นนั้นเกิดจะพูดว่า กรรมดีก็ไม่มีซิ ผลกรรมดีก็ไม่มีซิ เพราะว่าคนดีไปตกนรก  พระพุทธเจ้าว่าไม่ถูกด พูดอย่างนั้นไม่ถูก เพราะว่ากรรมดีมันมี ผลกรรมดีมันก็ต้องมี สมณพราหมณ์ผู้นั้นพูดว่า เราได้เห็นจริง ๆนี่ เห็นคนที่ดีนั้นไปนรก พระพุทะเจ้าก็ว่า จริงซี ฉันก็ยอมรับว่า คนทำดีมันไปนรกก็มี สมณพราหมณ์คนนั้นก็ว่า ถ้าอย่างนั้น เราก็ต้องพูดว่าทุกคนทำดีแล้วไปนรกซี พระพุทะเจ้าว่า ใช้ไม่ได้ เพราะว่าทุกคนทำดีไปนรกก็มี ไปสวรรค์ก็มี แล้วแต่กรรมอะไรที่เขามีอยู่ก่อนเป็นประจำ แล้วเวลาที่เขาจะดับจิตนั้นเขามีทิฏฐิอะไร
            นี่คือข้อที่เถียงกันอย่างนี้ ในระหว่างลัทธิของพระพุทธเจ้ากับลัทธิอื่น
            เรามาสรุปความกันที่ว่า คนทำดีหรือทำชั่ว ตายไปตจะไปนรกหรือสวรรค์นั้น มันแลบ้วแต่ว่าเวลาที่ดับจิตนั้นมีทิฏฐิอะไร มีมิจฉาทิฏฐิหรือสมมาทิฏฐิ; และว่าก่อนหน้านั้นหรือหลังนั้นก็ตาม เขาได้ทำกรรมอะไรไว้อีก ถ้าเขาได้ทำกรรมอย่างื่นตรงกันข้ามไว้มากก่อนนี้ มันก็มาแก้ให้เป้นตะรางกันข้ามก็ได้ เพราะกรรมชั่วมันยังไม่ให้ผล กรรมดีมันให้ผลก่อน คนทำชั่วก็ไปสวรรค์ทีก่อน และโดยเฉพาะเมื่อเวลาเขาดับจิตนั้นเขามีสมมาทิฏฐิ นี้เป็นสิ่งที่ควรจะสนใจ
            สำหรับคนทั้งหลาย ที่ยังมีตัวตน ยึดมั่นตัวตน ยึดมั่นผลกรรม; ให้ระวังในขณะจะดับจิต ดับจิตด้วยจิตอะไร สมมาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิ! และว่ากรรมอะไรที่ได้ทำไว้เป็นประจำนั้นน่ะ ดีหรือชั่ว ที่ทำไว้แต่ก่อนนั้น
        สรุปสั้นเข้ามาอีกหน่อยก็ว่า ให้ทำแต่กรรมดีเข้าไว้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะดับจิต ให้ประกอบอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิเท่านั้นก็พอ; เรียกว่าเป็นผู้อาศัยสมมาทิฏฐิเป็นที่พึ่ง และโดยเฉพาะเวลาที่เรียกว่าเข้าด้ายเข้าเข็ม
             อย่าลืม! ขอบอกว่า นี่อุบายนี้ สำหรับคนที่ยังมีตาตน ยังถือตัวตนยังอยู่ในโลกด้วยความยึดถือตัวตน; ไม่ใช่สำหรับคนที่จะหลุดพ้นไปนิพพาน; เพราะว่าเรากำลังพูดเรื่องกรรมชนิดศีลธรรมของบุคคลผู้มีตัวตน หรือมีสัสสตทิฏฐิชั้นดีอยู่เป็นหลัก
            เมื่อพูดถึง สมมาทิฏฐิเป็นที่พึงได้อย่างนี้แล้ว ก็จะพุดต่อไปถึงเรื่องสัมมาทิฏฐิอีกหน่อยหนึ่ง : ให้อยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิตลอดเวลา แม้เดี๋ยวนี้และเวลาจะดับจิต ให้ดับจิตด้วยสมมาทิฏฐิ และสัมมาทิฏฐิก็มีหลักเกณฑ์อย่างที่ว่าเมื่อตะกี้นี้ คือมีความเห็นถูกต้อง อายในที่ควรอาย กลัวในที่ควรกลัว เห็นโทษในสิ่งที่มีโทษ; นี้ให้สัมมาทิฏฐิอย่างนี้ตลอดเวลา
            นั่นแหละที่พึ่ง ที่พึ่งของคนที่ยังอยู่ในโลกนี้ ยังมีตีวตน ยังมีความยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตน ขอให้มีชี่วิตอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ อย่าประมาทในข้อนี้ อย่าประมาทในข้อที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ
            เมื่อมีสัมมาทิฏฐิแล้ว ก็ลองคิดดูเถิดว่า มันไม่มีทางจะผิดได้; มันไม่มีทางจะทำผิด มันมีแต่ให้ทำถูกเข้าไว้เรื่อง นี่จะเป็นต้นทุนหรือเป็นเดิมพันอยู่ ที่นี้พอจะดับจิต ดับจิตด้วยสัมมาทิฏฐิอีกที มันก็รอดตัว มันก็ไปสุคติเท่านั้น
          ผู้ที่อยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิอย่างนี้ มันมีแต่การกระทำถูก เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า เขาจะมีความอุ่นใจ อุ่นใจคือแน่ใจ แล้วเบาใจ สบายใจ อุ่นใจได้ทั้ง 4 ประการ หมายความว่า เขาอย่าไปคิดนึกอะไรให้มากเรื่องโลกนี้ เรื่องโลกหน้า เรื่องอะไรก็ตามใจ อย่าไปสนใจให้ยุ่งหัว สนใจแต่เรื่องมีสัมมาทิฏฐิอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งดับจิต
            ถ้าเขาทำได้อย่างนี้ เขาจะมีความอุ่นใจ 4 ประการ : คือว่า ข้อที่ 1 ถ้าโลกหน้ามันมีจริง หรือผลกรรมที่ทำไว้มันมีจริง เขาก็สบาย เพราะว่าเขาทำอยู่แต่เรื่องสัมมาทิฏฐิ; ถ้าโลกหน้ามันมีจริง ผลกรรมที่ทำไว้มันก็จริง เขาก็สบายเต็มที่ ปลอดภัยเต็มที่ แน่ใจเต็มที่ คือมีแต่ผลดี
        ข้อที่ 2 ถ้าโลกหน้าไม่มี ผลกรรมไม่มี ถ้าสมมติว่า โลกหน้ามันก็ไม่มี กรรมก็ไม่ให้ผล อย่างนี้ เขาก็ยังไม่ขาดทุน เขาก็ได้กำไร; เพระว่าตลอดเวลาที่เขามีชีวิตอยู่นี้ไม่มีทุกข์ ได้ความสุขเต็มที่ เพราะว่าเขาอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิตั้งแต่บัดนี้จนกระทั่งดับจิต เขามาได้ผลดีเต็มที่อย่างนี้ ทีนี้ถ้าเผื่อโลกหน้าไม่มีและกรรมอะไร ๆ ไม่ให้ผล เขาก็ไม่ขาดทุนอะไร เขาก็แน่ใจอุ่นใจได้ว่าเราก็ยังได้เต็มอยุ่นั่นแหละ
            ข้อที่ 3 ถ้าเมื่อการกระทำเป็นอันกระทำ คือการกรทำบาปชื่อว่าทำบาป กระทำบุญชื่อว่าทำบุญอย่างนี้; เราอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิอย่างนี้ตลอดเวลา; อย่างนี้เราไม่ได้ทำร้ายใคร แล้วใครจะมาทำร้ายเราในเวลานี้; หรือว่าเราตายไปเราก็จะไม่มีบาปกรรมอันไหนที่ว่า จะทำให้เราเป็นทุกข์ แล้วไม่มีความทุกข์ไหนจะมาถูกต้องเรา ผู้มีสัมมาทิฏฐิไม่ทำบาป
        ข้อที่ 4 ถ้าสมมติว่าการกระทำ ไม่เป็นอันกระทำ เราก็ไม่ได้ขาดทุนอะไร เราได้ความปลอดภัย ทั้งขึ้นทั้งล่อง หมายความว่า กรรมนั่นจะเป็นอันกระทำหรือไม่เป็นอันกระทำก็ตามใจ; แต่เมื่อเราอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิตลอดเวลาแล้ว เรามันปลอดภัย ทั้งขึ้นทั้งล่อง;  กล่าวคือ โลกหน้าจะมีหรือโลกหน้าจะไม่มีเราก็ยังได้เต็ม กรรมนี้จะเป็นอันกระทำหรือไม่เป็นอันกระทำ เรานี้ก็ยังได้เต็ม
            ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญอานิสงส์ของการมีความเข้าใจถูกต้อง หรือสัมมาทิฏฐิ หรือเรียกเต็มยศเต็มที่ ก็เรียกว่ ยถาภูตสัมมัปปัญญา; คือปัญญาที่เห็นชอบอยู่ตามที่เป็นจริง เรียกว่า ยถาภูตสัมมัปปัญญา เราเรียกสั้น ๆว่า สัมมาทิฏฐิ นี้ทรงสอนให้กาลามชนทั้งหลายอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ อย่าไปเชื่อตาม 10 อย่าง ที่เข่าเชื่อ ๆ กัน ก็เป็นอันว่าเราปลอดภัยทั้งขึ้นทั้งล่อง ทั้งขึ้นทั้งล่องหมายความว่า ถ้าโลกนี้มี หรือถ้าโลกหน้ามีหรือไม่มี เราก็ได้เต็มอยู่นั่นแหละ; ถ้ากรรมเป็นอันกระทำหรือกรรมไม่เป็นอันกระทำ เราก็ยังได้เต็มอยู่นั่นแหละ; เราได้เต็มตามที่ควรจะได้ ไม่มีขาดไปเลย ได้ตามที่ธรรมชาติมันมีให้เท่าไรเราได้หมด
            นี้ ความอุ่นใจเกียวกับบุคคลผุ้อยู่ในโลกนี้ ของบุคคลผู้อยู่ในโลกนี้เกี่ยวกับการกระทำกรรมนั้น; ให้ยึดมั่นในยถาภูตสัมมัปปัญญา หรือสัมมาทิฏฐิอะไรเป็นอะไร ๆ อย่างถูกต้อง; โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือกฎเกณฑ์ของ อิทัปปัจจยตาว่าเมื่อสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้ต้องเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนั้นเป็นปัจจัย สิ่งนั้นต้องเกิดขึ้น มันจะตรงตามปัจจัยเสมอไป เมื่อเหก็นอย่างนี้เรียกว่า มีสัมมาทิฏฐิชนิดที่สูงสุด ผู้ที่ยังจะเป็นไปตามกรรม หรือว่ายังสมัครจะเป้ฯไปตามกรรม ยังไม่สามารถจะทำความสิ้นกรรม ให้ถือสัมมาทิฏฐิเป็นที่พึ่ง สมฺมาทิฏฐิสมาทานา สัพฺพํ. ทุกฺขํ อุปขฺขคํ ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้เพราะสมาทานสัมมาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนี้
            บัดนี้ เวลามีพอจะพุดได้อีกนิดหน่อย ว่าจะรักษาความปลอดภัยนี้ไว้ได้อย่างไร! ข้อนี้มีหลักสั้น ๆ จำง่ายเลยว่า : เมื่อรักษาจิตก็คือรักษากรรม มีพระพุทธภาษิตตรัสว่า : เมื่อบุคคลไม่รักษาจิต กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมก็เป็นอันว่าไม่ได้รักษา; เมื่อไม่รักษาจิตก็คือไม่รักษากรรม ไม่รักษาจิตให้สะอาดก็คือไม่รักษากรรมให้สะอาด
            เมื่อไม่รักษาจิต ก็เป็นอันว่าไม่ได้รักษากรรม เมื่อไม่ได้รักษากรรมมันก็เป็นกรรมที่เปียกชุ่มด้วยกิเลส มันจะเป็นกรรมที่เปียกชุ่มด้วยกิเลส เมื่อกรรมมันเปียกชุ่มด้วยกิเลสมันก็เน่า; ท่านใช้คำว่ามันเน่า มันเป็นกรรมที่เน่า เมื่อกรรมมันเน่า การตายก็ไม่ดี ทำกาละก็ไม่งาม
            ทีนี้ จะเปรียบเทียบด้วยอุปมา : พระพุทธเจ้าท่านตรัสอะไรก็ตามถ้ามีโอกาส หรือมันควรอุปมา ท่านก็อุปมาเปรียบเทียบ เรื่องไม่รักษา การไม่รักษา เมื่อตะกี้ คือไม่รักษาจิต จะเปรียบอุปมาเรื่องบ้านเรือน : เมื่อไม่รักษาหลังคาให้ดี ไม้อกไก่อันบนสุด มันก็เปียกน้ำฝน เมื่อไม่รักษาหลังคาให้ดีฝนตกมันก็รั่ว เมื่อรั่วแล้วมันก็เปียกไม้อันแรก คือไม้อกไก่นั่น; ไม้อกไก่เปียกแล้ว มันก็เปียกกลอน แล้วมันก็เปียกฝาเรือน แล้วก็เปียกพื้นเรือน  ฉะนั้น จึงว่าเมื่อไม่รักษาหลังคา มันก็เหมือนกับว่าไม่รักษาอกไก่; เมื่อไม่รักษาอกไก่ ก็เหมือนกับไม่รักษากลอน; เมื่อไม่รักษากลอนก็เหมือนกับไม่รักษาพื้นเรือน พื้นเรือนก็ไม่เป็นอันรักษา ไม้เหล่านั้นมันก็เปียก เมื่อเปียกมันก็ผุ เมื่อผุมันก็ไม่มีบ้านเรือนที่จะอาศัยได้ เมื่อหลังคาไม่ถูกรักษาไม้ต่าง ๆ มันก็ไม่ถูกรักษา พื้นเรือนมันก็ไม่ถูกรักษา เมื่อไม่รักษามันก็ผุ เมื่อผุมันก็อาศัยไม่ได้
            นี่ เมื่อไม่รักษาจิต มันก็ไม่เป็นอันรักษากรรม เมื่อกรรมไม่ได้รับการรักษา กรรมมันก็เปียกชุ่มด้วยกิเลส เมื่อกรรมมันเปียกชุ่มด้วยตัวกิเลส มันก็เป็นของเน่า เมื่อกรรมเป็นของเน่า การตายก็ไม่ดี การทำกาละก็ไม่ดี
            นี่พูดถึงหลักที่ว่า ทำดีจะไปดี ทำชั่วจะไปชั่ว ถ้าต้องการให้ดี มันต้องมีการรักษา รักษากรรม คือรักษาจิต รักษาจิต คือรักษากรรม
            เพราะฉะนั้น ให้เพิ่งไปที่จิต รักษาจิตให้ดี กรรมก็จะเป็นอันรักษาดี รักษาจิตให้ดี คือทำอย่างไร ก็คือทำให้ประกอบอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ถ้ามีสัมมาทิฏฐิอยู่แล้ว จิตก็เป็นอันว่าถูกมุวงไว้ดี ป้องกันไว้ดี มุงไว้ดี เหมือนหลังคาเรือนที่ป้องกันไว้ดี เอาสัมมาทิฏฐิมาเป็นเหมือนกับหลังคามุงจิตเสีย : คุ้มครองจิตให้เป็นจิตที่ดี
            เมื่อจิตถูกรักษาแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็เป็นอันว่าถูกรักษา; เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ถูกรักษา มันก็ไม่เปียกชุ่มด้วยกิเลส; เมื่อไม่เปียกชุ่มด้วยกิเลส มันก็ไม่เน่า; เมื่อมันไม่เน่า มันก็ดี; แม้การตายก็ดีการทำกาละก็ลาม
            พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อย่างนี้ ให้ถือว่าเอาสัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องมือรักษาจิต เมื่อจิตถูกรักษาแล้ว กรรมก็เป็นอันว่าถูกรักษา; เมื่อกรรมถูกรักษาแล้ว มันก็ไม่เปียกไม่เน่า แล้วมันก็ดี
            เรื่องเกี่ยวกับกรรมเรื่องสุดท้าย ก็อยากจะพูดถึงสิ่งที่เรียกว่าเทวทูต เรื่องเทวทูตนี้เขามักจะเห็นเป็นเรื่องไม่มีความหมายไม่มีน้ำหนัก ไม่มีความน่ากลัวอะไร ที่จริงเทวทูตนั่นแหละ คือสิ่งสำคัญที่จะทำให้ไม่ประมาท และมีสัมมาทิฏฐิอยู่ได้ รักษาจิต รักษากรรมไว้ได้ พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่าอย่างนั้นแหละว่าเทวทูตนั่นมันตะทำให้ไม่ประมาท และรักษาจิต รักษากรรม และรักษาอะไรตามที่ว่ามาแล้วนี้ได้ คือ อิทัปปัจจยตา จะเป็นไปแต้ในทางดี
            ให้เริ่มต้นด้วยการเห็นเทวทูต การเห็นเทวทูต จะทำให้ไม่ประมาท ไม่ประมาทจะทำให้รักษาจิต รักษาจิตจะทำให้เป็นการรักษากรรม รักษากรรมจะทำให้เกิดการไม่เน่าไม่ผุ แล้วก็ดี ไปสู่สุคติในที่สุด
            เรื่องเทวทูตนี้ ไม่ควรจะถือว่า มีไว้สำหรับคนทำบาปอย่างเดียว แม้คนทำบุญ ทำดี ก็ต้องมีการนึกถึงหรือเห็นเทวทูต
            เทวทูตในที่บางแห่งแจกเป็น 4 ในสุตรานี้เห็นมีแต่เพียง 3 คือว่า คนแก่ คนเจ็บ แล้วคนตาย ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เห็นผิว ๆ ก็คือเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย; เห็นลึกซึ้ง คือเห็น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เด็ก ๆ เขาก็เห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย แต่มันไม่เห็นความแก่ ความเจ็บ ความตาย; ต้องใช้สติปัญญาสัมมาทิฏฐิ จึงจะเห็นลึกเข้าไปถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย ซึ่งเป็นตัวเทวทูต
            เรื่องนี้ทำเป็นบุคลาธิษฐานว่า คนตายไปแล้ว ยมบาลให้จับตัวเอาไปสอบถาม คนนั้นถูกสอบถาม; ยมบาลถามว่า รู้จักเทวทุตไหม! คนโง่นั้นก็ต้องพูดว่า ไม่รู้จักแน่ นีนี้ยมบาลก็ลดลงมาว่า เคยเห็นคนแก่ง่อมบ้างไหม! มันก็บอกว่าเคยเห็น; เคยเห็นแล้วทำไม ไม่เห็ฯเทวทุต! เพราะมันไม่เคยนึกอะไร มันเป็นคนแกเสียเปล่า ๆ
            เหมือนกับเดี๋ยวนี้ ใคร ๆ ก็เห็นคนแก่เห็นๆ อยู่ บางทีมันจะขยะแขยงเกลียดชังด้วยซ้ำไป; แต่มันก็ไม่เห็นความแก่ ในส่วนที่แท้จริง เคยเห็นคนแก่ไหม! เคยเห็นแล้วทำไมไม่เห็นเทวทุตเล่า! มันเป็นเสี่ยอย่างนี้ แล้วถ้าอย่างนั้น แกเคยคิดว่าแก่จะต้องแก่เหมือนคนนั้นไหม! บอกว่าไม่เคยคิดเลยนี้มันเป็นเสียอย่างนี้ว่า ไม่รู้จักเทวทูต เมื่อถามว่า เคยเห็นคนแก่ไหม? เคยเห็น แต่ไม่เห็นเทวทูต; แล้วแกคิดว่า จะเป็นเหมือนคนแก่นั้นไหม! บอกว่าไม่เคยคิดเลย นี้คือ คนที่ไม่เห็น อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นเทวทูต
          ถ้าเห็นเทวทูตนั้นก็คือเห็น อิทัปปัจจยตา เห็ฯ อิทัปปัจจยตา นั้นก็คือเห็เทวทูต คือเห็นความแก่ ความแก่นั้นมันเป็น อิทัปปัจจยตา ส่วนหนึ่ง ที่นี้เขาไม่เห็น อิทัปปัจจยตา ทั้งที่เขาเห็นคนแก่ แต่เขาก็ไม่เห็นความแก่ เขาเห็นคนแก่แล้ว เขาก็ไม่คิดว่าเขาจะต้องแก่เหมือนอย่างนั้น มันไปคิดอย่างอื่นเสียหมด นี้เรียกว่าไม่เห็นเทวทูตตัวแรก คือความแก่
            กรณีคนเจ็บก็เหมือนกันอีก : เห็นคนเจ็บไหม? เคยเห็น แล้วก็ไม่เห็นเทวทูต คิดว่าตัวจะต้องเจ็บไหม? ก็ไม่เคยคิด เห็นคนตายไหม? ก็เคยเห็น แล้วก็ไม่เห็นเทวทูต คิดว่าจะต้องตายไหม? ก็ไม่เคยคิดเรื่องนี้ ไม่ได้สนใจนึกถึงเรื่องนี้
            ก็เป็นอันว่า คนเราในโลกนี้ ทั้งที่สิ่งที่มันมาสอน มันก็มาสอน มาตำตาอยู่ทุกวัน มันก็ไม่เห็น หรือไม่รับเอา หรือไม่ได้ยิน
            นี้กฎของธรรมชาติหรือว่าอะไรก็ตาม มันมาสอน มันมาแสดงการสอนไว้ อยู่ทุกวัน ทุกเวลา ทุกหนทุกแห่ง ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นสัญลักษณ์ของ อิทัปปัจจยตา มาสอน มันก็ไม่เห็น
            ทีนี้ มันจะหนักไปอีกถึงกับว่า ตัวเองก็แก่อยู่ มันก็ยังไม่เห็น นี่คนแก่หัวหงอกก็ยังไม่เห็นความแก่ของตัวเอง ไม่เห็นความเจ็บ ไม่เห็นความตาย ที่กำลังจะมาถึงตัวเอง นี้เรียกว่าคนไม่มีสัมมาทิฏฐิ และเต็มไปด้วยความประมาทอย่างยิ่ง; ไม่กลัวในสิ่งที่ควรกลัว ไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย ไม่เห็นว่ามีโทษในสิ่งที่มีโทษ นี้มันไม่เห็นไปหมด
            ดังนั้น เขาสมมติเรียกว่า ไม่เห็นเทวทุต คือทูตที่พระเจ้าส่งมาแสดง มาบอก แล้วมันไม่รับฟัง มันไม่ยอมเห็น; ฉะนั้น มันจึงต้องเป็นไปตามกรรม คือเป็นมิจฉาทิฏฐิ แล้วก็ทำแต่กรรมชั่ว; แล้วพอจะดับจิต มันก็ดับจิตไปด้วยมิจฉาทิฏฐิพอดี ก็เรียกว่าไปพบพระยม แล้วต้องจับใส่หม้อทองแดง ต้องตอกมือ ตอกเท้า เอาผึ่งถาก เอาหัวลง เอามีดเฉือน เอาอะไร ล้วนแต่เป็นเรื่องเจ็บปวดอย่างยิ่ง
            ผลสุดท้าย สูตรนี้มันจบลงไปในลักษณะที่ว่า ผลดีกลับได้แก่ยมบาล เมื่อยมบาลทำหน้าที่อย่างนั้นหนักเข้า ๆ ก็เลยเบื่อหน่าย ไม่อยากจะเวียนว่ายตายเกิด ไม่อยากจะทำกรรมชั่ว ไม่อยากอะไรหมด ยมบาลกลับเห็น กลับรู้เห็นเทวทูตดีเอาตัวรอดไปได้
        นี้เราควรจะนึกถึงข้อที่ว่า อยู่ด้วยมิจทิฏฐิ หรือ อยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ถ้าอยุ่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ก็เห็นสัญญลักษณ์หรือว่าเห็นนิมิตเห็นเครื่องหมายอะไรต่าง ๆ ของธรรม ของพระธรรม มันก็เลยมีการกระทำกรรมที่ไม่มีโทษ เป็นไปตามกรรมที่ดี จะมีความสุขทั้งโลกนี้ทั้งโลกหน้า ทั้งโลกอื่น
            ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ทุกเรื่องนี้ล้วนแต่เป็นเรื่องกรรมในขั้นศีลธรรม พูดสำหรับคนที่ยังมีตัวตน ยังยึดถือตัวจนและของตนอยู่ ให้รู้จักยึดถือไปแต่ในทางดี ให้ทำให้ดี ให้ได้รับผลดี; ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องเหนือกรรม สิ้นกรรม หมดกรรมเลย เวลาก็หมดแล้ว มันมากนานเกิดไปแล้ว ก็ต้องยุติไว้แต่เพียงนี้ก่อน คือพูดแต่เรื่องกรรมในแง่ของศีลธรรม เพียงอย่างเดียวก็ต้องยุติ เพราะว่ามันหมดทั้งเวลา หมดทั้งแรที่จะพูด
ขอให้พระสงฆ์สวดธัมมปหังสนปาฐะต่อไป
(คัดลอกจากหนังสือ อิทัปปัจจยตา ของ ท่านพุทธทาส หน้า 369-416  เมื่อ 1 เมษายน 49)

1 ความคิดเห็น:

  1. Harrah's Cherokee Casino & Hotel | Dr. Maryland
    Harrah's Cherokee Casino & Hotel. 삼척 출장안마 777 동해 출장마사지 Casino Drive Cherokee, 1xbet app NC 28719. For questions or 공주 출장마사지 contact the Casino 정읍 출장샵 at 777 Casino Drive, Cherokee

    ตอบลบ